ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สตัดเฮาเดอร์

สตัดเฮาเดอร์ (ดัตช์: stadhouder) แปลตรงตัวว่า เจ้าผู้ครองสถาน (ผู้ครอบครองสถานที่ของผู้ใดผู้หนึ่ง; สันนิษฐานว่าเป็นการยืมคำศัพท์จากภาษาเยอรมัน สแตดต์ฮาลเทอร์ [Statthalter], ภาษาฝรั่งเศส ลูเตอน็องต์ [lieutenant] หรือภาษาละตินยุคกลาง โลกุม เตเนนส์ [locum tenens]) คือคำที่ใช้อธิบายรูปแบบหนึ่งของศักดินาตำแหน่งอุปราชหรือผู้บริหารมณฑลแทนพระองค์ในกลุ่มประเทศต่ำ สตัดเฮาเดอร์คือระบบจากยุคกลางและต่อมาในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 ได้ถูกยกระดับให้มีศักดิ์เทียบเท่าประมุขแห่งรัฐในทางปฏิบัติของระบอบมกุฎสาธารณรัฐ (Crowned republic) ในสาธารณรัฐดัตช์ สามารถเปรียบเทียบได้กับศักดินา ลูเตอน็องต์ ของฝรั่งเศสและ ผู้บริหารมณฑลแทนพระองค์ ของอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งประสงค์หลักของของตำแหน่งนี้ก็เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยและอำนาจการปกครองส่วนท้องถิ่นของสาธารณรัฐดัตช์ตอนต้น

สตัดเฮาเดอร์ในยุคกลางถูกแต่งตั้งโดยตรงจากลอร์ดในระบบฟิวดัลเพื่อสำเร็จราชการแทน ถ้าหากลอร์ดใดมีอาณานิคมไว้ในครอบครองมากก็สามารถที่จะแต่งตั้งสตัดเฮาเดอร์ถาวรไปประจำการโดยมีอำนาจเต็มในนามของลอร์ดผู้นั้น โดยตำแหน่งนี้มีอำนาจปกครองมากกว่าตำแหน่งผู้ว่าราชการซึ่งมีอำนาจอยู่อย่างจำกัด ผู้ที่ดำรังตำแหน่งสตัดเฮาเดอร์ไม่ถูกจัดว่าอยู่ในสถานะของข้ารับใช้เหล่าเจ้าขุนมูลนายที่มีศักดิ์สูงกว่า หากเป็นเพียงผู้ปกครองซึ่งไม่มียศศักดิ์ต่อดินแดนที่ตนปกครอง ผู้ปกครองท้องถิ่นของมณฑลอิสระทั้งสิบเจ็ดแห่งประเทศต่ำ (ซึ่งเป็นดินแดนประเทศเนเธอร์แลนด์, เบลเยียม และลักเซมเบิร์กในปัจจุบัน) นำตำแหน่งนี้ไปใช้แต่งตั้งต่ออีกทอดหนึ่ง เช่น การที่ดยุกแห่งเกลเดอร์สแต่งตั้งสตัดเฮาเดอร์ไปสำเร็จราชการแทนในมณฑลโกรนิงเงิน

ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ดยุกแห่งเบอร์กันดีสามารถยึดครองดินแดนส่วนมากของประเทศต่ำเอาไว้ได้และตั้งเป็นดินแดนเนเธอร์แลนด์ของเบอร์กันดี ซึ่งแต่ละมณฑลในดินแดนนี้ส่วนมากต่างก็มีสตัดเฮาเดอร์ปกครองตนเองแทบทั้งสิ้น

ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 จักรพรรดิคาร์ลที่ 5 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ผู้ดำรงตำแหน่งพระมหากษัตริย์แห่งสเปน เข้ามารับช่วงอำนาจต่อจากสมัยเนเธอร์แลนด์ของเบอร์กันดี และทรงรวบอำนาจการปกครองดินแดนประเทศต่ำทั้งหมดด้วยการสถาปนาพระองค์ขึ้นเป็น ลอร์ดแห่งเนเธอร์แลนด์ อันเป็นตำแหน่งเจ้าเหนือหัวในระบบฟิวดัลไว้แต่เพียงผู้เดียว มีเพียงราชรัฐมุขนายกลีแยฌและดินแดนส่วนน้อยอีกสองแห่ง (อิมพีเรียลแอบบีย์สตาวีลอต-มาลเมดีย์ และดัชชีบูลียง) ที่อยู่นอกเหนือพระราชอำนาจของพระองค์ สตัดเฮาเดอร์ยังคงถูกแต่งตั้งและเป็นผู้แทนพระองค์ในจักรพรรดิคาร์ลที่ 5 และพระราชโอรส พระเจ้าเฟลีเปที่ 2 ผู้เป็นรัชทายาทแห่งสเปนและกลุ่มประเทศต่ำ (อิสริยยศจากการเลือกตั้งในราชวงศ์จะถูกพระราชทานให้แก่รัชทายาทของจักรพรรดิคาร์ลในราชตระกูลฮับส์บูร์กออสเตรียแต่ละสาย) โดยพระราโชบายแนวรวบศูนย์อำนาจและแนวสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของพระเจ้าเฟลีเปที่ 2 จึงทำให้อำนาจในทางปฏิบัติของสตัดเฮาเดอร์ลดลงไปอย่างมาก

ในปี ค.ศ. 1581 ระหว่างการลุกฮือของดัตช์ มณฑลดัตช์ส่วนมากประกาศอิสรภาพด้วยการผ่านร่างพระราชบัญญัติเพิกถอน (Act of Abjuration) ระบบผู้แทนพระองค์โดยสตัดเฮาเดอร์ในแถบเนธอร์แลนด์ตอนเหนือที่เกิดการกบฏจึงหมดอำนาจลง (ลอร์ดในระบบฟิวดัลผู้อยู่เหนือหัวเหล่าสตัดเฮาเดอร์ถูกล้มล้าง) อย่างไรก็ตามระบบผู้แทนนี้ยังคงดำเนินต่อไปในประเทศที่ก่อตั้งใหม่นามว่าสาธารณรัฐแห่งสหเนเธอร์แลนด์ทั้งสิบเจ็ด สหมณฑลทั้งสิบเจ็ดดิ้นรนที่จะประยุกต์แนวคิดและสถาบันในระบบฟิวดัลที่มีอยู่ให้เข้ากับสภาวะการณ์ใหม่ โดยในการปรับตัวครั้งนี้มีความคิดโน้มเอียงไปในแนวทางอนุรักษนิยม ทั้งที่พวกเขาได้ทำการปฏิวัติโค่นล้มพระมหากษัตริย์ผู้ปกครองเพื่อปกป้องสิทธิอันชอบธรรมของพวกเขา สตัดเฮาเดอร์จึงไม่ได้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนของลอร์ดอีกต่อไป แต่กลายมาเป็นผู้ปกครองยศศักดิ์สูงที่สุดแทน โดยได้รับการแต่งตั้งจากรัฐของแต่ละมณฑล ซึ่งแม้ว่าสตัดเฮาเดอร์แต่ละคนจะสามารถดำรงตำแหน่งประจำเฉพาะแต่มณฑลของตน แต่สตัดเฮาเดอร์หลายคนนิยมดำรังตำแหน่งนี้ในหลายๆ มณฑลพร้อมกันในเวลาเดียว โดยปกติแล้วอำนาจปกครองสูงสุดจะถูกใช้โดยรัฐอธิปไตยของแต่ละมณฑล ส่วนสตัดเฮาเดอร์มีอำนาจเล็กอยู่บ้างเล็กน้อยเช่นการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับล่าง หรือในบางกรณีมีสิทธิอันชอบธรรมในการแต่งตั้งคณะมนตรีในสภาผู้สำเร็จราชการแทน ซึ่งคณะมนตรีเหล่านี้จะทำการเลิอกผู้นำของสภาจากรายชื่อผู้สมัคร ในขณะที่คณะมนตรีแต่งตั้งสมาชิกเพิ่มเติมแก่สภาได้ด้วยตัวพวกเขาเอง สตัดเฮาเดอร์จึงสามารถเข้าไปมีอิทธิพลทางอ้อมในการกำหนดนโยบายทั่วไปได้อย่างมาก ในมณฑลเซแลนด์ เจ้าชายแห่งออเรนจ์ผู้ซึ่งดำรงตำแหน่งสตัดเฮาเดอร์ของแต่ละมณฑลไว้มากที่สุดในช่วงภายการหลังลุกฮือต่อต้านสเปน และยังดำรงศักดิ์เป็น ขุนนางที่หนึ่ง (First Noble) นอกจากนี้พระองค์ยังเป็นสมาชิกสภาประจำมณฑล และดำรังตำแหน่งมาควิสแห่งฟีเรอร์และฟลิสซิงเงินเป็นพระยศมาแต่ประสูติอีกด้วย

