ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สงครามเวียดนาม

สงครามเวียดนาม หรือ สงครามอินโดจีนครั้งที่สอง หรือที่ชาวเวียดนามรู้จักกันในชื่อ สงครามอเมริกา เป็นสงครามตัวแทนสมัยสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในประเทศเวียดนาม ลาวและกัมพูชาตั้งแต่เดือนธันวาคม 2498[A 2] กระทั่งกรุงไซ่ง่อนแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2518 สงครามเวียดนามนี้เกิดขึ้นหลังสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง และมีเวียดนามเหนือซึ่งได้รับการสนับสนุนจากจีน สหภาพโซเวียตและพันธมิตรคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลเวียดนามใต้ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและประเทศที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์อื่นเป็นคู่สงครามอีกฝ่ายหนึ่งเวียดกง (หรือ แนวร่วมปลดปล่อยแห่งชาติ) เป็นแนวร่วมประชาชนคอมมิวนิสต์เวียดนามใต้ที่ติดอาวุธเบาซึ่งมีเวียดนามเหนือสั่งการ สู้รบในสงครามกองโจรต่อกำลังต่อต้านคอมมิวนิสต์ในภูมิภาค กองทัพประชาชนเวียดนาม (กองทัพเวียดนามเหนือ) ต่อสู้ในสงครามตามแบบมากกว่า และบางครั้งส่งหน่วยขนาดใหญ่เข้าสู่ยุทธการ เมื่อสงครามดำเนินไป ส่วนการต่อสู้ของเวียดกงลดลงขณะที่บทบาทของกองทัพประชาชนเวียดนามเพิ่มขึ้น กำลังสหรัฐอเมริกาและเวียดนามใต้อาศัยความเป็นเจ้าเวหาและอำนาจการยิงที่เหนือกว่าเพื่อดำเนินปฏิบัติการค้นหาและทำลาย ซึ่งรวมถึงกำลังภาคพื้นดิน ปืนใหญ่และการโจมตีทางอากาศ ตลอดห้วงสงคราม สหรัฐดำเนินการทัพทิ้งระเบิดทางยุทธศาสตร์ขนานใหญ่ต่อเวียดนามเหนือ และต่อมาน่านฟ้าเวียดนามเหนือกลายเป็นน่านฟ้าที่มีการป้องกันหนาแน่นที่สุดในโลก

