ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สภาแห่งชาติลาว

สภาแห่งชาติลาว (ลาว: ??????????????; อังกฤษ: The National Assembly of The Lao PDR) เป็นสถาบันทางการเมืองที่มีความสำคัญของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปกครองตามระบอบประชาธิปไตยประชาชน (สังคมนิยม - คอมมิวนิสต์) แบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง มีองค์กรแห่งสิทธิอำนาจสูงสุด คือ “พรรคประชาชนปฏิวัติลาว” “สภาแห่งชาติ” เป็น “องค์กรนิติบัญญัติ” และเป็นองค์กรบริหารอำนาจสูงสุด ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการต่างขึ้นตรง ได้รับแต่งตั้ง และต้องรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภาแห่งชาติ โดยอำนาจสูงสุดในการบริหารงานของประเทศ (อำนาจในการเลือกตั้ง) ยังเป็นของประชาชน ดังนั้นจึงเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และ เพื่อประชาชน

สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปกครองตามระบอบประชาธิปไตยประชาชน (สังคมนิยม - คอมมิวนิสต์) แบบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลาง มีองค์กรแห่งสิทธิอำนาจสูงสุด คือ “พรรคประชาชนปฏิวัติลาว” “สภาแห่งชาติ” เป็น “องค์กรนิติบัญญัติ” และเป็นองค์กรบริหารอำนาจสูงสุด ฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการต่างขึ้นตรง ได้รับแต่งตั้ง และต้องรายงานผลการปฏิบัติงานต่อสภาแห่งชาติ โดยอำนาจสูงสุดในการบริหารงานของประเทศ (อำนาจในการเลือกตั้ง) ยังเป็นของประชาชน ดังนั้นจึงเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และ เพื่อประชาชน

“ประธานประเทศ” ดำรงตำแหน่งประมุขสูงสุดของรัฐ และมีองค์กรบริหารหลักของรัฐ 4 องค์กร คือ สภาแห่งชาติ คณะรัฐบาล ศาลประชาชน และองค์การอัยการประชาชน “สภาแห่งชาติ” ถือเป็นองค์กรตัวแทนของประชาชน เป็นองค์การตัวแทนแห่งสิทธิ อำนาจ และ ผลประโยชน์ของประชาชน เป็นองค์การอำนาจแห่งรัฐ และเป็นองค์การนิติบัญญัติที่มี สิทธิพิจารณาข้อตัดสินใจหรือปัญหาสำคัญของชาติ รวมทั้ง ติดตามตรวจสอบการดำเนินงานของคณะรัฐบาล ศาลประชาชน และ องค์การอัยการประชาชนประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติเพื่อเป็นตัวแทนแห่งสิทธิ อำนาจ และคุ้มครองดูแลผลประโยชน์ของชาติ สังคม และส่วนรวมการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติปฏิบัติตามหลักการเสมอภาพ ลงคะแนนโดยตรงและลับ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิเสนอถอดถอนผู้แทนของตนได้ หากประพฤติตนไม่สมเกียรติ ศักดิ์ศรี และขาดความไว้วางใจจากประชาชน โดยบริหารงานตามหลักการประชาธิปไตยประชาชนแบบรวมศูนย์อำนาจ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมี “รัฐธรรมนูญ” เป็นกฎหมายพื้นฐานแห่งรัฐ การดำเนินงานของสภาแห่งชาติปฏิบัติตาม “กฎหมายว่าด้วยสภาแห่งชาติ” และการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติปฏิบัติตาม “กฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ”

สภาแห่งชาติมีคณะสมาชิกผู้ทำงานประจำคณะหนึ่งเรียกว่า “คณะประจำสภาแห่งชาติ” ประธานและรองประธานสภาแห่งชาติเป็นประธานและรองประธานคณะประจำสภาแห่งชาติโดยตำแหน่งตามลำดับ หัวหน้าคณะกรรมาธิการทุกคณะและหัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติประกอบกันเป็น “กรรมการคณะประจำสภาแห่งชาติ” มีหน้าที่ปฏิบัติภารกิจต่างๆ ของสภาแห่งชาติในระหว่างที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดการประชุม

สภาแห่งชาติมีหน่วยงานฝ่ายเลขานุการและสำนักงาน คือ “ห้องว่าการสภาแห่งชาติ” “หัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติ” เป็นสมาชิกสภาแห่งชาติทำหน้าที่บังคับบัญชาพนักงานสูงสุดของสภาแห่งชาติ สภาแห่งชาติแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีที่ตั้งอยู่ที่ลานธาตุหลวง กรุงเวียงจันทน์ สภาแห่งชาติชุดปัจจุบันเป็นสภาแห่งชาติ ชุดที่ 6 แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีสมาชิกจำนวน 115 ท่าน เพศหญิง 39 ท่าน จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2549 สังกัดพรรคประชาชนปฏิวัติลาวจำนวน 113 ท่าน สมาชิกอิสระ (มิได้สังกัดพรรคการเมืองใด) 2 ท่าน โดยมีท่านทองสิง ทำมะวง เป็นประธานสภาแห่งชาติ ท่านนางปานี ยาท่อตู้ และท่านไซสมพอน พมวิหาน เป็นรองประธานสภาแห่งชาติ มีคณะกรรมาธิการ

หัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติ (เทียบเท่าตำแหน่งเลขาธิการรัฐสภาหรือเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรหรือเลขาธิการวุฒิสภา) ปัจจุบัน คือ ท่านทองเติน ไซยะเสม มีรองหัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติ จำนวน 3 ท่านซึ่งได้รับการแต่งตั้งในวาระการประชุมปฐมฤกษ์ด้วย มีเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 76 คน (จำนวนไม่แน่นอนเนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ โดยมีการย้าย โอน ข้ามระหว่างหน่วยงานบ่อย รวมทั้ง อาจได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาแห่งชาติด้วย)

สภาแห่งชาติลาวได้รับการช่วยเหลือประจำจากโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ตามโครงการเสริมสร้างสภาแห่งชาติเข้มแข็ง - UNDP ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยเหลือทั้งในด้านองค์ความรู้ การจัดการ งบประมาณรวมทั้ง มีเจ้าหน้าที่มาเป็นที่ปรึกษาประจำด้วย ซึ่งเป็นโครงการที่ทำให้ระบบการปฏิบัติงานและเจ้าหน้าที่สภาแห่งชาติลาว ตลอดจน สิ่งอำนวยความสะดวกของสภาแห่งชาติพัฒนาและเป็นระบบมากขึ้น

การพัฒนาและการคัดเลือกบุคลากรนั้น สภาแห่งชาติลาวพิจารณาคัดเลือกบุคลากรโดยสอบสัมภาษณ์ประกอบกับการพิจารณาประวัติและผลการเรียนแต่ละบุคคล ซึ่งจะต้องจบตรงกับสาขาที่จะรับสมัครนั้นนอกจากจบตรงตามสาขาแล้วก็จะพิจารณาความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษด้วย ทำให้เจ้าหน้าที่ของสภาแห่งชาติลาวสามารถใช้คอมพิวเตอร์และภาษาอังกฤษได้ค่อนข้างดี นอกจากนี้ พนักงานรัฐกรลาวยังได้รับทุนอบรมและทุนการศึกษาต่อจากต่างประเทศ อาทิ จีน เวียดนาม ญี่ปุ่น อินเดีย สิงคโปร์ ไทย (ในอดีตมีอดีตสหภาพโซเวียต-รัสเซียด้วย) จำนวนมาก จึงทำให้มีเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์ต่างประเทศจำนวนมาก และมักจะสามารถสื่อสารได้มากกว่า 2 ภาษาด้วย

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ประชาชนลาวผู้รักชาติได้ร่วมกันต่อสู้เพื่อความเป็นเอกราชจาก ลัทธิล่าอาณานิคมฝรั่งเศสผู้รุกราน โดยความร่วมมือกันของหลายฝ่าย กลุ่มหนึ่งที่สำคัญ คือ “แนวลาวอิสระ” ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของกลุ่มเป็น “พรรคประชาชนปฏิวัติลาว” ได้นำไปสู่การปลดปล่อยเอกราชลาวอย่าง สมบูรณ์ พร้อมกับการสถาปนาสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวขึ้นในที่ประชุมใหญ่ผู้แทนประชาชนทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2518 ซึ่งสภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 1 ก็ได้รับการสถาปนาขึ้นในโอกาสนั้นด้วย

สภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 1 ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 45 ท่าน ท่านสมเด็จเจ้าสุพานุวง ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานสภา ท่านสีสมพอน ลอวันไซ ท่านสีทน กมมะดำ ท่านไฟด่าง ลอเวียยาว เป็นรองประธานสภา และท่านคำสุก แก้วลา เป็นรองประธานและเลขาธิการสภาประชาชนสูงสุด

สภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 1 ประกอบด้วยคณะประจำสภาประชาชนสูงสุด และคณะกรรมาธิการ 3 คณะ คือ คณะกรรมาธิการร่างรัฐธรรมนูญ คณะกรรมาธิการรัฐบัญญัติและกฎหมายเลือกตั้ง คณะกรรมาธิการแผนการและการเงิน

สภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 1 มีบทบาทอย่างยิ่งสร้างความสามัคคีของชนชั้นและเผ่าชนต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ขณะนั้นมีความแตกแยกสูง เพื่อปฏิบัติหน้าที่ยุทธศาสตร์ 2 ด้าน คือ “ปกป้องรักษา” และ “สร้างประเทศชาติ”

สภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 1 ได้ทำหน้าที่ปลุกระดมประชาชนให้เกิดความสามัคคีปรองดองภายในชาติปกป้องรักษาผลของการปฏิวัติ ความเป็นเอกราชของชาติไว้ให้มั่นคง พร้อมกับการฟื้นฟูเศรษฐกิจ วัฒนธรรมสังคม“ลบความเจ็บปวด” จากบาดแผลสงคราม และพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของปวงชนลาวทุกเผ่าชน ให้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ สภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 1 ยังได้ปฏิบัติหน้าที่พิจารณาและรับรองแผนพัฒนาเศรษฐกิจ - สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พิจารณาและรับรองกฎหมายใหม่ อาทิ กฎหมายว่าด้วยสภารัฐมนตรีและคณะกรรมการปกครองท้องถิ่น กฎหมายว่าด้วยการลงทุนจากต่างประเทศ ตลอดจนข้อพิจารณาหรือปัญหาอื่นๆ ของประเทศวันที่ 26 มีนาคม 2532 สภาประชาชนสูงสุด (ชุดใหม่) ชุดที่ 2 จึงได้รับการเลือกตั้งขึ้นจากการเลือกตั้งทั่วไปทั่วทั้งประเทศ สภาชุดนี้ประกอบด้วยสมาชิก 79 ท่าน ท่านหนูฮัก พูมสะหวัน ได้รับเลือกให้เป็นประธานสภา มีคณะประจำ สภาประชาชนสูงสุด 5 ท่าน และมีคณะกรรมาธิการอีกจำ นวนหนึ่ง อาทิ คณะกรรมาธิการกฎหมาย คณะกรรมาธิการเลขานุการ คณะกรรมาธิการวัฒนธรรม - สังคม คณะกรรมาธิการความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และห้องว่าการสภาแห่งชาติ รวมทั้งมีการจัดตั้งสภาประชาชนระดับแขวงและสภา ประชาชนระดับเมืองด้วย

สภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 2 มีผลงานสำคัญ คือ การจัดทำร่างรัฐธรรมนูญแห่งชาติ ฉบับแรกจนเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งได้รับการรับรองในการประชุม ครั้งที่ 6 สมัยสามัญ ของสภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 2 เมื่อวันที่ 14สิงหาคม 2534 นอกจากนี้ สภาประชาชนสูงสุด ชุดที่ 2 ยังได้รับรองกฎหมายใหม่จำนวนมากถึง 22 ฉบับตลอดจนได้เพิ่มภารกิจการปฏิบัติงานด้านการต่างประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มความร่วมมือกับองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ ภูมิภาค และรัฐสภาประเทศพันธมิตร เพื่อให้ประชาคมโลกได้รู้จักสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมากขึ้น

นอกจากนี้ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้รับการพิจาณาเข้าเป็นสมาชิกสหภาพรัฐสภา (IPU) อย่างสมบูรณ์ในที่สุดในที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 83 ณ กรุงนิโคเซีย ประเทศไซปรัส พร้อมกันนี้ยังได้รับสถานภาพให้เป็นผู้สังเกตการณ์องค์การรัฐสภาอาเซียน (AIPO) รวมทั้งการจัดตั้งสมาคมมิตรภาพรัฐสภาลาว - ญี่ปุ่นด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้นับเป็นภารกิจที่สำคัญยิ่งด้านการต่างประเทศวันที่ 20 ธันวาคม 2535 สภาชุดที่ 3 ได้รับการเลือกตั้งขึ้น พร้อมกับเปลี่ยนนามจาก “สภาประชาชนสูงสุด” เป็น “สภาแห่งชาติ” เพื่อทำหน้าที่ปฏิบัติภารกิจและทำหน้าที่ในฐานะองค์การนิติบัญญัติตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหมวดว่าด้วยสภาแห่งชาติ และสภาแห่งชาติ ชุดที่ 3 นี้ เป็นสภาชั้นเดียวหรือสภาเดี่ยวโดยมิได้มีสภาแห่งชาติระดับท้องถิ่น (ระดับแขวงและระดับเมือง) อีกต่อไป

การเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดของสภาแห่งชาติแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2549 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ ชุดที่ 6 โดยเลือกตั้งครั้งนี้มีเขตเลือกตั้งทั้งหมด 17 เขต คือ 16 แขวง กับ 1 นครหลวงเวียงจันทน์ รวมหน่วยเลือกตั้งทั้งหมด 5,127 หน่วย มีจำนวนประชากรผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 2,748,936 คน เพื่อเลือกสมาชิกสภาแห่งชาติจำนวน 115 ท่าน จากจำนวนผู้ลงสมัครทั้งหมด 175 ท่าน ในจำนวนนี้เป็นผู้สมัครหญิง 39 ท่าน เป็นผู้สมัครอิสระที่ไม่สังกัดพรรคประชาชนปฏิวัติลาว 2 ท่าน

องค์ประกอบและโครงสร้างของสภาแห่งชาติประกอบด้วย ประธานสภาแห่งชาติ รองประธานสภาแห่งชาติ คณะประจำสภาแห่งชาติ คณะกรรมาธิการ ห้องว่าการสภาแห่งชาติ และสมาชิกสภาแห่งชาติ

สมาชิกสภาแห่งชาติทำหน้าที่เลือกและแต่งตั้งประธานสภาแห่งชาติ รองประธานสภาแห่งชาติ สมาชิกสภาแห่งชาติเลือกคณะกรรมาธิการที่ตนจะสังกัดได้โดยความเห็นชอบของที่ประชุมสภาแห่งชาติ จากนั้นสมาชิกแต่ละคณะกรรมาธิการเลือกและแต่งตั้งหัวหน้าและรองหัวหน้าคณะกรรมาธิการ สมาชิกสภาแห่งชาติเลือกและแต่งตั้งสมาชิก 1 คน เพื่อทำหน้าที่หัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติ ส่วนรองหัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาตินั้นอาจแต่งตั้งจากสมาชิกสภาแห่งชาติหรือไม่ก็ได้ ประธานสภาแห่งชาติ รองประธานสภาแห่งชาติ หัวหน้าคณะกรรมาธิการ และหัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติ (หรืออาจแต่งตั้งเพิ่มเติมได้ แต่โดยปกติมักไม่แต่งตั้งเพิ่มเติม) โดยตำแหน่งประกอบกันเป็นคณะประจำ สภาแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่แทนสภาแห่งชาติเต็มองค์คณะในระหว่างนอกสมัยประชุมสภาแห่งชาติ โดยศักดิ์ของตำแหน่งแล้ว ในทางการบริหารนั้น ประธานสภาแห่งชาติ ศักดิ์เทียบเท่ากับตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะกรรมาธิการหรือหัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติ ศักดิ์เทียบเท่ากับตำแหน่ง รัฐมนตรี ซึ่งสะท้อนบทบาททางการบริหารและอำนาจที่ค่อนข้างสูงของตำแหน่งทางการเมืองของสภาแห่งชาติ

