ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สถานการณ์ฉุกเฉิน

สถานการณ์ฉุกเฉิน (อังกฤษ: state of emergency) คือ สถานการณ์อันอาจเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งรัฐ หรืออันอาจทำให้รัฐตกอยู่ในภาวะคับขันหรือภาวะการรบหรือการสงคราม ซึ่งฝ่ายบริหารรัฐมีอำนาจประกาศว่าพื้นที่ใดกำลังตกอยู่ในสถานการณ์เช่นว่าโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายของรัฐนั้น ๆ ซึ่งให้อำนาจพิเศษในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน และมักเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล อย่างไรก็ดี กฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจพิเศษแก่เจ้าหน้าที่ไม่เบ็ดเสร็จเท่ากฎอัยการศึกหรือกฎหมายที่ใช้ในสภาวะสงคราม

การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินมักมีภายหลังจากการเกิดภัยธรรมชาติ การก่อความไม่สงบ หรือการประกาศสงคราม ซึ่งอาจมีผลให้เจ้าหน้าที่บางฝ่ายต้องหยุดการปฏิบัติการตามอำนาจหน้าที่ลงชั่วคราว โดยอำนาจหน้าที่เช่นว่านั้นอาจรวมศูนย์ไปยังเจ้าหน้าที่อีกฝ่ายเพื่ออำนวยความสะดวกในการควบคุมสถานการณ์โดยไม่ชักช้า และอาจนำไปสู่การห้ามออกจากเคหสถาน (อังกฤษ: curfew) หรือการห้ามมั่วสุมชุมนุมกันเพื่อการใด ๆ ก็ดี ณ พื้นที่นั้นในระหว่างที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

ในประเทศไทยมีการใช้คำผิดเกี่ยวกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินว่า รัฐบาลได้ประกาศหรือประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เป็นต้น ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะตัว พ.ร.ก. ซึ่งเป็นกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินในประเทศไทยนั้นได้ประกาศอยู่แล้วใน รก. หากสิ่งที่รัฐบาลประกาศคือสถานการณ์ฉุกเฉินโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.ก. ดังกล่าว หาใช่การประกาศ พ.ร.ก. ไม่

อนึ่ง ยังมีการเรียกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ว่า การประกาศหรือประกาศใช้ พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง เป็นต้น เป็นการเติม "ที่มีความร้ายแรง" ไปให้ชื่อพระราชกำหนดเข้าอีก ทั้ง ๆ ที่ ม.1 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ว่า "พระราชกำหนดนี้เรียกว่า 'พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548'" หาได้มีคำ "ที่มีความร้ายแรง" ไม่ และในความนี้ต้องว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ไม่ใช่ประกาศหรือประกาศใช้ พ.ร.ก.

นอกจากนี้ สำหรับการยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ก็ยังมีการกล่าวกันอีกว่า การยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉิน เป็นต้น ซึ่งไม่ถูกต้อง เพราะนี่คือการยกเลิกประกาศ ไม่ใช่การยกเลิกกฎหมายที่ให้อำนาจประกาศ การยกเลิกกฎหมายไม่ใช่อำนาจของนายกรัฐมนตรี เป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะตรา พ.ร.บ. มายกเลิก หรือคณะรัฐมนตรีประกาศ พ.ร.ก. มายกเลิก พ.ร.ก. ดังกล่าว ดังนั้น ในความนี้ต้องว่า การยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน หาใช่การยกเลิก พ.ร.ก. ฉุกเฉินไม่ เพราะหากเป็นการยกเลิก พ.ร.ก. เสียทีเดียวก็จะไม่มีกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินและไม่อาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้อีก

ซ้ำร้าย ยังพบว่ามีการแปลกฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินของต่างประเทศ เช่น ประเทศฟิจิ ว่า "พ.ร.ก. สถานการณ์ฉุกเฉิน" อีกด้วย ทั้ง ๆ ที่ประเทศฟิจิไม่ได้มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข กฎหมายของประเทศนั้นจะเรียก "พระราช" หาได้ไม่ กับทั้งกฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีศักดิ์เป็น ร.ฐ.ก., ร.ฐ.บ. หรืออย่างอื่น ก็หาทราบไม่ ด้วยข่าวทั่ว ๆ ไปเรียก "law" ซึ่งเป็นการเรียกรวม ๆ แต่ในภาษาไทยกลับเรียก "พ.ร.ก." ซึ่งไม่ถูกต้อง

ประเทศไทยมีกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ฉบับปัจจุบันคือ "พ.ร.ก. ว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548" ซึ่งรัฐบาลอันมีพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ได้ประกาศใช้ โดยประกาศใน รก. เล่ม 122 ตอนที่ 58 ก วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 และมีผลใช้บังคับในวันถัดมา

ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้มี "พ.ร.บ. ว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2495" ซึ่งประกาศใช้ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยประกาศใน รก. เล่ม 69 ตอนที่ 16 วันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2495 และมีผลใช้บังคับในวันถัดมา

เหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉบับดังกล่าว คือ โดยที่กฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว บทบัญญัติต่าง ๆ ไม่สามารถนำมาใช้แก้ไขสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อความมั่นคงของรัฐที่มีหลากหลายรูปแบบให้ยุติลงได้โดยเร็ว รวมทั้งไม่อาจนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติสาธารณะและการฟื้นฟูสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนที่ได้รับความเสียหาย และเนื่องจากในปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ซึ่งมีความร้ายแรงมากยิ่งขึ้นจนอาจกระทบต่อเอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต และก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในประเทศ รวมทั้งทำให้ประชาชนได้รับอันตรายหรือเดือดร้อนจนไม่อาจใช้ชีวิตอย่างเป็นปกติสุข และไม่อาจแก้ไขปัญหาด้วยการบริหารราชการในรูปแบบปกติได้ สมควรต้องกำหนดมาตรการในการบริหารราชการสำหรับสถานการณ์ฉุกเฉินไว้เป็นพิเศษ เพื่อให้รัฐสามารถรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัย และการรักษาสิทธิและเสรีภาพของประชาชนทั้งปวงให้กลับสู่สภาพปกติได้โดยเร็ว จึงเป็นกรณีฉุกเฉินที่มีความจำเป็นรีบด่วนอันมิอาจจะหลีกเลี่ยงได้ เพื่อประโยชน์ในอันที่จะรักษาความปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ และป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ จึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.ก. นี้

สถานการณ์ฉุกเฉิน หมายความว่า สถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ หรืออาจทำให้ประเทศหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศตกอยู่ในภาวะคับขัน หรือมีการกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา การรบหรือการสงคราม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการเร่งด่วนเพื่อรักษาไว้ซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เอกราชและบูรณภาพแห่งอาณาเขต ผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติตามกฎหมาย ความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปรกติสุขของประชาชน การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ความสงบเรียบร้อยหรือประโยชน์ส่วนรวม หรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง (ม.4 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

ส่วน สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง ได้แก่ กรณีที่สถานการณ์ฉุกเฉินมีการก่อการร้าย การใช้กำลังประทุษร้ายต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สิน หรือมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำที่มีความรุนแรงกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยในชีวิตหรือทรัพย์สินของรัฐหรือบุคคล และมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งแก้ไขปัญหาให้ยุติได้อย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที (ม.11 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

การประกาศว่าท้องที่ใดกำลังตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และสมควรใช้กำลังเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือตำรวจ เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เข้าร่วมกันเยียวยาสถานการณ์นั้น เป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี โดยจะประกาศทั้งราชอาณาจักรหรือบางท้องที่ก็ได้ และประกาศนี้มีอายุใช้บังคับสามเดือนนับแต่วันประกาศ แต่นายกรัฐมนตรีอาจขยายอายุดังกล่าวได้คราวละไม่เกินสามเดือนโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ม.5 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

ในบางสถานการณ์ หากไม่อาจขอความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีเพื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที นายกรัฐมนตรีก็มีอำนาจประกาศไปก่อน ค่อยขอความเห็นชอบทีหลังภายในสามวันนับแต่วันประกาศ หากคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบ ประกาศเช่นว่าจะเป็นอันสิ้นสุดลง (ม.5 ว.1 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

