ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา

สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา (อังกฤษ: PRINCESS GALYANI VADHANA INSTITUTE OF MUSIC) เป็นสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐบาล ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 เพื่อให้มีสถาบันการดนตรีที่ให้ความสำคัญต่อดนตรีคลาสสิกอย่างจริงจัง โดยยกฐานะสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ในกำกับของมหาวิทยาลัยศิลปากรขึ้นเป็นสถาบันอุดมศึกษา

สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา จัดตั้งขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติในมงคลวโรกาสที่สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา ในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 ด้วยสำนึกในพระกรุณาธิคุณที่ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจน้อยใหญ่เพื่อชาวไทยตลอดมา รวมทั้งเพื่อเป็นการสนองพระปณิธานในการที่จะพัฒนาดนตรีคลาสสิกของประเทศไทยให้ก้าวหน้าทัดเทียมนานาชาติ ด้วยการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถพิเศษทางดนตรีคลาสสิกให้มีมาตรฐานระดับสากล รวมทั้งการส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ และประสบการณ์ด้านดนตรีคลาสสิกที่ดี ให้กับสังคมไทย

นับตั้งแต่การได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. 2555 ทางสถาบันฯ ได้มีการดำเนินการเพื่อนำไปสู่การเป็นสถาบันการศึกษาทางด้านดนตรีที่มีความเป็นเลิศ พร้อมไปกับการเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่ในการให้ความรู้กับประชาสังคม ตามปณิธานที่ว่า ดนตรีแห่งชีวิต ดนตรีแห่งแผ่นดิน  (Musique de la Vie et de la Terre - Music of Life, Music of Land) อันกล่าวถึงคุณค่าของดนตรี ที่มิเพียงแต่ครอบคลุมถึงดนตรีคลาสสิกในฐานะของความหรูหราและความงาม หากแต่รวมไปถึงดนตรีที่มีความละเอียดอ่อน เต็มไปด้วยชีวิต และนำไปสู่การพัฒนาเพื่อความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ รวมทั้งสามารถเข้าไปอยู่ในจิตใจของผู้คนในทุกระดับชั้น 

จาก มาตรา ๖ พระราชบัญญัติสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้กำหนดให้สถาบันฯ เป็นสถานศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา ส่งเสริมและพัฒนาวิชาการและวิชาชีพชั้นสูงในทางดนตรีและศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำการสอน ทำการวิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคมและทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม เพื่อประโยชน์พัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติ และเพื่อให้เป็นการสอดคล้องกับพระปณิธาน และบทบาทหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ สถาบันฯ จึงได้ กำหนดพันธกิจไว้สามประการ ได้แก่ 1) สร้างและพัฒนาบุคลากรทางด้านดนตรีคลาสสิกที่มีศักยภาพสูง มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความสามารถจะประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านดนตรีให้เป็นประโยชน์ และเหมาะสมกับบริบทของสังคม 2) เป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านดนตรีและศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้กับสังคม และ 3) เป็นศูนย์รวมในการศึกษาค้นคว้าวิจัย บูรณาการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านดนตรีระหว่าง บุคคล ชุมชน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ

จากพันธกิจ 3 ประการนี้ ทำให้สถาบันฯ ได้ริเริ่มให้มีการจัดทำโครงการทั้งการนำเสนอการแสดงดนตรีที่มีคุณภาพ อันจะนำไปสู่การสร้างประสบการณ์สุนทรียะและความซาบซึ้งทางดนตรีให้กับผู้ฟัง ดังจะเห็นได้จาก ตัวอย่างของการแสดงออร์เคสตราคอนเสิร์ตในเดือนมกราคม 2556 ที่ได้มีการเชิญศิลปินรุ่นใหม่ที่มีความสามารถในระดับนานาชาติ ภูมิ พรหมชาติ มาเป็นผู้บรรเลงบทประพันธ์ที่มีความลึกซึ้งและซับซ้อนในทางด้านดนตรีคลาสสิก หรือการจัดการแข่งขันวงเครื่องสายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2556 ที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะทางด้านดนตรี รวมทั้งเป็นการสร้างเวทีเพื่อฝึกฝนความสามารถในการแสดงในระดับนานาชาติ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ ได้แสดงให้เห็นถึงปณิธานของสถาบันฯ ในการเป็นตัวอย่างที่ดีในการเรียนรู้และพัฒนาวงการดนตรีคลาสสิกของประเทศไทย