รัฐบาลสหรัฐมองว่าการเข้ามามีส่วนในสงครามของตนเป็นหนทางป้องกันการยึดเวียดนามใต้ของคอมมิวนิสต์อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาที่ใหญ่กว่า โดยมีเป้าหมายที่แถลงไว้เพื่อหยุดการแพร่ของคอมมิวนิสต์ ตามทฤษฎีโดมิโนของสหรัฐ หากรัฐหนึ่งกลายเป็นคอมมิวนิสต์ รัฐอื่นในภูมิภาคก็จะเป็นไปด้วย ฉะนั้น นโยบายของสหรัฐจึงถือว่าการผ่อนปรนการแพร่ของคอมมิวนิสต์ทั่วประเทศเวียดนามนั้นยอมรับไม่ได้ รัฐบาลเวียดนามเหนือและเวียดกงต่อสู้เพื่อรวมเวียดนามอยู่ในการปกครองคอมมิวนิสต์ ทั้งสองมองข้อพิพาทนี้เป็นสงครามอาณานิคม ซึ่งเริ่มแรกสู้กับฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐ แล้วต่อมาสู้กับเวียดนามใต้ ซึ่งถูกมองว่าเป็นรัฐหุ่นเชิดของสหรัฐ ที่ปรึกษาทางทหารชาวอเมริกันมาถึงอินโดจีนขณะนั้นเริ่มตั้งแต่ปี 2493 การเข้ามามีส่วนของสหรัฐเพิ่มขึ้นในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1960 โดยมีระดับทหารเพิ่มเป็นสามเท่าในปี 2494 และเพิ่มอีกสามเท่าในปีต่อมา การเข้ามามีส่วนของสหรัฐทวีขึ้นอีกหลังเหตุการณ์อ่าวตังเกี๋ย ปี 2507 ซึ่งเรือพิฆาตของสหรัฐปะทะกับเรือโจมตีเร็วของเวียดนามเหนือ ซึ่งตามติดด้วยข้อมติอ่าวตังเกี๋ยซึ่งอนุญาตให้ประธานาธิบดีสหรัฐเพิ่มทหารในพื้นที่ หน่วยรบปกติของสหรัฐถูกจัดวางเริ่มตั้งแต่ปี 2498 ปฏิบัติการข้ามพรมแดนระหว่างประเทศ โดยพื้นที่ติดต่อกับประเทศลาวและกัมพูชาถูกกองทัพสหรัฐทิ้งระเบิดอย่างหนักขณะที่การเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐเพิ่มขึ้นสูงสุดในปี 2511 ปีเดียวกัน ฝ่ายคอมมิวนิสต์เปิดฉากการรุกตรุษญวน การรุกตรุษญวนไม่สัมฤทธิ์ผลในการโค่นรัฐบาลเวียดนามใต้ แต่ได้กลายเป็นจุดพลิกผันของสงคราม เพราะได้แสดงว่าเวียดนามได้ไม่อาจป้องกันตัวเองจากเวียดนามเหนือได้ แม้สหรัฐจะทุ่มความช่วยเหลือทางทหารอย่างมหาศาลหลายปี ด้วยจุดชัยชนะของสหรัฐนั้นไม่ชัดเจน จึงค่อย ๆ มีการถอนกำลังภาคพื้นดินของสหรัฐโดยเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายเรียก การแผลงเป็นเวียดนาม (Vietnamization) ซึ่งมุ่งยุติการเข้ามามีส่วนในสงครามของสหรัฐขณะที่โอนภารกิจต่อสู้กับคอมิวนิสต์ให้เวียดนามใต้เอง แม้ภาคีทุกฝ่ายลงนามข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม 2516 แล้วก็ตาม แต่การสู้รบยังดำเนินต่อไป ในสหรัฐอเมริกาและโลกตะวันตก มีการพัฒนาขบวนการต่อต้านสงครามเวียดนามขนาดใหญ่ขึ้น ขบวนการนี้ทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมต่อต้าน (Counterculture) แห่งคริสต์ทศวรรษ 1960 และเป็นปัจจัยหนึ่งของมัน

การมีส่วนร่วมทางทหารของสหรัฐยุติลงเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2516 อันเป็นผลมาจากคำแปรญัตติเคส–เชิร์ช (Case–Church Amendment) ที่รัฐสภาสหรัฐผ่าน การยึดกรุงไซ่ง่อนโดยกองทัพประชาชนเวียดนามในเดือนเมษายน 2518 เป็นจุดสิ้นสุดของสงคราม และมีการรวมชาติเวียดนามเหนือกับเวียดนามใต้ในปีต่อมา สงครามนี้คร่าชีวิตมนุษย์ไปมหาศาล ประเมินตัวเลขทหารและพลเรือนชาวเวียดนามที่ถูกสังหารมีตั้งแต่น้อยกว่า 1 ล้านคนเล็กน้อย ไปถึงกว่า 3 ล้านคน ชาวกัมพูชาเสียชีวิตราว 2-3 แสนคน ชาวลาวเสียชีวิต 20,000-200,000 คน และทหารชาวอเมริกันเสียชีวิตในข้อพิพาทนี้ 58,220 นาย[A 1]

