ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ศาสนาคริสต์ในประเทศไทย

ศาสนาคริสต์ เป็นหนึ่งใน 5 ศาสนาในประเทศไทยที่กรมการศาสนารับรอง โดยมิชชันนารีชาวยุโรปเป็นกลุ่มแรกที่นำเข้ามาเผยแผ่ ปัจจุบันมีจำนวนศาสนิกชนมากที่สุดเป็นอันดับสาม

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ใน พ.ศ. 2557 ประเทศไทยมีคริสต์ศาสนิกชน 617,492 คน คิดเป็น 1.1% ของประชากรทั้งหมด 56,657,790 คน (อายุ 13 ปีขึ้นไป) แบ่งเป็นนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายโปรเตสแตนต์เกือบเท่า ๆ กัน

ผลสำรวจโดยองค์กรของคริสต์ศาสนาในนิกายต่าง ๆ ในปี พ.ศ. 2558 พบว่าคริสต์ศาสนิกชนในประเทศไทย มีจำนวนทั้งหมด 814,508 คน คิดเป็น 1.2712% ของประชากร 64,076,033 คน โดยแบ่งเป็น นิกายโปรเตสแตนต์ 444,372 คน (0.6935%) นิกายโรมันคาทอลิก 369,636 คน (0.5769%) และนิกายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ 500 คน (0.0008%) นอกจากนี้ยังมีนิกายมอรมอน 20,730 คน

ศาสนาคริสต์เข้ามาในประเทศไทยยุคเดียวกับการล่าอาณานิคมของลัทธิจักรวรรดินิยม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวโปรตุเกส ชาวสเปน และชาวดัตช์ ที่กำลังบุกเบิกเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนอกจากกลุ่มที่มีจุดประสงค์ทางการเมืองและเศรษฐกิจแล้ว ยังมีบางกลุ่มที่มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะนิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาเผยแพร่ บางประเทศบางสมัยปิดกั้นการเผยแพร่ บางประเทศบางสมัยเปิดเสรีแต่ผู้คนยังไม่นิยมเข้ารีต ขณะที่บางประเทศผู้คนส่วนใหญ่ยอมรับนับถือศาสนาคริสต์ พร้อมกับการครอบงำทางการเมืองและเศรษฐกิจแล้ว เช่น ฟิลิปปินส์ มาเก๊า ฯลฯ

ต่อมาฝรั่งเศสเข้ามาได้เมืองขึ้นในอินโดจีน เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว โดยลักษณะเดียวกับโปรตุเกสและสเปน คือล่าเมืองขึ้นและเผยแพร่ศาสนาพร้อมกัน แต่ไม่ประสบผลสำเร็จนัก ทำให้อิทธิพลของศาสนาคริสต์ในกลุ่มประเทศนี้มีน้อย อาจเพราะการมุ่งผลทางการเมืองและเศรษฐกิจของผู้ปกครองจักรวรรดินิยมทั้งก่อนหน้าและขณะนั้น ทำให้จุดมุ่งหมายที่ดีงามทางศาสนาถูกผู้คนในประเทศพื้นเมืองตั้งทัศนคติว่ามีเจตนาแอบแฝงเสียส่วนใหญ่ ไม่ว่ามิชชันนารีจะมีเจตนาแอบแฝงจริงหรือไม่ก็ตาม

ขณะที่ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นเมืองขึ้น ส่วนหนึ่งอาจเพราะการเปิดเสรีในการเผยแพร่ศาสนา ทำให้ลดความรุนแรงทางการเมืองลง[ต้องการอ้างอิง]

ศาสนาคริสต์ที่เผยแพร่ในไทยเป็นครั้งแรกตรงกับสมัยกรุงศรีอยุธยา ปรากฏหลักฐานว่าในปี พ.ศ. 2110 (ค.ศ. 1567) มีมิชชันนารีคณะดอมินิกัน 2 คน เข้าสอนศาสนาให้ชาวโปรตุเกสรวมทั้งชาวพื้นเมืองที่เป็นภรรยา ต่อมาจึงมีมิชชันนารีคณะฟรันซิสกันและคณะเยสุอิตเข้ามาด้วย บาทหลวงส่วนมากเป็นชาวโปรตุเกส

ระยะแรกที่ยังถูกปิดกั้นทางศาสนา มิชชันนารีจึงเน้นการดูแลกลุ่มคนชาติเดียวกัน กระทั่งรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ประเทศไทยได้มีสัมพันธภาพอันดีกับฝรั่งเศส ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ทำให้มีจำนวนบาทหลวงเข้ามาเผยแพร่ศาสนามากขึ้น และการแสดงบทบาททางสังคมมากขึ้น บ้างก็อยู่จนแก่หรือตลอดชีวิตก็มี ด้านสังคมสงเคราะห์ มีการจัดตั้งโรงพยาบาล ด้านศาสนา มีการตั้งเซมินารีคริสตัง เพื่อผลิตนักบวชพื้นเมือง และมีการโปรดศีลอนุกรมให้นักบวชไทยรุ่นแรก และจัดตั้ง คณะรักกางเขน

เมื่อสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชแล้ว ศาสนาคริสต์กลับไม่ได้รับความสะดวกในการเผยแพร่ศาสนาเช่นเดิม เพราะถูกจำกัดขอบเขต ถูกห้ามประกาศศาสนา ถูกห้ามเขียนหนังสือศาสนาเป็นภาษาไทย และภาษาบาลี ประกอบกับพม่าเข้ามารุกรานประเทศไทย บาทหลวงถูกย่ำยี โบสถ์ถูกทำลาย มิชชันนารีทั้งหลายรีบหนีออกนอกประเทศ การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ยุติในช่วงเสียเอกราชให้พม่า[ต้องการอ้างอิง]