ในระบบราชการส่วนกลางของสาธารณรัฐ สตัดเฮาเดอร์แห่งมณฑลเซแลนด์และฮอลแลนด์มักจะได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการสูงสุดแห่งกองทัพสหมณฑล และพลเรือเอกสูงสุดแห่งกองทัพเรือสหมณฑล แม้ว่าจะไม่เคยมีสตัดเฮาเดอร์คนไหนเคยบัญชาการรบทางทะเลด้วยตนเองเลย ในกองทัพสตัดเฮาเดอร์สามารถแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ด้วยตัวเอง ส่วนในกองทัพเรือสามารถทำได้เพียงลงนามแต่งตั้งในคำสั่งจากสภาราชนาวีทั้งห้า อำนาจทางกฎหมายมีอยู่ค่อนข้างจำกัดและโดยกฎหมายแล้วสตัดเฮาเดอร์เป็นมากกว่าเพียงเจ้าหน้าที่รัฐ อย่างไรก็ตามอำนาจที่แท้จริงบางครั้งก็มีมากกว่านั้น โดยเฉพาะในบรรยากาศแห่งกฎอัยการศึกช่วงสงครามแปดสิบปี ภายหลังปี ค.ศ. 1618 เจ้าชายมอริซแห่งออเรนจ์ทรงปกครองด้วยระบบเผด็จการทหาร และเจ้าชายวิลเลมที่ 2 แห่งออเรนจ์ก็ทรงปฏิบัติตาม

ผู้นำในการการลุกฮือของชาวดัตช์คือเจ้าชายวิลเลียมที่ 1 แห่งออเรนจ์ ในปี ค.ศ. 1572 ทรงถูกแต่งตั้งให้เป็นสตัดเฮาเดอร์ประจำมณฑลฮอลแลนด์ซึ่งเป็นมณฑลแรกที่ก่อการลุกฮือ ด้วยอิทธิพลและเกียรติยศส่วนพระองค์ต่อมาได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับตำแหน่งของพระองค์ และได้ถ่ายทอดสู่สมาชิกราชวงศ์ เช่น เจ้าชายมอริซแห่งออเรนจ์ในปี ค.ศ. 1618 และเจ้าชายวิลเลมที่ 3 แห่งออเรนจ์ในปี ค.ศ. 1672 ซึ่งได้ทรงขยายฐานอำนาจโดยแทนที่สมาชิกสภาเมืองด้วยบุคคลส่วนพระองค์ การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ถูกเรียกว่า การเปลี่ยนแปลงแห่งนิติบัญญัติ (Wetsverzettingen) จากการข่มขู่ เหล่าสตัดเฮาเดอร์พยายามที่จะขยายสิทธิ์ของตนในการลงนามในกิจการต่างๆ ผลก็คือหลังจากที่เจ้าชายวิลเลมที่ 2 สิ้นพระชนม์ในปี ค.ศ. 1650 ผู้แทนในมณฑลฮอลแลนด์, เซแลนด์, อูเทร็คท์, เกลเดอร์ลันด์ และโอเวอร์เอเซิล ไม่ทำการแต่งตั้งสตัดเฮาเดอร์ขึ้นดำรงตำแหน่งต่อ จนในที่สุดด้วยสภาวะการณ์อันบีบคั้นจากเหตุการณ์เลวร้ายในปี ค.ศ. 1672 ที่รู้จักกันในนาม ศักราชแห่งความหายนะของดัตช์ (Rampjaar) จึงได้มีการแต่งตั้งสตัดเฮาเดอร์องค์ใหม่ขึ้นดำรงตำแหน่ง และหลังจากการสวรรคตของเจ้าชายวิลเลียมที่ 3 ในปี ค.ศ. 1702 ก็ได้มีการละเว้นแต่งตั้งสตัดเฮาเดอร์องค์ใหม่ ทั้งสองเหตุการณ์นี้เรียกว่า สมัยไร้สตัดเฮาเดอร์ครั้งที่หนึ่ง และ สมัยไร้สตัดเฮาเดอร์ครั้งที่สอง

ภายหลังการรุกรานโดยฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1747 คณะผู้สำเร็จราชการแทนถูกกดดันจากมวลชนเคลื่อนไหวส่วนมากที่เรียกร้องให้ วิลเลมที่ 4 เจ้าชายแห่งออเรนจ์ สตัดเฮาเดอร์แห่งมณฑลฟรีสแลนด์และโกรนิงเงิน ขึ้นดำรงตำแหน่งสตัดเฮาเดอร์แห่งทุกมณฑล ในวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 1747 สำนักแห่งสตัดเฮาเดอร์จึงได้มีการลำดับรัชทายาทขึ้น และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สาธารณรัฐที่มีผู้ดำรงตำแหน่งสตัดเฮาเดอร์ครบทุกมณฑลในเดียวกัน จากเหตุการณ์นี้จึงได้มีการเฉลิมพระยศแก่เจ้าชายวิลเลมใหม่ว่า สตัดเฮาเดอร์-เชเนราล (Stadhouder-Generaal; ซึ่งแปลจากภาษาอังกฤษได้ว่า อัครรัชทายาทสตัดเฮาเดอร์)

ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของวิลเลมที่ 4 อย่างสุดวิสัยในปี ค.ศ. 1751 พระราชโอรสอันทรงพระเยาว์ของวิลเลมที่ 4 ก็ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งสตัดเฮาเดอร์ต่อภายใต้การสำเร็จราชการแทนโดยพระมารดา การสำเร็จราชการแทนในครั้งนี้สร้างความขุ่นเคืองอย่างมากในหมู่ประชาชน ซึ่งทำให้เกิดการเคลื่อนไหวโดยกลุ่มชาตินิยมขึ้นในปี ค.ศ. 1780 แรกเริ่มคณะชาตินิยมนี้ทำการเข้ายึดสภาเมืองหลายแห่ง จากนั้นจึงเข้ายึดสภาแห่งมณฑลฮอลแลนด์และฟรีสแลนด์ตะวันตก และในท้ายที่สุดได้ทำการปลุกระดมอาสาสมัครพลเรือนเพื่อต่อต้านคณะขุนนางของราชวงศ์ออเรนจ์ นำพาประเทศชาติเข้าสู่ขอบเหวแห่งการเกิดสงครามกลางเมือง ต่อมาปรัสเซียได้เข้าแทรกแทรงทางการทหารในปี ค.ศ. 1787 ส่งผลให้วิลเลมที่ 5 เจ้าชายแห่งออเรนจ์ ทรงสามารถปราบปรามฝ่ายต่อต้านได้สเป็นผลสำเร็จ และผู้นำของการกบฏในครั้งนี้หลายคนก็ได้ลี้ภัยไปยังฝรั่งเศส

คณะผู้ลี้ภัยกลับมายังเนเธอร์แลนด์พร้อมกับกองกำลังฝรั่งเศสในฤดูหนาวปี ค.ศ. 1795 และได้ข้ามแนวป้องกันทางน้ำของดัตช์อันเยือกแข็ง วิลเลมที่ 5 แห่งออเรนจ์-นัสเซาจึงเสด็จลี้ภัยไปยังอังกฤษ สำนักสตัดเฮาเดอร์ของพระองค์จึงถูกโค่นล้มในปี ค.ศ. 1795 เมื่อกองกำลังปฏิวัติของฝรั่งเศสสถาปนาสาธารณรัฐปัตตาเวียขึ้นแทน ตั้งแต่ ค.ศ. 1572 ในเนเธอร์แลนด์ตอนใต้ ลอร์ดในราชวงศ์ฮับส์บูร์กก็ยังคงแต่งตั้งสตัดเฮาเดอร์ไปประจำแต่ละมณฑลจนกระทั่งถูกฝรั่งเศสบุกยึดในปี ค.ศ. 1794


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301