ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สงครามกลางเมืองสเปน

สงครามกลางเมืองสเปน (อังกฤษ: Spanish Civil War) เป็นการรบในประเทศสเปนที่เกิดจากความขัดแย้งระหว่างฝ่ายสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านสาธารณรัฐสเปนที่ 2 ได้แก่ "ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ" ประกอบด้วยกลุ่มมัชฌิมา กลุ่มสังคมนิยม กลุ่มคอมมิวนิสต์ รวมทั้งชาวคาตาลันและชาวบาสก์ที่หัวรักถิ่นและเป็นอนาธิปไตย กับ "ฝ่ายชาตินิยม" ที่เป็นฝ่ายก่อการกบฏ รวมถึงพวกนิยมกษัตริย์ พวกการ์ลิสต์ พวกคาทอลิกหัวเก่า และพวกฟาสซิสต์ฟรังกิสต์ ซึ่งกองทัพสเปนเองก็ได้แตกแยกออกเป็นสองฝ่าย แต่ละฝ่ายก็พยายามระดมหาพันธมิตรต่างประเทศมาช่วยรบ ฝ่ายนิยมสาธารณรัฐดึงสหภาพโซเวียตและเม็กซิโก ส่วนฝ่ายชาตินิยมดึงพวกฟาสซิสต์จากอิตาลีและนาซีเยอรมนี

สงครามดังกล่าวนับว่าเป็นการเร่งความขัดแย้งที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่สอง และถูกมองว่าเป็นสงครามตัวแทนระหว่างสองลัทธิ คือ คอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตและฟาสซิสต์ ฝ่ายอักษะ สงครามดังกล่าวได้มีการนำรถถังและการทิ้งระเบิดทางอากาศมาใช้ และถูกกล่าวขานถูกความโหดร้ายของสงครามและความแตกแยกทางการเมืองจากนักเขียนผู้ยิ่งใหญ่หลายคน อย่างเช่น เออร์เนสต์ เฮมิงเวย์, มาร์ธา เกลฮอร์น, จอร์จ ออร์เวลล์, และโรเบิร์ต คาปา

พบว่ามีหลายเหตุผลที่ได้นำไปสู่สงครามครั้งนี้ และส่วนใหญ่เป็นปัญหาเรื้อรังที่เพิ่มพูนขึ้นในแต่ละปี ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นศตวรรษแห่งความโกลาหลของสเปน และประสบกับสงครามกลางเมืองและการปฏิวัติหลายครั้ง ซึ่งเกิดขึ้นจากแนวคิดของพวกปฏิรูปและพวกอนุรักษนิยมที่ต้องการจะตัดอีกฝ่ายออกจากอำนาจ พวกเสรีนิยมซึ่งเฟื่องฟูขึ้นจากรัฐธรรมนูญแห่งปี 1812 ได้พยายามล้มล้างระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในสเปน และสร้างขึ้นเป็นรัฐเสรีนิยมแทน ส่วนพวกอนุรักษนิยมต้องการที่จะป้องกันการล้มล้างระบอบกษัตริย์และค้ำจุนราชวงศ์ พวกคาลิสท์ (อังกฤษ: Carlists) ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนเคาท์คาร์ลอสและผู้สืบทอดตระกูลของเขา ได้ผนึกกำลังกันเพื่อฟื้นฟูธรรมเนียมดั้งเดิมของเปน (ระบอบสมบูรณาฐาสิทธิราชย์และคาทอลิก) และต่อต้านลัทธิเสรีนิยมและสาธารณรัฐนิยมของรัฐบาลสเปนในขณะนั้น บางครั้ง พวกคาลิสท์ได้ร่วมมือกับพวกชาตินิยม ในความพยายามที่จะฟื้นฟูเสรีภาพทางประวัติศาสตร์และถือสิทธิ์ในการปกครองดินแดนของตนที่ได้รับมาจากฟวยโร (สเปน: Fuero) แห่งแคว้นแบ็คส์และแคว้นคาตาโลเนีย หลังจากครึ่งศตรวรรษหลังเป็นต้นมา พวกเสรีนิยมได้ถูกกลืนกินโดยพวกสังคมนิยมฝ่ายซ้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ลัทธิอนาธิปไตย ซึ่งมีอำนาจและจำนวนคนในสเปนมากกว่าประเทศอื่นใดในทวีปยุโรป ซึ่งคาดว่าจะมาจากภายในสหภาพโซเวียต

