ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สถาปัตยกรรมกอทิก

สถาปัตยกรรมกอทิก (อังกฤษ: Gothic architecture) เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่รุ่งเรืองในช่วงกลางสมัยกลางถึงปลายสมัยกลาง โดยวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์และตามด้วยสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา สถาปัตยกรรมกอทิกเกิดขึ้นระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง 16 โดยเริ่มขึ้นในประเทศฝรั่งเศสก่อนที่จะเผยแพร่ไปยังประเทศอังกฤษ และต่อไปยังทวีปยุโรปโดยทั่วไป

สถาปัตยกรรมกอทิกเริ่มขึ้นในฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 12 และรุ่งเรืองต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในระยะแรก สถาปัตยกรรมทรงนี้เรียกกันว่า "แบบฝรั่งเศส" (Opus Francigenum) คำว่า "กอทิก" มาเริ่มใช้กันในตอนปลายยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาในทางหมิ่นลักษณะสถาปัตยกรรม ลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมแบบกอทิกที่เป็นที่รู้จักกันดีคือการใช้โค้งแหลม เพดานสัน และ ค้ำยันแบบปีก

สถาปัตยกรรมกอทิกเป็นสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการสร้างอาสนวิหาร แอบบี และคริสต์ศาสนสถานอื่น ๆ ของยุโรป นอกจากนั้นก็ยังใช้ในกาสร้างปราสาท, วัง, ตึกเทศบาลเมือง, มหาวิทยาลัย และบางครั้งก็สำหรับที่อยู่อาศัยแต่ก็ไม่มากนัก สถาปัตยกรรมกอกอทิกที่ใช้ในการก่อสร้างโบสถ์และอาสนวิหาร และในสิ่งก่อสร้างบางสิ่งของฆราวาสแสดงลักษณะการก่อสร้างอันมีพลัง ลักษณะรูปทรงของสิ่งก่อสร้างแบบกอทิกเป็นลักษณะที่ก่อให้เกิดความสะเทือนทางอารมณ์ ซึ่งทำให้เป็นสถาปัตยกรรมที่เป็นที่นิยมใช้ในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมทางศาสนา และสิ่งก่อสร้างหลายแห่งก็มีคุณค่าสูงพอที่จะได้รับการมอบฐานะให้เป็นมรดกโลก

ในอังกฤษในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็เริ่มมีการก่อสร้างสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมกอทิก ที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิก ที่เผยแพร่ไปยังยุโรป ที่เป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่นิยมใช้ในการก่อสร้างคริสต์ศาสนสถานและมหาวิทยาลัย ความนิยมสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอทิกดำเนินต่อมาจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20

สถาปัตยกรรมกอทิกพัฒนาขึ้นจากปัญหาทางโครงสร้าง โบสถ์ในสมัยนั้นได้เปลี่ยนแปลงมาใช้โครงสร้างหลังคาโค้งแหลม (point vault) แรงกดของโครงสร้างหลังคาโค้งแหลม จึงพุ่งเป็นเส้นดิ่งมากกว่าโค้งครึ่งวงกลมและถ่ายน้ำหนักจากหลังคาโค้งไปยังเสา (pier) ที่รองรับซึ่งจะสูงชะลูดและมีส่วนค้ำยันผนังเป็นครีบอยู่ภายนอกอาคาร ที่เรียกว่า ครีบยัน ซึ่งตั้งต้นจากยอดของเสาด้านในเอียงมาจดผนังครีบริมนอก ช่วยรับน้ำหนักของโค้งอีกด้วย ส่วนน้ำหนักที่พุ่งออกมาจากด้านข้างของโค้งตรงส่วนข้างของโบสถ์อาศัยผนังครีบด้านนอกรับไว้ ช่วงแต่ละช่วงจึงมีระยะห่างไม่ได้มาก ดังนั้น ส่วนสัดของช่องระหว่างเสาและรูปทรงโบสถ์สมัยกอทิกจะสูงชะลูดและแคบ และเนื่องจากไม่ได้ใช้ผนังรับน้ำหนักอีกต่อไป จึงสามารถเจาะช่องหน้าต่างซึ่งมักทำเป็นรูปวงกลมมีลวดลาย และประดับด้วยกระจกสีที่เรียกว่า หน้าต่างกุหลาบ ได้มากขึ้น

