กองทัพภาคพื้นทวีป 35,000 นาย
ทหารชาวบ้าน 44,500 คน
กะลาสีกองทัพภาคพื้นทวีป 5,000 คน (สูงสุดใน ค.ศ. 1779)
เรือกองทัพเรือภาคพื้นทวีป 34 ลำ (สูงสุดใน ค.ศ. 1779); 53 ลำ (ณ บางจุดระหว่างสงคราม)
ฝรั่งเศส 10,000 นาย (ในอเมริกา)
ฝรั่งเศสและสเปน ~60,000 นาย (ในยุโรป)
อังกฤษ 56,000 นาย[ต้องการอ้างอิง]
เรือราชนาวี 78 ลำ ใน ค.ศ. 1775 กะลาสี 171,000 คน
เยอรมัน 30,000 นาย
ฝ่ายภักดีอังกฤษ 50,000 คน
ชนพื้นเมือง 13,000 คน
สงครามปฏิวัติอเมริกัน (อังกฤษ: American Revolutionary War หรือ American War of Independence; ค.ศ. 1775-1783) เปิดฉากเป็นสงครามระหว่างสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ฝ่ายหนึ่ง กับสิบสามอาณานิคมอังกฤษในทวีปอเมริกาเหนืออีกฝ่ายหนึ่ง ก่อนจบลงด้วยสงครามทั่วโลก ระหว่างชาติมหาอำนาจทั้งหลายในทวีปยุโรป
สงครามดังกล่าวเป็นผลมาจากการปฏิวัติอเมริกาในทางการเมือง ซึ่งถูกกระตุ้นด้วยข้อพิพาทระหว่างรัฐสภาแห่งบริเตนใหญ่กับชาวอาณานิคมซึ่งคัดค้านพระราชบัญญัติแสตมป์ ค.ศ. 1765 ซึ่งชาวอเมริกันเห็นว่าขัดต่อรัฐธรรมนูญ รัฐสภายืนยันสิทธิ์ของตนในการเก็บภาษีชาวอาณานิคม แต่ชาวอเมริกันอ้างสิทธิ์ของตนว่าเป็นชาวอังกฤษในการไม่จ่ายภาษีหากไม่มีผู้แทน ชาวอเมริกันจัดตั้งสภาภาคพื้นทวีปที่เป็นอันหนึ่งเดียวกัน และรัฐบาลเงาในแต่ละอาณานิคม การคว่ำบาตรชาอังกฤษของอเมริกานำไปสู่กรณีชาที่บอสตัน ใน ค.ศ. 1773 รัฐบาลอังกฤษตอบสนองโดยยุติการปกครองตนเองในแมตซาชูเซ็ตส์ และกำหนดให้อยู่ภายใต้การควบคุมของกองทัพโดยมีพลเอกโทมัส เกจเป็นผู้ว่าราชการ เดือนเมษายน ค.ศ. 1775 เกจส่งกองทัพไปยึดอาวุธของกบฏ ทหารอาสาสมัครท้องถิ่น ซึ่งรู้จักกันในชื่อ "minutemen" เผชิญหน้ากับทหารอังกฤษและทำลายกองทัพอังกฤษได้เกือบทั้งหมด ยุทธการเลซิงตันและคอนคอร์ดเป็นชนวนสงคราม โอกาสในการประนีประนอมหมดลงเมื่ออาณานิคมต่าง ๆ ประกาศอิสรภาพและจัดตั้งประเทศใหม่ขึ้น ชื่อว่า สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776
ฝรั่งเศส, สเปน และสาธารณรัฐดัตช์ล้วนจัดหาเสบียง เครื่องกระสุนและอาวุธอย่างลับ ๆ ให้แก่กองทัพปฏิวัติเริ่มตั้งแต่ต้น ค.ศ. 1776 หลังอังกฤษประสบความสำเร็จในตอนต้น สงครามเริ่มเปลี่ยนเป็นไม่แน่นอน ฝ่ายอังกฤษใช้ความเหนือกว่าทางทะเลยึดและครอบครองนครชายฝั่งของอเมริกา ขณะที่ฝ่ายกบฏยังควบคุมแถบชนบทเป็นส่วนใหญ่ อันเป็นที่ซึ่งประชากรกว่า 90% อาศัยอยู่ ยุทธศาสตร์ของอังกฤษอาศัยการระดมทหารอาสาสมัครที่จงรักภักดี แต่อังกฤษไม่ได้ให้ความสำคัญอย่างเต็มที่ การรุกรานของอังกฤษจากแคนาดาสิ้นสุดลงด้วยการจับกองทัพอังกฤษเป็นเชลยที่ยุทธการซาราโตกาใน ค.ศ. 1777 ชัยชนะของอเมริกาครั้งนั้นโน้มน้าวให้ฝรั่งเศสเข้าสู่สงครามอย่างเปิดเผยในต้น ค.ศ. 1778 ซึ่งทำให้กำลังทางทหารของทั้งสองฝ่ายสมดุล สเปนและสาธารณรัฐดัตช์ พันธมิตรของฝรั่งเศส เข้าสู่สงครามกับอังกฤษภายในอีกสองปีถัดมา ซึ่งคุกคามจะรุกรานบริเตนใหญ่และทดสอบความเข้มแข็งทางทหารของอังกฤษอย่างรุนแรงด้วยการทัพในยุโรป การมีส่วนร่วมของสเปนส่งผลให้กองทัพอังกฤษในเวสต์ฟลอริดาถอนตัวออก ซึ่งเป็นการทำให้ปีกด้านใต้ของอเมริกาปลอดภัย
การมีส่วนร่วมของฝรั่งเศสพิสูจน์แล้วว่ามีผลชี้ขาด แต่ก็ทำลายเศรษฐกิจของฝรั่งเศสเช่นกัน ชัยชนะทางทะเลของฝรั่งเศสในเชซาพีคบีบให้กองทัพอังกฤษที่สองยอมจำนนที่การล้อมยอร์กทาวน์ใน ค.ศ. 1781 ใน ค.ศ. 1783 สนธิสัญญาปารีสยุติสงครามและยอมรับอธิปไตยของสหรัฐอเมริกาเหนือดินแดนที่มีอาณาเขตติดต่อกับแคนาดาทางเหนือ ฟลอริดาทางใต้ และแม่น้ำมิสซิสซิปปีทางตะวันตก