ฝรั่งเศสเริ่มการพิชิตอินโดจีนในปลายคริสต์ทศวรรษ 1850 และปราบปรามอย่างเสร็จสมบูรณ์ในปี 2436สนธิสัญญาเว้ ค.ศ. 1884 เป็นพื้นฐานการปกครองอาณานิคมฝรั่งเศสในเวียดนามเป็นเวลาอีกเจ็ดทศวรรษ แม้จะมีการต้านทานทางทหาร ที่โดดเด่นที่สุด คือ เกิ่นเวืองแห่งฟาน ดิญ ฝุง ในปี 2431 พื้นที่ซึ่งเป็นประเทศกัมพูชาและเวียดนามปัจจุบันกลายสภาพเป็นอาณานิคมอินโดจีนของฝรั่งเศส และลาวถูกเพิ่มเข้าสู่อาณานิคมภายหลัง มีขบวนการต่อต้านฝรั่งเศสหลายกลุ่มในช่วงนี้ เช่น พรรคชาตินิยมเวียดนามที่ก่อการกำเริบเอียนบ๊ายที่ล้มเหลวในปี 2473 แต่ท้ายที่สุด ไม่มีกลุ่มใดประสบความสำเร็จมากเท่ากับแนวร่วมเวียดมินห์ ซึ่งก่อตั้งในปี 2484 ซึ่งอยู่ในการควบคุมของพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีน และได้รับเงินทุนจากสหรัฐอเมริกาและพรรคชาตินิยมจีนในการต่อสู้กับการยึดครองของญี่ปุ่น[A 3]

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ฝรั่งเศสปราชัยต่อเยอรมนีในปี 2483 สำหรับอินโดจีนของฝรั่งเศส หมายความว่า เจ้าหน้าที่อาณานิคมกลายเป็นฝรั่งเศสเขตวีชี พันธมิตรของอักษะเยอรมนี-อิตาลี สรุปคือ ฝรั่งเศสร่วมมือกับกำลังญี่ปุ่นหลังการบุกครองอินโดจีนของฝรั่งเศสในปี 2483 ฝรั่งเศสยังดำเนินกิจการในอาณานิคมต่อไป ทว่าอำนาจสูงสุดเป็นของญี่ปุ่น

เวียดมินห์ก่อตั้งขึ้นเป็นสันนิบาตเรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส แต่ก็ต่อต้านการยึดครองของญี่ปุ่นในปี 2488 ด้วยสาเหตุเดียวกัน สหรัฐอเมริกาและพรรคชาตินิยมจีนสนับสนุนเวียดมินห์ในการต่อสู้กับการยึดครองของญี่ปุ่น ทว่า ทีแรกเวียดมินห์ยังไม่มีกำลังพอต่อสู้ในยุทธการแท้จริง ผู้นำเวียดมินห์ โฮจิมินห์ ต้องสงสัยว่าเป็นคอมมิวนิสต์และถูกพรรคชาตินิยมจีนจำคุกเป็นเวลาหนึ่งปี

การยึดครองซ้อนโดยฝรั่งเศสและญี่ปุ่นดำเนินมากระทั่งกำลังเยอรมนีถูกขับออกจากฝรั่งเศสและเจ้าหน้าที่อาณานิคมอินโดจีนฝรั่งเศสเริ่มต้นเจรจาทางลับกับฝรั่งเศสเสรี ด้วยเกรงว่าพวกตนไม่อาจเชื่อใจเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสได้อีกต่อไป กองทัพญี่ปุ่นจึงกักตัวเจ้าหน้าที่และทหารฝรั่งเศสในวันที่ 9 มีนาคม 2488 และสถาปนารัฐหุ่นเชิดจักรวรรดิเวียดนาม ภายใต้สมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยแทน

ระหว่างปี 2487–2488 เกิดทุพภิกขภัยรุนแรงทางเหนือของเวียดนามเนื่องจากสภาพอากาศเลวและการแสวงหาประโยชน์ของฝรั่งเศสและญี่ปุ่นประกอบกัน เพราะอินโดจีนฝรั่งเศสต้องจัดส่งธัญพืชแก่ญี่ปุ่น มีผู้เสียชีวิตเพราะการอดอยากระหว่าง 400,000 ถึง 2 ล้านคน จากประชากรในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 10 ล้านคน ในเดือนมีนาคม 2488 เวียดมินห์อาศัยช่องว่างทางการปกครองซึ่งเกิดจากการกักตัวเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสหนุนให้ประชาชนปล้นคลังข้าวและปฏิเสธไม่จ่ายภาษี มีคลังสินค้าถูกปล้นระหว่าง 75 ถึง 100 แห่ง การกบฏต่อผลกระทบแห่งทุพภิกขภัยและเจ้าหน้าที่ซึ่งรับผิดชอบต่อภัยดังกล่าวบางส่วนเสริมความนิยมของเวียดมินห์ และเวียดมินห์สามารถระดมสมาชิกได้เป็นจำนวนมากในช่วงนี้

