ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สงครามกลางเมืองซีเรีย

สงครามกลางเมืองซีเรีย เป็นการขัดกันด้วยอาวุธหลายฝ่ายที่กำลังดำเนินอยู่ในประเทศซีเรีย โดยมีต่างชาติเข้าแทรกแซง ความไม่สงบเริ่มในต้นฤดูใบไม้ผลิปี 2554 ในบริบทการประท้วงอาหรับสปริง โดยมีการประท้วงทั่วประเทศต่อรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด ซึ่งกำลังของเขาสนองโดยปราบปรามอย่างรุนแรง ความขัดแย้งค่อย ๆ กลายจากการประท้วงของประชาชนเป็นการกบฏมีอาวุธหลังการล้อมทางทหารหลายเดือน รายงานสหประชาชาติฉบับหนึ่งในปลายปี 2555 อธิบายความขัดแย้งว่า "มีสภาพนิยมนิกาย (sectarian) อย่างเปิดเผย" ระหว่างกำลังรัฐบาล ทหารอาสาสมัครซึ่งส่วนใหญ่เป็นอะละวี (Alawite) และกลุ่มชีอะฮ์อื่น ต่อสู้กับกลุ่มกบฏซึ่งมีซุนนีครอบงำเป็นส่วนใหญ่ แม้ทั้งฝ่ายค้านและกำลังรัฐบาลต่างปฏิเสธ

ทีแรกรัฐบาลซีเรียอาศัยกองทัพเป็นหลัก แต่ตั้งแต่ปี 2557 หน่วยป้องกันท้องถิ่นซึ่งประกอบจากอาสาสมัครที่เรียก กำลังป้องกันชาติ (National Defence Force) ได้มีบทบาทมากขึ้น ค่อย ๆ กลายเป็นกำลังทหารหลักของรัฐซีเรีย รัฐบาลซีเรียได้รับความช่วยเหลือทางเทคนิค การเงิน การทหารและการเมืองจากประเทศรัสเซีย อิหร่านและอิรักมาตั้งแต่ต้น ในปี 2556 ฮิซบุลลอฮ์ที่อิหร่านสนับสนุนเข้าร่วมสงครามโดยสนับสนุนกองทัพซีเรีย เนื่องจากการเกี่ยวพันของต่งชาติ ความขัดแย้งนี้จึงถูกเรียกว่าเป็น สงครามตัวแทน ระหว่างชาติซุนนีและชีอะฮ์ภมิภาค ที่สำคัญที่สุดคือความขัดแย้งตัวแทนระหว่างซาอุดีอาระเบียและอิหร่าน ในเดือนกันยายน 2558 รัสเซีย อิรัก อิหร่านและซีเรียตั้งห้องปฏิบัติการร่วม (ศูนย์สารสนเทศ) ในกรุงแบกแดดเพื่อประสานงานกิจกรรมของพวกตนในประเทศซีเรีย วันที่ 30 กันยายน 2558 ประเทศรัสเซียเริ่มการทัพทางอากาศของตนโดยเข้ากับฝ่ายและด้วยคำขอของรัฐบาลซีเรีย จึงเกิดสงครามตัวแทนระหว่างสหรัฐและรัสเซีย ซึ่งนักวิจารณ์บางส่วนบรรยายสถานการณ์ว่าเป็น "ก่อนสงครามโลกโดยมีประเทศเกือบโหลพัวพันในสองความขัดแย้งที่ทับซ้อนกัน"

ฝ่ายค้านมีอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มซึ่งก่อตั้งในห้วงความขัดแย้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กองทัพซีเรียเสรี ซึ่งเป็นผู้แรกที่หยิบอาวุธในปี 2554 และแนวร่วมอิสลามซึ่งก่อตั้งในปี 2556 ฝ่ายทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและเลแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดซึ่งกำเนิดในประเทศอิรัก ได้ชัยชนะทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก จนลงเอยด้วยพิพาทกับกบฏอื่น ในเดือนกรกฎาคม 2557 ISIL ควบคุมหนึ่งในสามของดินแดนซีเรียและการผลิตน้ำมันและแก๊สส่วนใหญ่ ฉะนั้นจึงสถาปนาตนเป็นกำลังฝ่ายค้านหลัก

ในเดือนกรกฎาคม 2556 รัฐบาลซีเรียควบคุมดินแดนประมาณ 30–40% ของประเทศ และ 60% ของประชากรซีเรีย ในเดือนสิงหาคม 2558 มีรายงานว่าดินแดนที่กองทัพบกซีเรียควบคุมอย่างสมบูรณ์หดเหลือ 29,797 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 16% ของประเทศ แต่ยังมีประชากรส่วนใหญ่เพราะการย้ายถิ่นภายใน

องค์การระหว่างประเทศกล่าวหารัฐบาลซีเรีย ISIL และกำลังฝ่ายค้านอื่นว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยเกิดการสังหารหมู่หลายครั้ง ความขัดแย้งนี้ทำให้เกิดการย้ายประชากรอย่างสำคัญ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2558 สหประชาชาติประกาศเริ่มการเจรจาสันติภาพซีเรียเจนีวาที่สหประชาชาติเป็นสื่อกลางอย่างเป็นทางการ โดยสู้รบยังดำเนินไปโดยไม่มีทีท่าลดลง

ความขัดแย้งเริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2554 ด้วยการเดินขบวนของประชาชนที่ลามไปทั่วประเทศเมื่อถึงเดือนเมษายน ปีนั้น การเดินขบวนเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการประท้วงในตะวันออกกลาง ที่เรียกว่า อาหรับสปริง ผู้ประท้วงเรียกร้องให้ประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดลาออก รวมทั้งให้พรรคบะอัษยุติการปกครองประเทศนานกว่าสี่ทศวรรษ ทั้งนี้ ตระกูลอัลอะซัดดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีซีเรียมาตั้งแต่ปี 2514

