สงคราม (อังกฤษ: war) คือ สถานะความขัดแย้งด้วยอาวุธระหว่างองค์การที่เป็นอิสระ (เช่น รัฐและตัวแสดงที่มิใช่รัฐ) หรือแนวร่วมขององค์การดังกล่าว โดยทั่วไปมีลักษณะเป็นการรุกราน การทำลายล้างรวมสุดขีดและปกติมีอัตราตายสูง ชุดเทคนิคที่กลุ่มใช้ดำเนินสงคราม เรียก การสงคราม (warfare) การปลอดสงคราม ปกติเรียก สันติภาพ
นักวิชาการบางส่วนมองว่าการสงครามเป็นสากลและเป็นส่วนที่สืบมาแต่บรรพชนของธรรมชาติมนุษย์ แต่บางส่วนก็แย้งว่าสงครามเป็นเพียงผลลัพธ์แห่งกรณีแวดล้อมทางสังคม-วัฒนธรรมหรือระบบนิเวศเฉพาะ
ใน ค.ศ. 2003 ริชาร์ด สมอลลีย์ (Richard Smalley) ระบุว่าสงครามเป็นปัญหาใหญ่สุดอันดับหก (จากสิบ) ที่มนุษยชาติจะเผชิญในอีกห้าสิบปีข้างหน้า ปกติสงครามมีผลให้โครงสร้างพื้นฐานและระบบนิเวศเสื่อมลงอย่างสำคัญ รายจ่ายสังคม (social spending) ลดลง ทุพภิกขภัย การอพยพออกขนานใหญ่จากพื้นที่สงคราม และบ่อยครั้ง ทารุณกรรมต่อพลเรือน
ก่อนหน้าที่จะมีความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ สงครามประกอบไปด้วยการจู่โจมอย่างรวดเร็วขนาดเล็ก ๆ เท่านั้น พบว่าชาวนูเบียประมาณ 12,000 ปีที่แล้ว ครึ่งหนึ่งเสียชีวิตเพราะความรุนแรง จนกระทั่งเมื่อถึงยุคการปกครองแบบรัฐเมื่อ 5,000 ปีที่แล้ว กิจการทหารได้แพร่ขยายไปทั่วโลก การคิดค้นดินปืนและความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้นำไปสู่การรบสมัยใหม่ในที่สุด
ในหนังสือเรื่อง Why Nations Go to War โดย จอห์น จี. สโทสซิงเกอร์ ได้กล่าวว่า ฝ่ายคู่สงครามทั้งสองฝ่ายจะกล่าวอ้างว่าตนเป็นฝ่ายที่ต่อสู้เพื่อคุณธรรม เขายังกล่าวอีกว่าสาเหตุเพื่อจะจุดชนวนสงครามขึ้นอยู่กับการประเมินในแง่ดีที่คาดว่าจะเป็นผลที่ได้รับจากความเป็นปรปักษ์นั้น (อันได้แก่มูลค่าและความสูญเสีย)
ไม่มีข้อตกลงทางวิชาการว่าอะไรเป็นแรงจูงใจสำหรับสงครามที่พบมากที่สุด แรงจูงใจอาจต่างกันระหว่างของผู้สั่งสงครามกับผู้เข้าร่วมสงคราม ตัวอย่างเช่น ในสงครามพิวนิกครั้งที่สาม ผู้นำกรุงโรมอาจปรารถนาก่อสงครามกับคาร์เธจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกำจัดปรปักษ์ซึ่งฟื้นกำลังใหม่ ขณะทหารแต่ละนายอาจถูกจูงใจด้วยความปรารถนาทำเงิน เนื่องจากมีผู้เกี่ยวข้องจำนวนมาก สงครามจึงอาจมีขึ้นได้จากการรวมแรงจูงใจต่าง ๆ กันจำนวนมาก การตีความการต่อสู้ระหว่างคาอินกับอะเบล (Cain and Abel) ในปฐมกาล 4 (Parashot BeReshit XXII:7) ของคำวิจารณ์ยิวโบราณ (BeReshit Rabbah) ระบุว่า มีเหตุผลสากลสำหรับสงครามสามอย่าง คือ เศรษฐศาสตร์ อำนาจและศาสนา
ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ ? ปรัชญาการศึกษา ? ปรัชญาประวัติศาสตร์ ? นิติศาสตร์ ? ปรัชญาสังคมศาสตร์ ? ปรัชญาความรัก
สังคม ? สงคราม ? กฎหมาย ? ความยุติธรรม ? สันติภาพ ? สิทธิมนุษยชน ? การปฏิวัติ ? การดื้อแพ่ง ? ประชาธิปไตย ? สัญญาประชาคม
อนาธิปไตย ? อำนาจนิยม ? อนุรักษนิยม ? เสรีนิยม ? อิสรนิยม ? ชาตินิยม ? สังคมนิยม ? ประโยชน์นิยม ? ทฤษฎีความขัดแย้ง ? ทฤษฎีความเห็นหมู่
เพลโต ? โสกราตีส ? อริสโตเติล ? ขงจื๊อ ? นักบุญออกัสติน ? นักบุญโทมัส อควีนาส ? มาเกียเวลลี ? ฮอบส์ ? ล็อก ? รูโซ ? มงแต็สกีเยอ ? วอลแตร์ ? อดัม สมิธ ? โรเบิร์ต พีล ? เอ็ดมันด์ เบิรก์ ? มิล ? แฟรงคลิน ? ไลบ์นิซ ? คานท์ ? ทอโร ? มหาตมา คานธี