ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ศาสนาในกัมพูชา

ศาสนาที่สำคัญในกัมพูชาคือศาสนาพุทธ มาตั้งแต่สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 โดยก่อนหน้านั้น ศาสนาฮินดูเป็นศาสนาที่มีความสำคัญมาเป็นเวลากว่าพันปี ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเผยแพร่เข้ามาพร้อมกับมิชชันนารีจากฝรั่งเศส เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 23-24 ศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่เป็นที่นับถือในหมู่ชาวจาม ส่วนชาวเขมรเชื้อสายจีน นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ลัทธิขงจื๊อ และความเชื่อดั้งเดิมของชาวจีน

ศาสนาพุทธเข้ามาสู่กัมพูชาเมื่อราว พุทธศตวรรษที่ 10 โดยศาสนาพุทธนิกายเถรวาทเป็นศาสนาประจำรัฐตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 ยกเว้นช่วงที่เขมรแดงครองอำนาจ ในปัจจุบันมีจำนวนเป็น 95% ของประชากรทั้งหมด ประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธในกัมพูชายาวนานเกือบสองพันปี ผ่านระยะเวลาของอาณาจักรต่างๆที่สืบทอดมาจากจักรวรรดิเขมร การเข้าสู่กัมพูชาเกิดได้สองเส้นทาง คือรูปแบบดั้งเดิมของศาสนาพุทธที่ได้รับอิทธิพลของศาสนาฮินดูเข้าสู่อาณาจักรฟูนันโดยพ่อค้าที่นับถือศาสนาฮินดู ในเวลาต่อมา ศาสนาพุทธได้เข้าสู่กัมพูชาอีกทางหนึ่งในช่วงอาณาจักรพระนคร โดยผ่านทางอาณาจักรมอญคือทวารวดีและหริภุญไชย

ในช่วงพันปีแรกของจักรวรรดิเขมร กัมพูชาปกครองด้วยระบบกษัตริย์แบบฮินดูและมีกษัตริย์ที่เป็นชาวพุทธเป็นบางครั้ง เช่นพระเจ้าชัยวรมันที่ 1 ของฟูนัน และพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ศาสนาพุทธรูปแบบต่างๆดำรงอยู่อย่างสันติภายใต้การปกครองของกษัตริย์ที่นับถือศาสนาฮินดู และประเทศเพื่อนบ้านที่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท

หลังจากกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส พระนโรดม สีหนุได้นำเสนอพุทธสังคมนิยม โดยเน้นความเสมอภาค ความเป็นอยู่ที่ดีของคนจน จนกระทั่งเข้าสู่ยุคของเขมรแดงที่ศาสนาเป็นสิ่งผิดกฎหมาย มีการทำลายวัด พระพุทธรูป เผาทำลายคัมภีร์ทางศาสนา มีการตีความศาสนาเพื่อรับใช้การปฏิวัติ หลังจากเขมรแดงสิ้นสุดอำนาจใน พ.ศ. 2522 สาธารณรัฐประชาชนกัมพูชายังควบคุมพระสงฆ์อย่างเคร่งครัด พระสงฆ์ต้องเข้าอบรมลัทธิคอมมิวนิสต์แบบโซเวียต ยุบรวมธรรมยุติกนิกายกับมหานิกายเข้าด้วยกัน จนถึงสมัยราชอาณาจักรกัมพูชา พุทธศาสนาจึงได้ฟื้นตัวอีกครั้ง

กัมพูชาได้รับอิทธิพลจากศาสนาฮินดูมากในช่วงเริ่มต้นของอาณาจักรฟูนันโดยมีฐานะเป็นศาสนาประจำรัฐ กัมพูชายังเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางศาสนาฮินดูรวมทั้งนครวัด

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาของชาวจาม (บางครั้งเรียกเขมรมุสลิม) และชนกลุ่มน้อยชาวมลายูในกัมพูชา ใน พ.ศ. 2518 มีมุสลิมในกัมพูชาราว 150,000 - 200,000 ในกัมพูชา ในสมัยเขมรแดง มีมุสลิมจำนวนหนึ่งถูกสังหาร ชาวจามในกัมพูชามีทั้งที่นับถือนิกายสุหนี่และชีอะห์