ในเดือนเมษายน 2554 มีการวางกำลังกองทัพซีเรียเพื่อปราบปรามการก่อการกำเริบ และทหารได้รับคำสั่งให้เปิดฉากยิงใส่ผู้ชุมนุม หลังการล้อมนานหลายเดือน การประท้วงได้พัฒนาเป็นการกบฏด้วยอาวุธ กำลังฝ่ายค้าน ซึ่งประกอบด้วยทหารแปรพักตร์และอาสาสมัครพลเรือนเป็นหลัก กลายมาติดอาวุธและจัดระเบียบเพิ่มขึ้น เมื่อมีการรวมเข้าเป็นกลุ่มที่ใหญ่ขึ้น อย่างไรก็ดี ฝ่ายกบฏยังมีรอยร้าว โดยปราศจากผู้นำจัดตั้ง รัฐบาลซีเรียพรรณนาการก่อการกำเริบครั้งนี้ว่าเป็นฝีมือของ "กลุ่มก่อการร้ายติดอาวุธและทหารรับจ้างต่างด้าว" ความขัดแย้งนี้ไม่มีแนวรบชัดเจน โดยปะทะกันเกิดขึ้นในหลายเมืองและนครทั่วประเทศ

ก่อนการก่อการกำเริบและสงครามอุบัติ มีประมาณการว่ากองทัพซีเรียมีกำลังพลประจำการ 325,000 นาย ซึ่งในจำนวนนี้ 220,000 นายเป็น "ทหารบก" และที่เหลืออยู่ในกองทัพเรือ กองทัพอากาศและกำลังป้องกันภัยทางอากาศ นอกจากนี้ยังมีกองหนุนอีกประมาณ 280,000–300,000 นาย ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554 มีรายงานการแปรพักตร์ของทหาร ในเดือนกรกฎาคม 2555 การสังเกตการณ์สิทธิมนุษยชนซีเรียประมาณว่าทหารหลายหมื่นนายแปรพักตร์ และข้าราชการตุรกีคนหนึ่งประมาณว่ามีทหารแปรพัตกร์ 60,000 นาย

รัฐบาลซีเรียได้รับการสนับสนุนระดับสูงในบางพื้นที่ในการควบคุม ตามผลสำรวจความเห็นที่จัดโดย บริติชโออาร์บีอินเตอร์เนชันแนล โดยประชากร 73% ในพื้นที่ที่รัฐบาลควบคุมสนับสนุนความพยายามของรัฐบาล

กำลังป้องกันชาติซีเรียตั้งจากทหารอาสาสมัครนิยมรัฐบาล พวกเขาได้รับเงินเดือนและยุทธภัณฑ์จากรัฐบาล มีจำนวนประมาณ 100,000 นาย กำลังนี้ปฏิบัติหน้าที่ในบทบาททหารราบ โดยสู้รบกับกบฏโดยตรงภาคพื้นและดำเนินปฏิบัติการต่อต้านการก่อความไม่สงบโดยประสานงานกับกองทัพบก ซึ่งจัดการสนับสนุนทางลอจิสติกส์และปืนใหญ่ กำลังนี้มีหน่วยหญิง 500 นายที่เรียก "นางสิงห์แห่งกำลังป้องกันชาติ" (Lionesses of National Defense) ซึ่งควบคุมจุดตรวจ ทหารกำลังป้องกันชาติได้รับอนุญาตให้ฉกชิงทรัพย์จากสมรภูมิและขายของนั้นเอาเงินในที่ที่ถูกตั้งฉายาว่า "ตลาดซุนนี"

แชบบีฮา (Shabiha) เป็นทหารอาสาสมัครนิยมรัฐบาลอย่างไม่เป็นการที่ส่วนใหญ่มาจากชนกลุ่มน้อยอะลาวีของอะซัด นับแต่การก่อการกำเริบ รัฐบาลซีเรียใช้แชบบีฮาสลายการชุมนุมและบังคับใช้กฎหมายในย่านที่กระด้างกระเดื่อง เมื่อการประท้วงบานปลายเป็นการขัดกันด้วยอาวุธ ฝ่ายค้านเริ่มใช้คำว่า แชบบีฮา อธิบายผู้สนับสนุนอะซัดพลเรือนใด ๆ ที่มีส่วนในการปราบปรามการก่อการกำเริบของรัฐบาล ฝายค้านกล่าวหาแชบบีฮาว่าใช้ความรุนแรงเกินต่อผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาลและผู้สนับสนุนฝ่ายค้าน ตลอดจนการฉกชิงทรัพย์และการทำลาย ในเดือนธันวาคม 2555 สหรัฐกำหนดให้แชบบีฮาเป็นองค์การก่อการร้าย

