ศาสนาฮินดู (อังกฤษ: Hinduism) หรือ สนาตนธรรม เป็นศาสนาแบบพหุเทวนิยมที่พัฒนาการต่อมาจากศาสนาพราหมณ์ จึงมักเรียกรวมกันว่าศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ไม่ปรากฏแน่ชัดว่าใครเป็นศาสดา มีคัมภีร์ศาสนาเรียกว่าพระเวท มีศาสนิกชนมากเป็นอันดับที่ 4 ของโลก มีจำนวนประมาณ 900 ล้านคน
ศาสนานี้นับถือเทพเจ้าหลายองค์ เรียกว่า "พหุเทวนิยม" เทพเจ้าแต่ละองค์ในแต่ละยุคสมัย มีบทบาท และตำนานต่างกันไป ในแต่ละท้องถิ่นยังมีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้าองค์หนึ่งๆ แตกต่างกันไปด้วย โดยทั่วไปถือว่าชาวฮินดูเชื่อว่ามีเทพเจ้าสูงสุด ที่ได้อวตารแยกร่างออกมาเป็น 3 องค์ เรียกว่า "ตรีมูรติ" คือ พระพรหมซึ่งเป็นพระผู้สร้างโลก พระศิวะเป็นผู้ทำลาย และพระวิษณุเป็นผู้ปกป้องและรักษาโลก
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ในตอนแรกเริ่มเรียกตัวเองว่า ”พราหมณ์” ต่อมาศาสนาได้เสื่อมความนิยมลงระยะหนึ่งเนื่องจากอิทธิพลของศาสนาพุทธ จนมาในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 ศังกราจารย์ได้ปฏิรูปศาสนาโดยแต่งคัมภีร์ปุราณะลดความสำคัญของศาสนาพุทธ และนำหลักปฏิบัติรวมทั้งหลักธรรมของศาสนาพุทธมหายานบางส่วนมาใช้และฟื้นฟูปรับปรุงศาสนาพราหมณ์เป็นให้เป็นศาสนาฮินดูเนื่องจากหลักธรรมส่วนใหญ่ของศาสนาพุทธได้ประยุกต์มาจากศาสนาฮินดูเมื่อครั้งยังเป็นศาสนาพราหมณ์โดยเริ่มจากนิกายเถรวาทเมื่อครั้งพุทธกาล -จนถึงนิกายมหายาน - วัชรญาณ เมื่อ โดยคำว่า “ฮินดู” เป็นคำที่ใช้เรียกชาวอารยันที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำสินธุ และเป็นคำที่ใช้เรียกลูกผสมของชาวอารยันกับชาวพื้นเมืองในชมพูทวีป และชนพื้นเมืองนี้ได้พัฒนาศาสนาพราหมณ์โดยเพิ่มเติมเทพเจ้าท้องถิ่นดั้งเดิมลงไป เนื่องจากเวลานั้นสังคมอินเดีย แตกแยกอย่างมากเนื่องจากอิทธิพลของพุทธศาสนาในประเทศอินเดียที่มีลักษณะเป็นกึ่งพหุเทวนิยม คือนิยมนับถือเทวดา ทำให้ทางตอนเหนือนับถือพระศิวะซึ่งเป็นเทพแห่งภูเขาหิมาลัย ทางตอนใต้ชาวประมงนับถือวิษณุซึ่งเป็นเทพที่ให้ฝนและพายุ ชาวป่านับถือพระนิรุทธ และตอนกลางนับถือพระพิฆเนตร คนอินเดียเวลานั้นเริ่มไม่นับถือศาสนาพราหมณ์เป็นจำนวนมากขึ้น เมื่อต้องการรวมชาติ เมื่อครั้งขับไล่ราชวงศ์โมกุลของอิสลามที่เข้ามายึดครองและสั่งเข่นฆ่าพระสงฆ์คัมภีร์และวัดในพระพุทธศาสนาจนแทบสูญสิ้นไปจากอินเดีย จึงรวมเทพเจ้าแต่ละท้องถิ่นต่างๆมารวมเป็นหนึ่งเดียวกันกับศาสนาพราหมณ์ แลัวเรียกศาสนาของใหม่นี้ว่า “ศาสนาฮินดู” เพราะฉะนั้นศาสนาพราหมณ์จึงมีอีก ชื่อในศาสนาใหม่ว่า “ฮินดู” จนถึงปัจจุบันนี้
พระพุทธศาสนาก็เกิดขึ้นท่ามกลางสังคมพราหมณ์ แม้แต่พระพุทธเจ้าและพุทธสาวกสมัยแรก ๆ ก็เคยนับถือศาสนาพราหมณ์หรือเคยเกี่ยวข้องกับวรรณะพราหมณ์มาก่อน และในนิทานชาดก และเรื่องราวเกี่ยวกับศาสนาพุทธและพระพุทธเจ้า ก็มักจะมีพราหมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง จึงกล่าวได้ว่า ศาสนาพุทธและพราหมณ์ จึงมีอิทธิพลต่อกันและกัน
