ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ศรีสะเกษ

จังหวัดศรีสะเกษ เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ลักษณะภูมิประเทศทางตอนใต้เป็นที่สูง และค่อย ๆ ลาดต่ำไปทางเหนือลงสู่ลุ่มแม่น้ำมูลซึ่งอยู่ทางตอนเหนือของจังหวัด ปัจจุบันมีเนื้อที่ 8,840 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอำเภอ 22 อำเภอ มีประชากรราว 1.45 ล้านคน ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธุ์หลากหลาย ซึ่งพูดภาษาถิ่นต่าง ๆ กัน อาทิ ภาษาลาว(สำเนียงลาวใต้ซึ้งใช้ครอบคลุมทั้งฝั่งอุบลราชธานีและจำปาศักดิ์), ภาษากูย, ภาษาเยอ และภาษาเขมรลือ(เขมรบน) ส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนและนับถือผีมาแต่เดิม

มีการตั้งถิ่นฐานในจังหวัดศรีสะเกษมาแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ จนเกิดพัฒนาการที่เข้มข้นในสมัยอาณาจักรขอมซึ่งได้ทิ้งมรดกทางวัฒนธรรมหลายประการไว้ เช่น ปราสาทหินและปรางค์กู่ศิลปะขอมตั้งกระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง ครั้นในสมัยอาณาจักรอยุธยา มีการยกบ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน(บริเวณใกลๆปราสาทกุด หรือปราสาทสี่เหลียมโคกลำดวน วัดเจ็ก อำเภอขุขันธ์ ในปัจจุบัน) เป็นเมืองขุขันธ์ และในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ได้ย้ายเมืองไปยังบริเวณตำบลเมืองเก่า (ตำบลเมืองเหนือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ ในปัจจุบัน) แต่เรียกชื่อเมืองขุขันธ์ ตามเดิม กระทั่งยกฐานะเป็น จังหวัดขุขันธ์ เมื่อ พ.ศ. 2459 แล้วเปลี่ยนชื่อเป็น จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อ พ.ศ. 2481

แหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญในจังหวัดศรีสะเกษ เช่น อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร, สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ ศรีสะเกษ, ปรางค์กู่, ปราสาทหินวัดสระกำแพงน้อย, ปราสาทสระกำแพงใหญ่, ปราสาทเยอ, ปราสาทหินบ้านปราสาท, ปราสาทหินโดนตวล, บึงนกเป็ดน้ำไพรบึง, เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา ส่วนด้านเศรษฐกิจนั้นพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลัก พืชเศรษฐกิจที่สำคัญ คือ ข้าวหอมมะลิ, ผลไม้ เช่น ทุเรียน และเงาะ, พืชสวน เช่น หอมแดง, กระเทียม และยางพารา ตลอดจนพืชไร่ เป็นต้นว่า มันสำปะหลัง และถั่วลิสง

หลักฐานทางโบราณคดีในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ แสดงให้เห็นการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในพื้นที่นี้ย้อนหลังไปตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (สมัยก่อนที่จะมีการใช้ตัวอักษรหรือภาษาเขียน จารึกเรื่องราวต่างๆในสังคมมนุษย์) ตอนปลาย ในสมัยเหล็ก(ยุคเหล็ก)(Iron Age) ราว 2,500 ปีมาแล้ว เช่น แหล่งภาพสลักบริเวณผาเขียน-ผาจันทน์แดง ในเขตอำเภอขุนหาญ ตามแนวเทือกเขาพนมดงรัก อันเป็นเขตพื้นที่สูงทางตอนใต้ของจังหวัดแนวชายแดนไทย-กัมพูชา นอกจากนั้นยังร่องรอยชุมชนสมัยเหล็กอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ทางตอนเหนือของจังหวัด เช่น กลุ่มชุมชนโบราณในเขตอำเภอราษีไศล ซึ่งปรากฏร่องรอยชุมชนที่มีหลักฐานโครงกระดูกมนุษย์ ที่ได้รับการฝังศพพร้อมกับวัตถุอุทิศอันเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยเหล็กและภาชนะดินเผา ตลอดจนแบบแผนพิธีกรรมฝังศพแบบวัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล-ชี หรือที่เรียกว่า"วัฒนธรรมทุ่งกุลาร้องไห้"

