ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว

สมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัว (อังกฤษ: Reign of Terror; 5 กันยายน ค.ศ. 1793 – 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1794) หรือที่เรียกว่า The Terror (la Terreur) เป็นสมัยแห่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสเริ่มต้น โดยถูกกระตุ้นจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มแยกทางการเมืองที่เป็นคู่แข่งกัน คือ ฌีรงแด็ง (Girondins) และฌากอแบ็ง (Jacobins) ซึ่งมีการประหารชีวิต "ศัตรูแห่งการปฏิวัติ" จำนวนมาก ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ในหลักหมื่น โดยมีผู้ถูกประหารชีวิตด้วยกิโยติน 16,594 คน และอีก 25,000 คน ถูกประหารชีวิตอย่างรวบรัดทั่วฝรั่งเศส

กิโยตินกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งอุดมการณ์การปฏิวัติ ซึ่งมีการประหารชีวิตบุคคลสำคัญจำนวนมาก เช่น มารี อ็องตัวแน็ตและพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 ทั้งผู้สนับสนุนการปฏิวัติ ฟิลิปป์ เอกาลีเต (หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์) มาดามโรลองด์และกลุ่มฌีรงแด็ง นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายคน อาทิ อ็องตวน ลาวัวซีเย นักเคมีบุกเบิก ที่ต้องมาสังเวยชีวิตด้วยเช่นกัน ระหว่าง ค.ศ. 1794 ฝรั่งเศสสมัยปฏิวัติถูกรุมเร้าด้วยการคบคิดโดยศัตรูทั้งในและนอกประเทศ สำหรับในประเทศ การปฏิวัติถูกชนชั้นสูงฝรั่งเศสคัดค้าน ซึ่งสูญเสียเอกสิทธิ์ที่ได้รับสืบทอดมา นิกายโรมันคาทอลิกโดยทั่วไปคัดค้านการปฏิวัติ ซึ่งได้เปลี่ยนนักบวชเป็นลูกจ้างของรัฐและบังคับให้ต้องปฏิญาณความจงรักภักดีต่อชาติ นอกเหนือจากนี้ สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 1 ยังต้องสู้รบในสงครามกับประเทศเพื่อนบ้านที่เจตนาทำลายการปฏิวัตินี้เสียเพื่อป้องกันมิให้ลุกลาม

การขยายของสงครามกลางเมืองและการรุกคืบของกองทัพต่างด้าวต่อดินแดนของชาติได้ก่อวิกฤตการณ์การเมืองและเพิ่มการแข่งขันระหว่างฌีรงแด็งกับฌากอแบ็งซึ่งหัวรุนแรงกว่า ฝ่ายหลังนี้ต่อมาได้รวมกลุ่มในกลุ่มแยกรัฐสภา เรียกว่า Mountain และพวกเขาได้การสนับสนุนจากประชากรกรุงปารีส รัฐบาลฝรั่งเศสตั้งคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ ซึ่งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 6 กันยายน ค.ศ. 1793 เพื่อปราบปรามกิจกรรมต่อต้านการปฏิวัติภายในประเทศและเพิ่มกำลังทหารฝรั่งเศสเพิ่มเติม

ผ่านศาลปฏิวัติ ผู้นำสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวใช้อำนาจเผด็จการอย่างกว้างขวางและใช้ประหารชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมากและการกวาดล้างทางการเมือง การปราบปรามเพิ่มขึ้นในเดือนมถุนายนและกรกฎาคม ค.ศ. 1794 ซึ่งเป็นสมัยที่เรียกว่า "la Grande Terreur" (the Great Terror) และสิ้นสุดลงด้วยรัฐประหารวันที่ 27 กรกฎาคม 1794 ซึ่งนำไปสู่ปฏิกิริยาเดือนแตร์มีดอร์ (Thermidorian Reaction) ซึ่งผู้สนับสนุนสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวหลายคนถูกประหารชีวิต รวมทั้ง มักซีมีเลียง รอแบ็สปีแยร์

ฤดูร้อน ค.ศ. 1793 การปฏิวัติของฝรั่งเศสส่งผลกระทบทั้งการภายในและจากราชวงศ์ต่าง ๆ ในยุโรป ทำให้เกิดความกลัวว่าการปฏิวัติจะขยายลุกลามสู่ประเทศโดยรอบที่ปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตย จึงส่งกองกำลังมาประชิดชายแดนฝรั่งเศส จนเกิดการประทะกันกับทหารของฝ่ายสาธารณรัฐฝรั่งเศส

กองกำลังต่างชาติได้ข่มขู่ฝรั่งเศสให้ปล่อยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศสและคืนราชสมบัติให้พระองค์ ดยุกแห่งเบราน์ชไวก์แห่งปรัสเซียถึงกับขู่ว่าจะเข้าปล้นกรุงปารีส หากชาวปารีสแตะต้องพระบรมวงศานุวงศ์ และมีกระแสความเชื่อสงสัยว่าพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เองอาจเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกับรัฐบาลต่างชาติ ให้บุกฝรั่งเศสเพื่อเข้ามาฟื้นฟูระบอบกษัตริย์

