ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สงครามอิหร่าน-อิรัก

สงครามอิรัก–อิหร่าน (อังกฤษ: Iran–Iraq War) เป็นความขัดแย้งระหว่างประเทศอิหร่านและประเทศอิรัก ซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนกันยายน 1980 ถึงสิงหาคม 1988 มีการประเมินว่าสงครามครั้งนี้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจรวมกันกว่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ (30.6 ล้านล้านบาท)

สงครามอิรัก–อิหร่านเริ่มขึ้นเมื่ออิรักทำการรุกรานอิหร่านในวันที่ 22 กันยายน 1980 อันเนื่องมาจากข้อพิพาททางชายแดนที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน หลังการปฏิวัติอิหร่านในปี 1979 รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี ได้ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของอิหร่านและประกาศตนเป็นผู้นำอิสลามนิกายชีอะห์ ทำให้มุสลิมชีอะฮ์อันเป็นคนส่วนมากในอิรักขึ้นมาก่อจลาจลต่อต้านการปกครองของรัฐบาลนิกายซุนนี ขณะเดียวกัน อิรักก็มีความพยายามจะขึ้นมามีอิทธิพลครอบงำภูมิภาคอ่าวเปอร์เซียแทนที่อิหร่าน แม้ว่าอิรักจะใช้โอกาสที่อิหร่านกำลังวุ่นวายนี้เข้าโจมตีอิหร่านโดยไม่ประกาศก่อน แต่เข้ายึดครองยังได้ไม่มากก็ถูกโต้กลับอย่างรวดเร็ว อิหร่านสามารถชิงดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดคืนมาได้ภายในเดือนมิถุนายน 1982 และตลอดหกปีจากนี้ อิหร่านก็กลายเป็นฝ่ายรุกไล่เข้าไปในดินแดนอิรัก

แม้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ร้องให้มีการหยุดยิงนับสิบๆครั้ง แต่การสู้รบก็ดำเนินไปจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 1988 และสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 598 ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับคำขอหยุดยิง ซึ่งภายหลังข้อสรุปนี้ กองทัพอิหร่านต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการถอนกำลังออกจากดินแดนอิรักโดยยึดเอาหลักเขตแดนก่อนสงคราม เชลยสงครามคนสุดท้ายของสงครามนี้ถูกส่งตัวกลับประเทศตนในปี 2003

สงครามครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันกว่าหนึ่งล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายใดได้หรือสูญเสียดินแดนเลย สงครามครั้งนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในแง่ของกลยุทธ ทั้งการใช้แท่นปืนกล, การโจมตีแบบคลื่นมนุษย์, การใช้อาวุธเคมีจำนวนมากโดยกองทัพอิรัก ประเทศอิสลามจำนวนมากอยู่ฝ่ายเดียวกับชาติตะวันตกในสงครามครั้งนี้ นั่นคือการสนับสนุนอิรักโดยให้เงินกู้, ยุทโธปกรณ์ และภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงที่อิรักโจมตีอิหร่าน ซึ่งในระหว่างสงคราม มีการวิจารณ์จากสื่อว่า "ประชาคมโลกต่างพากันเงียบกริบตอนอิรักใช้อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงต่ออิหร่านและชาวเคิร์ด" และกว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะประกาศให้อิรักเป็นผู้ก่อสงครามก็จนกระทั่ง 11 ธันวาคม 1991 สิบสองปีให้หลังจากที่อิรักทำการรุกรานอิหร่าน และเป็นเวลาสิบหกเดือนหลังอิรักรุกรานคูเวต ซึ่งบานปลายเป็นสงครามอ่าว

อิหร่านและอิรักมีความขัดแย้งกันจากปัญหาเชื้อชาติ ประชากรส่วนใหญ่ของอิรักมีเชื้อสายอาหรับใช้ภาษาอารบิก ในขณะที่ส่วนน้อยมีเชื้อสายเปอร์เซียใช้ภาษาเปอร์เซีย คนเชื้อสายเปอร์เซียในอิรักมีสถานะเป็นรองเชื้อสายอาหรับอยู่เสมอและมักถูกกดขี่โดยคนเชื้ออาหรับ ทำให้ชาวอิรักเชื้อสายเปอร์เซียเหล่านี้เกิดความคับแค้นใจต่อชาวอิรักเชื้อสายอาหรับ ปัญหาเช่นนี้เกิดในอิหร่านเช่นกัน ประชากรของอิหร่านมีเชื้อสายเปอร์เซียกับอาหรับอย่างละครึ่ง แต่ชนชั้นปกครองในอิหร่านเกือบทั้งหมดเป็นเชื้อสายเปอร์เซีย ฉะนั้นในอิหร่านเองก็มีความไม่พอใจของคนเชื้อสายอาหรับต่อคนเชื้อสายเปอร์เซีย