สเปนได้พบกับระบอบการปกครองหลายรูปแบบมาตั้งแต่สมัยระหว่างสงครามนโปเลียนในช่วงต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 19 และการปะทุของสงครามกลางเมือง ในช่วงเวลาส่วนใหญ่ของคริสต์ศตรวรรษที่ 19 สเปนอยู่ภายใต้การปกครองระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ แต่ก็ถูกโจมตีจากหลายทิศทาง สาธารณรัฐสเปนที่หนึ่งจึงเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1873 แต่มีอายุสั้นมาก ลัทธิราชาธิปไตยได้กลับคืนมาอีกครั้ง ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอัลฟอนโซที่ 13 ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1887 ถึงปี ค.ศ. 1931 แต่หลังจากปี ค.ศ. 1923 เป็นต้นมา สเปนก็อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการของมิกูเอล พรีโม ดี ริเวอร์รา ภายหลังจากที่เขาถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1930 ราชวงศ์สเปนก็ไม่อาจรักษาอำนาจของตนไว้ได้ และสาธารณรัฐสเปนที่สองก็ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 1931 รัฐบาลของสาธารณรัฐสเปนมาจากพวกหัวซ้ายและพวกสายกลาง และกฎหมายปฏิรูปหลายฉบับก็ถูกผ่านออกมา อย่างเช่น กฎหมายว่าด้วยการแบ่งปันที่ดินแห่งปี 1932 ซึ่งเป็นการแจกจ่ายดินแดนให้กับชาวนาที่ยากจน ชาวสเปนกว่าล้านคนมีชีวิตอยู่ในสภาพถูกปกครองจากเจ้าของที่ดินในลักษณะของกึ่งศักดินา การปฏิรูปหลายอย่างและการห้ามศาสนาเข้ามามีส่วนทางการเมือง รวมทั้งการตัดกำลังทางทหารและการปฏิรูป ทำให้เกิดการต่อต้านอย่างหนัก

เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1931 สเปนได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยมีเนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงเสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นของประชาชน แต่ว่ามีการกีดกันพวกคาทอลิกอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นกลุ่มที่คัดค้านก่อตั้งรัฐประชาธิปไตยเป็นส่วนใหญ่ รัฐธรรมนูญดังกล่าวยังจัดให้ประชาชนมีสิทธิ์เลือกตั้ง และการแบ่งแยกศาสนาออกจากการเมืองอย่างสมบูรณ์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว กลับมอบอำนาจให้แก่รัฐบาลในการแทรกแซงกิจการของศาสนาได้ รวมไปถึงการห้ามมีการสอนศาสนาในโรงเรียนเอกชน การริบทรัพย์สินบางประการของคริสตจักร และการสั่งยุติลัทธิเยซูอิด โดยสรุปก็คือ รัฐบาลสเปนที่มาจากการปฏิวัติแห่งปี 1931 เป็นรัฐบาลที่ต่อต้านศาสนาอย่างจริงจัง

ไม่เพียงแต่จะมีการสนับสนุนการก่อตั้งลัทธิใหม่ขึ้นมาเท่านั้น แต่การทำให้เกิดการแบ่งแยกระหว่างการเมืองกับศาสนาทำให้มีการต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นมา เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ค.ศ. 1933 สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 11 ได้ติเตียนการกีดกันเสรีภาพของรัฐบาลสเปน และการยึดทรัพย์สินของคริสตจักรและโรงเรียนสอนศาสนาต่าง ๆ ผ่านทางจดหมายที่ท่านส่งมา

ตั้งแต่พวกหัวซ้ายจัดได้พิจารณาแล้วเห็นว่าทิศทางของการต่อต้านศาสนาตามรัฐธรรมนูญนั้นกลายเป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้อีกต่อไป จึงมีผู้ให้ความเห็นออกมาว่า "สาธารณรัฐในฐานะของรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญนั้นถึงคราวล่มสลายมาตั้งแต่เริ่มแรก" พวกเขายังบอกอีกด้วยว่าการเผชิญหน้ากันในฐานะคู่ปฏิปักษ์กันจะนำไปสู่สาเหตุที่นำไปสู่การล้มสลายของระบอบประชาธิปไตยและการปะทุของสงครามกลางเมือง

ผู้ที่เข้าร่วมทั้งในการรบและตำแหน่งที่ปรึกษาในสงครามกลางเมืองสเปนจำนวนมากนั้นไม่ใช่พลเมืองชาวสเปน รัฐบาลต่างชาติจำนวนมากได้ให้การสนับสนุนทางการเงินและการทหารจำนวนมากให้แก่จอมทัพ ฟรานซิสโก ฟรังโก ส่วนฝ่ายที่อยู่ข้างเดียวกับสาธารณรัฐสเปนที่สองกลับได้รับการสนับสนุนเพียงเล็กน้อยและถูกขัดขวางอย่างร้ายแรงจากการสั่งห้ามขนส่งอาวุธที่สหราชอาณาจักรและฝรั่งเศสประกาศขึ้น