มีรายงานว่าบัสเซล อัลอะซัด (Bassel al-Assad) สถาปนาแชบบีฮาในคริสต์ทศวรรษ 1980 เพื่อให้รัฐบาลใช้ในยามวิกฤต มีการอธิบายว่าแชบบีฮาเป็น "กำลังกึ่งทหารอะลาวีที่ฉาวโฉ่ ซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำตนเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นทางการให้ระบอบอะซัด" "มือปืนภักดีต่ออะซัด" และจากข้อมูลของศูนย์อาหรับเพื่อการวิจัยและนโยบายศึกษาในประเทศกาตาร์ ว่า "กึ่งแก๊งอาชญากรที่ประกอบด้วยอัทธพาลที่ใกล้ชิดกับระบอบ" แม้ภาพลักษณ์ของกลุ่มเป็นทหารอาสาสมัครอะลาวี มีรายงานว่าแชบบีฮาที่ปฏิบัติหน้าที่ในอะเลปโปบางส่วนเป็นซุนนี ในปี 2555 รัฐบาลอะซํดสถาปนาทหารอาสาสมัครอย่างเป็นทางการที่จัดระเบียบมากกว่า เรียก ญัยช์อัลชาบี (Jaysh al-Sha'bi) ซึ่งมีการกล่าวหาว่าได้รับความช่วยเหลือจากอิหร่านและฮิซบุลลอฮ์ เช่นเดียวกับแชบบีฮา สมาชิกญัยช์อัลชาบีส่วนใหญ่เป็นอาสาสมัครอะลาวีและชีอะฮ์

ทหารอาสาสมัครคริสต์ศาสนิกชนในประเทศซีเรีย (และประเทศอิรักตอนเหนือ) ส่วนใหญ่ประกอบขึ้นจากชาติพันธุ์อัสซีเรีย ซีเรีย-อารัม (Syriac-Aramean) และอาร์มีเนีย รายงานของซีบีเอสหนึ่งแสดงว่าคริสต์ศาสนิกชนในประเทศซีเรียส่วนใหญ่นิยมรัฐบาลโดยอ้างว่าพวกเขาเชื่อว่าความอยู่รอดของพวกเขาเชื่อมโยงกับรัฐบาลโลกวิสัยส่วนใหญ่ ทหารอาสาสมัครคริสต์ศาสนิกชนต่อสู้อยู่ข้างรัฐบาลซีเรีย จากข้อมูลของเวิล์ดทริบูน.คอม (WorldTribune.com) "แหล่งข่าวอ้างว่าคริสต์ศาสนิกชนหลายพันคนเข้าร่วมกองทัพบกซีเรียตลอดจนทหารอาสาสมัครของระบอบ เช่น กำลังป้องกันชาติและคณะกรรมการประชาชน พวกเขาว่า NDF ช่วยจัดระเบียบหน่วยคริสต์ศาสนิกชนเพื่อคุ้มครองชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอัสซีเรียทางตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรีย หน่วยหลักเรียกว่า การต้านทานคริสเตียน (Christian Resistance) กล่าวกันว่าปฏิบัติการในจังหวัดฮอมส์" ชาวอัสซีเรียที่พูดภาษาอารัมตะวันออกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของซีเรียและภาคเหนือของอิรักตั้งทหารอาสาสมัครต่าง ๆ (รวมกำลังป้องกันอัสซีเรีย) เพื่อปกป้องเมืองโบราณ หมู่บ้านและฟาร์มของพวกตนจากผู้ก่อการร้าย ISIS พวกเขามักต่อสู้เคียงคู่กับกลุ่มชาวเคิร์ดและอาร์มีเนีย แต่ไม่เสมอไป

เลขาธิการ ฮัสซัน นัสรัลละฮ์ (Hassan Nasrallah) ปฏิเสธการต่อสู้ในนามรัฐบาลซีเรียในคำกล่าวเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2555 ทว่า จากข้อมูลของหนังสือพิมพ์ เดลีสตาร์ ของเลบานอน นัสรัลละฮ์กล่าวในสุนทรพจน์เดียวกันว่า นักรบฮิซบุลลอฮ์เสียชีวิตในประเทศซีเรียโดยปฏิบัติ "หน้าที่ญิฮัด" ของพวกเขา ในปี 2555 นักรบฮิซบุลลอฮ์ข้ามพรมแดนจากเลบานอนและยึดแปดหมู่บ้านในเขตอัลกุสซัยร (Al-Qusayr) ของซีเรีย อดีตเลขาธิการฮิซบุลลอฮ์ ชิคซุบฮีอัลตุฟัยลี (Subhi al-Tufayli) ยืนยันในเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ว่า ฮิซบุลลอฮ์กำลังต่อสู้ให้กองทัพบกซีเรีย

วันที่ 25 พฤษภาคม 2556 นัสรัลละฮ์ประกาศว่าฮิซบุลลอฮ์กำลังต่อสู้ในซีเรียต่อพวกหัวรุนแรงอิสลามและ "สาบานว่ากลุ่มของเขาจะไม่ยอมให้นักรบซีเรียควบคุมดินแดนที่ต่อแดนกับเลบานอน" เขายืนยันว่าฮิซบุลลอฮ์กำลังต่อสู้ในเมืองกุซัยรซึ่งเป็นเมืองยุทธศาสตร์ในซีเรียอยู่ข้างเดียวกับกำลังของอะซัด ในการปราศรัยทางโทรทัศน์ เขากล่าวว่า "หากซีเรียตกอยู่ในมืออเมริกา อิสราเอลและตักฟีรี ประชาชนในภูมิภาคของเราจะเข้าสู่ยุคมืด" จากข้อมูลของนักวิเคราะห์อิสระ เมื่อต้นปี 2557 มีนักรบฮิซบุลลอฮ์เสียชีวิตในความขัดแย้งซีเรียแล้วประมาณ 500 คน

ประเทศอิหร่านยังปฏิเสธว่ามีกำลังรบในประเทศซีเรียอย่างเป็นทางการ โดยว่าให้คำแนะนำทางทหารแก่กำลังของอะซัดในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้าย