เมื่อสถานการณ์ฉุกเฉินสิ้นสุดลงแล้วก็ดี เมื่อคณะรัฐมนตรีไม่ให้ความเห็นชอบก็ดี หรือเมื่ออายุของประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินฉบับหนึ่ง ๆ สิ้นสุดลงก็ดี นายกรัฐมนตรีจะมีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินนั้น (ม.5 ว.3 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

ทั้งนี้ ในกฎหมายเดิมกำหนดให้การประกาศและยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นอำนาจของนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยร่วมกัน (ม.21 พ.ร.บ. ฉุกเฉิน)

ท้องที่ใดที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน บรรดาอำนาจหน้าที่ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งหรือหลายกระทรวง หรือที่เป็นผู้รักษาการตามกฎหมายหรือที่มีอยู่ตามกฎหมายใดก็ตาม เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการอนุญาต อนุมัติ สั่งการ บังคับบัญชา หรือช่วยในการป้องกัน แก้ไข ปราบปราม ระงับยับยั้งในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือฟื้นฟูหรือช่วยเหลือประชาชน จะโอนมาเป็นอำนาจหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราว (ม.7 ว.1 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรียังมีอำนาจกำหนดให้อำนาจหน้าที่บางส่วนหรือทั้งหมดที่กฎหมายมีให้แก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงใด กลายมาเป็นของนายกรัฐมนตรีเป็นการชั่วคราวด้วย (ม.7 ว.2 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

อย่างไรก็ดี นายกรัฐมนตรีอาจมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีคนหนึ่งหรือหลายคน เป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวของนายกรัฐมนตรีแทน หรือมอบหมายให้เขาเหล่านั้นเป็นผู้กำกับการปฏิบัติการของผู้เกี่ยวข้องได้ โดยในกรณีหลังนี้ ให้ถือว่าเขาเป็นผู้บังคับบัญชาของผู้เกี่ยวข้องดังกล่าว (ม.7 ว.6 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

พนักงานเจ้าหน้าที่ในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นบุคคลที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้นเพื่อปฏิบัติการตามที่กฎหมายกำหนดและตามที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย (ม.7 ว.3 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

ในกรณีที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งข้าราชการพลเรือน ตำรวจ หรือทหารซึ่งมีตำแหน่งไม่ต่ำกว่าอธิบดี ผู้บัญชาการตำรวจ แม่ทัพ หรือเทียบเท่า เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ และกำหนดให้เขาเป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน เขาจะมีอำนาจบังคับบัญชาข้าราชการทุกกรมกองและบรรดาพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อการนี้ ทั้งนี้ การปฏิบัติการทางทหารจะคงดำเนินไปตามระเบียบปฏิบัติเดิม แต่ต้องสอดคล้องกับที่เขากำหนด (ม.7 ว.4 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอำนาจหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาตามที่นายกรัฐมนตรีประกาศกำหนดด้วย (ม.15 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

อนึ่ง พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ เมื่อปฏิบัติการใดตามอำนาจหน้าที่แล้ว หากการนั้นกระทำไปโดยสุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินกว่าเหตุหรือความจำเป็นแล้ว ก็ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย แต่ไผู้ได้รับความเสียหายจากการปฏิบัติการดังกล่าวคงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่อยู่ (ม.17 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

เพื่อจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างมีประสิทธิภาพ นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกข้อกำหนดดังต่อไปนี้ (ม.9 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) โดยในข้อกำหนดเหล่านี้ นายกรัฐมนตรีจะระบุเงื่อนไขหรือระยะเวลาในการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้ หรือมอบหมายให้พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนดพื้นที่และรายละเอียดอื่นเพิ่มเติมในการปฏิบัติการก็ได้ (ม.9 ว.2 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

อนึ่ง ในสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง นายกรัฐมนตรียังมีอำนาจดังต่อไปนี้อีกด้วย (ม.11 ว.2 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

บรรดาข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งข้างต้น เมื่อมีผลใช้บังคับแล้วต้องประกาศใน รก. ด้วย (ม.14 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