ทางด้านจังหวะในงานสถาปัตยกรรม ในสมัยแรก ๆ มักใช้จังหวะตายตัวและซ้ำ ๆ กัน ภายในอาคารมักใช้เสารายเป็นแนว เพื่อดึงความสนใจไปเพียงที่แห่งเดียวคือ แท่นบูชา แต่ต่อมาก็เปลี่ยนแปลงไปจะใช้จังหวะที่เป็นอิสระมากขึ้น

คำว่า "กอทิก" เมื่อกล่าวถึงสถาปัตยกรรมมิได้เกี่ยวข้องแต่อย่างใดกับชาวกอทในประวัติศาสตร์ แต่เป็นคำที่เป็นเชิงดูหมิ่นถึงลักษณะสถาปัตยกรรม ที่นำมาใช้ราวคริสต์ทศวรรษ 1530 โดยจอร์โจ วาซารีในการบรรยายวัฒนธรรมที่ถือว่าหยาบและป่าเถื่อน ในสมัยที่วาซารีเขียนอิตาลีกำลังอยู่ในสมัยของความรุ่งเรืองทางสถาปัตยกรรมที่เลียนแบบสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกที่ถือกันว่าเป็นสถาปัตยกรรมชั้นสูง ในที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาซึ่งถือว่าเป็นจุดสูงสุดทางสถาปัตยกรรมและเป็นยุคทองแห่งการแสวงหาความรู้

สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาที่ในที่สุดก็เผยแพร่ไปทั่วยุโรปที่มีผลเปลี่ยนแปลงลักษณะต่าง ๆ ของวัฒนธรรมก่อนหน้าการประดิษฐ์แท่นพิมพ์ เน้นความสนใจในทางศาสนา และมีความเห็นว่าสมัยก่อนหน้านั้นเป็นสมัยของความงมงายและความขาดความรู้ ซึ่งเป็นที่มาของบทเขียนของฟร็องซัว ราบแล (Fran?ois Rabelais) นักเขียนชาวฝรั่งเศสของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ใน "Gargantua and Pantagruel" ซึ่งเป็นนวนิยายที่กล่าวถึงแอบบีเทเลเม ที่บนประตูทางเข้ามีคำจารึกว่า "เทวสถานนี้ไม่อนุญาตสำหรับผู้เสรแสร้ง, ผู้ลำเอียง..." ที่เป็นนัยยะถึง "กอท" และ "และออสโตรกอท" ที่ถือว่าเป็นคนป่าเถื่อนเข้า

ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 การใช้คำว่า "กอท" ในอังกฤษเท่ากับการใช้คำว่า "แวนดัล" ซึ่งเป็นกลุ่มชนเชื้อสายเจอร์มานิคผู้นิยมการทำลายทรัพย์สินและสิ่งของ และกลายมาเป็นคำที่ใช้ในการบรรยายลักษณะสถาปัตยกรรมของทางตอนเหนือของยุโรปก่อนที่จะมาฟื้นฟูลักษณะสถาปัตยกรรมแบบคลาสสิกกันขึ้น

