ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สงครามเพโลพอนนีเซียน

สงครามเพโลพอนนีเซียน (อังกฤษ: Peloponnesian War; 431–404 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นสงครามระหว่างจักรวรรดิเอเธนส์กับสันนิบาติเพโลพอนนีเซียนที่นำโดยสปาร์ตา สงครามนี้ออกเป็นสามช่วง โดยช่วงแรกเรียกว่า "สงครามอาร์คิเดเมียน" (Archidamian War) เป็นการรุกรานแอททิกาของกองทัพสปาร์ตา ในขณะที่ฝ่ายเอเธนส์ใช้กองเรือที่มีประสิทธิภาพโจมตีกลับ สงครามช่วงนี้จบลงในปีที่ 421 ก่อนคริสตกาล ด้วยสนธิสัญญาสันติภาพนิซิอัส แต่ต่อมาในปีที่ 415 ก่อนคริสตกาล เอเธนส์กลับยกทัพบุกซีรากูซาบนเกาะซิซิลี แต่ล้มเหลว ช่วงที่สามของสงคราม สปาร์ตาได้สนับสนุนให้มีการก่อกบฏขึ้นตามนครรัฐใต้อำนาจเอเธนส์ จนนำไปสู่ยุทธนาวีที่เอกอสพอทาไมที่เป็นจุดยุติสงครามในที่สุด เอเธนส์ยอมแพ้สงครามในปีต่อมา

สงครามเพโลพอนนีเซียน เป็นสงครามที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างสองนครรัฐมหาอำนาจของดินแดนกรีซโบราณ คือ นครรัฐเอเธนส์ และนครรัฐสปาร์ต โดยในช่วงเวลาดังกล่าว นครรัฐเอเธนส์มีกองทัพเรือที่เข้มแข็งที่สุด และถือว่าเป็นมหาอำนาจทางทะเล ในขณะที่นครรัฐสปาร์ตานั้น มีกองทัพบกที่เกรียงไกรยิ่งกว่านครรัฐใด ๆ เมื่อครั้งที่พระเจ้าเซอร์เซสของเปอร์เชียยกทัพเข้ารุกรานดินแดนกรีซ เอเธนส์และนครรัฐอื่น ๆ อีกหลายนครได้รวมตัวกันเป็นสมาพันธ์เดลอส (Confederacy of Delos) โดยมีเอเธนส์เป็นผู้นำ ซึ่งหลังจากสงครามครั้งนั้นสิ้นสุดลงโดยเปอร์เชียล่าถอยกลับไปแล้ว สมาพันธ์ดังกล่าวก็ยังดำรงอยู่ โดยสมาชิกต้องส่งเงินบำรุงสมาพันธ์ไปยังเอเธนส์ ซึ่งเอเธนส์จะมีสิทธิอย่างเต็มที่ในการใช้จ่ายเงินดังกล่าว

การได้เป็นผู้นำสมาพันธ์เดลอส ทำให้อำนาจของเอเธนส์ในดินแดนกรีซเพิ่มขึ้น ประกอบกับเอเธนส์ประสบความสำเร็จในการค้าทางทะลจนเจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่ง ในขณะเดียวกัน สปาร์ตาซึ่งมีบทบาทสำคัญในสงครามกับเปอร์เชีย ก็จับตามองเอเธนส์อย่างไม่ไว้วางใจ ทั้งนี้นครทั้งสองมีการแข่งขันกันมาเป็นเวลานานแล้ว โดยเอเธนส์เป็นนครที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย ซึ่งให้เสรีภาพกับประชาชนมากกว่าสปาร์ตาที่ปกครองแบบเผด็จการทหาร ซึ่งหลังจากสงครามเปอร์เซียสิ้นสุดลง เอเธนส์ได้เผยแพร่แนวคิดประชาธิปไตยไปยังรัฐอื่น ๆ สร้างความไม่พอใจให้กับสปาร์ตาและนครรัฐที่ปกครองแบบเผด็จการอีกหลายนคร อีกทั้งความรุ่งเรืองของเอเธนส์ยังทำให้นครรัฐเหล่านี้เกิดความริษยาอีกด้วย

เพื่อคานอำนาจกับเอเธนส์ ทางสปาร์ตาจึงได้ตั้งสมาพันธ์เพโลพอนนีเซียน (Confederacy of Peloponnesian) ขึ้น โดยมีตนเองเป็นผู้นำ และด้วยเหตุนี้ สปาร์ตาจึงกลายเป็นมหาอำนาจทางบก ส่วนเอเธนส์กลายเป็นมหาอำนาจทางทะเลและการแข่งขันระหว่างสองฝ่ายก็ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

จุดแตกหักของทั้งสองฝ่ายเริ่มขึ้นจากการที่นครคอรินธ์ซึ่งเป็นสมาชิกของสมาพันธ์เพโลพอนนีเซียนเริ่มสร้างฐานการค้าในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนแข่งกับนครเอเธนส์ จนต่อมาในปีที่ 431 ก่อนคริสตกาล คอรินธ์ก็เกิดข้อพิพาทกับนครคอร์ซิราซึ่งอยู่ในสมาพันธ์เดลอส เอเธนส์ในฐานะผู้นำของสมาพันธ์จึงเข้ามาช่วยคอร์ซิรา ขณะที่คอรินธ์ขอความช่วยเหลือไปยังสปาร์ตา จนในที่สุดก็ลุกลามเป็นสงครามระหว่างเอเธนส์กับนครรัฐอื่น ๆ ในสมาพันธ์เพโลพอนนีเซียน

