ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก (อังกฤษ: Royal Thai Army Radio and Television; ชื่อย่อ: ททบ.) เป็นสถานีโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Television) ของกองทัพบกไทย และเป็นสถานีโทรทัศน์แห่งที่สองของประเทศไทย เริ่มแพร่ภาพเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 ในระบบวีเอชเอฟ เดิมออกอากาศเป็นภาพขาวดำ ทางช่องสัญญาณที่ 7 จึงเรียกว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 7 (ททบ.7) หรือช่อง 7 ขาวดำ ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 จึงย้ายมาออกอากาศด้วยภาพสี ทางช่องสัญญาณที่ 5 จึงเรียกว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) จนถึงปัจจุบัน มีพลเอก ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก เป็นประธานกรรมการบริหารกิจการโทรทัศน์กองทัพบก และ พลเอก กิตติ อินทสร เป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่

ราวปี พ.ศ. 2495 กระทรวงกลาโหมออกข้อบังคับ ว่าด้วยการมอบหมายงานแก่เจ้าหน้าที่กองทัพบก โดยกำหนดให้กรมการทหารสื่อสาร (สส.) จัดตั้งแผนกกิจการวิทยุโทรทัศน์ ขึ้นตรงต่อกองการกระจายเสียงและโทรทัศน์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2497 มีการกำหนดอัตรากำลังพลประจำแผนกโทรทัศน์ ในอัตราเฉพาะกิจ สังกัดกรมการทหารสื่อสาร จำนวน 52 นาย เพื่อปฏิบัติงาน ออกอากาศโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ผลิตและถ่ายทอดรายการโทรทัศน์

จากนั้นในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกในขณะนั้น ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง คณะกรรมการดำเนินการวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ประกอบด้วย พลเอก ไสว ไสวแสนยากร เป็นประธานกรรมการ และพันเอก การุณ เก่งระดมยิง เป็นเลขานุการ มีหน้าที่จัดทำโครงการจัดตั้งสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก พร้อมทั้งวางแผนการอำนวยการ และควบคุมการดำเนินกิจการวิทยุโทรทัศน์ รวมถึงมีอำนาจแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ เพื่อปฏิบัติงานให้ได้ผลตามที่ราชการทหารมุ่งหมาย ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน มีพิธีวางศิลาฤกษ์ อาคารที่ทำการสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในบริเวณกองพลทหารม้าที่ 2 รักษาพระองค์ สนามเป้า ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยทำสัญญายืมเงินกับกองทัพบก เพื่อเป็นทุนในการก่อสร้าง และจัดหาอุปกรณ์ จำนวน 10,101,212 บาท

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 7 (ชื่อสากล: ATV รหัส: HSATV ชื่อย่อ: ททบ.7) เริ่มต้นออกอากาศเป็นปฐมฤกษ์ เมื่อวันเสาร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2501 จากอาคารสวนอัมพร เป็นภาพขาวดำ ใช้ระบบเอฟซีซี (Federal Communication Committee) 525 เส้น ทางช่องสัญญาณที่ 7 ด้วยเครื่องส่งออกอากาศ กำลังส่ง 5 กิโลวัตต์ และทวีกำลังเพิ่มขึ้นอีก 12 เท่า บนสายอากาศสูง 300 ฟุต รวมกำลังส่งออกอากาศทั้งสิ้น 60 กิโลวัตต์ จึงเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยแห่งที่สอง ต่อจากสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 ของบริษัท ไทยโทรทัศน์ จำกัด (สถานีโทรทัศน์โมเดิร์นไนน์ ของบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ในปัจจุบัน)

ต่อมา เมื่อก่อสร้างอาคารสถานีฯ เสร็จสมบูรณ์ จึงเริ่มออกอากาศอย่างเป็นทางการในทุกวันพุธ แล้วจึงเพิ่มวันจันทร์และวันศุกร์ในระยะถัดมา โดยรายการส่วนมากเป็นสารคดีและภาพยนตร์ต่างประเทศ จากนั้นในปี พ.ศ. 2506 ททบ.ตั้งสถานีทวนสัญญาณเป็นแห่งแรก บนยอดเขาวงพระจันทร์ อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี โดยใช้เครื่องทรานสเลเตอร์ถ่ายทอดสัญญาณ เริ่มจากถ่ายทอดการฝึกทหารในยามปกติ ซึ่งมีชื่อรายการว่า การฝึกธนะรัชต์ ทั้งนี้ เริ่มจัดรายการภาคกลางวัน ในปีเดียวกันนี้ด้วย

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ์ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทอดพระเนตรกิจการ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2508