ไม่เป็นสิ่งที่ต้องสงสัยเลยว่าคำว่า "ฟร็องซัว ราบแล" เป็นคำที่ใช้บรรยายลักษณะการก่อสร้างศาสนสถานในเชิงดูหมิ่น โดยผู้ที่มีความทเยอทยานในการเลียนแบบและฟื้นฟูสถาปัตยกรรมแบบกรีก หลังจากการฟื้นฟูวรรณกรรมคลาสสิกแล้ว นอกจากนั้นผู้มีอิทธิพลเช่นคริสโตเฟอร์ เรนก็ยังมีส่วนช่วยในการลดคุณค่าของลักษณะสถาปัตยกรรมของยุคกลาง ซึ่งทำให้คำว่ากอทิกมามีความหมายเช่นเดียวกับทุกสิ่งทุกอย่างที่หยาบและป่าเถื่อน

เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม ค.ศ. 1710 สถาบันสถาปัตยกรรมก็ประชุมกันในปารีส ในบรรดาหัวข้อที่ถกเถียงกันที่เป็นที่สังเกตของที่ประชุมคือแนวโน้มของความนิยมในการใช้โค้งนูนโค้งเว้า "ในการก่อสร้างส่วนที่ปกคลุมตอนปลายของปล่องไฟ ซึ่งเป็นลักษณะที่คณะที่ประชุมไม่เห็นด้วยและถือว่าเป็นแบบที่ไม่สมบูรณ์ และเป็นลักษณะที่ออกไปทางกอทิก"

ในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 12 ยุโรปก็แบ่งออกเป็นนครรัฐและราชอาณาจักรต่าง ๆ บริเวณที่รวมทั้งในปัจจุบันที่เป็นเยอรมนี, เนเธอรแลนด์, เบลเยียม, ลักเซมเบิร์ก, สวิตเซอร์แลนด์, ออสเตรีย, ทางตะวันออกของฝรั่งเศส และส่วนใหญ่ทางตอนเหนือของอิตาลียกเว้นเวนิสก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และประมุขของท้องถิ่นก็ยังคงมีอำนาจพอสมควร ฝรั่งเศส สกอตแลนด์ สเปน และ ซิซิลี ต่างก็เป็นราชอาณาจักรอิสระ รวมทั้งอังกฤษที่ปกครองโดยกษัตริย์แพลนทาเจเน็ทผู้ปกครองดินแดนส่วนใหญ่ในฝรั่งเศสในขณะเดียวกันด้วย.นอร์เวย์มาตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของอังกฤษ ขณะที่ประเทศสแกนดิเนเวียอื่น ๆ และโปแลนด์อยู่ภายใต้อิทธิพลของเยอรมนี กษัตริย์อ็องฌูเป็นผู้นำวัฒธรรมกอทิกไปเผยแพร่ยังอิตาลีใต้

ยุโรปโดยทั่วไปในช่วงนั้นอยู่ในระหว่างความรุ่งเรืองทางการค้าที่เป็นผลมาจากความเจริญของเมืองต่าง ๆ เยอรมนีและกลุ่มประเทศต่ำมีเมืองใหญ่ ๆ หลายเมืองที่รุ่งเรืองมั่งคั่งที่แข่งขันกันอย่างสันติ และบางกลุ่มก็มารวมตัวกันเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันเช่นกลุ่มสันนิบาตฮันเซียติก การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างสำคัญที่เป็นของเมืองก็กลายมาเป็นสิ่งเชิดหน้าชูตาของเมือง แต่ทางอังกฤษและฝรั่งเศสยังคงอยู่ในระบบการปกครองแบบศักดินาซึ่งทำให้สถาปัตยกรรมยังเป็นการเน้นการก่อสร้างสำหรับผู้ครองอาณาจักร แทนที่จะเป็นตึกเทศบาลเมืองหรือสิ่งก่อสร้างที่เป็นของประชาชนผู้มั่งคั่งในเมือง