อย่างไรก็ตาม การประกาศสั่งห้ามขนส่งอาวุธนั้นก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จมากมายนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลฝรั่งเศสต้องออกมารับผิดชอบที่ปล่อยให้เรือสัญชาติฝรั่งเศสขนอาวุธไปให้ฝ่ายสาธารณรัฐได้ ถึงแม้ว่าอิตาลีจะออกมาเรียกร้องฝรั่งเศส แต่อิตาลีเองก็มีส่วนพัวพันต่อฝ่ายชาตินิยมอยู่มาก การกระทำการอย่างลับ ๆ ของหลายชาติในทวีปยุโรปได้เป็นสัญญาณที่จะนำไปสู่สงครามอันยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง

ทั้งสองประเทศฟาสซิสต์ อิตาลีภายใต้การนำของเบนิโต มุสโสลินี และนาซีเยอรมนีภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้ส่งทหาร เครื่องบิน รถถัง และอาวุธเพื่อทำการสนับสนุนจอมทัพฟรังโก รัฐบาลอิตาลีได้จัดหา "กองทหารอาสาสมัคร" (อิตาลี: Corpo Truppe Volontarie) และเยอรมนีได้ส่ง "กองพันนกแร้ง" (อังกฤษ: Legion Condor) โดยอิตาลีได้ส่งทหารไปยังสเปนกว่า 75,000 นาย ส่วนเยอรมนีส่งทหารไป 19,000 นาย

สหภาพโซเวียตได้ให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายสาธารณรัฐด้วยการส่งทรัพยากรมาให้ แต่ไม่เคยปรากฏว่ามีทหารโซเวียตมากกว่า 700 นายในสเปนเลย อาสาสมัครชาวโซเวียตมักจะขับเตรื่องบินและขับรถถังที่ซื้อมาจากรัฐบาลสเปน สเปนได้ขอแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือของโซเวียตนี้ด้วยทองคำสำรองอย่างเป็นทางการของธนาคารแห่งสเปน ซึ่งทำให้ได้รับความช่วยเหลือตอบแทน แต่ทว่าเป็นการขายโก่งราคาของสหภาพโซเวียต โดยมูลค่าความช่วยเหลือที่ได้รับมาจากสหภาพโซเวียตคิดเป็น 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งคิดเป็น 2 ใน 3 ของมูลค่าทองคำสำรองของสเปนเมื่อสงครามเริ่มต้น

กองกำลังกองพลน้อยอาสาสมัครนานาชาตินับเป็นการแทรกแซงจากต่างชาติอย่างเห็นได้ชัดที่สุดในสงครามครั้งนี้ โดยอยู่ข้างเดียวกับฝ่ายสาธารณรัฐนิยม โดยมีอาสาสมัครมากกว่า 30,000 คน จากกว่า 53 ประเทศได้ต่อสู้ในกองพลน้อยต่าง ๆ ที่จัดตั้งกันเอง ส่วนมากพวกนี้จะเป็นพวกคอมมิวนิสต์ หรือนักสหภาพการค้า ถึงแม้ว่าพวกคอมมิวนิสต์จะอยู่ใต้คำสั่งจากมอสโก แต่ว่าพวกที่เหลือเป็นพวกอาสาสมัครที่เดินทางมาด้วยตนเองทั้งหมด

สาธารณรัฐเม็กซิโกได้สนับสนุนรัฐบาลสเปนอย่างเต็มที่ในสงครามกลางเมือง เม็กซิโกยังปฏิเสธนโยบายไม่แทรกแซงกิจการภายในของอังกฤษและฝรั่งเศส ซึ่งเม็กซิโกก็สามารถจับได้ว่าทั้งสองก็แอบให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายกบฏเช่นเดียวกัน ตรงกันข้ามกับสหรัฐอเมริกา เม็กซิโกมิได้มีความรู้สึกว่าตนวางตัวเป็นกลางระหว่างรัฐบาลและสภาทหารนั้นเป็นนโยบายที่ถูกต้อง ท่าทีของเม็กซิโกทำให้ฝ่ายรัฐบาลมีความหวังมากขึ้น หลังจากประเทศกลุ่มละตินอเมริกันส่วนใหญ่ทางแถบอเมริกาใต้ซึ่งมีท่าทีเปิดเผยน้อยกว่า แต่ว่าการช่วยเหลือของเม็กซิโกทำได้เพียงน้อยนิดเท่านั้น เนื่องจากมีการปิดพรมแดนฝรั่งเศส-สเปน ทำให้ฝ่ายชาตินิยมสามารถหายุทโธปกรณ์เพิ่มเติมได้ตามปกติ โดยที่ไม่สามารถทำอะไรได้

อย่างไรก็ตาม เม็กซิโกก็ยังสามารถส่งวัตถุดิบมาสนับสนุนฝ่ายสาธารณรัฐได้ รวมไปถึงส่งเครื่องบินอย่างเช่น เบลแลนกา ซีเอช-300 และ สปาร์ตัน ซูส ซึ่งเป็นเครื่องบินที่ประจำการอยู่ในกองทัพอากาศเม็กซิโก