กระนั้น นับแต่เริ่มสงครามกลางเมือง ประเทศอิหร่านแสดงการสนับสนุนรัฐบาลซีเรียและจัดหาการสนับสนุนทางการเงิน เทคนิคและทางทหาร ซึ่งรวมการฝึกและกำลังรบบ้าง ประเทศอิหร่านและซีเรียเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์ที่ใกล้ชิด ประเทศอิหร่านมองว่าการอยู่รอดของรัฐบาลซีเรียสำคัญต่อผลประโยชน์ในภูมิภาคของตน ผู้นำสูงสุดอิหร่าน อาลี คาเมนี มีรายงานว่าออกปากสนับสนุนรัฐบาลซีเรียในเดือนกันยายน 2554 ในระยะก่อการกำเริบของพลเมืองของสงครามกลางเมืองซีเรีย อิหร่านจัดหาการสนับสนุนทางเทคนิคแก่ซีเรียโดยยึดขีดความสามารถของอิหร่านที่พัฒนาระหว่างการประท้วงการเลือกตั้งอิหร่านปี 2552–2553 เมื่อการก่อการกำเริบยกระดับเป็นสงครามกลางเมือง มีรายงานการสนับสนุนทางทหารของอิหร่านมากขึ้น และการฝึกกำลังป้องกันชาติของอิหร่านทั้งในซีเรียและอิหร่าน

ราชการความมั่นคงและข่าวกรองของอิหร่านให้คำปรึกษาและช่วยเหลือกองทัพซีเรียเพื่อธำรงการครองอำนาจของบัชชาร อัลอะซัด ความพยายามเหล่านี้ได้แก่ การฝึก การสนับสนุนทางเทคนิค กำลังรบ ในเดือนธันวาคม 2556 เชื่อว่าประเทศอิหร่านมีผู้ปฏิบัติงานในประเทศซีเรียประมาณ 10,000 นาย แต่ตามข้อมูลของจูบิน กูดาร์ซี (Jubin Goodarzi) ผู้ช่วยศาสตราจารย์และนักวิจัยแห่งมหาวิทยาลัยเว็บสเตอร์ ประเทศอิหร่านช่วยเหลือระบอบอะซัดด้วยหน่วยและกำลังพลที่วางกำลังจำนวนจำกัด "มากสุดหลายร้อยคน ... และมิใช่หลายพันอย่างที่แหล่งข่าวฝ่ายค้านอ้าง" นักรบฮิซบุลลอฮ์ที่รัฐบาลอิหร่านหนุนหลังมีบทบาทรบโดยตรงตั้งแต่ปี 2555 ในฤดูร้อนปี 2556 ประเทศอิหร่านและฮิซบุลลอฮ์จัดหาการสนับสนุนในสมรภูมิที่สำคัญแก่อะซํดโดยทำให้รัฐบาลรุกคืบต่อฝ่ายค้าน ในปี 2557 ในเวลาเดียวกับการเจรจาสันติภาพที่เจนีวา 2 ประเทศอิหร่านสนับสนุนประธานาธิบดีอะซัดอย่างเปิดเผย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและเศรษฐกิจซีเรียประกาศว่า "รัฐบาลอิหร่านให้เงินกว่า 15,000 ล้านดอลลาร์" แก่ประเทศซีเรีย ผู้บัญชาการกำลังกุดส์ (Quds Force) ของเหล่าพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่าน (Iranian Revolutionary Guards Corps) กะเซม ซุลัยมะนี (Qasem Suleimani) รับผิดชอบตำแหน่งรัฐมนตรีที่ประจำตามกระทรวงความมั่นคงและดูแลการติดอาวุธและฝึกนักรบชีอะฮ์นิยมรัฐบาลหลายพันคน

ทหารเหล่าพิทักษ์การปฏิวัติอิหร่านอย่างน้อย 121 นาย ซึ่งรวมผู้บัญชาการหลายนาย ถูกฆ่าในสงครามกลางเมืองซีเรียนับแต่เกิดสงคราม

วันที่ 30 กันยายน 2558 สภาสหพันธรัฐของรัสเซียอนุมัติคำขอของประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน อย่างเป็นเอกฉันท์อนุญาตให้ใช้กองทัพรัสเซียในซีเรีย หลังจากคำขอความช่วยเหลือทางทหารต่อกลุ่มกบฏและญิฮัดอย่างเป็นทางการของรัฐบาลซีเรีย วันเดียวกัน พลเอก เซอร์เกย์ คูราเลนโกของรัสเซีย ซึ่งเป็นผู้แทนของรัสเซีย ณ ศูนย์สารสนเทศร่วมในกรุงแบกแดดมายังสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงแบกแดดและขอให้กำลังสหรัฐในพื้นที่เป้าหมายใด ๆ ออกทันที ชั่วโมงต่อมา อากาศยานรัสเซียที่อยู่ในดินแดนที่รัฐบาลครองเริ่มการโจมตีทางอากาศโดยดูเหมือนต่อเป้าหมายรัฐอิสลาม

ก่อนหน้าปฏิบัติการเหล่านี้ การเข้ามีส่วนของรัสเซียในสงครามกลางเมืองซีเรียส่วนใหญ่เป็นการจัดหากำลังบำรุงแก่กองทัพบกซีเรีย ข้าราชการรัสเซียรับรองวัตถุประสงค์ของพวกตนว่า เพื่อช่วยรัฐบาลซีเรียยึดพื้นที่คืนจากกลุ่มค้านต่าง ๆ ซึ่งรวม ISIL และกลุ่มที่สหรัฐหนุนหลังและติดอาวุธ ในการสัมภาษณ์ทางโทรทัศน์ที่แพร่ภาพเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2558 ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีมีร์ ปูติน กล่าวว่า ปฏิบัติการทางทหารมีการเตรียมล่วงหน้าอย่างรอบคอบ เขานิยามเป้าหมายของรัสเซียในซีเรียว่า "สร้างเสถียรภาพอำนาจชอบธรรมในซีเรียและสร้างสภาพสำหรับการประนีประนอมทางการเมือง"