นอกจากนี้ สถาบันฯ ยังได้ให้ความสำคัญกับการสื่อสารองค์ความรู้ทางด้านดนตรีคลาสสิกให้กับประชาสังคมตามพันธกิจที่สอง ในการที่จะเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่องค์ความรู้ทางด้านดนตรีและศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้องให้กับสังคม ทางสถาบันฯ จึงได้จัดให้มีโครงการจัดการแสดงคอนเสิร์ตซีรีส์ Musique de la Vie et de la Terre ที่จัดให้มีขึ้นประจำ ในทุกสัปดาห์แรกของเดือน โดยมุ่งหวังที่จะให้ประชาชนทั่วไปสามารถที่จะเข้าถึงการแสดงดนตรีคลาสสิก ที่มีคุณภาพ หรือโครงการจัดแสดงดนตรีเพื่อเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงราชนครินทร์ ที่มิได้เพียงแต่นำเสนอการแสดงดนตรีของนักดนตรีมืออาชีพ หากแต่ยังให้ความสำคัญกับการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนบางยี่ขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับเยาวชน ดังจะเห็นได้จากการแสดงของเยาวชนจากโรงเรียนวัดพระยาศิริไอยสวรรค์ หรือ โรงเรียนวัดคฤหบดี ที่ทางสถาบันฯ ได้จัดให้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการดนตรีสร้างสรรค์ร่วมกับเยาวชน และได้เปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีพื้นที่ในการแสดงออกทางด้านดนตรีร่วมไปกันกับการทำกิจกรรมทางด้านศิลปะร่วมสมัย เช่น กราฟฟิตี้ (Graffiti) หรือ เปเปอร์มาเช (Paper Mache) ที่ให้ความสำคัญกับการนำเอาเรื่องราวและประวัติศาสตร์ของชุมชนที่ผ่านการศึกษาค้นคว้า มานำเสนอผ่านความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการของคนรุ่นใหม่

สำหรับพันธกิจที่ 3 ของสถาบันฯ ที่จะเป็นศูนย์รวมในการศึกษาค้นคว้าวิจัย บูรณาการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านดนตรีระหว่าง บุคคล ชุมชน และสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ สถาบันฯ ได้ให้ความสำคัญกับการเป็นพื้นที่กลางในการประสานความร่วมมือระหว่างบุคคลากรทางดนตรีของทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ร่วมทั้งการสร้างพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านดนตรี โดยได้มีการวางแผนสำหรับโครงการ การประชุมระดับนานาชาติในด้านดนตรีคลาสสิก และให้ความสำคัญกับการตั้งคำถามในประเด็นของบริบทเพื่อการพัฒนาดนตรีคลาสสิกในภูมิภาคอาเซียนเป็นประเด็นหลักในการประชุม

จากพันธกิจทั้ง 3 ประการสู่การดำเนินงานในกิจกรรมต่างๆ ของสถาบันฯ สถาบันฯ มีความมุ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะสามารถดำเนินการให้เป็นผลสำเร็จตามพระปณิธานขององค์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในการสร้างให้ดนตรีคลาสสิกเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผู้คน และเป็นองค์ประกอบสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ ให้ไปสู่ความเจริญทั้งทางร่างกาย สติปัญญา และจิตใจ

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา มีปรัชญาที่จะมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความเป็นเลิศ และมีความเข้าใจในศิลปะทางด้านดนตรีอย่างลึกซึ้ง มีความตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษาดนตรีทั้งในฐานะศาสตร์และศิลป์ มีศักยภาพในการพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องและสามารถบูรณาการองค์ความรู้เพื่อการสร้างสรรค์งานดนตรี งานค้นคว้าวิจัยทางด้านดนตรีที่มีคุณค่า มีความรับผิดชอบต่อสังคม และสามารถประยุกต์ใช้องค์ความรู้ทางด้านดนตรีในการสร้างสรรค์ชุมชน สังคมและเทศชาติ

วัตถุประสงค์ของหลักสูตรนั้น เป็นไปเพื่อสนองพระปณิธานในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนากรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในการพัฒนาดนตรีคลาสสิกในประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าและมีคุณภาพเทียบเท่านานาชาติ หลักสูตรดุริยางคศาสตบัณฑิต สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา มุ่งผลิตบุคลากรทางด้านดนตรีที่มีความเป็นเลิศ มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแสวงหาความรู้เพื่อการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งตระหนักถึงบทบาทของดนตรีในการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ และสามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านดนตรีกับศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อการสร้างสรรค์และพัฒนาสังคม