ต่อมาในระหว่างพุทธศตวรรษที่ 12-16 (ประมาณ 1,400 - 1,200 ปีมาแล้ว) ชุมชนสมัยเหล็ก (โดยเฉพาะที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล ทางตอนเหนือของจังหวัด) ได้มีพัฒนาการต่อมาเป็นชุมชนในพุทธศาสนา นิกายเถรวาทหรือหินยาน มีการจารึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ด้วยตัวอักษรหรือภาษาเขียนแบบโบราณ จึงจัดเป็นช่วง "ยุคหรือสมัยประวัติศาสตร์" ตอนต้น รวมทั้งมีการวางผังเมืองอย่างเป็นระบบ โดยขุดคูน้ำและสร้างคันดินล้อมรอบเมือง เพื่อใช้เป็นแหล่งเก็บกักน้ำในฤดูแล้งและใช้เป็นแนวป้องกันน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก ชุมชนโบราณสำคัญที่มีลักษณะผังเมืองดังกล่าวนี้ เช่น เมืองโบราณที่มีคูน้ำ-คันดินในเขตอำเภอราษีไศล, เมืองโบราณโคกขัณฑ์(???????)ซึ่งเป็นที่ตั้งตัวอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน

ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-17(ประมาณ 1,300 - 900 ปีมาแล้ว) ก็มีชุมชนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับกระแสวัฒนธรรมแบบขอมโบราณตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตตอนกลางและตอนล่างของพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่นับถือเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 13-16) และพุทธศาสนา นิกายมหายาน (ช่วงพุทธศตวรรษที่ 17) โดยปรากฏเป็นชุมชนขนาดน้อยใหญ่กระจัดกระจายอยู่หลายแห่ง หลายชุมชมมีการก่อสร้างศาสนสถานซึ่งเป็นที่รู้จักกันในปัจจุบันคือปราสาทหินโบราณ เช่น ปราสาทหินสระกำแพงใหญ่ ปราสาทหินสระกำแพงน้อย ใน เขตอำเภออุทุมพรพิสัย , ปราสาทบ้านปราสาท อำเภอห้วยทับทัน , ปราสาทกู่สมบูรณ์ อำเภอบึงบูรพ์, ปราสาททามจาน(หรือปราสาทบ้านสมอ), ปราสาทปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่, ปราสาทตาเล็ง อำเภอขุขันธ์, ปราสาทเยอ อำเภอไพรบึง, ปราสาทภูฝ้าย ปราสาทพระวิหารและพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์บริเวณพะลานหินเขตผามออีแดง ปราสาทโดนตวล อำเภอกันทรลักษ์, ปราสาทหนองปราสาท ปราสาทตำหนักไทร อำเภอขุนหาญ เป็นต้น โบราณสถานที่เรียกว่าปราสาทหินแบบศิลปะขอมที่พบเป็นจำนวนมากในจังหวัดศรีสะเกษ ส่งผลให้จังหวัดศรีสะเกษได้รับสมญานามว่า "เมืองปรางค์ร้อยกู่" หรือ "นครร้อยปราสาท"

การสร้างบ้านแปงเมืองซึ่งเป็นต้นเค้าของการพัฒนามาเป็นจังหวัดศรีสะเกษ ได้ปรากฏชัดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2232 ในระยะนั้น เดิมเมืองขุขันธ์ หรือพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษปัจจุบัน มีกลุ่มชนเผ่าที่ถูกราชสำนักกรุงเทพ เรียกว่า เขมรป่าดง จำนวน 6 กลุ่ม อาศัยอยู่กันมานานแล้วและได้ตั้งเป็นชุมชน ต่างๆ ดังนี้