วันที่ 24 พฤศจิกายน 2558 อากาศยานซุคฮอย ซู-24 ของรัสเซียถูกเครื่องบินขับไล่เอฟ-16 ของกองทัพอากาศตุรกียิงตกในเหตุการณ์ที่เชื่อว่าเป็นครั้งแรกที่ประเทศนาโตยิงเครื่องบินรัสเซียตกในรอบครึ่งศตวรรษ

ฝ่ายค้านติดอาวุธประกอบด้วยหลายกลุ่มที่ตั้งระหว่างห้วงความขัดแย้งหรือเข้าร่วมจากนอกประเทศ จากข้อมูลของมัวร์ เฮิร์ช (Seymour Hersh) ฝ่ายค้านได้รับเงินสนับสนุนจากซาอุดีอาระเบีย 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี (ปี 2557) ในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของซีเรีย กลุ่มแยกฝ่ายค้านหลักคือ แนวร่วมอัลนุสเราะ (al-Nusra Front) ที่เข้ากับอัลกออิดะฮ์ ซึ่งเป็นพันธมิตรกับกลุ่มอิสลามอื่นที่เล็กกว่าหลายกลุ่ม ในจำนวนนี้บางกลุ่มปฏิบัติการภายใต้กลุ่มกองทัพซีเรียเสรี (FSA) ชาติตะวันตกกำหนดให้ FSA เป็นกลุ่มแยกฝ่ายค้านสายกลางซึ่งทำให้กลุ่มได้รับอาวุธทันสมัยและการสนับสนุนทางทหารอื่นจากสหรัฐและประเทศอ่าวบางประเทศภายใต้โครงการที่ซีไอเอดำเนินการ ซึ่งเพิ่มสมรรถนะการสู้รบรวมของกบฏอิสลาม ในทางตะวันออก รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ISIL) กลุ่มนักรบญิฮัดที่กำเนิดจากประเทศอิรัก ได้ความได้เปรียบทางทหารอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศซีเรียและอิรัก สุดท้าย ISIL กลายมาขัดแย้งกับกบฏอื่น โดยเฉพาะอัลนุสเราะ ซึ่งผู้นำกลุ่มไม่ต้องการสวามิภักดิ์ต่อ ISIL ในเดือนกรกฎาคม 2557 ISIL ควบคุมหนึ่งในสามของดินแดนประเทศซีเรีย และการผลิตน้ำมันแลัแก๊สส่วนใหญ่ ฉะนั้นจึงสถาปนาตนเป็นกำลังต่อต้านรัฐบาลหลัก ในปี 2558 กาตาร์ ซาอุดีอาระเบียและตุรกีหนุนหลังกองทัพการพิชิตดินแดน (Army of Conquest) อย่างเปิดเผย ซึ่งเป็นกลุ่มกบฏรวมที่มีรายงานว่ารวมแนวร่วมอัลนุสเราะที่เชื่อมโยงกับอัลกออิดะฮ์และแนวร่วมซะละฟีอีกกลุ่มหนึ่ง ชื่อ อะห์รัรอัชชาม (Ahrar ash-Sham) และฟัยลักอัลชาม (Faylaq Al-Sham) กลุ่มกบฏที่เชื่อมโยงกับแนวร่วมภราดรภาพมุสลิม (Muslim Brotherhood) นอกจากนี้ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทหารอาสาสมัครเคิร์ดอย่างหน่วยคุ้มครองประชาชน (YPG) จับอาวุธขึ้นต่อสู้กับทั้งกลุ่มแยกอิสลามกบฏและผู้จงรักภักดีต่อรัฐบาล

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2555 ในกรุงโดฮา สภาแห่งชาติและกำลังฝ่ายค้านอื่นรวมกันเป็นแนวร่วมกำลังปฏิวัติและฝ่ายค้านซีเรียแห่งชาติ (National Coalition for Syrian Revolutionary and Opposition Forces) วันรุ่งขึ้น หลายรัฐอ่าวเปอร์เซียรับรองให้เป็นรัฐบาลซีเรียโดยชอบ ผู้ทนสภาผู้นำของแนวร่วมฯ มีหญิงและผู้แทนของชนกลุ่มน้อยศาสนาและชาติพันธุ์ซึ่งรวมอะละวีด้วย มีรายงานว่าสภาทหารรวมกองทัพซีเรียเสรีด้วย เป้าหมายหลักของแนวร่วมแห่งชาติฯ คือ แทนรัฐบาลบัชชาร อัลอะซัดและ "สัญลักษณ์และเสาการสนับสนุนของมัน" "รื้อราชการความมั่นคง" สร้างเอกภาพและสนับสนุนกองทัพซีเรียเสรี ปฏิเสธการพูดคุยเจรจากับรัฐบาลอัลอะซัด และ "นำตัวผู้รับผิดชอบการฆ่าชาวซีเรีย ทำลาย [ซีเรีย] และไล่ที่ [ชาวซีเรีย] มาลงโทษ"

มีการประกาศตั้งกองทัพซีเรียเสรีเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2554 โดยนายทหารกองทัพบกซีเรียที่แปรพักตร์กลุ่มหนึ่ง ในวิดีทัศน์ นายทหารเรียกร้องให้นายทหารและทหารชาวซีเรียแปรพักตร์ และกล่าวว่าจุดประสงค์ของกองทัพซีเรียเสรี คือ เพื่อป้องกันผู้ประท้วงพลเรือนจากความรุนแรงโดยรัฐ และ "เพื่อโค่นระบอบ[ซีเรีย]นี้"