นอกจากนี้ ททบ.ยังเริ่มจัดตั้ง สถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็ม ความถี่ 94.0 เมกะเฮิร์ตซ์ ในปีเดียวกันนี้ โดยในระยะแรกเป็นการถ่ายทอดเสียงภาษาอังกฤษ จากฟิล์มภาพยนตร์ที่ออกอากาศทาง ททบ. และเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2511 ททบ.ร่วมกับสถานีโทรทัศน์อีก 3 แห่งในขณะนั้น ก่อตั้งโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: ทรท., ทีวีพูล) เพื่ออำนวยการปฏิบัติงาน ระหว่างสถานีโทรทัศน์ในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 ททบ.ตั้งสถานีทวนสัญญาณเพิ่มเติม ที่จังหวัดนครสวรรค์และจังหวัดนครราชสีมา โดยเปลี่ยนมาใช้ระบบไมโครเวฟแทน

จากนั้น ททบ.ปรับปรุงระบบเครื่องส่งโทรทัศน์ จากเดิมที่ใช้ระบบ 525 เส้น ภาพขาวดำ ช่องสัญญาณที่ 7 เป็นระบบ 625 เส้น ในย่านความถี่วีเอชเอฟ ทางช่องสัญญาณที่ 5 ตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2517 พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็นสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบกช่อง 5 (ททบ.5) ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2517 ททบ.เริ่มออกอากาศด้วยภาพสีในระบบพาล (Phase Alternation Line - PAL) เป็นครั้งแรกด้วยการถ่ายทอดสด พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนและสวนสนามของทหารรักษาพระองค์ จากลานพระราชวังดุสิต และต่อมา ททบ.จึงเปลี่ยนแปลงตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ เพื่อให้สอดคล้องกับการบริหารงานของสถานีฯ และยังมีการเปลี่ยนอีกครั้งหนึ่งด้วย

เมื่อปี พ.ศ. 2521 ททบ.ร่วมกับสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 เช่าสัญญาณดาวเทียมปาลาปาของอินโดนีเซีย พร้อมตั้งสถานีถ่ายทอดสัญญาณผ่านดาวเทียมเพิ่มขึ้นทั่วประเทศ และเริ่มจัดทำห้องส่งส่วนภูมิภาค ในภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่, ภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี อนึ่ง ในช่วงทศวรรษนี้ ททบ.ดำเนินการขยายสถานีเครือข่ายในจังหวัดต่างๆ เพิ่มเติมดังต่อไปนี้

นอกจากนี้ ททบ.ยังเปิดให้บริการเว็บไซต์ของสถานีฯ เป็นแห่งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2538 โดยใช้โดเมนเนม www.tv5.co.th พร้อมทั้งจัดทำระบบโทรทัศน์ทางอินเทอร์เน็ต เป็นแห่งแรกในทวีปเอเชีย ทั้งนี้ในปี พ.ศ. 2539 ททบ.เป็นผู้ริเริ่มใช้เฮลิคอปเตอร์ที่ติดตั้งกล้องวิดีโอ และรถถ่ายทอดเคลื่อนที่ผ่านระบบดาวเทียม (Digital Satellite News Gathering ชื่อย่อ: D-SNG) มาใช้กับการถ่ายทอดสดและรายงานข่าว เป็นแห่งแรกในภูมิภาคอาเซียน รวมถึงเป็นสถานีแรกของประเทศไทย ที่ดำเนินการผลิตและควบคุมการออกอากาศ ด้วยระบบดิจิตอล ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2540 และยังเริ่มต้นออกอากาศตลอด 24 ชั่วโมงเป็นสถานีแรกของไทย

ต่อมา ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 ททบ.ดำเนินการออกอากาศโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ในระบบดิจิตอลไปยังทุกภูมิภาคทั่วโลก ตามโครงการไทยทีวีโกลบอลเน็ตเวิร์ก โดยปัจจุบันสามารถรับชมในกว่า 170 ประเทศ และในวาระครบรอบ 40 ปี ททบ. ปีเดียวกันนั้นเอง การก่อสร้างอาคารที่ทำการ และอาคารหลักของสถานีโทรทัศน์ ซึ่งรวมส่วนบริหาร ส่วนปฏิบัติการ และส่วนสนับสนุนไว้ในอาคารเดียวกัน รวมทั้งมีห้องส่งโทรทัศน์อันทันสมัย จำนวน 4 ห้อง ก็แล้วเสร็จสมบูรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2550 ททบ.เริ่มดำเนินงานก่อสร้าง อาคารสำนักงานเพิ่มเติม และอาคารจอดรถ กำหนดแล้วเสร็จในวาระครบรอบ 50 ปีของ ททบ.คือ พ.ศ. 2551