ในการจับกุมและควบคุมตัวผู้ใดซึ่งต้องสงสัยว่าจะเป็นผู้ร่วมกระทำการให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินก็ดี ว่าเป็นผู้ใช้ ผู้โฆษณา ผู้สนับสนุนการกระทำเช่นว่านั้นก็ดี หรือว่าปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการกระทำให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉินก็ดี พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องขออนุญาตศาลที่มีเขตอำนาจหรือศาลอาญาก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว ก็มีอำนาจจับกุมและควบคุมตัวไว้ได้ไม่เกินเจ็ดวัน แต่อาจร้องขอต่อศาลเพื่อขยายเวลาดังกล่าวได้คราวละเจ็ดวัน แต่รวมกันทุกคราวแล้วต้องไม่เกินกว่าสามสิบวัน (ม.12 ว.1 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) ซึ่งหากครบกำหนดสามสิบวันเช่นว่าแล้วยังต้องการควบคุมตัวต่อไปอีก พนักงานเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้

ในการขออนุญาตจากศาลเพื่อดำเนินการข้างต้น จะนำบทบัญญัติเกี่ยวกับวิธีการขอออกหมายอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับโดยอนุโลม (ม.12 ว.3 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

ในการจับกุมและควบคุมตัวผู้ต้องสงสัย จะปฏิบัติต่อเขาในลักษณะว่าเขาเป็นผู้กระทำความผิดมิได้ โดยเขาจะต้องถูกควบคุมตัวไว้ในสถานที่ที่กำหนด ซึ่งต้องไม่ใช่สถานีตำรวจ ที่คุมขัง ทัณฑสถาน หรือเรือนจำ (ม.12 ว.1 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) กับทั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ต้องจัดทำรายงานเกี่ยวกับการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลนั้นเสนอต่อศาลที่มีคำสั่งอนุญาต และจัดสำเนารายงานนั้นไว้ ณ ที่ทำการของตนเพื่อให้ญาติของบุคคลนั้นสามารถขอดูรายงานดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาที่ควบคุมตัวบุคคลนั้นไว้ด้วย (ม.12 ว.2 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นกลุ่มบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตาม ม.6 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน โดยประกอบด้วย รองนายกรัฐมนตรีซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธานกรรมการ, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ, ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก ผู้บัญชาการทหารเรือ ผู้บัญชาการทหารอากาศ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง และอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เป็นกรรมการ, และเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ

คณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินมีอำนาจหน้าที่ติดตามและตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกประเทศที่อาจส่งผลให้เกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อเสนอแนะต่อนายกรัฐมนตรีว่ามีความจำเป็นแล้วหรือยังที่จะต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และสมควรใช้มาตรการใดในการจัดการสถานการณ์นั้นโดยเหมาะสม (ม.6 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) แต่การปฏิบัติการของคณะกรรมการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉินไม่กระทบกระเทือนการปฏิบัติการของนายกรัฐมนตรีในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน (ม.6 ว.2 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

ที่ปรึกษา เป็นบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่แต่งตั้งขึ้นโดยนายกรัฐมนตรีหรือผู้ซึ่งนายกรัฐมนตรีมอบหมาย เพื่อให้คำปรึกษาหรือเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติการของพนักงานเจ้าหน้าที่ สำหรับประโยชน์ในการประสานการปฏิบัติการในท้องที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (ม.8 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

นอกจากนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็น คณะรัฐมนตรีอาจให้มีการจัดตั้งหน่วยงานพิเศษเป็นการเฉพาะ เพื่อปฏิบัติหน้าที่ตาม พ.ร.ก. นี้เป็นการชั่วคราวได้ จนกว่าจะยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน (ม.7 ว.5 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน) เช่น ใน พ.ศ. 2553 มีการจัดตั้ง "ศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน" (อังกฤษ: Centre for Resolution of Emergency Situation) หรือเรียกโดยย่อว่า "ศอฉ." (อังกฤษ: CRES)

ผู้ฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ และคำสั่งที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเพื่อจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (ม.18 พ.ร.ก. ฉุกเฉิน)