ต่อมาทหารกองทัพบกซีเรียบางส่วนแปรพักตร์เข้ากับ FSA นักหนังสือพิมพ์ชาวเยอรมันคนหนึ่งสัมภาษณ์ผู้นำรัฐอิสลามกล่าวไม่สนใจ FSA พลางหัวเราะว่าเป็นแหล่งอาวุธดีที่สุดที่พวกตนมี ในเดือนธันวาคม 2554 ประมาณจำนวนทหารที่แปรพักตร์เข้ากับ FSA มีตั้งแต่ 1,000 ถึงกว่า 25,000 นาย FSA ทำหน้าที่เป็นองค์การรวมมากกว่าสายการบังคับบัญชาทหารตามประเพณี และทีแรกมี "สำนักงานใหญ่" ในประเทศตุรกี แต่ย้ายสำนักงานใหญ่กองบัญชาการไปภาคเหนือของซีเรียในเดือนกันยายน 2555

ในเดือนมีนาคม 2555 ผู้สื่อข่าวเดอะนิวยอร์กไทมส์ เป็นพยานการเข้าตีแนวรถถังซีเรียหุ้มเกราะของ FSA ในซะระกิบ (Saraqib) และทราบว่า FSA มีทหารและอดีตนายทหารที่สามารถและได้รับการฝึก มีการจัดระเบียบอยู่ระดับหนึ่ง แต่ไม่มีอาวุธที่จะต่อสู้อย่างจริงจัง

ในเดือนเมษายน 2556 สหรัฐประกาศว่าจะส่งความช่วยเหลือไม่ถึงชีวิตต่อกบฏซีเรีย 123 ล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านพลเอกที่แปรพักตร์ ซะลิม อิดริส (Salim Idriss) ผู้นำ FSA

ในเดือนพฤษภาคม 2556 ซะลิม อิดริส ผู้นำ FSA ยอมรับว่า "กบฏ" แตกเป็นเสี่ยงและขาดทักษะทางทหารที่จำเป็นเพื่อโค่นรัฐบาลประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัด อิดริสกล่าวว่าเขากำลังสร้างโครงสร้างบังคับบัญชาทั่วประเทศ แต่การขาดการสนับสนุนทางวัตถุทำให้ความพยายามนั้นไม่เป็นผล เขายอมรับว่าปฏิบัติการร่วมกับกลุ่มอิสลาม อะห์รัรอัชชาม แต่ปฏิเสธความร่วมมือใด ๆ กับกลุ่มอิสลาม แนวร่วมอัลนุสเราะ

อะบู ยูซัฟ (Abu Yusaf) ผู้บัญชาการคนหนึ่งของรัฐอิสลาม กล่าวในเดือนสิงหาคม 2557 ว่าสมาชิก FSA หลายคนที่นายทหารสหรัฐ ตุรกีและอาหรับฝึกแท้จริงแล้วกำลังเข้าร่วมกับไอเอส ซึ่งในทางตรงข้ามกับข้ออ้างของผู้บัญชาการนายนี้ ในเดือนกันยายน 2557 กองทัพซีเรียเสรีกำลังเข้าร่วมพันธมิตรและแนวร่วมกับทหารอาสาสมัครเคิร์ดซึ่งรวม YPG ซึ่งต่อสู้กับไอเอส

ต้นเดือนตุลาคม 2558 ไม่นานหลังรัสเซียเริ่มแทรกแซงทางทหารในซีเรีย โรเบิร์ต ฟิสก์ประเมินว่าการดำรงอยู่ของ FSA เป็นกลลวง เป็นข้อเท็จจริงที่ข้าราชการสหรัฐรับทราบ โดยกบฏ FSA แทบทั้งหมดที่สหรัฐฝึกแปรพักตร์เข้ากับกลุ่มกบฏอื่น และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เซอร์เกย์ ลัฟรอฟ เรียก FSA ว่า "โครงสร้างที่ไม่มีตัวตนแล้ว" และเสริมว่าเขากำลังคอยรับสารสนเทศเจาะจงใด ๆ เกี่ยวกับกลุ่มจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ จอห์น เคอร์รี

สภาแห่งชาติซีเรียตั้งเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 เป็นแนวร่วมกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซึ่งมีฐานในประเทศตุรกี สภาแห่งชาติมุ่งยุติการปกครองของอัลอะซัด และสถาปนารัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่ SNC มีความเชื่อมโยงกับกองทัพซีเรียเสรี ในเดือนพฤศจิกายน 2555 สภาตกลงรวมกับกลุ่มฝ่ายค้านอีกหลายกลุ่มตั้งเป็นแนวร่วมแห่งชาติซีเรีย SNC มีผู้แทน 22 จาก 60 ที่นั่งในแนวร่วมแห่งชาติซีเรียง

สภาฯ ถอนตัวจากแนวร่วมฯ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2557 เป็นการประท้วงการตัดสินใจของแนวร่วมในการเข้าประชุมการเจรจาเจนีวา

แนวร่วมอิสลามเป็นการรวมกลุ่มกบฏเจ็ดกลุ่มที่เกี่ยวข้องในสงครามกลางเมืองซีเรีย มีการประกาศเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2556 กลุ่มนี้มีนักรบระหว่าง 40,000 ถึง 60,000 คน โฆษกนิรนามของกลุ่มแถลงว่า กลุ่มจะไม่มีความสัมพันธ์กับแนวร่วมแห่งชาติซีเรีย แม้สมาชิกกรมการเมืองของกลุ่ม อะห์มัด มุซาแถลงว่า เขาหวังการรับรองจากสภาแห่งชาติซีเรียในความร่วมมือสิ่งที่เขาแนะว่า "สิ่งที่ชาวซีเรียต้องการ พวกเขาต้องการการปฏิวัติและมิใช่วาระการเมืองและต่างชาติ" ซาอุดีอาระเบียหนุนหลังและติดอาวุธกลุ่มนี้อย่างกว้างขวาง