คณะประจำสภาแห่งชาติ (หรือคณะกรรมการประจำสภาแห่งชาติ) คือ คณะสมาชิกสภาแห่งชาติจำนวนหนึ่งซึ่งสมาชิกสภาแห่งชาติแต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติงานประจำของสภาแห่งชาติ โดยเฉพาะระหว่างที่มิได้เปิดสมัยประชุมเป็นโครงสร้างและระบบเฉพาะพิเศษของสภาแห่งชาติลาว ซึ่งจัดองค์ประกอบและโครงสร้างตามแบบของประเทศสังคมนิยม - คอมมิวนิสต์ ระบบของไทยไม่มีหน่วยงานหรือสถาบันหรือองค์กรระดับนี้หรือองค์การเทียบเท่า เหตุผลหนึ่งเพราะสมัยประชุมของรัฐสภาไทยค่อนข้างยาว (สมัยประชุมสามัญรัฐสภาไทย 120 วัน 1 ปี มี 2 สมัยประชุมสามัญ) จึงไม่จำเป็นต้องมีหน่วยงานขึ้นมาเพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนที่มีศักดิ์และสิทธิ (เกือบ) เทียบเท่า สภาแห่งชาติ แต่สภาแห่งชาติลาวมีสมัยประชุมค่อนข้างสั้น (หนึ่งปีมีสมัยประชุมสามัญ 2 สมัย ระยะเวลา 1 สมัยประชุม ประมาณ 7 - 15 วัน ทั้งนี้เปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม) จึงจำเป็นต้องมีองค์กรที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ของสภาแห่งชาติในช่วงเวลาดังกล่าวได้ ซึ่งสภาแห่งชาติก็ได้ทำการเลือกตั้งคณะประจำสภาแห่งชาติของตน ขึ้นมา

คณะประจำสภาแห่งชาติ ประกอบด้วย ประธาน รองประธาน และกรรมการจำนวนหนึ่งประธานและรองประธานสภาแห่งชาติ เป็นประธานและรองประธานคณะประจำสภาแห่งชาติโดยตำแหน่ง และกรรมการอื่นประกอบด้วยหัวหน้าคณะกรรมมาธิการทุกคณะกรรมาธิการและหัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติ ซึ่งกรรมการคณะประจำสภาแห่งชาติ ต้องเป็นสมาชิกสภาแห่งชาติในวาระนั้นด้วย (ตามกฎหมายประธานและรองประธานสภาแห่งชาติเป็นประธานและรองประธานคณะประจำสภาแห่งชาติโดยตำแหน่ง ส่วนกรรมการอื่นแต่งตั้งจากสมาชิกสภาแห่งชาติโดยที่ประชุมสภาแห่งชาติ แต่โดยธรรมเนียมของสภาแห่งชาติลาวโดยเฉพาะในชุดหลังๆ นั้น มักแต่งตั้งจากหัวหน้าคณะกรรมาธิการทุกคณะกรรมาธิการและหัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติเท่านั้น) โดยปกติคณะประจำสภาแห่งชาติประกอบด้วยประธาน รองประธาน หัวหน้าคณะกรรมาธิการ และ หัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติ ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากการจัดองค์กรและบทบาท อำนาจ และหน้าที่คณะประจำสภาแห่งชาติจึงมีฐานะเป็น “รัฐบาลเงา” ของสภาแห่งชาติ เพื่อคอยตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติงานของรัฐบาลอย่างใกล้ชิดด้วยในที่สุด

คณะประจำสภาแห่งชาติเป็นองค์กรประจำการหรือคณะสมาชิกผู้ปฏิบัติงานของสภาแห่งชาติเป็นงานประจำ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่แทนสภาแห่งชาติในระยะเวลาที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดสมัยประชุม

อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลาที่มิได้อยู่ในสมัยการประชุม คณะประจำสภาแห่งชาติมีสิทธิตัดสินใจและดำเนินการทุกประการได้เหมือนกับสภาแห่งชาติเต็มองค์คณะ (ถือว่าเป็นผู้แทนที่สมาชิกสภาแห่งชาติทั้งหมดไว้วางใจเลือกตั้งให้มาดำรงตำแหน่งดังกล่าวเพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่แทนสภาแห่งชาติเต็มองค์คณะได้ในระยะเวลาและกิจการตามที่กฎหมายกำหนด) และให้ถือเป็นตัวแทนของสภาแห่งชาติในกิจการทั้งปวงในช่วงระยะเวลาตามกล่าวข้างต้น

สภาแห่งชาติ ชุดที่ 4 มีคณะกรรมาธิการ 6 คณะ (จำนวนคณะกรรมาธิการของสภาแห่งชาติเป็นไปตาม กฎหมายว่าด้วยสภาแห่งชาติ ส่วนของไทยกำหนดจำนวนตามข้อบังคับการประชุมสภาจึงเปลี่ยนแปลงจำนวนเพิ่ม ลดได้ง่าย) ดังนี้

ในกรณีจำเป็นอาจเชิญภาคส่วนดังกล่าวมาเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมหรือเข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานได้

ห้องว่าการสภาแห่งชาติเป็นองค์การฝ่ายธุรการ สำนักงาน และเลขานุการของสภาแห่งชาติและคณะประจำสภาแห่งชาติห้องว่าการสภาแห่งชาติจัดตั้ง (องค์การและคณะบริหาร) ขึ้นในที่ประชุมปฐมฤกษ์ของสภาแห่งชาติแต่ละชุด (พร้อมกับคณะประจำสภาแห่งชาติและคณะกรรมาธิการ) ห้องว่าการสภาแห่งชาติมีหน้าที่ค้นคว้า สรุป วิเคราะห์ ตลอดจนบริหาร วางแผน งานการเงิน - การงบประมาณ และอำนวยความสะดวกให้แก่คณะกรรมาธิการของสภาแห่งชาติในการดำเนินงานและปฏิบัติหน้าที่ของตนปัจจุบัน หัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติ คือ ท่าน ทองเติน ไซยะเสม เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานของห้องว่าการสภาแห่งชาติ

ห้องว่าการสภาแห่งชาติ มีหัวหน้าห้องว่าการและรองหัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติเป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานและรัฐกรของสภาแห่งชาติโครงสร้างระบบการบริหารงานและการปฏิบัติงานของห้องว่าการสภาแห่งชาติ ประกอบด้วย กรมแผนก และห้องว่าการสภาแห่งชาติประจำเขตเลือกตั้ง

หัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติเป็นสมาชิกสภาแห่งชาติที่ได้รับการเลือกตั้งจากที่ประชุมปฐมฤกษ์ของสภาแห่งชาติ ส่วนรองหัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติได้รับการแต่งตั้งจากคณะประจำสภาแห่งชาติ (ซึ่งรองหัวหน้าห้องว่าการอาจจะเป็นสมาชิกสภาแห่งชาติด้วยหรือไม่ก็ได้)

ข้อสังเกตเกี่ยวกับกรมฝ่ายวิชาการและข้อมูลทั้ง 6 กรม นั้น คือ ทุกกรมมีรายชื่อตรงกับคณะกรรมาธิการทั้ง 6 คณะ เพราะกรมฝ่ายวิชาการและข้อมูลนั้นถือเป็นกรมที่สนับสนุนการดำเนินงานของคณะกรรมาธิการแต่ละคณะโดยตรง และในทางการบริหารกรมฝ่ายวิชาการและข้อมูลขึ้นตรง 2 ส่วน คือ แต่ละคณะกรรมาธิการและห้องว่าการสภาแห่งชาติ โดยในทางการบริหารขึ้นตรงต่อห้องว่าการสภาแห่งชาติ แต่ในทางการปฏิบัติงานนั้นขึ้นตรงต่อคณะกรรมาธิการแต่ละคณะ

สมาชิกสภาแห่งชาติเป็นตัวแทนแห่งจิตปรารถนาและความมุ่งมั่นตั้งใจของประชาชนลาวทุกเผ่าชน โดยพลเมืองลาวเป็นผู้เลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติตามหลักการที่ได้กำหนดไว้ในกฎหมายการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติสมาชิกสภาแห่งชาติได้รับ เอกสิทธิ์ ที่จะไม่ถูกดำเนินคดีหรือกักขัง หากไม่ได้รับความเห็นชอบจากสภาแห่งชาติหรือคณะประจำสภาแห่งชาติ (ในเวลาที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดสมัยการประชุม) ในกรณีที่มีการกระทำผิดซึ่งหน้าหรือรีบด่วน หน่วยงานที่กักขังสมาชิกสภาแห่งชาติต้องรายงานต่อสภาแห่งชาติหรือคณะประจำสภาแห่งชาติ (ในเวลาที่สภาแห่งชาติมิได้เปิดสมัยการประชุม) เพื่อพิจารณาอนุมัติการจับกุมทันที การสืบสวน - สอบสวนไม่อาจเป็นสาเหตุให้สมาชิกสภาแห่งชาติที่ถูกดำเนินคดีนั้นขาดการประชุมสภา แห่งชาติได้

รัฐแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นรัฐประชาธิปไตยประชาชน อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน สภาแห่งชาติเป็นองค์การอำนาจรัฐที่มีสิทธิ อำนาจ พิจารณาและรับรองข้อตัดสินใจหรือปัญหาพื้นฐานของประเทศ ตลอดจนเป็นองค์การนิติบัญญัติและองค์การกำกับตรวจสอบการดำเนินงานของคณะรัฐบาลและองค์การตุลาการ (ศาลประชาชนและองค์การอัยการประชาชน) สภาแห่งชาติจัดตั้งและดำเนินงานตามหลักการประชาธิปไตยประชาชนแบบรวมศูนย์อำนาจ สภาแห่งชาติดำเนินงานตามระเบียบการประชุมและพิจารณาข้อตัดสินใจหรือ “บันหา” หรือญัตติตามหลักการเสียงข้างมาก (Majority Vote)

ประธานสภาแห่งชาติ เป็น “ผู้ชี้นำและนำพา” การปฏิบัติงานตามภารกิจของสภาแห่งชาติ ตลอดจน เป็น “ผู้แทน” ของสภาแห่งชาติ ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและระหว่างประเทศ

รองประธานสภาแห่งชาติ มีหน้าที่ช่วยเหลือประธานสภาแห่งชาติในการปฏิบัติงานทั่วไป และอาจรับผิดชอบการปฏิบัติงานด้านหนึ่งด้านใดตามการมอบหมายของประธานสภาแห่งชาติกรณีที่ประธานสภาแห่งชาติไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้รองประธานสภาแห่งชาติปฏิบัติหน้าที่แทนตามการมอบหมายของสภาแห่งชาติ

การประชุมปฐมฤกษ์ คือ การประชุมครั้งแรกของสภาแห่งชาติชุดใหม่ จะมีขึ้นไม่เกิน 60 วัน หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติชุดนั้น ประธานสภาแห่งชาติชุดเดิมจะทำหน้าที่ประธานการประชุมปฐมฤกษ์จนกว่าจะได้เลือกตั้งประธานสภาแห่งชาติชุดใหม่

สภาแห่งชาติเปิด การประชุมสมัยสามัญ ปีละ 2 ครั้ง โดยมีคณะประจำสภาแห่งชาติเป็นผู้เรียกประชุมครั้งที่ 1 มีขึ้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์และครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนกันยายน หนึ่งสมัยประชุมของสภาแห่งชาติมีระยะเวลาประมาณ 1 - 2 สัปดาห์ โดยมีการกำหนดวาระที่ชัดเจนก่อนจะเริ่มการประชุมแล้วการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 1 พิจารณากฎหมาย ข้อตัดสินใจหรือปัญหาทั่วไปของสภาแห่งชาติ ส่วนการประชุมสมัยสามัญ ครั้งที่ 2 นั้น มีหน้าที่รับฟังคำนำเสนอและพิจารณาบทรายงาน (ผลการปฏิบัติงาน) ประจำปีของรัฐบาล พิจารณารับรองแผนพัฒนาเศรษฐกิจ - สังคมและแผนงบประมาณแห่งรัฐ รับฟังคำนำเสนอและพิจารณาบทรายงาน (ผลการปฏิบัติงาน) ประจำปีของประธานศาลประชาชนสูงสุดและอัยการประชาชนสูงสุดนอกจากนี้ อาจพิจารณากฎหมาย ข้อตัดสินใจ หรือปัญหาสำคัญอื่นเพิ่มเติมได้สภาแห่งชาติอาจเปิด การประชุมสมัยวิสามัญ หรือ การประชุมสมัยพิเศษ ได้ ตามมติของคณะประจำสภาแห่งชาติโดยเสนอของประธานประเทศหรือนายกรัฐมนตรีหรือสมาชิกสภาแห่งชาติจำนวน 1 ใน 4 ของสมาชิกทั้งหมดการประชุมสมัยวิสามัญ ของสภาแห่งชาติเปิดขึ้นในระหว่างที่มิได้มีการประชุมสมัยสามัญ เพื่อพิจารณาตัดสินและรับรองปัญหาที่มีความจำเป็นการประชุมสมัยพิเศษ ของสภาแห่งชาติอาจเปิดขึ้นเพื่อพิจารณาตัดสินและรับรองปัญหาเฉพาะหน้าหรือ ปัญหาเร่งด่วนที่สำคัญของประเทศการประชุมของสภาแห่งชาติให้ดำเนินงานอย่างเปิดเผย โดยในกรณีจำเป็นคณะประจำสภาแห่งชาติจะตกลงให้ประชุมลับตามการเสนอของประธานประเทศหรือนายกรัฐมนตรีก็ได้การประชุมของสภาแห่งชาติจะเปิดประชุมได้ก็ต่อเมื่อมีสมาชิกเข้าร่วมการประชุมมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด และมติของที่ประชุมสภาแห่งชาติจะบังคับใช้ได้ก็ต่อเมื่อได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมการประชุม (เว้นแต่กรณีที่ได้กำหนดไว้ในมาตรา 54, 66 และ 97 ของรัฐธรรมนูญ)

การดำเนินงานของในสภาแห่งชาติแต่ละชุดนั้นจะเป็นไปตามแผนการปฏิบัติงาน 5 ปี และแผนปฏิบัติงานประจำปีของสภาแห่งชาติองค์ประกอบของแผนการปฏิบัติงาน 5 ปี และแผนปฏิบัติงานประจำปี นั้น มีองค์ประกอบเนื้อหาด้านต่างๆ อาทิ การตราหรือการปรับปรุงกฎหมาย การพัฒนาทรัพยากรบุคคลและองค์กร ความสัมพันธ์กับรัฐสภาต่างประเทศและองค์การรัฐสภาระหว่างประเทศ นโยบายและแผนหรือ ทิศทางการดำเนินงาน การบริหารและการเงิน ตลอดจนการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสำคัญของชาติ ซึ่งแผนการปฏิบัติงาน 5 ปีนี้ จะได้มีการจัดทำร่างขึ้นก่อนที่สภาแห่งชาติชุดเดิมจะหมดวาระ และรับรองในที่ประชุมการประชุมปฐมฤกษ์ของสภาแห่งชาติชุดใหม่ซึ่งถือเป็นการส่งต่อและส่งมอบงานที่เป็นระบบ ถ่ายทอดและสืบทอดงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งจากแผนการปฏิบัติงาน 5 ปี ข้างต้น คณะประจำสภาแห่งชาติจะเป็นผู้ “ผันขยาย” (ปรับ) แผนปฏิบัติงาน 5 ปี ไปสู่แผนการปฏิบัติงานประจำปี ซึ่งในด้านกฎหมาย (รวมทั้งด้านอื่นด้วยนั้น) จะมีวาระว่าแต่ละปีนั้นจะมีกฎหมายใดเข้าสู่การพิจารณาของสภาแห่งชาติบ้างซึ่งแผนการทั้ง 2 ระดับนั้น คือ ทั้งแผนปฏิบัติงาน 5 ปี และแผนการปฏิบัติงานประจำปี จะจัดทำขึ้นโดย

เฉพาะในด้านการตรากฎหมายนั้น ให้พิจารณาตามแผนการปฏิบัติงานประจำปี โดยองค์การและบุคคลผู้มีสิทธิเสนอร่างกฎหมายจะได้ค้นคว้าข้อมูลประกอบพร้อมกับจัดทำร่างกฎหมายเสนอต่อสภาแห่งชาติ ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้รวบรวมความเห็นเสนอ (ปกติร่างกฎหมายที่จะผ่านที่ประชุมสภาแห่งชาติชุดนั้น จะต้องเสนอความเห็นผ่านที่ประชุมปฐมฤกษ์ของสภาแห่งชาติชุดนั้นก่อนเท่านั้น ดังนั้น ขั้นรับร่างกฎหมายตามกระบวนการพิจารณากฎหมายไทย จึงอาจนับว่าเริ่มมีขึ้นตั้งแต่การประชุมปฐมฤกษ์ของสภาแห่งชาติชุดนั้น)

ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย สปป.ลาว องค์การจัดตั้งและบุคคลที่มีสิทธิเสนอร่างกฎหมายเพื่อให้สภาแห่งชาติพิจารณา มีดังนี้

งานระบบกฎหมายและการออกกฎหมายของ สปป.ลาว นั้น แบ่งพิจารณาได้เป็น 2 ด้านหลัก ซึ่งหลักการนี้ได้ถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัดและให้ความสำคัญมากเท่าๆ กันทั้ง 2 ด้าน และเป็นหลักการที่ประเทศซึ่งปกครองตามระบอบประชาธิปไตยประชาชนหรือสังคมนิยม - คอมมิวนิสต์ถือปฏิบัติ แบ่งได้ดังนี้

