ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สงครามเย็น

สงครามเย็น (อังกฤษ: Cold War) เป็นสถานะความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารหลังสงครามโลกครั้งที่สองระหว่างประเทศในกลุ่มตะวันตก (สหรัฐอเมริกา พันธมิตรนาโต้ ฯลฯ) และประเทศในกลุ่มตะวันออก (สหภาพโซเวียตและพันธมิตรในสนธิสัญญาวอร์ซอ)

นักประวัติศาสตร์ยังไม่ตกลงกันทั้งหมดว่าสงครามเย็นคือช่วงใดกันแน่ แต่ส่วนใหญ่ถือ ค.ศ. 1947–1991 สงครามเย็นได้ชื่อว่า "เย็น" เพราะไม่มีการสู้รบขนาดใหญ่โดยตรงระหว่างสองฝ่าย แม้มีสงครามในภูมิภาคสำคัญ ๆ ที่เรียก สงครามตัวแทน ในประเทศเกาหลี เวียดนามและอัฟกานิสถานซึ่งทั้งสองฝ่ายสนับสนุนก็ตาม สงครามเย็นแบ่งแยกพันธมิตรยามสงครามชั่วคราวเพื่อต่อกรกับนาซีเยอรมนี ซึ่งสหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาผงาดเป็นอภิมหาอำนาจโดยมีข้อแตกต่างทางเศรษฐกิจและการเมืองอย่างลึกล้ำ คือ สหภาพโซเวียตเป็นรัฐลัทธิมากซ์–เลนินพรรคการเมืองเดียว และสหรัฐอเมริกาเป็นรัฐทุนนิยมที่มีการเลือกตั้งเสรีโดยทั่วไป กลุ่มเป็นกลางที่ประกาศตนกำเนิดขึ้นด้วยขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดซึ่งประเทศอียิปต์ อินเดีย อินโดนีเซียและยูโกสลาเวียก่อตั้ง กลุ่มแยกนี้ปฏิเสธการสมาคมกับทั้งกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออก สองประเทศมหาอำนาจไม่เคยประจัญในการต่อสู้ด้วยอาวุธเต็มขั้น แต่ต่างฝ่ายต่างสั่งสมอย่างหนักเตรียมรับสงครามโลกนิวเคลียร์แบบสุดตัวที่อาจเกิดขึ้น ต่างฝ่ายมีสิ่งกีดขวางนิวเคลียร์ซึ่งกีดขวางการโจมตีของอีกฝ่าย บนพื้นฐานว่าการโจมตีนั้นจะนำไปสู่การทำลายล้างฝ่ายโจมตีอย่างสิ้นซาก คือ ลัทธิอำนาจทำลายล้างซึ่งกันและกัน นอกเหนือจากการพัฒนาคลังนิวเคลียร์ของสองฝ่าย และการวางกำลังทหารตามแบบแล้ว การต่อสู้เพื่อครองความเป็นใหญ่ยังแสดงออกมาผ่านสงรามตัวแทนทั่วโลก การสงครามจิตวิทยา การโฆษณาชวนเชื่อและจารกรรม และการแข่งขันทางเทคโนโลยี เช่น การแข่งขันอวกาศ

ระยะแรกของสงครามเย็นเริ่มในสองปีให้หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติใน ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตรวบการควบคุมเหนือรัฐในกลุ่มตะวันออก ขณะที่สหรัฐอเมริกาเริ่มการจำกัดการขยายตัวของลัทธิที่ไม่พึงปรารถนาทั่วโลกเพื่อท้าทายโซเวียต โดยขยายความช่วยเหลือทางทหารและการเงินแก่ประเทศยุโรปตะวันตก (ตัวอย่างเช่น การสนับสนุนฝ่ายต่อต้านคอมมิวนิสต์ในสงครามกลางเมืองกรีซ) และการตั้งพันธมิตรนาโต้ การปิดล้อมเบอร์ลิน (ค.ศ. 1948–49) เป็นวิกฤตการณ์สำคัญครั้งแรกของสงครามเย็น

ด้วยชัยชนะของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในสงครามกลางเมืองจีนและการอุบัติของสงครามเกาหลี (ค.ศ. 1950–53) ความขัดแย้งขยายตัว สหภาพโซเวียตและสหรัฐอเมริกาแข่งขันชิงอิทธิพลในละตินอเมริกาและรัฐแอฟริกา ตะวันออกกลางและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รับปลดปล่อยอาณานิคม ขณะเดียวกัน การปฏิวัติฮังการี ค.ศ. 1956 ถูกโซเวียตหยุดยั้ง การขยายและบานปลายจุดประกายวิกฤตการณ์เพิ่มอีก เช่น วิกฤตการณ์สุเอซ (ค.ศ. 1956) วิกฤตการณ์เบอร์ลิน ค.ศ. 1961 และวิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ค.ศ. 1962 หลังความขัดแย้งสุดท้ายนี้ก็เริ่มระยะใหม่ซึ่งมีความแตกแยกจีน–โซเวียตทำให้ความสัมพันธ์ภายในเขตคอมมิวนิสต์ซับซ้อนยิ่งขึ้น ขณะที่พันธมิตรของสหรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศฝรั่งเศส แสดงอิสระในการปฏิบัติมากขึ้น สหภาพโซเวียตปราบปรามโครงการเปิดเสรีปรากสปริง ค.ศ. 1968 ในเชโกสโลวาเกีย และสงครามเวียดนาม (ค.ศ. 1955–1975) ยุติลงด้วยความปราชัยของสาธารณรัฐเวียดนามใต้ที่สหรัฐหนุนหลัง ทำให้มีการปรับแก้เพิ่ม

