ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สงครามอิรัก

สงครามอิรัก เป็นความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในประเทศอิรักตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2546 ด้วยการรุกรานอิรักโดยสหรัฐอเมริกาซึ่งมีประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุชเป็นผู้นำ และสหราชอาณาจักรซึ่งมีนายกรัฐมนตรีโทนี แบลร์เป็นผู้นำ สงครามคราวนี้อาจเรียกชื่ออื่นว่า การยึดครองอิรัก, สงครามอ่าวครั้งที่สอง หรือ ปฏิบัติการเสรีภาพอิรัก โดยทหารสหรัฐ สงครามครั้งนี้สหรัฐอเมริกาได้ประกาศให้สิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 แม้ความรุนแรงประปรายยังมีต่อไปทั่วประเทศ

ก่อนหน้าการรุกราน รัฐบาลของสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรประเมินว่า ความเป็นไปได้ที่อิรักจะครอบครองอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงคุกคามความมั่นคงของตนและพันธมิตรของตนในภูมิภาค พ.ศ. 2545 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติที่ 1441 ซึ่งกำหนดให้อิรักร่วมมืออย่างเต็มที่กับผู้ตรวจการอาวุธสหประชาชาติเพื่อตรวจสอบว่า อิรักมิได้มีอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงและขีปนาวุธร่อนอยู่ในครอบครอง คณะตรวจสอบอาวุธทั้งคณะผู้ตรวจสอบอาวุธเคมี ชีวภาพและพาหะนำส่งของสหประชาชาติ (United Nations Monitoring, Verification and Inspection Commission - UNMOVIC) ได้รับอนุญาตให้เข้าไปในอิรักภายใต้ข้อกำหนดของมติสหประชาชาติ แต่ไม่พบหลักฐานอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง หากมิได้ดำเนินการตรวจสอบอีกหลายเดือนเพื่อพิสูจน์เป็นการสรุปถึงความร่วมมือของอิรักกับข้อกำหนดการปลดอาวุธสหประชาชาติ หัวหน้าผู้ตรวจสอบอาวุธ ฮันส์ บลิกซ์ เสนอคณะมนตรีความมั่นคงฯ ว่า แม้ความร่วมมือของอิรักนั้น "มีอยู่" แต่มิได้ "ปราศจากเงื่อนไข" และมิได้ "ทันทีทันใด" แถลงการณ์ของอิรักเกี่ยวข้องกับอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูงนั้นไม่สามารถพิสูจน์ได้ในขณะนั้น แต่งานที่เกี่ยวขอ้งกับการปลดอาวุธอิรักสามารถเสร็จสิ้น "ไม่ใช่ปี ไม่ใช่สัปดาห์ แต่เป็นเดือน"

หลังการรุกราน กลุ่มศึกษาอิรัก (Iraq Survey Group) นำโดยสหรัฐสรุปว่าอิรักได้ยุติโครงการนิวเคลียร์ เคมีและชีวภาพใน พ.ศ. 2534 และไม่มีโครงการใดดำเนินอยู่ในขณะการรุกราน แต่อิรักเจตนาจะเริ่มการผลิตอีกเมื่อมาตรการคว่ำบาตรถูกยกเลิก แม้จะพบเศษอาวุธเคมีที่ถูกปลดอยู่ผิดที่หรือถูกทิ้งจากสมัยก่อน พ.ศ. 2534 แต่ก็มิใช่อาวุธซึ่งเป็นเหตุผลหลักในการอ้างความชอบธรรมในการรุกราน เจ้าหน้าที่สหรัฐบางคนยังกล่าวหาประธานาธิบดีอิรัก ซัดดัม ฮุสเซน ว่าปิดบังและให้การสนับสนุนอัลกออิดะฮ์ แต่ไม่เคยพบหลักฐานเชื่อมโยงที่มีความหมายเลย เหตุผลอื่นในการรุกรานที่ให้โดยรัฐบาลของประเทศผู้โจมตีนั้นรวมไปถึง การให้การสนับสนุนทางการเงินของอิรักแก่ครอบครัวมือระเบิดพลีชีพปาเลสไตน์, การละเมิดสิทธิมนุษยชนของรัฐบาลอิรัก และความพยายามเผยแพร่ประชาธิปไตยสู่อิรัก