ระหว่างเดือนสิงหาคม 2488 กองทัพญี่ปุ่นยังไม่มีความเคลื่อนไหว ขณะที่เวียดมินห์และกลุ่มชาตินิยมอื่นยึดสถานที่ราชการและอาวุธ ซึ่งเริ่มการปฏิวัติเดือนสิงหาคม เจ้าหน้าที่โอเอสเอสเข้าพบโฮจิมินห์และนายทหารเวียดมินห์อื่นหลายครั้งในช่วงนี้ และเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2488 โฮจิมินห์ประกาศอิสรภาพสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามต่อหน้าฝูงชน 500,000 คนในฮานอย เขาเริ่มสุนทรพจน์โดยถอดความคำประกาศอิสรภาพสหรัฐอเมริกาว่า "มนุษย์ทุกคนถูกสร้างขึ้นมาอย่างเท่าเทียมกัน และพระผู้สร้างได้มอบสิทธิบางประการที่จะเพิกถอนมิได้ไว้ให้แก่มนุษย์ ในบรรดาสิทธิเหล่านั้นได้แก่ ชีวิต เสรีภาพและการเสาะแสวงหาความสุข"

เวียดมินห์ยึดอำนาจในเวียดนามในการปฏิวัติเดือนสิงหาคม ตาม Gabriel Kolko เวียดมินห์ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างกว้างขวาง ทว่า Arthur J. Dommen เตือน "มุมมองที่ถูกทำให้เย้ายวน" ของความสำเร็จนี้: "การใช้ความสะพรึงกลัวของเวียดมินห์นั้นเป็นระบบ....พรรคดึงรายชื่อผู้ต้องฆ่าทิ้งอย่างไม่รีรอ" หลังพ่ายในสงคราม กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นมอบอาวุธให้ชาวเวียดนาม และยังคุมขังเจ้าหน้าที่และนายทหารวีชีฝรั่งเศสเป็นเวลาหนึ่งเดือนหลังยอมจำนน เวียดมินห์ระดมทหารญี่ปุ่นกว่า 600 นายและมอบบทบาทให้พวกเขาฝึกหรือบังคับบัญชาทหารเวียดนาม

อย่างไรก็ดี ฝ่ายสัมพันธมิตรหลักผู้ชนะสงครามโลกครั้งที่สอง สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตล้วนตกลงกันว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็นของฝรั่งเศส เนื่องจากฝรั่งเศสไม่มีหนทางยึดเวียดนามคืนได้ทันที มหาอำนาจจึงบรรลุข้อตกลงกันว่าทหารอังกฤษจะยึดครองเวียดนามใต้ ขณะที่กำลังจีนชาตินิยมจะเคลื่อนเข้ามาจากทางเหนือ กำลังชาตินิยมจีนเข้าประเทศเวียดนามเพื่อปลดอาวุธทหารญี่ปุ่นที่อยู่เหนือเส้นขนานที่ 16 เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2488 เมื่ออังกฤษยกพลขึ้นบกทางใต้ ก็ติดอาวุธให้กำลังฝรั่งเศสที่ถูกกักตัว ตลอดจนกำลังญี่ปุ่นที่ยอมจำนนบางส่วนเพื่อช่วยฝรั่งเศสยึดเวียดนามใต้คน เพราะไม่มีพลเพียงพอกระทำการตามลำพัง