ชุมชนชาวเขมรป่าดงดังกล่าวได้อยู่อาศัยเรื่อยมาจนล่วงเข้าสู่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ใน พ.ศ. 2302 รัชกาลสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์(หรือพระที่นั่งสุริยามรินทร์)พญาช้างเผือกมงคลในราชสำนักแตกโรงมาจากจากกรุงศรีอยุธยา หนีเข้าป่าไปรวมอยู่กับโขลงช้างป่าในเทือกเขาพนมดงรัก ตากะจะหรือตาไกรและเชียงขัน พร้อมด้วยหัวหน้าชนเผ่าเขมรป่าดงได้รับอาสาตามจับพญาช้างเผือกได้แล้วนำส่งถึงกรุงศรีอยุธยา ด้วยความชอบในครั้งนี้จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานบรรดาศักดิ์ให้ "ตากะจะ" หรือ "ตาไกร" เป็น "หลวงแก้วสุวรรณ" ตำแหน่งหัวหน้านายกอง ปกครองหมู่บ้าน โดยโปรดให้ยก บ้านปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวนขึ้นเป็น เมือง "ขุขันธ์" ซึ่งอยู่ที่บริเวณใกล้ปราสาทกุด หรือปราสาทสี่เหลี่ยมโคกลำดวน วัดเจ็ก อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน จนล่วงปีพุทธศักราช 2306 หลวงแก้วสุวรรณนำเครื่องบรรณาการถวายพระเจ้าอยู่หัว ณ กรุงศรีอยุธยา ความชอบครั้งนี้ได้โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์ให้หลวงแก้วสุวรรณ เป็นพระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน ตำแหน่ง "เจ้าเมือง"ขุขันธ์คนแรก

ลุถึงสมัยกรุงธนบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2319 – พ.ศ. 2321 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี(พระเจ้าตากสิน) โปรดเกล้าฯ มีรับสั่งให้ พระยาจักรี (ทองด้วง) ไปทำศึกปราบกบฏกับเวียงจันทน์ พระไกรภักดีศรีนครลำดวน (ตากะจะ) และ ”หลวงปราบ” ได้เกณฑ์กำลังไปช่วยรบอย่างเข้มแข็งจนได้รับชัยชนะทุกครั้ง ถือว่ามีความดีความชอบจึงได้โปรดเกล้าฯ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น “พระยาไกรภักดีศรีนครลำดวน“

พ.ศ. 2325 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้แยกบ้านโนนสามขาสระกำแพงออกจากเมืองขุขันธ์ แล้วตั้งเป็นเมืองใหม่คือ เมืองศรีสะเกษ

พ.ศ. 2354 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมืองขุขันธ์ ขอพระราชทานพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ยกบ้านลังเสนเป็น เมืองกันทรลักษณ์ แล้วย้ายเมืองกันทรลักษณ์มาอยู่ที่บ้านลาวเดิม และยกบ้านแบบเป็น เมืองอุทุมพรพิสัย แล้วย้ายไปอยู่ที่บ้านปรือ

พ.ศ. 2386 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งบ้านลำโดมใหญ่ เป็น เมืองเดชอุดม ขึ้นกับเมืองขุขันธ์

พ.ศ. 2388 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งบ้านไพรตระหมักและบ้านตาสี เป็น เมืองมโนไพร ขึ้นกับเมืองขุขันธ์ (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศกัมพูชาเรียกเมืองมะลูเปรย)

พ.ศ. 2418 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มืองหนองคายเกิดกบฏโดยกลุ่มฮ่อ โปรดเกล้าฯ ให้แม่ทัพคุมกองทัพจากนครราชสีมา และกองทัพจากเมืองต่างๆ รวมทั้ง เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม และเมืองศรีสะเกษ ไปปราบกบฏฮ่อที่หนองคาย สามารถตีกลุ่มกบฏฮ่อแตกพ่ายยับเยิน ที่เหลือก็ถูกจับเป็นเชลยทั้งหมด