กฎบัตรของแนวร่วมอิสลามปฏิเสธมโนทัศน์ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนและโลกวิสัย และมุ่งสถาปนารัฐอิสลามที่ปกครองโดยมัยลิสอัชชูรา (Majlis-ash-Shura) และบังคับใช้ชะรีอะฮ์ กลุ่มยอมรับชนกลุ่มน้อยชาติพันธุ์และศาสนาที่อาศัยอยู่ในซีเรีย ขณะที่ยังต้อนรับนักรบต่างด้าวที่เข้าร่วมกำลังต่อต้านอะซัด และปฏิเสธวิธียุติสงครามกลางเมืองนอกเหนือจากทางทหาร

ในเดือนกันยายน 2556 จอห์น เคอร์รี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ แถลงว่ากลุ่มญิฮัดซะละฟีสุดโต่งประกอบเป็น 15–25% ของกำลังกบฏ จากข้อมูลของชาลส์ ลิสเตอร์ กบฏประมาณ 12% เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มที่เชื่อมโยงกับอัลกออิดะฮ์ 18% เป็นของอะห์รัรอัชชาม และ 9% เป็นของศุกูรอัชชาม (Suqour al-Sham Brigade) จำนวนนี้ค้านกับกลุ่มสารสนเทศเจนส์ (Jane's Information Group) สิ่งพิมพ์ด้านกลาโหม อ้างว่ากบฏทั้งหมดเกือบครึ่งเข้ากับกลุ่มอิสลาม ศูนย์ศาสนาและภูมิรัฐศาสตร์ คลังสมอง (think-tank) สัญชาติบริติช ซึ่งเชื่อมโยงกับอดีตนายกรัฐมนตรีบริติช โทนี แบลร์ กล่าวว่า กบฏ 60% อาจจำแนกเป็นพวกหัวรุนแรงอิสลาม นักรบต่างด้าวเข้าร่วมความขัดแย้งโดยอยู่ฝั่งตรงข้ามอะซัด

ศูนย์ระหว่างประเทศเพื่อการศึกษาการทำให้หัวรุนแรงและความรุนแรงทางการเมือง (The International Centre for the Study of Radicalisation and Political Violence) ประมาณว่านักรบต่างด้าว 2,000–5,500 คนไปประเทศซีเรียนับแต่เริ่มการประท้วง โดยประมาณ 7–11% มาจากทวีปยุโรป ศูนย์ฯ ยังประมาณว่าจำนวนนักรบต่าวด้าวมีไม่เกิน 10% ของกองทัพฝ่ายค้าน อีกการประมาณหนึ่งกะจำนวนนักรบญิฮัดต่างด้าวไว้ 15,000 คนเมื่อต้นปี 2557 คณะกรรมการยุโรปแสดงความกังวลว่า นักรบบางส่วนอาจใช้ทักษะที่ได้ในประเทศซีเรียกลับมาก่อการร้ายในทวีปยุโรปในอนาคต

ในเดือนตุลาคม 2555 กลุ่มศาสนาอิรักหลายกลุ่มเข้าร่วมความขัดแย้งในซีเรียทั้งสองฝ่าย ซุนนีหัวรุนแรงจากประเทศอิรักเดินทางไปประเทศซีเรียเพื่อต่อสู้กับประธานาธิบดีบัชชาร อัลอะซัดและรัฐบาลซีเรีย นอกจากนี้ ชีอะฮ์จากประเทศอิรัก ในจังหวัดบาบิลและดิยาลา เดินทางไปกรุงดามัสกัสจากกรุงเตหะราน หรือจากนะญัฟ ประเทศอิรัก นครศักดิ์สิทธิ์ของอิสลามชีอะฮ์ เพื่อพิทักษ์ซัยยิดะห์ซัยนับ (Sayyida Zeinab) มัสยิดสำคัญและแท่นบูชาของนิกายชีอะฮ์ในกรุงดามัสกัส

ในเดือนกันยายน 2556 ผู้นำกองพลน้อยกบฏที่ทรงอำนาจ 13 คนปฏิเสธแนวร่วมแห่งชาติซีเรีย และเรียกร้องให้กฎหมายชะรีอะฮ์เป็น "บ่อเกิดของกฎหมายแหล่งเดียว" กลุ่มกบฏที่ลงนามมีแนวร่วมอัลนุสเราะ อะห์รัรอัชชามและอัลเตาฮีดรวมอยู่ด้วย

แนวร่วมอัลนุสเราะซึ่งเชื่อมโยงกับอัลกออิดะฮ์ เป็นกลุ่มญีฮัดใหญ่สุดในประเทศซีเรีย มักถือว่าเป็นส่วนที่ก้าวร้าวและรุนแรงที่สุดของฝ่ายค้าน กลุ่มนี้ก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายแล้วกว่า 50 ครั้ง ซึ่งรวมเหตุระเบิดที่มีผู้เสียชีวิตหลายครั้งในกรุงดามัสกัสในปี 2554 และ 2555 รัฐบาลซีเรียและรัฐบาลสหรัฐกำหนดให้เป็นองค์การก่อการร้ายในเดือนธันวาคม 2555 จากข้อมูลของหน่วยข่าวกรองสหรัฐ รัฐบาลตุรกีสนับสนุนกลุ่มนี้มาหลายปีแล้ว ในเดือนเมษายน 2556 ผู้นำรัฐอิสลามอิรักออกแถลงการณ์เสียงประกาศว่าแนวร่วมอัลนุสเราะเป็นสาขาของตนในประเทศซีเรีย ผู้นำอัลนุสเราะ อะบู โมฮัมมัด อัลโกลานี (Abu Mohammad al-Golani) กล่าวว่า กลุ่มจะไม่รวมกับรัฐอิสลามอิรักแต่จะยังสวามิภักดิ์ต่ออัยมัน อัซเซาะวาฮิรี ผู้นำอัลกออิดะฮ์ กำลังคนโดยประมาณของแนวร่วมอัลนุสเราะอยู่ประมาณ 6,000–10,000 คน ซึ่งรวมนักรบต่างด้าวจำนวนมาก