กระบวนการตราและปรับปรุงแก้ไขกฎหมายจะดำเนินการตามแผนการปฏิบัติงาน 5 ปี ของสภาแห่งชาติ ซึ่งจะกำหนดว่าจะมีการตราหรือปรับปรุงแก้ไขกฎหมายใดบ้าง ทั้งในรอบ 5 ปี ซึ่งครบตามวาระของสภาแห่งชาติชุดนั้นและโครงการในแต่ละปีเมื่อจะมีการพิจารณาเสนอกฎหมายใด รัฐบาลโดยหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายนั้นหรือหน่วยงาน (เจ้าของ) ผู้รักษาการตามกฎหมายนั้นจะมีการประสานงานรวบรวมความเห็นและข้อมูลเพื่อประกอบความเห็นต่อร่างกฎหมายนั้นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันจัดทำร่างกฎหมายนั้นขึ้น เมื่อได้จัดทำร่างกฎหมายเสร็จเรียบร้อยแล้วจึงเสนอกระทรวงยุติธรรมเพื่อพิจารณารับรอง แล้วจึงเสนอต่อรัฐบาล เมื่อคณะรัฐบาลลงมติรับรองแล้วจึงเสนอต่อสภาแห่งชาติก่อนที่สมัยประชุมสภาแห่งชาติจะเปิดขึ้นไม่น้อยกว่า 60 วันต่อไป

เมื่อสภาแห่งชาติรับร่างกฎหมายไว้พิจารณาแล้ว สภาแห่งชาติจะมอบหมายให้คณะกรรมาธิการกฎหมายและคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องพิจารณาร่วมกันเพื่อทำความเห็น ตลอดจนตรวจสอบข้อมูลเพื่อนำเสนอต่อ “การประชุมเปิดกว้าง” (เป็นการประชุมที่หน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน ตลอดจน ตัวแทนประชาชน รวมทั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ และส่วนท้องถิ่น สามารถเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นต่างๆ ในที่ประชุมได้ ซึ่งประเด็นในที่ประชุมเปิดกว้างนั้นก็เป็นประเด็นเปิดกว้างที่เกี่ยวข้องกับนโยบายและการบริหารงานภาพรวมทั้งหมดของชาติด้วย) เพื่อนำความเห็นมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงร่างกฎหมาย เมื่อปรับปรุงแล้วจึงเสนอให้คณะประจำสภาแห่งชาติอนุมัติ กรณีเป็นร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ (ได้เสีย) ของประชาชนหรือผลประโยชน์แห่งชาติก่อนเสนอเพื่อให้คณะประจำสภาแห่งชาติพิจารณาอนุมัติ ต้องมีการขอความเห็นหรือ “ประชาพิจารณ์” จาก ประชาชนก่อนด้วย (กระบวนการเสนอความเห็นและประชาพิจารณ์กฎหมายลาวนั้น เรียกว่า “การทาบทาม”กระบวนการนี้ สมาชิกสภาแห่งชาติจะลงพื้นที่เพื่อขอความเห็นจากประชาชนในพื้นที่ตามแขวงต่างๆ แล้วสรุปความเห็นที่เกี่ยวข้องเสนอต่อคณะกรรมาธิการกฎหมายและคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องต่อไป เพื่อนำมาปรับปรุงอีกครั้งตามความเหมาะสม เมื่อปรับร่างกฎหมายแล้วจึงเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะประจำสภาแห่งชาติ)

เมื่อคณะประจำสภาแห่งชาติเห็นเหมาะสมแล้วจึงเสนอเข้าสู่ที่ประชุมสภาแห่งชาติ ถ้าคณะประจำสภาแห่งชาติเห็นว่ายังไม่ครบถ้วนเพียงพออาจเสนอให้คณะกรรมาธิการกฎหมายและคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องรวบรวมข้อมูลเพื่อปรับปรุงให้ครบถ้วนสมบูรณ์และเสนอใหม่อีกครั้งได้

ขั้นตอนการพิจารณาร่างกฎหมายในการประชุมสภาแห่งชาตินั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบนำเสนอร่างกฎหมายร่วมกับคณะกรรมาธิการกฎหมายและคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้อง โดยรัฐมนตรีทำหน้าที่เสนอจุดประสงค์ของกฎหมายต่อที่ประชุมสภาแห่งชาติ กรรมาธิการผู้รับผิดชอบร่างกฎหมายนั้นนำเข้าสู่การพิจารณารายมาตรา (อ่านและพิจารณาเรียงตามรายมาตรา) ถ้ามีข้อคิดเห็นหรือมีการขอแปรญัตติเพิ่มเติมให้ประธานสภาแห่งชาติหรือสมาชิกเสนอต่อที่ประชุม คณะกรรมาธิการกฎหมายและคณะกรรมาธิการที่เกี่ยวข้องหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่เกี่ยวข้องทำหน้าที่ชี้แจง กรณีกฎหมายใดพิจารณาได้ง่าย คือ ไม่ซับซ้อนหรือเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติอาจผ่านความเห็นหรือขอมติเป็นรายหมวดหรือรายภาค ถ้ากฎหมายฉบับใดยากหรือซับซ้อนหรือเกี่ยวข้องกับสิทธิและผลประโยชน์ของประชาชน อาจพิจารณาผ่านความเห็นหรือขอมติเป็นรายมาตราการลงคะแนนเสียงให้ลงคะแนนเสียงแบบปิดลับ (ลงคะแนนเสียงโดยลับ) การผ่านความเห็นหรือมติจะมีผลบังคับใช้เมื่อได้รับคะแนนเสียงมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกที่เข้าร่วมการประชุมเมื่อกฎหมายนั้นได้รับมติเห็นชอบจากสภาแห่งชาติแล้ว ให้คณะกรรมาธิการกฎหมายปรับปรุงตามความเห็นและคำนำเสนอ แล้วนำกลับเข้าที่ประชุมสภาแห่งชาติอีกครั้งในวันสุดท้ายของสมัยการประชุมนั้นเพื่อรับรองให้ประกาศบังคับใช้ต่อไป

เมื่อกฎหมายใดได้รับการลงมติบังคับใช้จากสภาแห่งชาติแล้ว กระทรวงผู้รับผิดชอบบังคับใช้กฎหมายจะต้องเสนอให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายนั้นต่อหน่วยงานขึ้นตรงและเกี่ยวข้องของตนก่อนจากตั้งแต่ส่วนกลางถึงท้องถิ่น ซึ่งเป็นการให้ความรู้เพื่อการบังคับใช้กฎหมายและปฏิบัติงานได้

กระบวนการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กฎหมายนั้นมีความหลากหลายนับแต่การประชาสัมพันธ์และโฆษณาทางสื่อ ตลอดจน การจัดทำเอกสารทางวิชาการ อาทิ วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ เอกสาร หนังสือ นอกจากนี้ อาจมีการจัดสอนในชั้นเรียนหรือสัมมนาตามสถาบันการศึกษาด้วย กฎหมายบางฉบับอาจจะจัดเข้าไปอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนภาคบังคับด้วย ซึ่งทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสำคัญของกฎหมายนั้นเป้าหมายของงานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กฎหมาย คือ จะเร่งให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายนั้นก่อน จึงขยายสู่กลุ่มพนักงาน (ข้าราชการ) ทั่วไป และสู่ภาคประชาชน เป็นการกระจายสู่ทุกระดับตั้งแต่จากศูนย์กลางสู่ท้องถิ่นตามลำดับ

ในการพิจารณาร่างกฎหมายและร่างรัฐบัญญัติ สภาแห่งชาติจะแต่งตั้งกรรมาธิการเพื่อจัดทำความเห็นเสนอต่อคณะประจำสภาแห่งชาติและประธานประเทศ นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการแต่ละคณะยังมีหน้าที่สนับสนุนสภาแห่งชาติและคณะประจำสภาแห่งชาติเพื่อดำเนินการตามอำนาจในการตรวจสอบการดำเนินงานของคณะรัฐบาล ศาลประชาชน และองค์การอัยการประชาชน อันจะเป็นการรวบรวมข้อมูลเพื่อสนับสนุนการจัดทำร่างกฎหมายในอนาคตด้วย (รายละเอียดเกี่ยวกับคณะกรรมาธิการโปรดพิจารณาตามหัวข้อ “คณะกรรมาธิการของสภาแห่งชาติ” หน้า 28 - 29) กฎหมายที่สภาแห่งชาติได้รับรองแล้วนั้นประธานประเทศต้องประกาศบังคับใช้ภายในไม่เกินสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับรอง

ในระยะเวลาดังกล่าวนั้น ประธานประเทศมีสิทธิเสนอกลับคืนให้สภาแห่งชาติพิจารณาใหม่ได้ กฎหมายที่พิจารณาใหม่นั้น ถ้าหากสภาแห่งชาติมีมติยืนยันตามเดิมแล้ว ประธานประเทศต้องประกาศใช้ภายในกำหนดสิบห้าวันโดยปกติ 1 ปี สภาแห่งชาติจะผ่านกฎหมายประมาณ 12 ฉบับ (มากสุดอาจถึง 14 ฉบับ) สมัยประชุมละประมาณ 6 - 7 ฉบับ