ในคริสต์ทศวรรษ 1970 ทั้งสองฝ่ายต่างสนใจในการผ่อนปรนเพื่อสถาปนาระบบระหว่างประเทศที่เสถียรและทำนายได้มากขึ้น อันเริ่มระยะการผ่อนคลายความตึงเครียดซึ่งมีการเจรจาจำกัดอาวุธยุทธศาสตร์และสหรัฐเปิดความสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งเป็นการถ่วงดุลยุทธศาสตร์กับสหภาพโซเวียต การผ่อนคลายความตึงเครียดทลายลงเมื่อสิ้นทศวรรษโดยสงครามโซเวียตในอัฟกานิสถานที่เริ่มใน ค.ศ. 1979

ต้นคริสต์ทศวรรษ 1980 เป็นอีกช่วงหนึ่งที่มีความตึงเครียดเพิ่มขึ้น โดยที่โซเวียตยิงโคเรียนแอร์ไลน์ เที่ยวบินที่ 007 ตก (ค.ศ. 1983) และการซ้อมรบ "เอเบิลอาร์เชอร์" ของนาโต้ (ค.ศ. 1983) สหรัฐเพิ่มการกดดันทางการทูต ทหารและเศรษฐกิจต่อสหภาพโซเวียต ขณะเดียวกับที่สหภาพโซเวียตกำลังประสบภาวะเศรษฐกิจซบเซาอยู่แล้ว ในกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 ผู้นำโซเวียตคนใหม่ มีฮาอิล กอร์บาชอฟ ริเริ่มการปฏิรูปเปิดเสรีเปเรสตรอยคา (ค.ศ. 1987) และกลัสนอสต์ (ประมาณ ค.ศ. 1985) และยุติการเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในอัฟกานิสถานของโซเวียต การกดดันเรียกร้องเอกราชของชาติยิ่งเติบโตขึ้นในยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศโปแลนด์ ฝ่ายกอร์บาชอฟไม่ยอมใช้ทหารโซเวียตเพื่อค้ำจุดระบอบสนธิสัญญาวอร์ซอที่ไม่มั่นคงดังที่เคยเป็นในอดีต ผลลงเอยด้วยใน ค.ศ. 1989 เกิดคลื่นปฏิวัติซึ่งโค่นระบอบคอมมิวนิสต์ทั้งหมดในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก พรรคคอมมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตเองเสียการควบคุมและถูกห้ามหลังความพยายามรัฐประหารอันไร้ผลในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1991 แล้วนำไปสู่การยุบสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1991 และการล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในประเทศอื่นอย่างประเทศมองโกเลีย กัมพูชาและเยเมนใต้ สหรัฐเหลือเป็นประเทศอภิมหาอำนาจของโลกแต่ผู้เดียว

สงครามเย็นเป็นภาวะอย่างหนึ่งที่ประเทศมหาอำนาจทั้ง 2 ฝ่ายต่างแข่งขันกัน โดยพยายามสร้างแสนยานุภาพทางการทหารของตนไว้ข่มขู่ฝ่ายตรงข้าม โดยประเทศมหาอำนาจจะไม่ทำสงครามกันโดยตรง แต่จะสนับสนุนให้ประเทศพันธมิตรของตนเข้าทำสงครามแทน หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสงครามตัวแทน (proxy War) เหตุที่เรียก สงครามเย็น เนื่องจากเป็นการต่อสู้กันระหว่างมหาอำนาจ โดยใช้จิตวิทยา ไม่ได้นำพาไปสู่การต่อสู้ด้วยกำลังทหารโดยตรงอย่าง สงครามร้อน[ต้องการอ้างอิง]

ในช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้ก่อตั้งค่ายตะวันออก (Eastern Bloc) โดยรวมรัฐที่ได้ยึดมาจากฝ่ายนาซี เช่น โปแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย ฟินแลนด์ เอสโตเนีย โรมาเนีย แล้วจึงเปลี่ยนสถานะให้เป็นรัฐสังคมนิยมซึ่งอยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต

นโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตในช่วงเวลาดังกล่าว คำนึงถึงสงครามเย็นเป็นหลัก นับจากปี ค.ศ. 1947 (พ.ศ. 2490) จนกระทั่งการล่มสลายของสหภาพโซเวียต ใน ค.ศ. 1991 (พ.ศ. 2534) สมัยเริ่มต้นสงครามเย็น น่าจะอยู่ในสมัยวิกฤตการณ์ทางการทูตในตอนกลางและปลาย ค.ศ. 1947 เมื่อสหรัฐอเมริกากับสหภาพโซเวียตเกิดขัดแย้งเรื่องการจัดตั้งองค์การสันติภาพในตุรกี ยุโรปตะวันออกและเยอรมนี

ความตึงเครียดเนื่องจากการเผชิญหน้ากันระหว่างอภิมหาอำนาจ แต่ยังไม่มีการประกาศสงครามหรือใช้กำลัง เป็นสมัยลัทธิทรูแมน วันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1947 กับประกาศแผนการมาร์แชลล์ เพื่อฟื้นฟูบูรณะยุโรปตะวันตก ซึ่งได้รับความเสียหายจากสงครามโลกครั้งที่สอง การขยายอิทธิพลของโซเวียตในยุโรปตะวันออก และการแบ่งแยกเยอรมนี

การวิจัยและพัฒนาโครงการทางการทหารทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่จำนวนมาก เกิดขึ้นในในช่วงเวลานี้ รวมถึงการแข่งขันกันสำรวจอวกาศ และการสะสมอาวุธนิวเคลียร์ด้วย ทั้งหมดนี้เป็นไปเพื่อแสดงแสนยานุภาพของฝ่ายตน

เริ่มต้นของสงครามเย็น ค.ศ. 1947-1953 มีประเทศพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาหลัก ๆ คือ สมาชิกองค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ มีประเทศพันธมิตรของโซเวียตหลัก ๆ คือสมาชิกสนธิสัญญาวอร์ซอและสาธารณรัฐประชาชนจีน

ค.ศ. 1950 ได้เกิดสงครามเกาหลี สหรัฐอเมริกาได้ช่วยเหลือเกาหลีใต้ ส่วนโซเวียตได้ช่วยเหลือเกาหลีเหนือ จนกระทั่งสงบศึกหลังจากเวียดมินห์ได้รับชัยชนะ ฝรั่งเศสยอมรับความปราชัยและต้องสงบศึก ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการลงนามใน "อนุสัญญาเจนีวา" (พ.ศ. 2497) ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีผลให้เวียดนามถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ เวียดนามเหนือ และเวียดนามใต้ โดยมีเส้นขนานที่ 17 องศาเหนือ โดยเวียดนามเหนือยึดถือการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ ส่วนเวียดนามใต้ยึดถือการปกครองแบบประชาธิปไตย ภายใต้การนำของโง ดินห์ เสี่ยม ทำให้สหภาพโซเวียตเข้าควบคุมเวียดนามเหนือ สหรํฐอเมริกาเข้าควบคุมเวียดนามใต้ ในตะวันออกกลาง อเมริกาได้สนับสนุนอิสราเอลในเรื่องอาวุธที่ไว้ใช้ป้องกันตัวเอง ทำให้โซเวียตตอบโต้โดยสนับสนุนสันนิบาตอาหรับในต่อต้านอิสราเอล

ในปีค.ศ. 1959 ได้มีการปฏิวัติคิวบาและได้เข้าเป็นพันธมิตรของโซเวียต ในปี ค.ศ.1960 สาธารณรัฐประชาชนจีนได้มีความคิดคัดแย้งกัน ทำให้สาธารณรัฐประชาชนจีน กลุ่มเขมรแดง และโซมาเลีย แยกออกมาจากพันธมิตรของโซเวียต หลังจากสงครามยมคิปปูร์ เวียดนามได้เข้าเป็นพันธมิตรของโซเวียต ส่วนสันนิบาตอาหรับตัดความสัมพันธ์จากโซเวียตไปเป็นพันธมิตรของอเมริกา

ในปี ค.ศ.1979 เกิดสงครามอัฟกานิสถานที่เป็นพันธมิตรของโซเวียตได้ต่อสู้กับมุจญาฮิดีนซุนนีย์ที่อเมริกาสนับสนุน ในที่สุดมุจญาฮิดีนซุนนีย์ได้รับชัยชนะ ทำให้โซเวียตเสียพันธมิตรไป ใน ค.ศ.1989 ได้มีการเรียกร้องความเป็นประชาธิปไตยในกลุ่มสนธิสัญญาวอร์ซอ ทำให้โซเวียตเสียพันธมิตรในกลุ่มสนธิสัญญาวอร์ซอ ทำให้รัฐในโซเวียตเรียกร้องอิสรภาพ ส่งผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลายในเวลาต่อมา


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301