ด้วยการกระตุ้นของสหภาพโซเวียต ทีแรกโฮจิมินห์พยายามเจรจากับฝรั่งเศส ซึ่งกำลังสถาปนาการควบคุมทั้งพื้นที่อย่างช้า ๆ ในเดือนมกราคม 2489 เวียดมินห์ชนะการเลือกตั้งทั่วเวียดนามเหนือและกลาง เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2489 โฮลงนามข้อตกลงอนุญาตให้กำลังฝรั่งเศสแทนกำลังจีนชาตินิยม แลกกับการรับรองสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามของฝรั่งเศสว่าเป็นสาธารณรัฐ "อิสระ" ในสหภาพฝรั่งเศส โดยเกณฑ์การรับรองนี้จะกำหนดโดยเจรจาในอนาคต ฝรั่งเศสขึ้นบกในฮานอยเมื่อเดือนมีนาคม 2489 และขับเวียดมินห์ออกจากนครในเดือนพฤศจิกายนปีนั้น กำลังอังกฤษออกนอกประเทศเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2489 ทิ้งเวียดนามให้อยู่ในการดูแลของฝรั่งเศส ไม่นานให้หลัง เวียดมินห์เริ่มต้นสงครามกองโจรต่อกำลังสหภาพฝรั่งเศส เริ่มต้นสงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง

สงครามลุกลามไปยังประเทศลาวและกัมพูชา ที่ซึ่งนักคอมมิวนิสต์จัดระเบียบขบวนการปะเทดลาวและเขมรเสรี ซึ่งทั้งสองถอดแบบมาจากเวียดมินห์ ด้านสถานการณ์โลก สงครามเย็นเริ่มขึ้นอย่างจริงจัง ซึ่งหมายความว่าการกระชับความสัมพันธ์ซึ่งมีระหว่างฝ่ายตะวันตกและสหภาพโซเวียตระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองได้พังทลายลง การขาดอาวุธเป็นอุปสรรคของเวียดมินห์ แต่สถานการณ์ดังกล่าวเปลี่ยนไปเมื่อปี 2492 คอมมิวนิสต์จีนชนะสงครามกลางเมืองจีนได้ส่วนใหญ่แล้ว และสามารถจัดหาอาวุธให้แก่พันธมิตรเวียดนามได้

ในเดือนมกราคม 2493 สาธารณรัฐประชาชนจีนและสหภาพโซเวียตรับรองว่าสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนามของเวียดมินห์ซึ่งมีฐานในฮานอยเป็นรัฐบาลเวียดนามที่ชอบธรรม เดือนต่อมา สหรัฐอเมริกาและบริเตนใหญ่รับรองว่ารัฐเวียดนามในไซ่ง่อนที่ฝรั่งเศสหนุนหลัง นำโดยอดีตสมเด็จพระจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย เป็นรัฐบาลเวียดนามที่ชอบธรรม การปะทุของสงครามเกาหลีในเดือนมิถุนายนปีนั้น ชวนให้ผู้กำหนดนโยบายของรัฐบาลสหรัฐเชื่อว่าสงครามในอินโดจีนเป็นตัวอย่างลัทธิการขยายอิทธิพล (expansionism) คอมมิวนิสต์ที่มีสหภาพโซเวียตชี้นำ

ที่ปรึกษาทางทหารจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเริ่มให้การสนับสนุนเวียดมินห์ในเดือนกรกฎาคม 2493 อาวุธ ความรู้ความชำนาญและจับกังของจีนเปลี่ยนเวียดมินห์เปลี่ยนเวียดมินห์จากกำลังกองโจรเป็นกองทัพตามแบบ ในเดือนกันยายนปีนั้น สหรัฐอเมริกาตั้งคณะที่ปรึกษาช่วยเหลือทางทหาร (Military Assistance and Advisory Group, ย่อ: MAAG) เพื่อคัดกรองคำขอความช่ยเหลือ คำแนะนำทางยุทธศาสตร์และการฝึกทหารเวียดนามของฝรั่งเศส จนถึงปี 2497 สหรัฐอเมริกาจัดหาอาวุธเบา 300,000 ชิ้นและใช้เงิน 1 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐสนับสนุนความพยายามทางทหารของฝรั่งเศส คิดเป็น 80% ของมูลค่าสงคราม