ชนชั้นสูงของฝรั่งเศสจำนวนมากที่สูญเสียทรัพย์สิน ต่างได้ประโยชน์จากพ่ายแพ้ของฝ่ายปฏิวัติ ฝ่ายศาสนาก็เช่นกัน ต่อต้านฝ่ายปฏิวัติ เพราะมิฉะนั้นพวกพระถูกลดฐานะเป็นเพียงลูกจ้างของรัฐ และยังต้องสาบานตนว่าจะจงรักภักดีต่อรัฐบาล ทำให้บาทหลวงมากกว่าครึ่งหนึ่ง (ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก) ปฏิเสธจะสาบานตน และประกาศตนเป็นฝ่ายดื้อดึง (Non-juror) บาทหลวงโรมันคาทอลิก และชนชั้นสูงในภาคตะวันตก รวมตัวก่อกบฏต่อต้านรัฐบาลฝ่ายปฏิวัติ โดยได้รับการสนับสนุนจากบริเตนใหญ่

สงครามกลางเมืองและการประชิดของกองกำลังต่างชาติ สร้างวิกฤติทางการเมืองขึ้นอย่างรุนแรง และเกิดการแตกแยกขึ้นในรัฐสภาเอง

ในวันที่ 2 มิถุนายน มีการยึดอำนาจในสภาโดยเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายการเมืองลดและกำหนดราคาขนมปังตายตัวและลดการให้สัมปทานแก่บางฝ่ายเป็นการเฉพาะ และด้วยการสนับสนุนของกองกำลังแห่งชาติพวกดังกล่าวสามารถโน้มน้าวให้จับกุมบุคคลผู้นำกลุ่มการเมืองฌีรงแด็ง ไป 31 คน และจากการจับกุมครั้งนี้ทำให้ฝ่ายฌากอแบ็งมีอิทธิพลมากขึ้นจนสามารถคุมคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะไว้ได้เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน และจัดตั้งระบบเผด็จการฝ่ายปฏิวัติขึ้นมาได้ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ผู้นำที่เป็นนักหนังสือพิมพ์ด้วยฝ่ายฌากอแบ็งปากกล้าที่ถูกตราว่ากระหายเลือดถูกสังหารโดยฝ่ายฌีรงแด็ง กลับมีผลให้ฝ่ายฌากอแบ็งมีอิทธิพลทางการเมืองสูงขึ้น ฝ่ายปฏิวัติคนหนึ่งที่ช่วยโค่นล้มกษัตริย์ซึ่งมีภาพลักษณ์เป็นพวกหรูหราถูกปลดจากตำแหน่งกรรมาธิการและตั้งคนที่ "บริสุทธิ์จากการคอร์รัปชั่น" คนหนึ่งขึ้นมาแทนและกลายเป็นผู้มีอิทธิพลมากที่สุดในคณะกรรมาธิการที่กำลังเพิ่มมาตรการปราบปรามพวกต่อต้านต่างจังหวัดและข้าศึกต่างชาติ

ท่ามกลางการต่อต้านภายในและการรุกรานของต่างชาติทั้งทางตะวันออกและตะวันตก ภารกิจหลักของรัฐบาลสาธารณรัฐฯ จึงเน้นที่สงคราม ในวันที่ 17 พฤษภาคม สภาลงมติให้เกณฑ์ทหารเข้ากองกำลัง และในวันที่ 5 กันยายนนั้นเอง รัฐสภาก็ได้ลงมติรับ "ความน่าสะพรึงกลัว" ให้มีความถูกต้องตามรัฐธรรมนูญโดยอนุมัติให้ปราบปรามข้าศึกศัตรูภายในประเทศได้โดยเด็ดขาด