ในศาสนาพราหมณ์ คำว่า พราหมณ์ หมายถึง คนในวรรณะที่สูงที่สุดของสังคมอินเดีย มีหน้าที่สอนความรู้เกี่ยวกับพระเวทและทำหน้าที่ติดต่อเทพเจ้า ผู้ที่เป็นพราหมณ์เป็นโดยกำเนิด คือบุตรของพราหมณ์ก็จะมีสถานภาพเป็นพราหมณ์ด้วย
ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ไม่มีศาสดาชัดเจนเหมือนศาสนาอื่น แต่มีผู้แต่งตำรา ทำหน้าที่คล้ายศาสดาสืบทอดกันมา ดังนี้
1.ฤคเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทสวดสดุดีพระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย บรรดาเทพเจ้าที่ปรากฏในฤคเวทสัมหิตามีจำนวน 33 องค์ ทั้ง 33 องค์ ได้จัดแบ่งตามลักษณะของที่อยู่เป็น 3 กลุ่ม คือ เทพเจ้าที่อยู่ในสวรรค์ เทพเจ้าที่อยู่ในอากาศ และเทพเจ้าที่อยู่ในโลกมนุษย์ มีจำนวนกลุ่มละ 11 องค์
2.ยชุรเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์ที่ว่าด้วยสูตรสำหรับใช้ในการประกอบยัญพิธียชุเวทสัมหิตา แบ่งออกเป็น 2 แขนง คือ
2.2 กฤษณยชุรเวท หรือ ยชุรเวทดำ ได้แก่ ยชุรเวทที่บรรจุมนต์และคำแนะนำเกี่ยวกับการประกอบยัญพิธีบวงสรวง ตลอดทั้งคำอธิบายในการประกอบพิธีอีกด้วย
3.สามเวท เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์อันเป็นบทสวดขับร้อง บทสวดในสามเวทสัมหิตามีจำนวน 1,549 บท ในจำนวนนี้มีเพียง 75 บท ที่มิได้ปรากฏในฤคเวท ส่วนอาถรรพเวท หรือที่เรียกกันว่า อาถรรพเวท เป็นคัมภีร์ที่เกิดขึ้นภายหลัง เป็นคัมภีร์ที่รวบรวมบทประพันธ์ที่ว่าด้วยมนต์หรือคาถาต่างๆ
ปรมาตมัน หมายถึง สิ่งที่ยิ่งใหญ่ อันเป็นที่รวมของทุกสิ่งทุกอย่างในสากลโลก ได้แก่ "พรหม" ปรมาตมันกับพรหมจึงเป็นสิ่งเดียวกัน ซึ่งมีลักษณะดังนี้
วิญญาณทั้งหมดเป็นส่วนที่แยกออกมาจากปรมาตมัน วิญญาณย่อยเหล่านี้เมื่อแยกออกมาแล้ว ก็เข้าจุติในชีวิตรูปแบบต่างๆ เช่น เทวดา มนุษย์ สัตว์ และพืช มีสภาพดีบ้าง เลวบ้าง ตามแต่พรหมจะลิขิต
อาศรม หมายถึง ขั้นตอนการดำเนินชีวิตของชาวฮินดู เฉพาะที่เป็นพราหมณ์วัยต่างๆ โดยกำหนดเกณฑ์อายุคนไว้ 100 ปี แบ่งช่วงของการไว้ชีวิตไว้ 4 ตอน ตอนละ 25 ปี ช่วงชีวิตแต่ละช่วงเรียกว่า อาศรม(วัย) อาศรมทั้ง 4 ช่วง มีดังนี้
โมกษะ การหลุดพ้น (เปรียบได้กับนิพพานของศาสนาพุทธ) ถือว่าเป็นหลักความดีสูงสุด ดังคำสอนของศาสนาฮินดูสอนว่า "ผู้ใดรู้แจ้งในอาตมันของตนว่าเป็นหลักอาตมันของโลกพรหมแล้ว ผู้นั้นย่อมพ้นจากสังสาระการเวียนว่าย ตาย เกิด และจะไม่ปฏิสนธิอีก"