นอกจากนี้ ยังมีการเจรจาระหว่างฝรั่งเศสและสหรัฐซึ่งพิจารณาความเป็นไปได้ของการใช้อาวุธนิวเคลียร์ทางยุทธวิธีสามลูก ทว่า รายงานความจริงจังของการพิจารณานี้และผู้พิจารณายังคลุมเครือและขัดแย้งกันแม้จนปัจจุบัน แผนฉบับหนึ่งสำหรับปฏิบัติการแร้ง (Operation Vulture) ที่เสนอไว้กล่าวถึงการส่งเครื่องบินบี-29 จากฐานทัพสหรัฐในภูมิภาค 60 ลำ โดยมีเครื่องบินขับไล่ที่อาจมากถึง 150 ลำที่ปล่อยจากเรือบรรทุกเครื่องบินกองเรือสหรัฐที่เจ็ดสนับสนุน ทิ้งระเบิดที่ตั้งของหวอ เงวียน ซ้าป ผู้บัญชาการเวียดมินห์ แผนดังกล่าวรวมทางเลือกการใช้อาวุธนิวเคลียร์มากถึงสามลูกต่อที่ตั้งของเวียดมินห์ พลเรือเอก อาเธอร์ ดับเบิลยู. แรดฟอร์ด (Arthur W. Radford) ประธานคณะเสนาธิการทหารสหรัฐ สนับสนุนทางเลือกนิวเคลียร์นี้ เครื่องบินบี-29 บี-36 และบี-47 สามารถโจมตีด้วยนิวเคลียร์ได้ เช่นเดียวกับอากาศยานประจำเรือจากกองเรือที่เจ็ด

เรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐแล่นไปยังอ่าวตังเกี๋ย และมีเที่ยวบินลาดตระเวนเหนือเดียนเบียนหูระหว่างการเจรจา ตามรองประธานาธิบดีสหรัฐ ริชาร์ด นิกสัน แผนดังกล่าวเกี่ยวข้องกับคณะเสนาธิการทหารที่ร่างแผนใช้อาวุธนิวเคลียร์ยุทธวิธีขนาดเล็กเพื่อสนับสนุนฝรั่งเศส นิกสันเสนอว่าสหรัฐอเมริกาอาจต้อง "ส่งทหารอเมริกาเข้าไป" ประธานาธิบดีสหรัฐ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ตั้งเงื่อนไขการมีส่วนเกี่ยวข้องของสหรัฐกับการสนับสนุนของอังกฤษ แต่คัดค้านการเสี่ยงขนาดนั้น ในท้ายที่สุด ไอเซนฮาวร์ตัดสินใจไม่แทรกแซง เพราะเชื่อว่าความเสี่ยงทางการเมืองมีมากกว่าประโยชน์ที่เป็นไปได้ ไอเซนฮาวร์เป็นพลเอกห้าดาว เขารอบคอบกับการดึงสหรัฐอเมริกาเข้าไปมีส่วนในสงครามภาคพื้นดินในทวีปเอเชีย

เวียดมินห์ได้รับการสนับสนุนสำคัญจากสหภาพโซเวีตยและจีน การสนับสนุนของจีนในสงครามชายแดน พ.ศ. 2493 ทำให้การส่งกำลังจากจีนเข้ามายังเวียดนามได้ ตลอดความขัดแย้ง การประมาณของข่าวกรองสหรัฐยังข้องใจกับโอกาสสำเร็จของฝรั่งเศส

ยุทธการที่เดียนเบียนฟูเป็นการสิ้นสุดการมีส่วนเกี่ยวข้องของฝรั่งเศสในอินโดจีน กำลังเวียดมินห์ของซ้าปมอบความปราชัยทางทหารอันน่าพิศวงแก่ฝรั่งเศส และในวันที่ 7 พฤษภาคม 2497 ทหารที่ตั้งของสหภาพฝรั่งเศสยอมจำนน ในจำนวนเชลยศึกชาวฝรั่งเศส 12,000 คนที่เวียดมินห์จับได้ มีผู้รอดชีวิตเพียง 3,000 คนเท่านั้น ที่การประชุมเจนีวา ฝรั่งเศสเจรจาข้อตกลงหยุดยิงกับเวียดมินห์ และฝรั่งเศสให้เอกราชแก่กัมพูชา ลาวและเวียดนาม


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406