ผลที่ตามมาคือการใช้กำลังปราบปราบฝ่ายต่อต้านรัฐบาลเกิดขึ้นอย่างรุนแรง และภายใต้การควบคุมอย่างมีประสิทธภาพของคณะกรรมการความปลอดภัยสาธารณะ ได้มีการออกกฎหมายอีกหลายฉบับ วันที่ 9 กันยายน ได้ออกกฎหมายจัดตั้งกองกำลังร่วมประชาชนฝ่ายปฏิวัติเพื่อบังคับให้ชาวนามอบผลผลิตให้แก่รัฐตามที่รัฐต้องการ วันที่ 17 กันยายน มีการออกกฎหมายให้อำนาจการจับกุมผู้ต้องสงสัยที่เข้าข่ายเป็น ผู้ก่ออาชญากรรมต่อเสรีภาพ วันที่ 29 กันยายน รัฐสภาได้เพิ่มการกำหนดราคาตายตัวที่ต่ำลงสำหรับธัญพืช ขนมปังและสินค้าจำเป็นอีกหลายอย่าง รวมทั้งการกำหนดค่าแรงตายตัวให้ต่ำลง กิโยตินได้กลายเป็นสัญลักณ์แห่งการประหารชีวิตที่ต่อเนื่อง พระเจ้าหลุยส์ที่ 16 แห่งฝรั่งเศส ได้ถูกบั่นพระเศียรด้วยกิโยตินไปตั้งแต่ก่อนสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวไปแล้ว พวกฌีรงแด็ง ฟิลิปป์ เอกาลีเต (หลุยส์ ฟิลิปป์ที่ 2 ดยุคแห่งออร์เลอองส์) ผู้ลงคะแนนให้ประหารพระเจ้าหลุยส์ มาดามโรลองด์และผู้คนอีกมากถูกประหารโดยกิโยติน ศาลคณะปฏิวัติได้พิพากษาประหารชีวิตคนหลายพันคนด้วยกิโยติน ผู้เคราะห์ร้ายจำนวนมากถูกฝูงชนทุบตีจนตายอย่างโหดร้าย ประชาชนจำนวนมากตายเพราะมีตวามเห็นทางการเมืองแตกต่าง ไม่น้อยที่ถูกประหารชีวิตเพียงด้วยข้อสงสัยเล็ก ๆ น้อย ๆ หรืออาจเพียงเป็นบังเอิญผู้มีส่วนได้เสียเพียงเล็กน้อยกับฝ่ายตรงข้าม ผู้เคราะห์ร้ายส่วนใหญ่ถูกลากตัวไปกับเกวียนไม้แบบเปิดที่ทำไว้เฉพาะสำหรับการประจานนักโทษ และถูกโห่ประจานไปตลอดทาง

เหยื่อของสมัยแห่งความน่าสะพรึงกลัวที่ถูกตัดสินประหารชีวิตโดยศาลฝ่ายปฏิวัตินับได้ประมาณ 40,000 คน เป็นชนชั้นปกครองชั้นสูง 8% พระ 6% ชนชั้นกลาง 14% และอีก 70% เป็นคนงานและชาวนายากจนที่ถูกกล่าวหาว่ากักตุน หนีทหาร ก่อกบฏและก่ออาชญากรรมอื่น ๆ ในกลุ่มสังคมเหล่านี้ พระคาทอลิกมีสัดส่วนการสูญเสียมากที่สุด[ต้องการอ้างอิง]

ความพยายามของรัฐบาลปฏิวัติในการล้มเลิกศาสนาคริสต์ในฝรั่งเศสเริ่มที่นิกายโรมันคาทอลิกก่อนและลุกลามไปทุกนิกาย ด้วยการออกเป็นกฎหมายเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1793 ให้เนรเทศและประหารชีวิตนักบวชไปเป็นจำนวนมาก มีการปิดโบสถ์วิหารและสถาบันของลัทธิต่าง ๆ มากมาย มีการทำลายศาสนสถานและรูปเคารพทางศาสนาในวงกว้าง ออกกฎหมายห้ามการสอนศาสนาและปิดโรงเรียนที่อิงศาสนา มีการเพิกถอนความเป็นบาทหลวง บังคับบาทหลวงให้แต่งงานและกำหนดโทษประหาร ณ ที่ที่จับได้แก่ผู้ให้ที่พักพิงแก่ผู้หลบหนี มีการทำพิธีสถาปนาปรัชญาความเชื่อเป็นใหม่ของฝ่ายปฏิวัติเรียกว่าลัทธิ "Supreme Being" ที่เชื่อว่ามีผู้สูงส่งเบื้องบนคอยดูแลฝรั่งเศสอยู่

ความพยายามสร้างความสมานฉันท์และความรักชาติให้เกิดขึ้นของฝ่ายปฏิวัติกลับนำมาซึ่งการนองเลือดอย่างต่อเนื่อง หลังการได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดจกาการสู้รบกับฝ่ายออสเตรีย รอแบ็สปีแยร์ผู้ยึดอำนาจและเป็นเผด็จการทางรัฐสภาก็ถูกโค่นอำนาจโดยสมรู้ร่วมคิดของสมาชิกสภาหลายคนและถูกนำไปตัดศีรษะด้วยกิโยตินพร้อมกับพวกในกลุ่มหลายคนเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ซึ่งเหตุการณ์นี้นำไปสู่ยุคที่เรียกว่า "White Terror" ซึ่งเป็นยุคต่อต้านความโหดเหี้ยมที่นำโดยรอแบ็สปีแยร์ ซึ่งยังคงมีความโหดเหี้ยมเกิดขึ้นประปรายไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งมีการประหารพวกฌากอแบ็งไปอีกหลายร้อยคน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180