ปัจจัยอื่นที่เป็นอิทธิพลของท้องถิ่นก็คือวัสดุก่อสร้าง ในฝรั่งเศสหินปูนเป็นสิ่งที่มีอยู่โดยทั่วไปหลายระดับ ตั้งแต่ชนิดที่ละเอียดในบริเวณก็อง (Caen) ที่เป็นที่นิยมของประติมากรในการใช้แกะสลัก อังกฤษมีหินปูนแต่หยาบกว่า และหินทรายสีแดง และ หินอ่อนเพอร์เบ็คสีเขียวคร่ำที่มักจะใช้ในการตกแต่ง

ทางตอนเหนือของเยอรมนี, เนเธอรแลนด์, สแกนดิเนเวีย, ประเทศในบอลติก และ ทางตอนเหนือของโปแลนด์ก็มีหินแต่การก่อสร้างนิยมการใช้อิฐซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าสถาปัตยกรรมกอทิกอิฐ (Backsteingotik) และมักจะเป็นนัยยะถึงกลุ่มสันนิบาตฮันเซียติก

ในอิตาลีหินใช้ในการก่อสร้างป้อมปราการ แต่อิฐเป็นที่นิยมในการก่อสร้างสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ นอกจากนั้นอิตาลีก็ยังมีหินอ่อนเป็นจำนวนมากและหลายแบบ ด้านหน้าของสิ่งก่อสร้างจึงมักจะทำด้วยหินอ่อนบนด้านในที่เป็นอิฐ ฉะนั้นบางครั้งจึงพบสิ่งก่อสร้างที่ยังสร้างไม่เสร็จที่ด้านหน้ายังคงเป็นอิฐที่รอการต่อเติมให้เป็นหินอ่อนในเวลาต่อมา

การใช้ไม้ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อสถาปัตยกรรม เช่นในการก่อสร้างเพดานที่ใช้คานแฮมเมอร์ (hammer-beam) อันวิจิตรของอังกฤษเป็นการก่อสร้างที่มีผลมาจากการขาดไม้ที่ตรงและยาวในตอนปลายของยุคกลาง เมื่อป่าถูกถางไปสร้างเรือและเพดานขนาดใหญ่

ช่วงต้นสมัยกลางเป็นสมัยของความรุ่งเรืองของอารามต่าง ๆ ที่ได้รับการก่อตั้งขึ้นและแพร่ขยายไปทั่วยุโรป คณะนักบวชคาทอลิกที่นำหน้ากว่าคณะอื่นคือคณะเบเนดิกตินผู้สร้างแอบบีขนาดใหญ่มากมายกว่าคณะอื่นใดในอังกฤษ คณะเบเนดิกตินมักจะสร้างแอบบีภายในตัวเมือง ไม่เหมือนกับคณะซิสเตอร์เชียนที่มักจะสร้างในชนบท คณะซิสเตอร์เชียนและคณะกลูว์นีจะเป็นลัทธิที่แพร่หลายในฝรั่งเศส อารามที่กลูว์นีสร้างกลุ่มสิ่งก่อสร้างที่ใช้เป็นอารามที่เป็นระเบียบแบบแผนที่กลายมามีอิทธิพลก่อสร้างกลุ่มสิ่งก่อสร้างสำหรับอารามเป็นเวลาหลายร้อยปีต่อมา

ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีก็ตั้งคณะฟรันซิสกัน หรือที่เรียกว่า "ไฟรอาร์เทา" (Grey Friars) ที่แยกออกมาคณะดอมินิกันที่ก่อตั้งโดยนักบุญดอมินิกในตูลูสและโบโลญญามีอิทธิพลก่อสร้างสถาปัตยกรรมกอทิกในอิตาลี

สถาปัตยกรรมกอทิกวิวัฒนาการมาจากสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ก่อนหน้านั้น ส่วนใหญ่แล้วการเปลี่ยนแปลงมิใช่การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน เช่นที่เกิดขึ้นกับการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสถาปัตยกรรมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของฟลอเรนซ์ไปเป็นสถาปัตยกรรมคลาสสิกโดยฟีลิปโป บรูเนลเลสกีเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15

สถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ หรือ สถาปัตยกรรมนอร์มันที่เป็นคำที่ใช้ในอังกฤษเพราะความสัมพันธ์กับการรุกรานของนอร์มันเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่วางรากฐานของรูปทรงพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมที่ค่อยมาเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปตลอดสมัยกลาง โครงสร้างพื้นฐานของมหาวิหาร โบสถ์ประจำเขตแพริช, อาราม, ปราสาท, วัง, โถงใหญ่ (great hall) และ เรือนเฝ้าประตูต่างก็ได้รับการวางรากฐานไว้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับการสร้างเพดานโค้งสัน, กำแพงครีบ, เสากลุ่ม (clustered columns), ยอดแหลม (spires), ประตูแกะสลัก

ความเปลี่ยนแปลงสิ่งเดียวที่มีความสำคัญแยกระหว่างลักษณะของสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์กับกอทิกคือการการเปลี่ยนแปลงจากการใช้ผนังอันหนาเทอะทะที่มีช่องเปิดแคบ ๆ เป็นระยะ ๆ ไปเป็นลักษณะของสิ่งก่อสร้างที่เต็มไปด้วยแสง ที่ใช้ลักษณะเด่นของเพดานโค้งแหลม การใช้เพดานโค้งแหลมทำให้เกิดการพัฒนาวิธีการก่อสร้างหลายอย่างที่ได้ทำการทดลองกันตามที่ต่างจนเมื่อประสบผลสำเร็จแล้วจึงได้ทำการเผยแพร่ให้ใช้ได้โดยทั่วไป การพัฒนาก็เพื่อการตอบสนองความต้องการทางโครงร่าง, ความงดงาม และความต้องการทางปรัชญา ความเปลี่ยนแปลงก็รวมทั้งกำแพงปีกนก, ยอดแหลมรายบนหลังคา, หน้าต่างตกแต่งด้วยซี่หินเป็นลวดลาย

การสร้างเพดานแบบที่เรียกว่า 'pitched brick' ที่สามารถสร้างได้โดยไม่ต้องมีศูนย์กลางรับอาจจะทำมาตั้งแต่สมัยตะวันออกใกล้โบราณมาจนถึงสองร้อยปีก่อนคริสต์ศักราช ตัวอย่างที่เก่าที่สุดของโค้งแหลมที่ทำด้วยปูนพบในสมัยสถาปัตยกรรมของปลายโรมัน และ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ โดยเฉพาะในการสร้างคริสต์ศาสนสถานในสมัยแรกในซีเรีย และเมโสโปเตเมีย แต่บางครั้งก็พบในสิ่งก่อสร้างที่ไม่ใช่สิ่งก่อสร้างทางศาสนาด้วยเช่นสะพานคารามาการา. หลังจากการพิชิตดินแดนของมุสลิมในคริสต์ศตวรรษที่ 7 การก่อสร้างลักษณะนี้ก็กลายมาเป็นลักษณะมาตรฐานของสถาปัตยกรรมอิสลาม

ความเห็นของทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าการเพิ่มการเกี่ยวข้องกันทางทหารและทางวัฒนธรรม ที่รวมทั้งนอร์มันได้รับชัยชนะ (Norman conquest of southern Italy) ต่อซิซิลีของอิสลามในปี ค.ศ. 1090, สงครามครูเสดที่เริ่มในปี ค.ศ. 1096 และอิสลามในสเปน นำมาซึ่งความรู้ของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่สำคัญมายังยุโรปยุคกลาง

อีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่าเชื่อกันว่าโค้งแหลมวิวัฒนาการขึ้นตามธรรมชาติในยุโรปตะวันตกเพื่อเป็นการแก้ปัญหาเกี่ยวกับโครงสร้าง พร้อมกับการเริ่มใช้ลักษณะอันเป็นเอกลักษณ์ของโบสถ์ในฝรั่งเศสและอังกฤษ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301