นอกจากนี้ ในกฎหมายเดิมยังว่า ในระหว่างประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ผู้ใดสะสมอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน หรือวัตถุระเบิดไว้โดยผิดกฎหมาย จะต้องระวางโทษตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นทวีคูณ (ม.19 พ.ร.บ. ฉุกเฉิน) และถ้าผู้กระทำความผิดดังกล่าวเป็นคนต่างด้าว เมื่อพ้นโทษแล้วก็ให้เนรเทศออกไปเสียให้พ้นจากราชอาณาจักรด้วย (ม.19 ว.2 พ.ร.บ. ฉุกเฉิน)

"พ.ร.บ. การฉุกเฉิน ค.ศ. 1985 (พ.ศ. 2528)" (อังกฤษ: Emergencies Act, 1985) ซึ่งตราขึ้นแทนที่ "พ.ร.บ. มาตรการทางการยุทธ์ ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513)" (อังกฤษ: War Measures Act, 1970) นั้น รัฐบาลกลางแห่งแคนาดามีอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในท้องที่ใด ๆ โดยมีอายุเก้าสิบวันนับแต่วันประกาศ ซึ่งสามารถขยายอายุนี้ได้โดยความเห็นชอบของสภาองคมนตรีแห่งพระราชินี (ม.35) กฎหมายดังกล่าวกำหนดขั้นความร้ายแรงของ "การฉุกเฉิน" (อังกฤษ: emergencies) ไว้ต่าง ๆ กัน เช่น การฉุกเฉินเกี่ยวกับสวัสดิการสาธารณะ การฉุกเฉินเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน การฉุกเฉินระหว่างประเทศ และการฉุกเฉินเหตุสงคราม (ม.5) นอกจากนี้ ยังมีการให้อำนาจราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และราชการส่วนอาณาเขต ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในเขตอำนาจตนได้ด้วย

ทั้งนี้ มีการอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ. มาตรการทางการยุทธ์ ค.ศ. 1970 (พ.ศ. 2513) ประกาศการฉุกเฉินสามครั้งในประวัติศาสตร์ชาติแคนาดา โดยครั้งที่ได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดคือในวิฤติการณ์เดือนตุลาฯ (อังกฤษ: October Crisis)

ในประเทศเดนมาร์ก ตามกฎหมายว่าด้วยกิจการตำรวจ (เดนมาร์ก: Lov om politiets virksomhed) ผู้บังคับการตำรวจแห่งท้องที่ใดก็ดีมีอำนาจประกาศเป็นลายลักษณ์อักษรกำหนดเขตพิเศษเพื่อให้เจ้าพนักงานสามารถนำพาบุคคลไปยังที่รโหฐานแล้วเปลื้องผ้าออกทั้งหมดเพื่อตรวจค้นได้แม้ไม่มีเหตุต้องสงสัยก็ตาม โดยในประกาศดังกล่าวต้องกำหนดระยะเวลาการมีอยู่ของเขตพิเศษนั้นด้วย (ม.6) นอกจากนี้ ในกรณีที่ต้องการตรวจค้นคนเป็นหมู่ ก็สามารถจับกุมคนทั้งหมู่นั้นได้และมีอำนาจกักตัวไว้ไม่เกินหกชั่วโมง

กฎหมายของนิวซีแลนด์อนุญาตให้รัฐบาลกลางและสภาเทศบาล (อังกฤษ: local city council) ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินได้ตามเขตอำนาจของตน เมื่อมีประกาศเช่นว่าแล้ว ผู้ประกาศอาจสั่งให้มีการควบคุมพฤติการณ์ต่าง ๆ เช่น ในการประกอบอาชีพหรือในการให้บริการอันจำเป็นตามที่เขาเห็นสมควร ทั้งนี้ ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินของนิวซีแลนด์ไม่มีวันหมดอายุ แต่นายกรัฐมนตรีหรือนายกเทศมนตรี แล้วแต่กรณี อาจสั่งให้ประกาศสิ้นสุลงได้