“ญัตติ” หรือข้อพิจารณา ในภาษาลาวหรือตามกฎหมายของลาวนั้น เรียกว่า “บันหา” หรือ “ปัญหา” “บันหา” คือ ข้อเสนอที่มีความมุ่งหมายเพื่อให้สภาแห่งชาติลงมติหรือวินิจฉัยว่าจะปฏิบัติอย่างไร ซึ่งการเสนอเรื่องหรือข้อพิจารณาเพื่อให้ที่ประชุมสภาแห่งชาติพิจารณานั้นจะต้องเสนอเป็น “ญัตติ” หรือ “บันหา” “บันหา” จึงเป็นกลไกหนึ่ง ในการดำเนินงานของสภาแห่งชาติ เพราะ “บันหา” ทุกเรื่องย่อมมีจุดมุ่งหมาย อันทำให้รู้ถึงประโยชน์หรือผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น “บันหา” จึงมีความสำคัญดำเนินงานของสภาแห่งชาติ 3 ประการ ดังนี้

โดยทั่วไปลักษณะการเสนอ “บันหา” แบ่งออก 2 ประเภท คือ 1. “บันหา” ที่เสนอด้วยวาจา และ 2. “บันหา” ที่เสนอเป็นหนังสือ

“บันหา” ที่เสนอโดยถูกต้องแล้วประธานสภาแห่งชาติจะต้องนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมตามกระบวนการพิจารณา กระบวนการพิจารณา “บันหา” มี 3 ขั้นตอน คือ 1. การอภิปราย 2. การแปร “ญัตติ” หรือการอภิปราย “บันหา”และ 3. การลงมติ “บันหา” หรือ “ญัตติ” หรือข้อตัดสินใจที่เกี่ยวกับ “ชะตากรรม” ของชาติและผลประโยชน์อันสำคัญของประชาชนต้องผ่านการพิจารณาของสภาแห่งชาติหรือคณะประจำสภาแห่งชาติกรณีสภาแห่งชาติมิได้เปิดการประชุม เท่านั้น

การทู้ถาม คือ คำถามที่สมาชิกสภาแห่งชาติตั้งเพื่อถามนายกรัฐมนตรีหรือสมาชิกรัฐบาล (รัฐมนตรีและหัวหน้าองค์กรเทียบเท่ากระทรวง) ประธานศาลประชาชนสูงสุด และอัยการประชาชนสูงสุด ในเรื่องอันเกี่ยวกับงานในหน้าที่หรือนโยบายการบริหารงาน

สมาชิกสภาแห่งชาติมีสิทธิตั้งกระทู้ถามนายกรัฐมนตรีหรือสมาชิกรัฐบาล ประธานศาลประชาชนสูงสุด และอัยการประชาชนสูงสุด บุคคลที่ถูกซักถามนั้น ต้องชี้แจงต่อที่ประชุมสภาแห่งชาติด้วยวาจาหรือเป็นลายลักษณ์อักษรแต่นายกรัฐมนตรีหรือสมาชิกรัฐบาล ประธานศาลประชาชนสูงสุด อัยการประชาชนสูงสุด หรือผู้ที่เกี่ยวข้องมีสิทธิที่จะยังไม่ตอบกระทู้นั้นก็ได้ ถ้าผู้เกี่ยวข้องนั้นเห็นว่าเรื่องหรือกรณีนั้นยังไม่ควรเปิดเผย เพราะอาจเกี่ยวกับความปลอดภัย หรือประโยชน์สำคัญของประเทศกระทู้ถามที่สมาชิกตั้งถามนายกรัฐมนตรีหรือสมาชิกรัฐบาล ประธานศาลประชาชนสูงสุด และอัยการประชาชนสูงสุด มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

กระทู้ถามนับเป็นวิธีการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินที่สำคัญอย่างหนึ่งของสภาแห่งชาติ เพราะทำให้ฝ่าย ปฏิบัติงานมีความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดียิ่งขึ้น มิฉะนั้น อาจถูกสมาชิกสภาแห่งชาติตั้งกระทู้ถามอันแสดง ให้เห็นถึงความผิดพลาดหรือบกพร่องในการปฏิบัติงานได้ กระทู้ถามมี 2 ประเภท คือ 1. กระทู้ถามสด และ 2. กระทู้ถามทั่วไป

การเปิดอภิปรายทั่วไปเป็นมาตรการควบคุมการบริหารงานวิธีหนึ่ง ซึ่งถือเป็นมาตรการที่สำคัญและมีประสิทธิภาพมาก เพราะสามารถเป็นเครื่องมือเหนี่ยวรั้ง ถ่วงดุลอำนาจ และควบคุมการบริหารงานของฝ่ายต่างๆ จากสภาแห่งชาติให้อยู่ในภาวะสมดุลได้ดีที่สุด แม้สภาแห่งชาติจะมิได้มีการใช้มาตรการการเปิดอภิปรายทั่วไปนี้มากนัก (ตามสถิติสภาแห่งชาติลาวเปิดอภิปรายทั่วไปทั้งกรณีการลงมติและไม่ลงมติน้อยมาก ระบอบการปกครองของลาว คือ ระบอบประชาธิปไตยประชาชนหรือ “สังคมนิยม-คอมมิวนิสต์” นั้น เป็นระบบที่เน้นทั้ง “พรรค” และ “รัฐ” “พรรค-รัฐ” ควบคู่และเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นมักแก้ปัญหากันเสร็จเรียบร้อยตั้งแต่ภายใน “พรรค” แล้ว ซึ่งถือเป็น “หลังฉาก” ขณะที่ระดับ “รัฐ” หรือ “หน้าฉาก” นั้น การบริหารงานมักเป็นไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย “ใสสะอาด” และปราศจากความขัดแย้ง)

ลักษณะของการอภิปรายทั่วไปแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ 1. การเปิดอภิปรายทั่วไปโดยมีการลงมติ และ 2. การเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติกรณีการเปิดอภิปรายทั่วไปโดยมีการลงมตินั้น รัฐบาลหรือสมาชิกคณะรัฐบาลอาจถูกสภาแห่งชาติ “พิจารณา”และ “ลงมติ” ไม่ไว้วางใจได้ตามการเสนอของคณะประจำสภาแห่งชาติหรือสมาชิกสภาแห่งชาติอย่างน้อยหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดในระยะเวลายี่สิบสี่ชั่วโมงหลังจากที่สภาแห่งชาติได้ลงมติไม่ไว้วางใจ ประธานประเทศมีสิทธิเสนอให้สภาแห่งชาติพิจารณาใหม่การพิจารณาครั้งที่สองต้องห่างจากการพิจารณาครั้งที่หนึ่งสี่สิบแปดชั่วโมง ถ้าการลงมติครั้งใหม่ไม่ได้รับความไว้วางใจ รัฐบาลหรือสมาชิกคณะรัฐบาลผู้นั้นต้องลาออก

รัฐแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นรัฐประชาธิปไตยประชาชน อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนสภาแห่งชาติเป็นองค์การอำนาจรัฐที่มีอำนาจพิจารณาและรับรองข้อตัดสินใจหรือปัญหาพื้นฐานของประเทศ ตลอดจนเป็นองค์การนิติบัญญัติและองค์การกำกับตรวจสอบการดำเนินงานทั้งขององค์การบริหารและองค์การตุลาการ

เชิงความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารนั้น ตามระบอบของ สปป.ลาว สมาชิกสภาแห่งชาติกับสมาชิกคณะรัฐบาลนั้นเป็นคนละส่วนที่แยกต่างหากออกจากกัน ประชาชนทำหน้าที่เลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ สมาชิกสภาแห่งชาติทำหน้าที่เลือกตั้งรัฐบาล ตลอดจน โครงสร้างการบริหารงานของประเทศในองค์กรอื่นด้วย อาทิ ประธานและรองประธานประเทศ ประธานศาลประชาชนสูงสุด อัยการประชาชนสูงสุด