ชาวจามมีมัสยิดเป็นของตนเอง ใน พ.ศ. 2505 มีมัสยิดประมาณ 100 แห่งในประเทศ ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 24 มุสลิมในกัมพูชาได้รวมตัวกันให้เกิดเอกภาพ ภายใต้การควบคุมของผู้นำศาสนา 4 ระดับคือ มับตี ตุกกาลิห์ รายากาลิก และตะวันปาเก สภาในหมู่บ้านของชาวจามประกอบด้วยฮาเก็ม 1 คน และมีกาติบ บิหลั่น และลาบีได้หลายคน ผู้นำศาสนาทั้งสี่ระดับและฮาเก็มจะได้รับการยกเว้นภาษีและได้รับเชิญให้เข้าร่วมในการเฉลิมฉลองระดับชาติ เมื่อกัมพูชาได้รับเอกราช ชุมชนมุสลิมอยู่ภายใต้อยู่ภายใต้การควบคุมของสภาที่มีสมาชิก 5 คน ซึ่งเป็นตัวแทนชาวมุสลิมอย่างเป็นทางการ และรวมทั้งการติดต่อกับประเทศมุสลิมอื่นๆ ชุมชนมุสลิมแต่ละแห่ง จะมีฮาเก็มเป็นผู้นำชุมชนและมัสยิด อิหม่ามเป็นผู้นำการละหมาด และบิหลั่นเป็นผู้เรียกผู้ที่มีศรัทธาให้มาทำละหมาดทุกวัน คาบสมุทรจรอยจังวาร์ใกล้กับพนมเปญเป็นศูนย์กลางทางจิตวิญญาณของชาวจาม สำนักงานระดับสูงของมุสลิมอยู่ที่นั่น ในแต่ละปี จะมีชาวจามไปเรียนศาสนาที่กลันตัน ในมาเลเซีย บางส่วนไปศึกษาที่เมกกะ ซึ่งมีชาวจามเพียง 7% ที่ได้รับเตอร์บันซึ่งแสดงถึงการเป็นผู้รู้ทางศาสนาใน พ.ศ. 2499

มิชชันนารีกลุ่มแรกที่มาสู่กัมพูชา นำโดยกัสปาร์ ดาครูซ สังกัดคริสตจักรโดมินิกันชาวโปรตุเกส ระหว่าง พ.ศ. 2098 – 2099 แต่การเผยแพร่ศาสนาล้มเหลว ในช่วงที่เป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส ศาสนาคริสต์มีอิทธิพลน้อยมากในกัมพูชา ใน พ.ศ. 2515 คาดว่ามีชาวคริสต์ในกัมพูชาประมาณ 20,000 คน ส่วนใหญ่เป็นนิกายโรมันคาทอลิก ก่อนการขับไล่ชาวเวียดนามใน พ.ศ. 2513 – 2514 คาดว่ามีชาวคริสต์ในกัมพูชาถึง 62,000 คน ตามสถิติของเวียดนาม เมื่อ พ.ศ. 2496 สมาชิกของนิกายโรมันคาทอลิกในกัมพูชามีประมาณ 120,000 คนในกัมพูชา โดยเป็นชาวเวียดนามในกัมพูชาราว 50,000 คน ชาวคริสต์ที่เหลืออยู่ในกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2515 ส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของชาวฝรั่งเศส ใน พ.ศ. 2496 มีมิชชันของคริสตจักรอเมริกันยูนิทาเรียนอยู่ในโรงเรียนฝึกหัดครูพนมเปญ และมีมิชชันแบปทิสต์ทำงานในพระตะบองและเสียมราฐ พันธมิตรมิชชันนารีและคริสเตียนก่อตั้งในกัมพูชาเมื่อ พ.ศ. 2466 และมีสมาชิกราว 2,000 คนใน พ.ศ. 2505

กิจกรรมของมิชชันนารีอเมริกันนิกายโปรเตสแตนต์เพิ่มขึ้นในกัมพูชา โดยเฉพาะในกลุ่มชาวจามและชนเผ่าต่างๆหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2513 และการก่อตั้งสาธารณรัฐเขมร มีรายงานว่ามีผู้นับถือนิกายโปรเตสแตนต์ 2,000 คนใน พ.ศ. 2505 และใน พ.ศ. 2525 มีรายงานว่ายังมีหมู่บ้านชาวคริสต์ในกัมพูชา แต่ไม่ได้รายงานเรื่องจำนวน รวมทั้งนิกายของพวกเขา ใน พ.ศ. 2523 มีชาวเขมรที่นับถือศาสนาคริสต์ลงทะเบียนเป็นผู้อพยพในค่ายผู้อพยพในประเทศไทยมากกว่าจำนวนที่เคยมีรายงานใน พ.ศ. 2513 ใน พ.ศ. 2530 คาดการณ์ว่าเหลือชาวคริสต์ในกัมพูชาไม่กี่พันคน ปัจจุบันมีชาวคริสต์ที่นับถือนิกายโรมันคาทอลิกในกัมพูชาราว 20,000 คน คิดเป็น0.15% ของประชากรทั้งหมด

ชนเผ่าในที่สูงหรือชาวเขมรบนมีระบบความเชื่อเป็นของตนเอง มีจำนวนประชากรราวๆ 100,000 คนโดยเป็นการนับถือผีและวิญญาณในธรรมชาติ มีหมอผีเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณ ในกลุ่มของชาวเขมรบนนี้ ความเชื่อของชาวราเดและชาวจรายมีพัฒนาการที่ดี ทั้งในด้านจิตวิญญาณและกฎทางศาสนา


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301