ความสัมพันธ์ระหว่างแนวร่วมอัลนุสเราะและฝ่ายค้านซีเรียพื้นเมืองตึงเครียด แม้อัลนุสเราะต่อสู้ร่วมกับ FSA ในหลายยุทธการ และนักรบ FSA บางส่วนแปรพักตร์ไปแนวร่วมอัลนุสเราะ มุมมองศาสนาเข้มงวดของมูญาฮิดีนและเจตนาบังคับกฎหมายชะรีอะฮ์รบกวนชาวซีเรียจำนวนมาก ผู้บัญชาการกบฏบางนายกล่าวหานักรบญีฮัดว่า "ขโมยการปฏิวัติ" ปล้นโรงงานซีเรียและแสดงอขันติทางศาสนา แนวร่วมอัลนุสเราะถูกกล่าวหาว่าปฏิบัติไม่ดีต่อชนกลุ่มน้อยศาสนาและชาติพันธุ์นับแต่ก่อตั้ง

ชาวเคิร์ดซึ่งส่วนใหญ่เป็นมุสลิมซุนนี และกลุ่มน้อยยะซีดีส (Yezidis) ขนาดเล็กประกอบเป็น 10% ของประชากรซีเรียเมื่อเริ่มการก่อการกำเริบในปี 2554 พวกเขาถูกเลือกปฏิบัติและละเลยหลายทศวรรษ ขาดสิทธิพลเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจและสังคมพื้นฐาน เมื่อการประท้วงเริ่ม สุดท้ายรัฐบาลอะซัดให้ความเป็นพลเมืองแก่ชาวเคิร์ดไร้สัญชาติประมาณ 200,000 คน ในความพยายามเพื่อหยุดการค้านของชาวเคิร์ดที่อาจเกิดขึ้น การให้สิทธินี้ประกอบกับการสนับสนุนฝ่ายค้านของตุรกีและการมีผู้แทนน้อยเกินในสภาแห่งชาติซีเรีย ส่งผลให้มีชาวเคิร์ดเข้าร่วมสงครามกลางเมืองเป็นจำนวนน้อยกว่าอาหรับซุนนีซีเรีย ผลคือ ความรุนแรงและการปราบปรามของรัฐในพื้นที่เคิร์ดรุนแรงน้อยลง ในแง่ของซีเรียหลังอะซัด มีรายงานว่าชาวเคิร์ดปรารถนาอัตตาณัติระดับหนึ่งในรัฐที่กระจายอำนาจปกครอง

เมื่อสงครามกลางเมืองเริ่ม พรรคการเมืองเคิร์ดส่วนใหญ่จัดระเบียบตนเองเป็นคณะกรรมการประสานงานแห่งชาติเพื่อการเปลี่ยนแปลงประชาธิปไตย (NCC) โดยถือท่าทีสายกลางมากกว่าต่อรัฐบาลอะซัด ทว่า ในเดือนตุลาคม 2554 ทุกพรรคยกเว้นพรรคสหภาพประชาธิปไตย (PYD) ออกจาก NCC ไปตั้งองค์การรวมของตนเอง คือ สภาแห่งชาติเคิร์ด

สันนิบาตอาหรับ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรปและอีกหลายประเทศประณามการใช้ความรุนแรงต่อผู้ประท้วง สันนิบาตอาหรับระงับสมาชิกภาพของซีเรียเพราะการตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ดังกล่าวของรัฐบาล แต่ให้ที่นั่งแก่แนวร่วมแห่งชาติซีเรียเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2556 สันนิบาตอาหรับยังส่งคณะผู้แทนสังเกตการณ์ในเดือนธันวาคม 2554 โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อเสนอการแก้ไขวิกฤตการณ์อย่างสันติ มีความพยายามระงับวิกฤตการณ์อื่นอีก ผ่านการแต่งตั้งโคฟี อันนันเป็นผู้แทนทางการทูตพิเศษ

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2555 กาชาดสากลประเมินความขัดแย้งซีเรียว่าเป็น "การขัดกันด้วยอาวุธไม่ระหว่างประเทศ" (เป็นศัพท์กฎหมายของสงครามกลางเมือง) ฉะนั้น จึงบังคับใช้กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศภายใต้อนุสัญญาเจนีวาต่อซีเรีย สงครามลดระดับลงเป็นการคุมเชิงในต้นปี 2556 โดยฝ่ายกบฏค่อย ๆ ได้พื้นที่ในบางบริเวณ ขณะที่ในบางบริเวณ ฝ่ายรัฐบาลก็ค่อย ๆ ได้พื้นที่เช่นกัน

กลุ่มสิทธิมนุษยชนรายงานว่า การละเมิดส่วนใหญ่กระทำโดยกำลังรัฐบาลซีเรีย และการสืบสวนของสหประชาชาติสรุปว่า การละเมิดของรัฐบาลนั้นมีความร้ายแรงและขอบเขตสูงสุด


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301