ตามกฎหมายของ สปป.ลาว นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี หรือตำแหน่งสำคัญอื่นของรัฐบาลและของประเทศไม่จำเป็นต้องมาจากสมาชิกสภาแห่งชาติ เพียงแต่ต้องได้รับการแต่งตั้งหรือรับรองการแต่งตั้งจากสมาชิกสภาแห่งชาติเท่านั้นสภาแห่งชาติกับรัฐบาล (ในเชิงโครงสร้างและองค์ประกอบ) จึงแยกจากกันโดยเด็ดขาดโดยมิได้มีความสัมพันธ์กัน (แต่ทั้งหมดอยู่ภายใต้ความสัมพันธ์เดียวกัน คือ พรรคประชาชนปฏิวัติลาว) โดยนัยยะทางการตรวจสอบการบริหารงานแล้ว (ตลอดจนนัยยะทางการบริหารงานด้วย) คล้ายสภาแห่งชาติจะมีอำนาจกว่ารัฐบาล เนื่องจากเป็นฝ่ายตรวจสอบที่มีอำนาจอนุมัติ อนุญาต เปลี่ยนแปลง ระงับ หรือสั่งยุติการปฏิบัติงานของฝ่ายบริหาร หรือ รัฐบาลได้

นอกจากนี้ ยังมีการจัดองค์กรที่มีลักษณะควบคู่กันกับฝ่ายบริหารเพื่อให้สามารถตรวจสอบการปฏิบัติงานได้อย่างทั่วถึง อาทิ ส่วนกลางมี รัฐบาล - คณะประจำสภาแห่งชาติ ห้องว่าการคณะรัฐบาล - ห้องว่าการสภาแห่งชาติ ระดับแขวงมีคณะแขวง (เจ้าแขวง) - คณะสมาชิกสภาแห่งชาติประจำเขตเลือกตั้ง (แขวง) (หัวหน้าหน่วยคณะสมาชิกสภาแห่งชาติประจำเขตเลือกตั้ง) ห้องว่าการแขวง - ห้องว่าการคณะสมาชิกสภาแห่งชาติประจำเขตเลือกตั้ง (แขวง) ตลอดจน การจัดโครงสร้างในรายละเอียดที่ค่อนข้างสอดคล้องกัน รวมทั้ง การตรวจสอบการบริหารงานในด้านต่างๆ อย่างใกล้ชิด จึงทำให้สภาแห่งชาติโดยคณะประจำสภาแห่งชาตินั้น (รวมตลอดทั้ง โครงสร้างในระดับแขวง) ทำหน้าที่เสมือน “รัฐบาลเงา” ไปในตัวด้วย

นอกจากนี้ วาระของรัฐบาลยังเท่ากับวาระของสภาแห่งชาติด้วย ดังนั้น สภาแห่งชาติแต่ละชุดจึงมีหน้าที่ทำงานควบคู่กับรัฐบาลแต่ละชุดเท่านั้น โดยกลุ่มบุคคลแยกจากกันเด็ดขาดปกติแล้วคณะรัฐบาลและคณะประจำสภาแห่งชาติจะประชุมร่วมกันอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ประมาณช่วงก่อนเปิดสมัยประชุมสภาแห่งชาติ เพื่อเป็นการพูดคุยทำความเข้าใจกันก่อนในเรื่องต่างๆ อาทิ ร่างกฎหมายหรือข้อพิจารณาต่างๆก่อนที่จะเข้าสู่ที่ประชุมของสมาชิกสภาแห่งชาติ

นอกจากนี้ สภาแห่งชาติอาจมีหน้าที่อื่น อาทิ จัดตั้งศาลเฉพาะด้านขึ้นตามการพิจารณาของคณะประจำสภาแห่งชาติ รวมทั้ง การแต่งตั้งประธานและรองประธานประเทศ การแต่งตั้งบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางตุลาการ ซึ่งประธานประเทศจะเป็นผู้แต่งตั้งหรือถอดถอนรองประธานศาลประชาชนสูงสุดตามการเสนอของประธานศาลประชาชนสูงสุด คณะประจำสภาแห่งชาติเป็นผู้แต่งตั้ง โยกย้าย หรือถอดถอนผู้พิพากษาประจำศาลประชาชนสูงสุด ประธาน รองประธาน และผู้ พิพากษาประจำศาลอุทธรณ์ ประธาน รองประธาน และผู้พิพากษาประจำศาลประชาชนแขวง นคร เมือง หัวหน้า รองหัวหน้าและผู้พิพากษาประจำศาลทหารตามการเสนอของประธานศาลประชาชนสูงสุด ซึ่งตำแหน่งเหล่านี้ต่างเป็นตำแหน่งที่ตรวจสอบและ “ถ่วงดุลอำนาจ” กับฝ่ายบริหาร ซึ่งเป็นองค์กรทางอำนาจหลักของ สปป.ลาว ทั้งสิ้น

เพื่อกำกับมิให้รัฐบาลปฏิบัติงานคลาดเคลื่อนจากแผนและนโยบายที่ได้กำหนดไว้ สภาแห่งชาติโดยสมาชิกสภา แห่งชาติสามารถ

ทั้งนี้ สภาแห่งชาติถือเป็นองค์กรที่มีอำนาจยิ่งในการบริหารงานและตรวจสอบการบริหารภาครัฐของ สปป.ลาวและถือเป็น “ต้นทาง” ของการบริหารงานของประเทศในทุกด้าน

พลเมืองลาวหญิงชายต่างมีสิทธิเท่าเทียมกันทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม - วัฒนธรรม และครอบครัว ซึ่ง หมายรวมถึง สิทธิในการเลือกตั้งด้วยผู้มีสิทธิเลือกตั้งและมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง คือ พลเมืองลาวทุกคนโดยไม่จำแนกเพศ เผ่าชน ศาสนา ฐานะทางสังคม ภูมิลำเนา อาชีพ ที่มีอายุตั้งแต่ สิบแปดปีขึ้นไปล้วนมีสิทธิเลือกตั้ง และพลเมืองลาวอายุ ยี่สิบเอ็ดปีขึ้นไปล้วนมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เป็นสมาชิกสภาแห่งชาติ

การเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวเป็นการปฏิบัติตามหลักการ 4 ประการ ดังนี้

การเลือกตั้งในลาวนั้นจัดขึ้นทุก 5 ปี ตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ โดยให้พลเมืองทุก 50,000 คน (ในแต่ละแขวง) สามารถมีผู้แทนหรือสมาชิกสภาแห่งชาติได้ 1 คน แขวงที่มีพลเมืองน้อยกว่า150,000 คน ให้มีผู้แทนหรือสมาชิกสภาแห่งชาติ 3 คน ตามนโยบายของพรรค - รัฐ การจัดการเลือกตั้งนั้นจะต้องรับประกันได้ว่า สมาชิกสภาแห่งชาติจะต้องประกอบด้วยกลุ่มบุคคลทุกชนชั้น เพศ และเผ่าชน ในอัตราส่วนและจำนวนที่เหมาะสมการเลือกตั้งของลาวนั้น ดังจะสอดคล้องกับสโลแกนที่ว่า “พรรคเลือกคน คนเลือกพรรค” อย่างมาก พรรคประชาชนปฏิวัติลาว ซึ่งเป็นพรรคการเมืองพรรคเดียวของลาว จะทำหน้าที่คัดเลือกผู้สมัครของพรรคซึ่งเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งส่วนใหญ่มาเสนอให้ประชาชนเป็นผู้ลงคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคนี้มักมีโอกาสจะได้รับการเลือกตั้งมากกว่ามาก

ผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคนั้นจะไม่มีสิทธิเสนอชื่อของตนเองเป็นผู้สมัคร แต่จะต้องได้รับการเสนอชื่อจากองค์การจัดตั้งพรรค หรือองค์การจัดตั้งอื่นๆ เท่านั้น เมื่อองค์การจัดตั้งนั้นเสนอรายชื่อผู้สมัครในนามองค์การจัดตั้งของตน แล้ว (โดยไม่จำกัดจำนวน ทั้งนี้ ย่อมขึ้นอยู่กับการพิจารณาตามความเหมาะสม) คณะกรรมการคัดเลือกผู้สมัครของพรรคจะทำหน้าที่คัดเลือกและคัดสรรผู้ได้รับการเสนอชื่อเหล่านั้นให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรคนอกจากนั้น อาจมีผู้สมัครอิสระที่เสนอตนเองเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งด้วย แต่มักไม่ได้รับความสนใจจากประชาชนนัก อย่างไรก็ตาม ผู้สมัครอิสระนี้จะสมัครในนามอิสระได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากพรรคแล้วเท่านั้น (ถ้าคุณสมบัติไม่โดดเด่นพอ อาจไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้ง) และมักไม่ค่อยมีใครกล้าจะลงเป็นผู้สมัครอิสระเนื่องจากเสี่ยงตรวจสอบและการเสื่อมเสียชื่อเสียงถ้าไม่ได้รับการเลือกตั้งสูง (อาทิ ข้อหา “อยากดัง” หรือต้องการแสวงหาผลประโยชน์) ผู้สมัครรับเลือกตั้งในลาว (ทั้งผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคและผู้สมัครอิสระ) จึงมักจะต้องถูกตรวจสอบประวัติอย่างละเอียดและเข้มงวด หลักคิดเกี่ยวกับประเด็นนี้ของลาวนั้น ลาวมองว่าผู้จะลงสมัครรับเลือกตั้งนั้นควรจะเป็นผู้ที่มีความสามารถสูง มีความซื่อสัตย์ และแสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์จนผู้คนยอมรับและร่วมกันเสนอให้เป็นผู้สมัครเพื่อรับการคัดเลือกและ กลั่นกรองจากพรรค ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งของพรรคนี้จึงเป็นผู้ที่มีฐานต้นทุนทางสังคมสูงและมีผู้รับรองการเสนอชื่อจำนวนมาก มิใช่ใครจะมาสมัครหรือได้รับการเสนอชื่อก็ได้ ทัศนคติของคนลาวต่อผู้ที่มาสมัครโดยที่ไม่มีใครเสนอชื่อ ไม่มีผู้ชื่นชมในความรู้ความสามารถหรือความซื่อสัตย์ ไม่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ย่อมสันนิษฐานเป็นอย่างอื่นไม่ได้ว่าอาจเข้ามาเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน ดังนั้น ผู้สมัครอิสระจึงมักไม่ได้รับความสนใจและมักไม่ได้รับการเลือกตั้ง ทั้งนี้ หลักคิดนี้เป็นเพียงข้อสันนิษฐานเท่านั้น ดังนั้น จึงอาจมีผู้สมัครอิสระบางท่านที่สามารถพิสูจน์ความสามารถได้เมื่อได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาแห่งชาติแล้ว และมักแสดงความคิดเห็นได้อิสระโดยไม่ขึ้นต่อพรรค

การเลือกตั้งในลาวเป็น “การกาออก” (กาหมายเลขที่จะไม่เลือก) ซึ่งผู้ที่ได้รับคะแนนมากที่สุดและถัดลงไปจนครบจำนวนที่ต้องเลือกออกจะเป็นผู้ที่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง ซึ่งการเลือกแบบนี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของลาว แม้อาจสร้างความสับสนบ้างในเขตที่มีผู้สมัครจำนวนมากแต่มีผู้แทนน้อย (อาทิ เขตเลือกตั้งที่ 1 กำแพงนครเวียงจันทน์ มีผู้แทน 15 ท่าน แต่มีผู้สมัคร 21 ท่าน จึงจำเป็นจะต้องกาออก 6 ท่าน) แต่ก็นับว่าสมเหตุผล เพราะบางครั้งการตัดสินใจกาออกก็ตัดสินใจง่ายกว่าเลือกเข้า โดยเฉพาะเขตที่มีจำนวนผู้สมัครใกล้เคียงกับจำนวนผู้แทน

คณะกรรมการการเลือกตั้งของ สปป.ลาว เป็นคณะกรรมการที่ได้รับการจัดตั้งขึ้นชั่วคราวเพื่อจัดการเลือกตั้ง ก่อนวัน (ที่คาดว่าจะมีการ) เลือกตั้งไม่น้อยกว่า 120 วัน และอายุการหรือวาระของคณะกรรมการการเลือกตั้งจะสิ้นสุดลงหลังการประชุมปฐมฤกษ์ของสภาแห่งชาติชุดใหม่ (เมื่อได้จัดการเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อย รวมทั้ง รายงานผลการเลือกตั้งต่อสภาแห่งชาติชุดเก่า และสภาแห่งชาติชุดเก่าได้รับรองผลการเลือกตั้งนั้นแล้ว) คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดตั้งขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามมติของกรมการเมืองศูนย์กลางพรรค และกฎหมายว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ ประธานสภาแห่งชาติ โดยตำแหน่ง ประธานคณะประจำสภาแห่งชาติ เป็นผู้ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งระดับชาติ และมีผลภายหลังประกาศรัฐดำรัสของประธานประเทศคณะกรรมการการเลือกตั้งมีหน้าที่ในการเตรียม จัดตั้ง ปฏิบัติ แบ่งภาระความรับผิดชอบ จัดตั้งองค์กรและบุคลากรช่วยดำเนินงาน เพื่ออำนวยการและควบคุมการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นองค์กรกลางที่เข้ามาประสานงานให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งองค์การจัดตั้งพรรค องค์การจัดตั้งรัฐ องค์การจัดตั้งมหาชน และภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมมือกันในการจัดการเลือกตั้งให้เป็นไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อยเพื่อเป็นการรับประกันว่าการเตรียมและการจัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติจะเป็นไปด้วยความเป็นระเบียบเรียบร้อย ประธานคณะประจำสภาแห่งชาติจะแต่งตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง จำนวนประมาณ15 - 17 คน ประกอบด้วยประธาน 1 คน และรองประธาน 2 - 3 คน คณะกรรมการการเลือกตั้งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่เป็นผู้แทนจากหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบเกี่ยวกับการเลือกตั้งต่างๆ ทั้งด้านการอำนวยการและการจัดการ งบประมาณ การรักษาความสงบ การประสานงาน งานประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้ งานมวลชนและชุมชนสัมพันธ์ อาทิ ประธานสภาแห่งชาติ รองประธานประเทศ รองประธานสภาแห่งชาติ หัวหน้ากรรมาธิการ (ที่เกี่ยวข้อง) หัวหน้าห้องว่าการสภาแห่งชาติ ประธานคณะกำกับและตรวจสอบกลางแห่งรัฐ ประธานศูนย์กลางสหพันธ์แม่หญิงลาว หัวหน้าคณะโฆษณาและอบรมศูนย์กลางพรรค รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการเงิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงป้องกันความสงบ (ทั้งนี้อาจมีหน่วยงานอื่นเพิ่มเติมอีกตามความเหมาะสม) โดยองค์ประกอบและลักษณะการดำเนินงานสะท้อนให้เห็นได้ว่า คณะกรรมการการเลือกตั้งของลาวมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสภาแห่งชาติอย่างยิ่ง นอกจากกรรมการส่วนใหญ่จะมาจากสภาแห่งชาติแล้ว พนักงานผู้ปฏิบัติงาน (ในองค์กรชั่วคราวนี้) ส่วนใหญ่ยังมาจากสภาแห่งชาติด้วย (ประกอบกับพนักงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น)

องค์ประกอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่ละระดับนั้น ให้มีตัวแทนจากคณะพรรค ฝ่ายอำนาจการปกครอง (เจ้าแขวง เจ้าเมือง นายบ้าน) และองค์การจัดตั้งมหาชนด้วย นอกจากนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งระดับชาติ ระดับแขวงกำแพงนคร เขตพิเศษ และระดับเมืองจะต้องมีผู้แทน (ตัวแทน) จากสภาแห่งชาติหรือห้องว่าการสภาแห่งชาติด้วยเสมอ ทั้งนี้ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่ละระดับนี้สามารถจัดองค์กรและแต่งตั้งบุคลากรเพื่อช่วยการดำเนินงานตามความเหมาะสม

องค์ประกอบของคณะกรรมการการเลือกตั้งแต่ละระดับนั้น ให้มีตัวแทนจากคณะพรรค ฝ่ายอำนาจการปกครอง (เจ้าแขวง เจ้าเมือง นายบ้าน) และองค์การจัดตั้งมหาชนด้วย นอกจากนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้งระดับชาติ ระดับแขวงกำแพงนคร เขตพิเศษ และระดับเมืองจะต้องมีผู้แทน (ตัวแทน) จากสภาแห่งชาติหรือห้องว่าการสภาแห่งชาติด้วยเสมอ ทั้งนี้ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งแต่ละระดับนี้สามารถจัดองค์กรและแต่งตั้งบุคลากรเพื่อช่วยการดำเนินงานตามความเหมาะสม

การเลือกตั้งของลาวครั้งล่าสุดเป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาแห่งชาติ ชุดที่ 6 จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2549 มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 2,748,936 คน (ผู้หญิง1,410,412 คน) จากประชากรลาวประมาณ 5 ล้าน 8 แสนคนเศษ (สำรวจเมื่อตุลาคม 2548) แบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 17 เขต (16 แขวง และ 1 นครหลวง) จำนวนหน่วยเลือกตั้งรวม 5,127 หน่วยเลือกผู้แทนจำนวน 115 ท่าน จากผู้สมัครรับเลือกตั้ง 175 ท่าน (สมาชิกพรรคประชาชนปฏิวัติลาว 173 ท่าน ผู้สมัครอิสระ 2 ท่าน ผู้สมัครหญิง 39 ท่าน)


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301