คนอิหร่านเชื้อสายอาหรับส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตะวันตกของประเทศในจังหวัดคูเชสถานติดกับพรมแดนอิรัก ซึ่งจังหวัดคูเชสถานนี้เป็นแหล่งน้ำมันที่สำคัญที่สุดของอิหร่าน ขณะเดียวกัน อิรักก็พยายามอ้างอยู่เสมอว่าจังหวัดดังกล่าวเป็นดินแดนของอิรัก ถึงกับตั้งชื่อให้ว่า จังหวัดอราเบแซน ทหารของสองประเทศมักมีการปะทะกันย่อมๆอยู่เสมอในจังหวัดนี้

นอกจากนี้ยังมีปัญหาชนกลุ่มน้อยที่เรียกว่า "ชาวเคิร์ด" เป็นชนกลุ่มน้อยเชื้อสายอารยัน ไม่มีประเทศเป็นของตนเองแต่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของอิรัก, อิหร่าน, ตุรกี และสหภาพโซเวียต ชาวเคิร์ดได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งรัฐอิสระของตนเองขึ้นในอิหร่าน ชาวเคิร์ดได้ก่อจลาจลขึ้นในอิหร่านในปี 1930 และถูกรัฐบาลอิหร่านปราบปรามอย่างรุนแรง ชาวเคิร์ดจำนวนมากหลบหนีเข้าไปยังอิรัก การปราบปราบอย่างรุนแรงทำให้ชาวเคิร์ดหมดหวังที่จะตั้งรัฐอิสระของตนในอิหร่าน และตั้งเป้าหมายที่จะตั้งรัฐอิสระขึ้นในอิรักแทน จนกระทั่งในปี 1969 ชาวเคิร์ดในอิรักกลายเป็นปัญหามากขึ้นเมื่อพระเจ้าชาห์แห่งอิหร่านได้ให้ความช่วยเหลือทั้งด้านการเงิน, การทูต และด้านอื่นๆแก่ชาวเคิร์ดในอิรัก ต่อมาในปี 1974 รัฐบาลอิรักเข้าประนีประนอมกับรัฐบาลอิหร่านเนื่องจากเห็นว่าขณะนั้นอิหร่านเป็นชาติแข็งแกร่งเป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกา การเจรจาดังกล่าวกลายเป็น "สนธิสัญญาแอลเจียร์ ค.ศ. 1975" ที่ทางอิหร่านจะยุติให้การสนับสนุนแก่ชาวเคิร์ดแลกกับการที่อิรักเสียส่วนหนึ่งของปากแม่น้ำซัท-เอล-อาหรับแก่อิหร่าน

จากสนธิสัญญาดังกล่าว จะเห็นได้ว่า อิหร่านไม่ได้มีส่วนแก้ปัญหาชาวเคิร์ดในอิรักเลย แต่อิรักกลับต้องเสียดินแดนส่วนหนึ่งแก่อิหร่าน อิรักมองว่าสนธิสัญญาดังกล่าวหาความเป็นธรรมไม่ได้

สหรัฐอเมริกาถือเป็นมิตรประเทศของประเทศอิหร่านก่อนการปฏิวัติ แม้กระทั่งหลังการปฏิวัติอิหร่านแล้ว รัฐบาลของประธานาธิบดีคาร์เตอร์ ก็ยังคงมองอิหร่านเป็นปราการเพื่อต่อต้านอิรักและสหภาพโซเวียต สหรัฐมีการเจรจาเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับรัฐบาลเฉพาะกาลของอิหร่าน มีการอนุมัติความร่วมมือด้านข่าวกรองระหว่างสองประเทศในปี 1979 ทั้งสหรัฐและอิหร่าน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ-อิหร่าน ขาดสะบั้นลงเมื่อเกิดวิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน และอิหร่านยังกล่าวหาสหรัฐว่าอยู่เบื้องหลังการรัฐประหารอิหร่านในปี 1953 สหรัฐได้ตัดทางการทูตเป็นการตอบโต้ ในขณะที่บรรดาผู้นำของอิหร่านรวมทั้งรูฮุลลอฮ์ โคมัยนีต่างเชื่อทฤษฎีสมคบคิดที่ว่าสหรัฐให้ "ไฟเขียว" แก่ซัดดัม ฮุสเซน ในการบุกอิหร่าน และยังสงใสว่าสหรัฐจะใช้อิรักเป็นหมากในการแก้แค้นเรื่องวิกฤตตัวประกัน ตามบันทึกของประธานาธิบดีคาร์เตอร์เองก็ได้ระบุในไดอารีของเขาว่า "พวกผู้ก่อการร้ายอิหร่านกำลังจะทำเรื่องบ้าๆอย่างฆ่าตัวประกันชาวอเมริกันถ้าพวกเขาถูกบุกโดยอิรัก ที่เขาบอกว่าเป็นหุ่นเชิดของอเมริกา"


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301