ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ศาสนาในประเทศไทย

กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมให้ทางราชการรับรองศาสนาในประเทศไทยไว้ 5 ศาสนา ดังนี้ ศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาซิกข์

จากสำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2543 พ.ศ. 2551 พ.ศ. 2554 และ พ.ศ. 2557 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าในประเทศไทยมีผู้นับถือศาสนา ดังนี้

อย่างไรก็ตามการสำรวจขององค์การพัฒนาเอกชน นักวิชาการ และกลุ่มศาสนา ในปี พ.ศ. 2553 (ค.ศ. 2010) บ่งชี้ว่าประเทศไทยมีผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทประมาณ 85-95% ศาสนาอิสลามประมาณ 5-10% และศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาคริสต์ ลัทธิขงจื๊อ ศาสนาฮินดู ศาสนายูดาห์ ศาสนาซิกข์ ลัทธิเต๋า และอศาสนา รวมกันประมาณ 5% สำหรับอศาสนากรมการศาสนาประมาณการว่ามีน้อยกว่า 1% ของประชากรทั้งประเทศ

นับแต่สมัยกรุงสุโขทัยเป็นต้นมา ฝ่ายอาณาจักรมีความสัมพันธ์กับฝ่ายศาสนจักรอย่างแน่นแฟ้น พระมหากษัตริย์ไทยและพระราชนิกุลทรงเป็นพุทธมามกะและหลายพระองค์ทรวงผนวชเป็นภิกษุ จึงมีการอุดหนุนค้ำจุนกันระหว่างสถาบันทั้งสองเรื่อยมา ในปัจจุบันกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีหน้าที่กำกับดูแลและรับรองกลุ่มศาสนาซึ่งรับรองเพียงห้าศาสนาหลักเท่านั้น และไม่รับรองกลุ่มศาสนาใดเพิ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา กลุ่มศาสนาที่ได้รับการรับรองมีสิทธิ์ได้รับเงินอุดหนุนและสิทธิ์ประโยชน์ทางภาษี ส่วนสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ดูแลพุทธศาสนาโดยเฉพาะ ทั้งสองหน่วยงานรับงบประมาณจากรัฐบาลเพื่อใช้ในกิจการทางศาสนารวมกันกว่าสี่พันล้านบาทต่อปี[ต้องการอ้างอิง]

กระทรวงมหาดไทยเคยเก็บข้อมูลศาสนาและหมู่เลือดของคนไทยและพิมพ์ลงในบัตรประจำตัวประชาชน แต่ปัจจุบันเลิกแล้ว และศาสนาถือเป็นหนึ่งในข้อมูลทะเบียนประวัติราษฎร ในใบสมัครงาน ใบสมัครเข้าเรียนในสถานศึกษา หรือประวัติคนไข้ในโรงพยาบาล ในปัจจุบันนักเรียนในโรงเรียนรัฐที่นับถือศาสนาอื่นไม่ต้องสวดมนต์ไหว้พระหลังเคารพธงชาติทุกวัน และวิชาพระพุทธศาสนาไม่ได้เป็นวิชาบังคับในหลักสูตรของโรงเรียนรัฐบาลทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอีกต่อไป เนื่องด้วยนักวิชาการให้ความเห็นว่าเป็นความเชื่อส่วนบุคคลและขัดต่อหลักเสรีภาพในการนับถือศาสนา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 รวมถึงรัฐธรรมนูญไทยฉบับก่อนหน้ารับรองเสรีภาพในการถือศาสนาของประชาชน แต่บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก และกำหนดแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐชัดเจนว่ารัฐต้องให้ความอุปถัมภ์และคุ้มครองศาสนาในมาตรา 79 แม้ว่าจะมีการเรียกร้องให้บัญญัติศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวแต่ในที่สุดมาตรานี้มีความเพียงว่า "พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่นับถือมาช้านาน" นอกจากรัฐธรรมนูญแล้วศาสนาในประเทศไทยยังได้รับการคุ้มครองโดย พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 และประมวลกฎหมายอาญา ซึ่งห้ามการกล่าวหมิ่นประมาทพุทธศาสนารวมถึงพระสงฆ์ และคุ้มครองศาสนสถานและศาสนพิธีของศาสนาอื่น ๆ ตามลำดับ

อิทธิพลของศาสนาและความเชื่อในประเทศไทยสะท้อนออกมาในหลากหลายรูปแบบ อาทิ ตราแผ่นดินหรือตราประจำหน่วยงานที่มักเป็นเทพเจ้าในศาสนพราหมณ์-ฮินดู การใช้ปีพุทธศักราช (แต่ยึดปฏิทินสุริยคติตามระบบเกรโกเรียน) การใส่ภาพวัดในพุทธศาสนาลงในเหรียญกษาปณ์และธนบัตร การตั้งศาลพระภูมิในหน่วยงานราชการ การบูชาพระรัตนตรัยก่อนเริ่มพิธีการ การกำหนดวันสำคัญในศาสนาพุทธเป็นวันหยุดราชการ รวมถึงรัฐพิธีที่เป็นความเชื่อทางศาสนาที่มีมาแต่โบราณ เช่น พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระราชพิธีตรียัมพวาย ตรีปวาย

ประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นพุทธศาสนิกชนนิกายเถรวาท ซึ่งในปัจจุบันศาสนาพุทธในประเทศไทยได้ผสมผสานเข้ากับความเชื่อพื้นบ้าน อย่างเช่น การตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ การถือฤกษ์ นอกจากนี้จำนวนประชากรชาวไทย-จีนขนาดใหญ่ที่อพยพเข้ามาในประเทศก็นับถือทั้งศาสนาพุทธและประเพณีดั้งเดิม วัดพุทธในประเทศมีเอกลักษณ์ที่เจดีย์สีทองสูง และสถาปัตยกรรมพุทธในประเทศไทยคล้ายคลึงกับในประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กัมพูชาและลาว ซึ่งมีภูมิหลังทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ร่วมกัน

ชาวมุสลิมเป็นประชากรขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในประเทศไทย ในบริเวณสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และสตูล ตลอดจนบางส่วนของจังหวัดสงขลาและชุมพร มีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวมุสลิม ประกอบด้วยทั้งผู้ที่มีเชื้อสายไทยและมาเลย์ คนส่วนใหญ่เชื่อกันว่าประชากรชาวมุสลิมส่วนใหญ่ของประเทศอาศัยอยู่มากที่สุดบริเวณนี้

อย่างไรก็ตามการวิจัยของกระทรวงการต่างประเทศ ชี้ว่า ชาวไทยมุสลิมเพียงร้อยละ 18 อาศัยอยู่ในพื้นที่เหล่านี้ ส่วนที่เหลือได้อาศัยอยู่กระจายกันไปทั่วประเทศ โดยมีอาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครมากที่สุด และตลอดภาคใต้ของประเทศ ตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2548 ชาวมุสลิมในภาคใต้ของประเทศคิดเป็นประชากรร้อยละ 30.4 ของประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ ในขณะที่มุสลิมในส่วนอื่นของประเทศกลับมีน้อยกว่าร้อยละ 3[ต้องการอ้างอิง]

ประชากรมุสลิมของไทยมีความหลากหลายและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน โดยมีกลุ่มเชื้อชาติอพยพเข้ามาจากจีน ปากีสถาน กัมพูชา บังกลาเทศ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เช่นเดียวกับชาวไทย ขณะที่มุสลิมในประเทศไทยราวสองในสามมีเชื้อสายมาเลย์

ศาสนาคริสต์มีประวัติศาสตร์ยาวนานในประเทศไทย ถูกนำเข้ามาเผยแผ่โดยมิชชันนารียุโรปตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1550 ศาสนาคริสต์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสถาบันสังคม การศึกษา สาธารณสุข และเทคโนโลยี ปัจจุบันประเทศไทยมีคริสต์ศาสนิกชนในประเทศไทย มีจำนวนทั้งหมด 824,693 คน คิดเป็นร้อยละ 1.2871% ของประชากร 64,076,033 คน โดยแบ่งเป็น 3 นิกายต่าง ๆ ดังนี้ นิกายโปรเตสแตนต์จำนวน 444,446 คน (0.6936%) นิกายโรมันคาทอลิก 379,347 คน (0.592%) และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ 900 คน (0.0014%) อาศัยอยู่ตามภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทุกทั่วจังหวัดของประเทศไทย

ลัทธิอนุตตรธรรมเข้ามาในประเทศไทยครั้งแรกราว พ.ศ. 2492 จากอาจารย์ในลัทธิที่ลี้ภัยจากพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนเข้ามาอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ และได้ตั้งสถานธรรมแห่งแรกขึ้นในประเทศไทยช่วงคริสต์ทศวรรษ 1950 ต่อมามีลัทธิอนุตตรธรรมหลายสายเข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทยมากขึ้น ในปัจจุบันสายที่ใหญ่ที่สุดคือสายฟาอี ซึ่งประกอบด้วยหลายสายย่อย ที่สำคัญเช่น สายฟาอีฉงเต๋อซึ่งตั้งสถานธรรมแรกในปี พ.ศ. 2521 สายฟาอีหลิงอิ่นในปี พ.ศ. 2523 เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสายเป่ากวงเจี้นเต๋อที่ตั้งสถานธรรมเทียนเป่าในปี พ.ศ. 2533

แม้ประชากรไทยส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาพุทธ แต่มีพุทธศาสนิกชนชาวไทยจำนวนมากเข้าเป็นสมาชิกลัทธิอนุตตรธรรมเพราะเข้าใจผิดว่าเป็นพุทธศาสนานิกายมหายานรูปแบบหนึ่ง จากข้อมูลของ World I-Kuan Tao Headquarters ที่เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2548 ระบุว่าลัทธิอนุตตรธรรมมีสมาชิกราว 1,000,000 คนในประเทศไทย ในจำนวนนี้มีพระราชวงศ์และข้าราชการระดับสูงรวมอยู่ด้วย


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301