ในช่วงสิบปีแรกของสงครามคือ ปีที่ 431 – 421 ก่อนคริสตกาล กำลังรบสำคัญของเอเธนส์คือกองทัพเรือ ส่วนสปาตาร์คือกองทัพบก ซึ่งในช่วงต้นของสงครามทั้งสองฝ่ายมีกำลังสูสีกัน ทว่าต่อมาเกิดโรคระบาดในเอเธนส์ทำให้มีประชาชนเสียชีวิตเป็นจำนวนหลายพันคน รวมทั้งเพอริคลีส ผู้นำคนสำคัญของเอเธนส์ ซึ่งผู้ที่ขึ้นมาดำรงตำแหน่งคนใหม่ไม่มีความสามารถเทียบเท่า ทำให้ภายในเอเธนส์เกิดแตกแยกเป็นสองพรรค คือ พรรคประชาธิปไตยที่มีคลีออนเป็นผู้นำ กับ พรรคอนุรักษนิยมที่มีนิซิอัสเป็นผู้นำ

พรรคประชาธิปไตยได้ชัยในยุทธการที่สแปคทีเรีย จับเชลยชาวสปาร์ตาได้สามร้อยคน ทว่าต่อมา กลับพ่ายแพ้ที่แอมฟิโปลิส จึงทำให้พวกอนุรักษนิยมเข้ายึดอำนาจภายใน จากนั้นนิซิอัสจึงได้เจรจาสงบศึกกับสปาร์ตา อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะสงบศึกกันแล้ว สองฝ่ายก็ยังคงรบกันเป็นระยะ และในปีที่ 419 ก่อนคริสตกาล เอเธนส์ก็ร่วมกับนครรัฐอื่น ๆ ทำสงครามกับสปาร์ตาที่แมนดิเนียและในปีต่อมา ฝ่ายสปาร์ตาก็ได้รับชัยชนะ

ในช่วงเวลานี้ เอเธนส์มีผู้นำคือ อัลซิเบียดีส ซึ่งเป็นคนฉลาดแต่เห็นแก่ตัวและไม่รักษาสัจจะ เขาเชื่อว่าตราบเท่าที่สงครามยังคงอยู่ ตัวเขาก็จะยังได้ประโยชน์ ดังนั้นเขาจึงพยายามทุกอย่างที่จะสร้างความขัดแย้งขึ้น เช่น การขยายอำนาจเข้าสู่ซิซิลีเพื่อเตรียมการปราบปรามนครซีรากูซา ซึ่งหากทำสำเร็จ เขาก็จะมีอำนาจเพิ่มมากขึ้นด้วย การกระทำดังนี้ ทำให้สปาร์ตาไม่พอใจเป็นอย่างมากและก่อให้เกิดสงครามครั้งใหม่ กองทัพเรือเอเธนส์ถูกโจมตีอย่างหนักที่ซีรากูซา เหล่าทหารถูกไล่ต้อนขึ้นบกและถูกบังคับให้เผาเรือของตน พวกแม่ทัพถูกจับและถูกสังหารเกือบหมด

ในปีที่ 414 ก่อนคริสตกาล หลังการพ่ายแพ้ที่ซีรากูซา เอเธนส์ได้ส่งกองทัพไปโจมตีลาโคเนีย ทว่าถูกแม่ทัพไลแซนเดอร์ของสปาร์ตาเอาชนะได้ ความพ่ายแพ้ครั้งนี้ทำให้อัลซิเบียดีสหมดอำนาจทางการเมือง ต่อมาทัพสปาร์ตาก็มีชัยชนะในการรบอีกครั้งที่เอกอสพอทาไม โดยสามารถทำลายทั้งทัพบกและทัพเรือของเอเธนส์ ทั้งจับเชลยได้ถึง 3,000 คน ทำให้นครเอเธนส์ต้องยอมแพ้อย่างสิ้นเชิง ในปีที่ 404 ก่อนคริสตกาล

การพ่ายแพ้ในสงครามเพโลพอนนีเซียน ส่งผลให้เอเธนส์ถูกลดอำนาจลง กลายเป็นนครรัฐชั้นสอง ภายใต้อำนาจของสปาร์ตาและได้รับอนุญาตให้มีเรือรบได้เพียงสิบสองลำเท่านั้น ส่วนการปกครองก็เปลี่ยนเป็นคณาธิปไตย โดยยอมให้สปาร์ตามาตั้งป้อมค่ายได้และหากมีใครขัดขวางก็จะถูกขับไล่ออกจากเมือง ซึ่งแม้ว่าในภายหลัง เอเธนส์จะขับไล่อำนาจของสปาร์ตาออกไปได้และกลับมาปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอีกครั้ง แต่เอเธนส์ก็ไม่อาจกลับมารุ่งเรืองได้อีกเลยและสปาร์ตาก็กลายเป็นผู้นำของนครรัฐกรีซทั้งปวงโดยเด็ดขาด


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406