หลักสูตรดุริยางคศาสตรบัณฑิต สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา เป็นหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับแนวทางการจัดทำหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยมีการจัดกลุ่มรายวิชาออกเป็น 4 ส่วนได้แก่ กลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป กลุ่มวิชาทักษะ ปฏิบัติ กลุ่มวิชาสร้างเสริมวิชาชีพ และกลุ่มวิชาเลือกเสรี ในแต่ละกลุ่มรายวิชา นักศึกษาจะมีโอกาสในการพัฒนาศักยภาพในมิติที่แตกต่างกัน ซึ่งรวมไปถึงความสามารถในด้านทักษะดนตรี ความรู้เท่าทันในการเปลี่ยนแปลงของความรู้ดนตรี และความเข้าใจในบริบทของสังคมปัจจุบัน โดยนักศึกษาสามารถที่จะเลือกศึกษาในหัวข้อที่ตนเองสนใจได้อย่างอิสระ และสอดคล้องกับทิศทางในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษา

รายวิชาในแต่ละกลุ่มของหลักสูตร มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาในด้านที่แตกต่างกันไป รายวิชาในกลุ่มรายวิชาทักษะปฏิบัติ มุ่งเน้นที่จะให้นักศึกษาได้พัฒนาความสามารถในการปฏิบัติดนตรีผ่านการเรียนรู้รายวิชาทักษะวิชาเอก (Major Skill) การบรรเลงรวมวง (Chamber Music) ปฏิบัติการทักษะดนตรี (Practice Lab) และ ทักษะผู้แสดงดนตรี (Performing Musicianship) โดยวิชาในกลุ่มนี้ถือเป็นหัวใจสำคัญของหลักสูตรที่จะทำให้นักศึกษามีศักยภาพในด้านการปฏิบัติดนตรีเทียบเท่าระดับนานาชาติ ซึ่งวิชาในกลุ่มนี้ นักศึกษาจะต้องเรียนควบคู่ไปกับรายวิชากลุ่มวิชาสร้างเสริมวิชาชีพที่ให้ความสำคัญกับการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของความรู้ดนตรีผ่านกลุ่มรายวิชาที่ครอบคลุมความเชี่ยวชาญเฉพาะต่างๆ ทางด้านดนตรี โดยนักศึกษาสามารถเลือกได้ตามความสนใจพร้อมๆ ไปกับการเรียนในรายวิชาโครงการพิเศษที่นักศึกษาจะได้เรียนรู้กระบวนการในการบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านดนตรีเข้ากับการปฏิบัติทักษะ และรายวิชาอื่นๆ ผ่านการทำโครงการทั้งในรูปแบบของการแสดงเดี่ยว การทำโครงการวิจัยและปัจฉิมนิทัศน์

นอกจากนี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้วิธีการในการประยุกต์และสื่อสารความรู้ทางด้านดนตรีกับสาธารณชน ผ่านการทำงานในสถานการณ์จริงผ่านรายวิชา ดนตรีเพื่อประชาสังคม (Music for Society) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างให้นักศึกษาสามารถที่จะเข้าใจในบริบทของสังคมปัจจุบันและสามารถที่จะใช้องค์ความรู้ทางด้านดนตรีตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้

หลักสูตรของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา ยังได้ให้ความสำคัญอย่างมากกับรายวิชากลุ่มวิชาศึกษาทั่วไป ที่มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนานักศึกษาให้มีความรอบรู้และความสามารถที่จะเข้าใจความเปลี่ยนแปลงขององค์ความรู้ต่างๆ ได้ โดยวิชาในกลุ่มนี้ ประกอบไปด้วย หมวดวิชามนุษยศาสตร์ (เลือกอย่างน้อย 6 หน่วยกิต) สังคมศาสตร์ ภาษา วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (เลือกกลุ่มละอย่างน้อย 8 หน่วยกิต) โดยนักศึกษาสามารถที่จะเลือกเรียนได้ตามความสนใจ

อัตราส่วนของรายวิชาในแต่ละกลุ่ม สามารถที่จะสะท้อนลักษณะพิเศษของหลักสูตรของสถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเป็นหลักสูตรที่มีความเฉพาะเจาะจงในการพัฒนาศักยภาพทางด้านดนตรีของนักศึกษาตาม พระปณิธานขององค์สมเด็จพระเจ้าที่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ในการที่จะพัฒนาให้เยาวชนผู้ความสามารถทางด้านดนตรีของประเทศไทย สามารถที่จะก้าวไปสู่เวทีนานาชาติได้ อีกทั้งรายวิชาต่างๆในหลักสูตร ได้ถูกออกแบบมาเพื่อให้มีความกลมกลืนและสร้างเสริมให้กับรายวิชาทักษะทางด้านดนตรีอันจะช่วยสร้างให้เยาวชนเหล่านี้ กลายเป็นบุคลากรทางด้านดนตรีที่มีคุณภาพในระดับนานาชาติ อีกทั้งยังสามารถที่จะประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านดนตรีให้เป็นประโยชน์กับสังคมและประเทศชาติได้ต่อไป


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406