ศิวลึงค์เป็นความคิดที่พราหมณ์ในสมัยก่อนคิดกันขึ้นมาเพื่อแสดงเป็นสัญลักษณ์ มิใช่ความปรารถนาของพระศิวะที่จะให้พราหมณ์นับถือศิวลึงค์ หรือโยนีสำหรับลัทธิศักติ การบูชาพระศิวะสามารถทำได้ด้วยการกระทำความดีเพื่อถวายแก่พระศิวะ ผู้ที่ปรารถนาที่จะกลับเข้าสู่ความเป็นอาตมันหรือตรัสรู้สามารถทำได้โดยทำสมาธิ และให้คิดว่าร่างกายนี้เราก็ละในที่สุดก็จะตรัสรู้และมีแสงเป็นจุดกลมๆเป็นฝอยๆสีขาวคล้ายน้ำหมึก ขนาดประมาณ 3 มิลลิเมตรบางอันก็เล็กกว่า และมีแสงเป็นรูปคล้ายดาวกระจายขนาดประมาณครึ่งนิ้ว แสงที่เห็นจะมีน้ำหนัก มีลักษณะเป็นก้อน เมื่อกระทบวัตถุสามารถเด้งกลับได้ การตรัสรู้ของศาสนาพราหมณ์คือ "การรู้ว่ากายนี้ไม่ใช่ของเรา"
ศาสนาฮินดู ที่สืบเนื่องจากศาสนาพราหมณ์นับเป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุด ได้แบ่งออกเป็นหลายนิกายที่สำคัญ เช่น
1. ลัทธิไวศณพ (Vishnav) เป็นนิกายที่เก่าที่สุด นับถือพระวิษณุเจ้าเป็นเทพองค์สูงสุด เชื่อว่าวิษณุสิบปาง หรือนารายณ์ ๑๐ ปางอวตารลงมาจุติ มีพระลักษมีเป็นมเหสี มีพญาครุฑเป็นพาหนะ นิกายนี้มีอิทธิพลมากในอินเดียภาคเหนือและภาคกลาง ของประเทศ นิกายนี้เกิดเมื่อ พ.ศ. ๑๓๐๐ สถาปนาโดยท่านนาถมุนี (Nathmuni)
2. ลัทธิไศวะ (Shiva) เป็นนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุด พระศิวะเป็นเทพทำลายและสร้างสรรค์ด้วย สัญลักษณ์ อย่างหนึ่งแทนพระศิวะคือศิวลึงค์และโยนีก็ได้รับการบูชา เช่น องค์พระศิวะ นิกายนี้ถือว่าพระศิวะเท่านั้นเป็นเทพสูงสุดแม้แต่พระพรหม, พระวิษณุก็เป็นรองเทพเจ้าพระองค์นี้ นิกายนี้เชื่อว่า วิญญาณเป็นวิถีทางแห่งการหลุดพ้นมากกว่าความเชื่อในลัทธิภักดี นิกายนี้จะนับถือพระศิวะและพระนางอุมาหรือกาลีไปพร้อมกัน
3. ลัทธิศักติ (Shakti) เป็นนิกายที่นับถือพระเทวี หรือพระชายาของมหาเทพ เช่น สรัสวดี พระลักษมี พระอุมา เจ้าแม่ทุรคา และเจ้าแม่กาลีซึ่งเป็นชายาของมหาเทพทั้งหลาย เป็นผู้ทรงกำลังหรืออำนาจของเทพสามีไว้ จึงเรียกว่า ศักติ (Power) นิกายนี้เป็นที่นิยมในรัฐเบงกอล และรัฐอัสสัม เป็นต้น
5. ลัทธิคณพัทยะ (Ganabadya) นิกายนี้นับถือพระพิฆเณศเป็นเทพเจ้าสูงสุด ถือว่าพระพิฆเนศเป็นศูนย์กลางแห่งเทพเจ้าทั้งหมดในศาสนา เชื่อว่าเมื่อได้บูชาพระพิฆเนศอย่างเคร่งครัด ก็เท่ากับได้บูชาเทพอื่นๆ ครบทุกพระองค์
6. ลัทธิสรภัทธะ (Sarabhadh) เป็นนิกายขนาดเล็ก ในสมัยก่อนบูชาพระอาทิตย์ (สูรยะ) มีผู้นับถือมากในอดีต ปัจจุบันมีจำนวนน้อย นิกายนี้มีพิธีอย่างหนึ่งคือ กายตรี หรือ คายตรี (Gayatri) ถือว่ามีอำนาจศักดิ์สิทธิ์ คือการกลับมาของพระอาทิตย์เป็นฤๅษีวิศวามิตร
7. ลัทธิสมารธะ (Samardha) เป็นนิกายที่ใหญ่พอสมควร นับถือทุกเทพเจ้าทุกพระองค์ในศาสนา ฮินดู ความเชื่อแบบนี้เป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย เพราะสามารถบูชาเจ้าได้ตามต้องการ
9. ลัทธิกายตรี-พหุเทวะนิยม (Gayatri-polytheism) เป็นนิกายที่นับถือเทพเจ้าหลายพระองค์ในศาสนาฮินดู แต่ก็มีความเชื่อที่ว่าพระเจ้าทุกพระองค์ คือหนึ่งเดียว ยังมีนิกายอื่นๆ อีกมากมาย และแยกย่อยออกไปอีก