สงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย หรือ สงครามฝรั่งเศส-เยอรมนี หรือ สงครามฟรังโก - ปรัสเซีย (อังกฤษ: Franco-Prussian War หรือ Franco-German War) ในฝรั่งเศสเรียกกันว่า "สงคราม ค.ศ. 1870" (1870 War) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1871 ที่เป็นความขัดแย้งระหว่างฝรั่งเศสและปรัสเซีย โดยปรัสเซียได้รับการสนับสนุนจากสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือที่ปรัสเซียเป็นสมาชิก และรัฐเยอรมันตอนใต้ที่รวมทั้งบาเดิน, เวือร์ทเทมแบร์ก และบาวาเรีย ชัยชนะของปรัสเซียและเยอรมนีนำมาสู่การรวมตัวเป็นเยอรมนีภายใต้จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 1 และเป็นการสิ้นสุดของอำนาจของจักรพรรดินโปเลียนที่ 3และจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 ที่มาแทนที่ด้วยสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ในส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาแฟรงเฟิร์ตฝรั่งเศสถูกบังคับให้ต้องจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเงิน 5 ล้านฟรังค์ และดินแดนเกือบทั้งหมดของอัลซาซ-ลอร์แรนถูกยึดครองโดยปรัสเซียจนกว่าฝรั่งเศสจะจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามได้ครบ ซึ่งดินแดนดังกล่าวกลายเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีมาจนถึงสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1จึงกลับคืนสู่ฝรั่งเศสตามสนธิสัญญาแวร์ซายที่เยอรมันถูกบังคับให้ลงนามหลังเป็นฝ่ายแพ้สงคราม
ความขัดแย้งเป็นผลมาจากความตึงเครียดที่ดำเนินมาเป็นเวลาหลายปีระหว่างสองมหาอำนาจที่ในที่สุดก็ปะทุขึ้นเป็นสงคราม ที่มีสาเหตมาจากกรณีของผู้มีสิทธิของราชวงศ์โฮเฮนโซลเลิร์นในราชบัลลังก์สเปนที่ว่างลงหลังจากการโค่นราชบัลลังก์ของสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 แห่งสเปน ในปี ค.ศ. 1868 ความขัดแย้งในที่สุดก็นำไปสู่การประกาศสงครามของฝรั่งเศสเฉพาะต่อปรัสเซียเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ค.ศ. 1870 แต่รัฐเยอรมันอื่นเข้าร่วมสนับสนุนฝ่ายปรัสเซีย
ความมีประสิทธิภาพของกองกำลังปรัสเซียและเยอรมันเห็นได้ชัดไม่นานหลังจากการเริ่มสงคราม ที่บางส่วนมาจากระบบการขนส่งทางรถไฟและการผลิดอาวุธจากเหล็กกล้าที่มีคุณภาพสูง ปรัสเซียมีระบบการขนส่งทางรถไฟที่หนาแน่นเป็นที่สี่ในโลก ฝรั่งเศสเป็นที่ห้า ชัยชนะอันรวดเร็วติดต่อกันของปรัสเซียและเยอรมนีทางด้านตะวันออกของฝรั่งเศสเกิดขึ้นในยุทธการเซดาน ที่นโปเลียนที่ 3 และกองทัพถูกจับได้เมื่อวันที่ 2 กันยายน แต่กระนั้นก็ไม่ได้เป็นการยุติสงคราม เมื่อสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 3 ได้รับการประกาศก่อตั้งขึ้นในปารีสเมื่อวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 1870 ฝรั่งเศสจึงดำเนินการต่อต้านต่อไปภายใต้การนำของอดอล์ฟ ตีแยร์ส และรัฐบาลชุดใหม่
กองทัพเยอรมันใช้เวลาในการรณรงค์เป็นเวลากว่าห้าเดือนในการได้รับชัยชนะต่อกองทหารฝรั่งเศสที่เกณฑ์มาใหม่ในชัยชนะที่ได้รับหลายครั้งทางตอนเหนือของฝรั่งเศส หลังจากการล้อมกรุงปารีสอยู่เป็นเวลานานปารีสก็เสียกรุงเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1871 การล้อมครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการใช้อาวุธต่อต้านยานบินเป็นครั้งแรก สิบวันก่อนหน้านั้นรัฐเยอรมันก็ได้ประกาศการรวมตัวภายใต้พระมหากษัตริย์ปรัสเซียเป็นรัฐชาติจักรวรรดิเยอรมัน สนธิสัญญาแฟรงเฟิร์ต ได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม ค.ศ. 1871
There is no doubt that the German siege and bombardment of Paris, involving as they did the concentration in a small space of very large masses of men and heavy expenditure of artillery ammunition, would have been wholly impossible without the railways. Also, the view that the German use of the railways to deploy their forces at the opening of the campaign as a supreme masterpiece of the military art is amply justified, though we have seen that this triumph was only achieved at the cost of disrupting the train apparatus before the war against France even got under way. Between these two phases of the struggle, however, the railways do not seem to have played a very important role, partly because of difficulties with the lines themselves and partly because of the impossibility of keeping the railheads within a reasonable distance of the advancing troops. Most surprising, however, is the fact that none of this had much influence on the course of operations, or indeed caused Moltke any great concern... (p.96)