กระทั่งสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกอบกู้เอกราชสำเร็จ แม้การเผยแพร่ศาสนาคริสต์เริ่มต้นขึ้นใหม่ แต่เพราะประเทศกำลังอยู่ในภาวะสร้างบ้านเมืองขึ้นใหม่ จึงไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร

เมื่อเข้าสู่ราชวงศ์จักรีแล้ว ชาวคริสต์อพยพเข้ามามากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงเปิดเสรีการนับถือศาสนา และทรงประกาศพระราชกฤษฎีกา ให้ทุกคนมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แม้ว่าสัมพันธภาพระหว่างไทยกับฝรั่งเศสไม่ดีนัก แต่พระองค์ก็ทรงรับรองมิสซังโรมันคาทอลิกเป็นนิติบุคคล

ด้านสังคมสงเคราะห์ในรัชสมัยนี้ พระราชทานเงินทุนในการก่อสร้างโรงเรียน]] เกิดโรงเรียนอัสสัมชัญ ในพ.ศ. 2420 (ค.ศ.1877) ภายหลังเกิดโรงเรียนอีกหลายแห่ง เช่น โรงเรียนอัสสัมชัญคอนแวนต์ โรงเรียนเซนต์ฟรังซีสเซเวียร์ และโรงเรียนพยาบาลเซนต์หลุยส์[ต้องการอ้างอิง]

คณะเผยแพร่ของนิกายโปรเตสแตนต์กลุ่มแรกที่เข้ามาประเทศไทยตามหลักฐานที่ปรากฏคือศิษยาภิบาล 2 ท่าน ศาสนาจารย์ คาร์ล ออกัสตัส เฟรดเดอริค กุตสลาฟ เอ็ม.ดี (Rev. Karl Fredrich Augustus Gutzlaff) ชาวเยอรมัน จาก สมาคมเนเธอร์แลนด์มิชชันนารี (Netherlands Missionary Society) และศาสนาจารย์ จาคอบทอมลิน (Rev. Jacob Tomlin) ชาวอังกฤษ จาก สมาคมลอนดอนมิชชันนารี (London Missionary Society) มาถึงประเทศไทยเมื่อ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2371 (ค.ศ. 1828) ทั้งสองท่านช่วยกันเผยแพร่ศาสนาด้วยความเข้มแข็ง

ในบรรดานักเผยแพร่ศาสนานั้น ผู้เริ่มต้นสัมพันธภาพที่ดีและยาวนานที่สุดระหว่างคนไทยกับศาสนาคริสต์คือ ศาสนาจารย์แดน บีช บรัดเลย์ (Rev. Dan Beach Bradley, M. D.) หรือ หมอบรัดเลย์ (คนไทยมักเรียกว่า หมอปลัดเล) ซึ่งเป็นมิชชันนารีคณะเพรสไบทีเรียนในคณะอเมริกันบอร์ด เข้ามากรุงเทพฯ (ขณะนั้นเรียกว่า บางกอก) พร้อมภรรยา เมื่อ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2378 (ค.ศ. 1835)

ตลอดเวลาที่ท่านอยู่ในประเทศไทยได้สร้างคุณประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางการแพทย์และการพิมพ์ ทั้งรักษาผู้ป่วยไข้ทรพิษและอหิวาตกโรค นำการผ่าตัดเข้ามาครั้งแรก การทดลองปลูกฝีดาษในประเทศไทย ริเริ่มการสร้างโรงพิมพ์ เริ่มจากจัดพิมพ์ใบประกาศห้ามฝิ่น และจัดพิมพ์หนังสือ "บางกอกกาลันเดอร์" ซึ่งเป็นจดหมายเหตุรายวัน กล่าวได้ว่า ความเชื่อมั่นของชาวไทยเผยแพร่ศาสนาคริสต์ เกิดจากคณะสมาคมอเมริกันมิชชันนารีนำความเจริญเข้ามาควบคู่ไปกับการเผยแพร่ศาสนา

มิชชันนารีที่สำคัญอีก 2 กลุ่ม ได้แก่ คณะอเมริกันแบ็พติสมิชชัน (The American Baptist Mission) เป็นผู้ก่อตั้งโบสถ์โปรเตสแตนต์แห่งแรกในกรุงเทพฯ เมื่อประมาณกลางปี พ.ศ. 2380 (ค.ศ. 1837) และจัดพิมพ์หนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษรวมทั้งออก หนังสือพิมพ์ "สยามสมัย"

และคณะอเมริกันเพรสไบทีเรียนบอร์ด (The American Presbyterian Board) เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่นำความเจริญสู่ประเทศไทย เช่น ดร. เฮ้าส์ (Samuel R. House) นำการใช้อีเทอร์เป็นยาสลบครั้งแรกในประเทศไทย ขณะที่ ศาสนาจารย์แมตตูนและภรรยา (Rev. and Mrs. Stephen Mattoon) ริเริ่มเปิดโรงเรียนแบบเช้าไปเย็นกลับ ซึ่งต่อมาได้รวมกับโรงเรียนประจำของมิชชัน และพัฒนาต่อมาเป็นโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัยในปัจจุบัน

ในปี พ.ศ. 2559 คริสต์ศาสนิกชนในประเทศไทย มีจำนวนสมาชิกทั้งหมด 824,693 คน คิดเป็น 1.2871% ของประชากร 64,076,033 คน ซึ่งสำรวจโดยองค์กรของคริสต์ศาสนาในนิกายต่าง ๆ โดยแสดงตารางรายงานผลคริสต์ศาสนิกชนในประเทศไทย ดังนี้


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301