โดยในปีดังกล่าว ททบ.จัดซื้อระบบออกอากาศภายในห้องส่งใหม่ ประกอบด้วยโรงถ่ายเสมือนจริง (Virtual Studio) และกำแพงวิดีทัศน์ (Video Wall) พร้อมทั้งใช้สีแดง ประกอบการนำเสนอข่าวของสถานีฯ ในปีต่อมา (พ.ศ. 2552) ททบ.เปลี่ยนไปใช้สีเขียว เป็นหลักในการนำเสนอข่าว โดยให้มีนัยสื่อถึงกองทัพบก ล่าสุด ททบ.ดำเนินงานก่อสร้าง อาคารชุดอเนกประสงค์แห่งใหม่ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 โดยมีกำหนดแล้วเสร็จวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) อนุญาตให้กรมประชาสัมพันธ์ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ททบ. และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ร่วมกันทดลองออกอากาศโทรทัศน์ระบบดิจิทัล โดยมอบหมายให้ ททบ.เป็นผู้ดำเนินการ ตั้งแต่เวลา 13:00 น. ของวันศุกร์ที่ 25 มกราคม จนถึงเวลา 12:59 น. ของวันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 เป็นระยะเวลา 6 เดือน ในย่านความถี่ยูเอชเอฟ ช่องสัญญาณที่ 36 ซึ่งแบ่งออกเป็น 8 ช่องรายการคือ 6 ช่องทวนสัญญาณจากช่องโทรทัศน์ภาคพื้นดิน (Terrestrial) ด้วยความละเอียดมาตรฐานตามปกติ ซึ่งประกอบด้วย ไทยทีวีสีช่อง 3, ททบ.5, ช่อง 7 สี, โมเดิร์นไนน์ทีวี, สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย และสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สำหรับอีก 2 ช่องรายการ จะทดลองออกอากาศโทรทัศน์ความละเอียดสูง กล่าวคือ ช่องหนึ่งจะกระจายเสียงและแพร่ภาพ รายการโทรทัศน์ความละเอียดสูงซึ่งผลิตโดย ททบ. ส่วนอีกช่องหนึ่งจะทวนสัญญาณ จากช่องรายการของไทยพีบีเอส ซึ่งออกอากาศในระบบความละเอียดสูงผ่านดาวเทียมอยู่แต่เดิม โดยมีรัศมีรอบเสาส่งสัญญาณบนยอดอาคารใบหยก 2 เป็นระยะทาง 80 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ต่อมา กสทช.อนุมัติใบอนุญาตประกอบกิจการ โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบดิจิทัล ประเภทบริการสาธารณะเพื่อความมั่นคงแก่ ททบ. โดยเริ่มนำสัญญาณภาพและเสียง ออกอากาศคู่ขนานไปจาก โทรทัศน์ภาคพื้นดินระบบแอนะล็อกทางช่อง 5 เดิม พร้อมกับผู้ประกอบการส่วนมาก ในประเภทบริการทางธุรกิจ เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2557 ต่อมา ททบ.เปลี่ยนชื่อช่องโทรทัศน์ของตนเป็น ทีวี 5 เอชดี 1 (TV5 HD1) (วิธีอ่าน อ่านว่า ทีวีไฟว์ เอชดีวัน)โดยให้ใช้ควบคู่เป็นชื่อเดียวกัน ทั้งระบบแอนะล็อกและดิจิทัล ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน

สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก มีสัญลักษณ์เป็นรูปกรอบจอโทรทัศน์สีดำ ภายในเป็นพื้นสีขาว มีตัวอักษรย่อ ท (สีแดง) ท (สีเขียว) บ (สีน้ำเงิน) เรียงอยู่ตอนบน และตัวเลขอารบิก 5 สีเทาตัวใหญ่ อยู่ใต้ตัวอักษรทั้งสาม ต่อมาเปลี่ยนเป็นแบบปัจจุบันคือ รูปกรอบจอโทรทัศน์สีดำและสีขาว ภายในแบ่งเป็นแถบสีสามแถบในแนวดิ่ง มีสามแม่สีแสงคือ แดง เขียว และน้ำเงิน โดยมีตัวอักษรย่อ ท ท บ สีขาวอยู่ในแถบสี ตามลำดับจากซ้ายไปขวา เรียงอยู่ตอนบน และตัวเลขอารบิก 5 สีขาวตัวใหญ่ อยู่ใต้ตัวอักษรทั้งสาม


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301