สำหรับรัฐวิกตอเรียแล้ว ตามกฎหมายเรียก "พ.ร.บ. รักษาความปลอดภัยสาธารณะ" (อังกฤษ: Public Safety Preservation Act) ระบุว่า สถานการณ์ฉุกเฉินคือกรณีที่เป็นหรืออาจเป็นภัยต่อระบบการทำงาน ความปลอดภัย หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน โดยอำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นของนายกรัฐมนตรี และแต่ละฉบับมีอายุสามสิบวันนับแต่วันประกาศ แต่สามารถถูกเพิกถอนเมื่อใดก็ได้โดยมติของสภาใดก็ดีแห่งรัฐสภา ซึ่งเมื่อมีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในท้องที่ใดแล้ว นายกรัฐมนตรีมีอำนาจออกระเบียบข้อกำหนดใด ๆ ตามที่เห็นจำเป็นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยอย่างทันท่วงที และเช่นเดียวกัน ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ระเบียบหรือข้อกำหนดดังกล่าวมีผลใช้บังคับ หากรัฐสภาไม่เห็นชอบด้วยก็จะสิ้นสุดลง และตามกฎหมายเรียก "พ.ร.บ. การให้บริการอันสำคัญ" (อังกฤษ: Essential Services Act) นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่นายกรัฐมนตรีมอบหมายยังมีอำนาจสั่งให้ดำเนินการหรือห้ามดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับบริการสำคัญด้วย เช่น บริการเกี่ยวกับการขนส่ง น้ำมันเชื้อเพลิง ทรัพยากรน้ำ พลังงาน แก๊ส ฯลฯ

กฎหมายว่าด้วยสถานการณ์ฉุกเฉินของประเทศอียิปต์ เรียก "ร.ฐ.บ. ที่ 162 ค.ศ. 1958 (พ.ศ. 2501)" (อังกฤษ: Law No. 162 of 1958) และในสงครามระหว่างอาหรับและอิสราเอล พ.ศ. 2510 ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ และประกาศอีกครั้งหลังจากประธานาธิบดีอันวาร์ ซาดัต (Anwar Sadat) ถูกลอบสังหาร ต่อมาใน พ.ศ. 2524 ก็ประกาศอีกครั้ง และต่ออายุประกาศเรื่อยมาทุก ๆ สามปี ในการนี้มีผู้ถูกจับกุมตัวกว่าหนึ่งหมื่นเจ็ดพันคน และมีนักโทษการเมืองสูงถึงสามหมื่นคนโดยประมาณ

ตาม ร.ฐ.บ. ดังกล่าว ในท้องที่ที่มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เจ้าหน้าที่ตำรวจจะมีอำนาจพิเศษเกี่ยวกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยสิทธิและเสรีภาพบางประการของพลเมืองที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้จะถูกจำกัด และเจ้าหน้าที่สามารถตรวจพิจารณาสื่อต่าง ๆ ก่อนเผยแพร่และอาจสั่งห้ามการชุมนุมในทางการเมืองของกลุ่มเอกชนได้

ข้อ 4 แห่งกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง บัญญัติว่า รัฐภาคีแห่งกติการะหว่างประเทศนี้สามารถจำกัดสิทธิของพลเมืองที่รับรองไว้ในกติการะหว่างประเทศดังกล่าวได้ในสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะ แต่มาตรการในการจำกัดสิทธิดังกล่าวต้องเป็นไปโดยไม่เกินกว่าความจำเป็นรีบด่วนของสถานการณ์ฉุกเฉิน และรัฐภาคีนั้นต้องรายงานต่อเลขาธิการสหประชาชาติด้วย

ในรัฐที่ใช้การปกครองระบอบประชาธิปไตย ไม่พึงมองการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นเรื่องปรกติ ในทางตรงกันข้าม รัฐที่ใช้ระบอบเผด็จการมักประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นว่าเล่นเพื่อประคองอำนาจของผู้ปกครองไว้[ต้องการอ้างอิง]

นักทฤษฎีการเมืองบางคน เช่น คาร์ล ชมิตต์ (Carl Schmitt) เสนอความเห็นว่า อำนาจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเป็นอำนาจโดยพื้นฐานของรัฐบาล และการรู้ว่าใครเป็นผู้ตัดสินใจประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในท้องที่ใดบอกเราว่า อำนาจที่แท้จริงในท้องที่นั้นอยู่ที่ใด แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะเขียนไว้อีกอย่างหนึ่ง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406