การรุกรานอิรักนำไปสู่การยึดครองและการจับกุมตัวประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซนในท้ายที่สุด ซึ่งภายหลังถูกพิจารณาโดยศาลอิรักและประหารชีวิตโดยรัฐบาลใหม่ของอิรัก ความรุนแรงต่อกองกำลังผสมและระหว่างกลุ่มนิกายต่าง ๆ ได้นำไปสู่การก่อความไม่สงบในอิรักในเวลาไม่นาน การต่อสู้ระหว่างกลุ่มอิรักนิกายซุนนีย์และชีอะฮ์หลายกลุ่ม และการเกิดกลุ่มแยกใหม่ของอัลกออิดะฮ์ขึ้นในอิรัก ใน พ.ศ. 2551 ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติรายงานว่า มีประเมินผู้ลี้ภัย 4.7 ล้านคน (ประมาณ 16% ของประชากร) โดยมี 2 ล้านคนหนีออกนอกประเทศ (สถิติใกล้เคียงกับการคาดคะเนของซีไอเอ) และประชาชนพลัดถิ่นในประเทศ 2.7 ล้านคน ใน พ.ศ. 2550 คณะกรรมการต่อต้านคอร์รัปชันของอิรักรายงานว่า เด็กอิรัก 35% หรือเกือบห้าล้านคน กำพร้ากาชาดแถลงในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 ว่า สถานการณ์ด้านมนุษยธรรมในอิรักยังอยู่ในระดับวิกฤตที่สุดในโลก โดยมีชาวอิรักหลายล้านคนถูกบีบให้พึ่งพาแหล่งน้ำที่ไม่เพียงพอและคุณภาพต่ำ

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2551 เจ้าหน้าที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐอ้างว่า ตัวบ่งชี้ด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจเริ่มแสดงให้เห็นสัญญาณของการพัฒนาซึ่งพวกเขาเรียกว่าเป็นการมีชัยสำคัญและละเอียดอ่อน ใน พ.ศ. 2550 อิรักอยู่ในอันดับสองของดัชนีรัฐที่ล้มเหลว แม้อันดับค่อยพัฒนาขึ้นนับแต่นั้น โดยเป็นอันดับที่ห้าในรายการ พ.ศ. 2551, ที่หกใน พ.ศ. 2552 และที่เจ็ดใน พ.ศ. 2553 เมื่อความเห็นสาธารณชนที่สนับสนุนให้ถอนกำลังเพิ่มขึ้นและเมื่อกองทัพอิรักเริ่มรับผิดชอบต่อความมั่นคง ชาติสมาชิกกำลังผสมก็ได้ถอนกำลังออก ปลาย พ.ศ. 2551 รัฐบาลสหรัฐและอิรักอนุมัติข้อตกลงว่าด้วยสถานภาพกองกำลังซึ่งจะมีผลหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 รัฐสภาอิรักยังให้สัตยาบันข้อตกลงกรอบยุทธศาสตร์กับสหรัฐ โดยมุ่งประกันความร่วมมือในสิทธิตามรัฐธรรมนูญ การขจัดภัยคุกคาม การศึกษา การพัฒนาพลังงาน และด้านอื่น ๆ

ปลายเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 ประธานาธิบดีสหรัฐที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งใหม่ บารัก โอบามา ประกาศหน้าต่างถอนกำลังรบ 18 เดือน โดยคงทหารอย่างน้อย 50,000 นายในประเทศ "เพื่อให้การแนะนำและฝึกกำลังความมั่นคงอิรักและเพื่อจัดหาข่าวกรองและการตรวจตรา" พลเอกเรย์ โอเดียร์โน ผู้บัญชาการระดับสูงสหรัฐในอิรัก กล่าวว่า เขาเชื่อว่าทหารสหรัฐทั้งหมดจะออกจากประเทศภายในสิ้นปี พ.ศ. 2554 ขณะที่กำลังสหราชอาณาจักรยุติปฏิบัติการรบเมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2552 นายกรัฐมนตรีอิรัก นูรี อัล มาลีกี ได้กล่าวว่า เขาสนับสนุนการเร่งถอนกำลังสหรัฐ ในการปราศรัยที่ห้องประชุมรูปไข่เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2553 โอบามาประกาศ "ภารกิจการรบของอเมริกาในอิรักได้ยุติลงแล้ว ปฏิบัติการเสรีภาพอิรักสิ้นสุดแล้ว และชาวอิรักจะเป็นผู้นำความรับผิดชอบต่อความมั่นคงในประเทศของตน" เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553 ชื่อปฏิบัติการการมีส่วนพัวพันในอิรักของอเมริกาเปลี่ยนจาก "ปฏิบัติการเสรีภาพอิรัก" เป็น "ปฏิบัติการอรุณใหม่" ทหารสหรัฐอีก 50,000 นายที่ยังคงอยู่ ปัจจุบันถูกกำหนดให้เป็น "กองพลน้อยแนะนำและสนับสนุน" ซึ่งมอบหมายไปยังปฏิบัติการไม่เกี่ยวข้องกับการรบ แต่ยังสามารถเปลี่ยนกลับไปปฏิบัติการรบได้หากจำเป็น กองพลน้อยการบินรบสองกองพลน้อยยังคงอยู่ในอิรักเช่นกัน เดือนกันยายน พ.ศ. 2553 แอสโซซิเอตเพรสออกบันทึกภายในซึ่งเตือนผู้สื่อข่าวของตนว่า "การสู้รบในอิรักยังไม่สิ้นสุด" และ "กำลังสหรัฐยังมีส่วนในปฏิบัติการรบใกล้ชิดกับกองทัพอิรัก แม้ทางการสหรัฐจะว่า ภารกิจสู้รบของอเมริกาได้สิ้นสุดลงแล้วอย่างเป็นทางการ"

วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2554 ประธานาธิบดีโอบามาประกาศว่า กองทัพและครูฝึกสหรัฐจะออกจากอิรักภายในสิ้นปี ทำให้ภารกิจของสหรัฐในอิรักถึงคราวสิ้นสุด

วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ เลออน พาเนตตา ประกาศให้สงครามอิรักยุติลงอย่างเป็นทางการ ที่พิธีลดธงชาติในกรุงแบกแดด

ในเดือนกันยายน 2545 ประธานาธิบดีสหรัฐ จอร์จ บุช และนายกรัฐมนตรีอังกฤษ โทนี่ แบลร์ พยายามขอความเห็นชอบจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แต่ประธานาธิบดีฝรั่งเศส จาร์ค ชีรัค และนายกรัฐมนตรีเยอรมัน เกอร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ เป็นแกนนำคัดค้าน ซึ่งสหรัฐมีความจำเป็นในการขอมติเพราะทำให้สงครามครั้งนี้มีความชอบธรรม เหมือนกับสงครามอ่าวครั้งแรก และสงครามอัฟกานิสถานในปีก่อน นอกจากนี้ ท่าทีของสมาชิกมนตรีความมั่นคงหลายประเทศมีแนวโน้มคัดค้าน อาทิ รัสเซีย เม็กซิโก จีน และแคนนาดา เป็นต้น

ขณะเดียวกัน การต่อต้านของประชาชน เป็นไปอย่างกว้างขวาง เช่น 28 กันยายน 2545 ประชาชนในลอนดอน 400,000 คน นำโดย Stop the War Coalition ชุมนุมต่อต้านความเป็นไปได้สงครามครั้งนี้ ซึ่งกระแสการต่อต้านยังเป็นไปอย่างกว้างขวาง ท่ามกลางการเคลื่อนไหวพยายามทำสงครามของสหรัฐและอังกฤษ

วันที่ 18 มกราคม 2546 ประชาชนสหรัฐได้จัดการชุมนุม นำโดย International ANSWER และ United for Peace ที่วอชิงตัน ดีซี มีผู้เข้าร่วม 300,000 – 500,000 คน และที่ซานฟรานซิสโกมีผู้เข้าร่วม 150,000 – 200,000 คน

วันที่ 15 – 16 กุมภาพันธ์ 2546 ทั่วโลกได้จัดการชุมนุมต่อต้านสงครามพร้อมกัน มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 10 ล้านคน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301