ไอร์แลนด์เป็นเพียงประเทศเดียวที่มีอาสาสมัครสนับสนุนฝ่ายชาตินิยมมากกว่าฝ่ายสาธารณรัฐ ถึงแม้ว่ารัฐบาลไอร์แลนด์จะประกาศว่าการที่ผู้ใดมีส่วนร่วมในสงครามครั้งนี้จะเป็นการผิดกฎหมายก็ตาม แต่ว่ามีชาวไอริชประมาณ 250 คนที่จากบ้านเกิดไปเพื่อรบให้กับฝ่ายสาธารณรัฐ และพวกเสื้อฟ้าอีกประมาณ 700 คนที่ไปรบให้กับฝ่ายชาตินิยม

อย่างไรก็ตาม เมื่อพวกเสื้อฟ้ามาถึงสเปน พวกเขากลับไม่ยอมรบกับพวกแบ็คซให้กับฝ่ายชาตินิยม เนื่องจากมองเห็นถึงความเหมือนกันระหว่างการดิ้นรนของพวกเขากับความทะเยอทะยานของพวกแบ็คซ พวกเขายังเห็นว่าฟรังโกนั้นสู้เพื่อปกป้องลัทธิคอมมิวนิสต์อยู่ มากกว่าจะเป็นการป้องกันบูรณภาพแห่งดินแดนสเปน พวกเสื้อฟ้าทำการรบได้ไม่นานก็ต้องถูกส่งตัวกลับประเทศ หลังจากที่พวกเขาถูกยิงโดยทหารฝ่ายชาตินิยมด้วยกันเอง

ในช่วงที่กำลังมีการรบอยู่ในภาคเหนือของประเทศ เจ้าหน้าที่ของฝ่ายสาธารณรัฐได้จัดการให้มีการอพยพเยาวชนออกนอกประเทศ เยาวชนเหล่านี้จะถูกส่งไปยังอังกฤษ เบลเยี่ยม สหภาพโซเวียต ประเทศยุโรปอื่น ๆ และเม็กซิโก เด็กที่ถูกส่งไปยังประเทศตะวันตกได้กลับสู่ประเทศหลังจากสงครามยุติ แต่ว่าเด็กที่ถูกส่งไปยังสหภาพโซเวียตได้อยู่กับครอบครัวที่นั่น และได้เผชิญกับประสบการณ์อันเลวร้ายระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง

นอกจากนี้ ฝ่ายชาตินิยมเองก็ได้มีการจัดการอพยพเยาวชน สตรีและคนชราจากเขตพื้นที่สงคราม โดยได้มีการจัดค่ายผู้ลี้ภัยสงครามขึ้นในประเทศโปรตุเกส อิตาลี เยอรมนี เนเธอร์แลนด์และเบลเยี่ยม

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 เป็นต้นมา สเปนได้กลายมาเป็นจุดสนใจขององค์การลัทธิรักสงบหลายแห่ง อย่างเช่น "Fellowship of Reconciliation", "War Resisters League" และ "War Resisters' International"

ผู้นับถือลัทธิรักสงบชาวสเปนที่มีความโดดเด่น อย่างเช่น Amparo Poch y Gasc?n และ Jos? Brocca ได้ให้การสนับสนุนฝ่ายสาธารณรัฐ ดังที่นักเขียนอเมริกัน สกอตต์ เอช. เบนเนตต์ ได้เขียนไว้ว่า ลัทธิรักสงบในสเปนไม่ได้อยู่อย่างสงบเลย เนื่องจากได้มีการก่อสถานการณ์ขึ้นหลายครั้ง และการเสียสละเลือดเนื้อโดยผู้นำทั้งสองและสาวกนั้น มีความเป็นวีรบุรุษไม่ต่างอะไรกับกิจการทหารเลยแม้แต่นิด Brocca ได้แย้งว่า ลัทธิรักสงบในสเปนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะลุกขึ้นต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์ในสเปน เขาได้ใช้จุดยืนดังกล่าวเป็นหลักปฏิบัติในหลายวิถีทาง อย่างเช่น การจัดการคนงานเกษตรกรรมเพื่อให้คงจำนวนของผลผลิตอาหารเอาไว้ และเข้าไปให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ลี้ภัยสงคราม

ในช่วงระหว่างสงครามได้มีการประหารพลเรือนไปมากกว่า 50,000 คน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้มีการปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับสงครามกลางเมืองสเปนขึ้นมาใหม่ แอนโทนี่ บีเวอร์ บอกว่า "ประมาณการของผู้ที่เสียชีวิตจากความน่าสะพรึงกลัวสีขาว คิดเป็น 200,000 คน ส่วนความน่าสะพรึงกลัวสีแดง คิดเป็น 38,000 คน"


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406