พ.ศ. 2424 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ เริ่มใช้นโยบายเลิกทาส มีสารตรา ไปยังหัวเมืองด้านตะวันออก ห้ามมิให้จับข่า ( กวย หรือส่วย ) มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนและใช้สอยการงานต่าง ๆ และส่วนผู้ใดได้ซื้อหามาจากผู้ใดอยู่ก่อนนั้น ก็ให้อยู่กับผู้นั้นต่อไป เพราะถ้าจะให้ข้าทาสนั้นหลุดพ้นค่าตัวไปก็จะเป็นเหตุเดือดร้อนแก่มูลนาย ผู้ซื้อและแลกเปลี่ยนมาก่อนนั้น

พ.ศ. 2424 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งบ้านโนนหินกอง เป็น เมืองราษีไศล ขึ้นกับเมืองศรีสะเกษ

พ.ศ. 2424 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้วางโครงข่ายระบบโทรเลขจากเมืองขุขันธ์ไปยังเมืองต่างๆ 2 สายคือ สร้างทางสายโทรเลขขุขันธ์-จำปาศักดิ์ และสร้างทางสายโทรเลขจากเมืองขุขันธ์-มโนไพร-เมืองเสียมราฐ

พ.ศ. 2434 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรเป็นข้าหลวงใหญ่ พร้อมด้วยข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือนออกไปตั้งอยู่ ณ เมืองนครจำปาศักดิ์ กองหนึ่งให้เรียกว่า ข้าหลวงหัวเมืองลาวกาว ให้เมืองนครจำปาศักดิ์ เมืองเชียงแตง เมืองแสนปาง เมืองสีทันดร เมืองสาลวัน เมืองอัตปือ เมืองคำทองใหญ่ เมืองสุรินทร์ เมืองสังฆะ เมืองขุขันธ์ เมืองเดชอุดม เมืองศีร์ษะเกษ เมืองอุบล เมืองยโสธร เมืองเขมราฐ เมืองกมลาไสย เมืองสุวรรณภูมิ เมืองกาฬสินธุ์ เมืองภูแล่นช้าง เมืองร้อยเอ็ด เมืองมหาสารคาม เมืองใหญ่ 21 เมือง เมืองขึ้น 43 เมือง อยู่ในบังคับบัญชาข้าหลวงเมืองลาวกาว

พ.ศ. 2435 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดรูปการปกครองแบบมณทล ขึ้น โดยให้เมืองศรีสะเกษขึ้นอยู่กับมณฑลอีสาน

พ.ศ. 2436 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฝรั่งเศสได้ยกทัพขึ้นทางเมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร และเมืองสมโบก ซึ่งสมันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากรในฐานะผู้สำเร็จราชการข้าหลวงใหญ่มณฑลอีสานได้รับหน้าที่ผู้อำนวยการป้องกันราชอาณาจักร ให้เกณฑ์กำลังหัวเมืองสุรินทร์ เมืองศรีสะเกษ เมืองขุขันธ์ เมืองมหาสารคาม และเมืองร้อยเอ็ด เมืองละ 800 เมืองสุวรรณภูมิ และเมืองยโสธร เมืองละ 500 ฝึกการรบแล้วส่งกำลังรบเหล่านี้เข้าตรึงการรุกรานของฝรั่งเศสทุกจุด สถานการณ์สงครามสงบลงในเดือนตุลาคม พุทธศักราช 2436 ต่างฝ่ายต่างถอนกำลังรบ กำลังรบของเมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ จึงได้กลับคืนบ้านเมือง อาจกล่าวได้ว่านับแต่ได้สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อเกิดศึกสงครามจากข้าศึกนอกราชอาณาจักร ชาวขุขันธ์และชาวศรีสะเกษจะมีบทบาทในการป้องกันบ้านเมืองด้วยเสมอ

ในระยะเวลาดังกล่าวนี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อจัดการปกครองภายในหัวเมืองตะวันออกเฉียงเหนือให้เป็นระเบียบแบบแผนยิ่งขึ้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เป็นข้าหลวงใหญ่ประจำหัวเมืองลาวกาวและเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า มณฑลลาวกาว สืบแทนพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงพิชิตปรีชากร

พ.ศ. 2436 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้พระศรีพิทักษ์ (หว่าง )ป็นข้าหลวงเมืองขุขันธ์ โดยรวมเมืองขุขันธ์ เมืองสุรินทร์และเมืองสังขะ เป็นบริเวณเดียวกัน ตั้งที่ทำการข้าหลวง ณ เมืองขุขันธ์

พ.ศ. 2445 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เปลี่ยนชื่อ มณฑลอีสาน เป็น มณฑลอุบล มีเมือง 3 เมืองขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของมณฑลอุบล คือ เมืองอุบลราชธานี เมืองขุขันธ์ และเมืองสุรินทร์

พ.ศ. 2447 ย้ายที่ตั้งเมืองขุขันธ์(ซึ่งอยู่ที่บ้านแตระ ตำบลห้วยเหนือ อำเภอขุขันธ์ในปัจจุบัน) มาอยู่ที่ตำบลเมืองเก่า(ปัจจุบันคือตำบลเมืองเหนือในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษในปัจจุบัน) และยังคงใช้ชื่อ "เมืองขุขันธ์" ยุบเมืองขุขันธ์เดิมเป็นอำเภอห้วยเหนือ(ที่ตั้งอำเภอขุขันธ์ในปัจจุบันนี้)

ครั้น พ.ศ. 2455 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้รวมบ้านเมืองขุขันธ์ เมืองศรีสะเกษ และเมืองเดชอุดม เข้าเป็นเมืองเดียวกัน เรียก "เมืองขุขันธ์"

(อดีตปลัดเมืองขุขันธ์ ผู้กราบบังคมทูลขอแยกมาตั้งเมืองศรีสะเกษ บริเวณบ้านโนนสามขาสระกำแพง เมื่อ พ.ศ. 2325)

(รัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช-รัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว)

พ.ศ. 2459 มี "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนคำว่าเมืองเรียกว่าจังหวัด ลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2459" ให้เรียกเมืองขุขันธ์ใหม่เป็น "จังหวัดขุขันธ์"

เขตการปกครองของจังหวัดขุขันธ์ในอดีตมี 7 อำเภอ 1 กิ่งอำเภอ ซึ่งรายชื่อดังต่อไปนี้สะกดชื่อตามราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2460 ได้แก่

วันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ตรา "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัดและอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช 2481" มาตรา 3 ให้เปลี่ยนชื่อ "จังหวัดขุขันธ์" เป็น จังหวัดศรีสะเกษ โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน ปีนั้น

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ประกอบด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด 1 แห่ง เทศบาลเมือง 2 แห่ง เทศบาลตำบล 34 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 192 แห่ง

จังหวัดศรีสะเกษนั้น ตอนใต้มีทิวเขาพนมดงรักซึ่งทอดตัวในแนวตะวันออก-ตะวันตกเป็นเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา ยาว 127 กิโลเมตร ยอดเขาสูงสุดในจังหวัดชื่อ "พนมตาเมือน" สูง 673 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โดยตั้งอยู่ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ จากเขาพนมตาเมือนนี้ พื้นที่ค่อย ๆ ลาดต่ำลงไปทางเหนือเข้าสู่ที่ราบลุ่มแม่น้ำมูล

ภูมิประเทศส่วนใหญ่ซึ่งอยู่ทางตอนกลางและตอนเหนือของจังหวัดมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มลอนลาด มีระดับความสูงระหว่าง 150-200 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง มีลำน้ำหลายสายไหลผ่านพื้นที่ราบนี้ลงไปยังแม่น้ำมูล ลำน้ำสายสำคัญได้แก่ ห้วยทับทัน ห้วยสำราญ และห้วยขะยุง

ทางตอนเหนือของจังหวัดมีแม่น้ำมูลไหลผ่านเขตอำเภอศิลาลาด,อำเภอราษีไศล,อำเภอเมืองศรีสะเกษ,อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอกันทรารมย์ เป็นระยะทางยาวประมาณ 120 กิโลมเตร บริเวณนี้ถือเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัด เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่อันอยู่สูงจากระดับทะเลปานกลางประมาณ 115-130 เมตร

ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นที่ราบขนาดใหญ่มีพื้นที่ประมาณ 2 ล้านไร่ อยู่ในเขตจังหวัดสุรินทร์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดศรีสะเกษ และจังหวัดร้อยเอ็ด การที่ได้ชื่อว่าทุ่งกุลาร้องไห้ มีเรื่องเล่าสืบกันมาว่า ชนเผ่ากุลาซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยจากเมืองเมาะตะมะ ประเทศพม่า ได้เดินทางมาค้าขายผ่านทุ่งแห่งนี้ ต้องใช้เวลาเดินทางหลายวัน ไม่พบหมู่บ้านใด ๆ เลย น้ำก็ไม่มีดื่ม ต้นไม้ก็ไม่มีที่จะให้ร่มเงา มีแต่ทุ่งหญ้าเต็มไปหมด พื้นดินเป็นทราย เดินทางยากลำบากเหมือนอยู่กลางทะเลทราย ทำให้คนพวกนี้ถึงกับร้องไห้

ในอดีตทุ่งกุลาร้องไห้ในฤดูแล้ง พื้นที่ส่วนใหญ่จะแห้งแล้งมาก ส่วนในฤดูฝนน้ำจะท่วมทุกปี ใต้พื้นดินลงไปเป็นน้ำเค็ม ไม่สามารถทำการเกษตรได้ หลังจากที่ได้มีการพัฒนาที่ดินแล้ว ทุ่งกุลาร้องไห้ได้กลายเป็นแหล่งผลิตข้าวหอมมะลิที่สำคัญของประเทศ และกลายเป็นอู่ข้าวอู่น้ำที่มีชื่อเสียงของไทย

เป็นพื้นที่ภูเขาไฟเก่า จัดเป็นดินร่วนปนทราย มีสีแดงจึงเรียกว่า ดงดินแดง] หรือ ภูดินแดงซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์สูง สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญได้ เขตภูดินแดงเป็นแนวภูเขาไฟเก่าที่มีพื้นที่กว้างขวาง อยู่ลึกเข้ามาจากแนวเทือกเขาพนมดงรัก ชายเขตแดนไทยกับกัมพูชา เป็นรอยต่อของอำเภอเบญจลักษณ์ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอศรีรัตนะ อำเภอขุนหาญและอำเภอกันทรลักษณ์ เขตนี้จึงเป็นย่านที่ปลูกพืชสวนสำคัญๆ ได้ผลดี เช่น เงาะ ทุเรียน ยางพารา ฯลฯ

ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไปของจังหวัดศรีสะเกษ มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อนและค่อนข้างหนาวจัดในฤดูหนาว ส่วนฤดูฝนจะมีฝนตกหนักในเดือนกันยายน โดยมักจะตกหนักในพื้นที่ตอนกลางและตอนใต้ของจังหวัด ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัดจะมีปริมารฝนตกน้อย และไม่ค่อยสม่ำเสมอ โดยเฉลี่ยแล้วในปีหนึ่ง ๆ จะมีฝนตก 100 วัน ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,200-1,400 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส สูงสุดประมาณ 40 องศาเซลเซียส เฉลี่ยประมาณ 26-28 องศาเซลเซียส

ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยร้อยละ 66-73 ในเดือนกุมภาพันธ์มีปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 62.24 และปริมาณความชื้นสัมพัทธ์จะเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภาคมเป็นร้อยละ 71.95 ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งปริมาณความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดวัดได้ในเดือนสิงหาคมที่ร้อยละ 78.16 เนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน หลังจากนั้นปริมาณความชื้นสัมพัทธ์จะลดลงช่วงสิ้นสุดฤดูฝนในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม โดยมีปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 73.80, 68.67 และ 66.45 ตามลำดับ เนื่องจากเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูหนาว

ค่าศักย์การคายระเหยน้ำในจังหวัดศรีสะเกษจะแปรผันไปตามฤดูกาล กล่าวคือในเดือนมกราคม มีค่าศักย์การคายระเหยน้ำ 117.89 มิลลิเมตร ค่าศักย์การคายระเหยน้ำจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ในเดือนมีนาคมมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำอยู่ที่ 146.30 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นค่าสูงสุด และในเดือนเมษายนมีค่าศักย์การคายระเหยน้ำอยู่ที่ 142.23 มิลลิเมตร หลังจากนั้นค่าศักย์การคายระเหยน้ำได้ลดต่ำลงในเดือนพฤษภาคมเนื่องจากเข้าสู่ฤดูฝน โดยมีค่า 122.65 มิลลิเมตร ค่าศักย์การระเหยน้ำต่ำสุดอยู่ในเดือนกันยายนซึ่งมีค่า 85.93 มิลลิเมตร จากนั้นค่าจะเพิ่มปริมาณขึ้นเมื่อสิ้นสุดฤดูฝนในเดือนตุลาคมถึงธันวาคม

พื้นที่ตอนใต้ของจังหวัดในเขต อำเภอภูสิงห์ อำเภอขุนหาญ และ อำเภอกันทรลักษ์ อันเป็นแนวเทือกเขาพนมดงรัก ตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นอาณาบริเวณที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์และมีธรรมชาติอันเป็นระบบนิเวศที่เหมาะสมอยู่อาศัยของสัตว์ป่าหลายชนิด สัตว์ป่าจำนวนมากในพื้นที่นี้จัดเป็นสัตว์ป่าหายากที่ใกล้สูญพันธุ์ เช่น กูปรี หรือโคไพร หรือ วัวป่า ซึ่งมีรายงานว่ามีปริมาณหลงเหลืออยู่น้อยมาก ด้วยเหตุนี้ ทางราชการจึงได้ประกาศจัดตั้งเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษและพื้นที่รอยต่อกับจังหวัดใกล้เคียง(สุรินทร์-อุบลราชธานี) ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม

ลักษณะป่าไม้ของจังหวัดศรีสะเกษ ส่วนใหญ่เป็นป่าโปร่ง ประกอบด้วยป่ายาง ไม้เต็ง ไม้ประดู่ ไม้แดง ไม้กระบาก และไม้เบญจพรรณ จังหวัดศรีสะเกษมีพื้นที่ป่าไม้แยกเป็นป่าอนุรักษ์ (3 แห่ง 472,075 ไร่) ป่าสงวน (4 ป่า 92,042 ไร่) ป่าชุมชน (อยู่ในเขตป่าสงวน 25,621 ไร่, ป่าไม้ 1,845 ไร่, ป่าสาธารณประโยชน์ 7,094 ไร่) ป่าเศรษฐกิจ (Zone E: 825,246 ไร่) พื้นที่ป่าไม้ที่สมบูรณ์ร้อยละ 11.67 ของพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

โครงสร้างทางธรณีวิทยา ตลอดจนลักษณะทางธรณีสัณฐานและปฐพีสัณฐาน พบว่าในเขตพื้นที่สูงทางตอนใต้ของจังหวัดได้แก่แนวพรมแดนไทย-กัมพูชา บริเวณอำเภอกันทรลักษ์และอำเภอขุนหาญ เป็นแหล่งกำเนิดแร่ธาตุอันเป็นทรัพยากรธรณีที่มีศักยภาพเชิงอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจหลายชนิด ผลการสำรวจทางธรณีวิทยาพบว่าในพื้นที่อำเภอดังกล่าวของจังหวัดศรีสะเกษเป็นแหล่งแร่ธาตุและทรัพยากรธรณีชนิดต่างๆ ที่สำคัญ ประกอบด้วยหินอุตสาหกรรมชนิดหินปูนเพื่อการก่อสร้าง และรัตนชาติที่สำคัญได้แก่พลอยสีแดงหรือสีดอกตะแบก, โกเมน, แซฟไฟร์, ทับทิม และเพทาย ตลอดจนพลอยอื่นๆ เช่น พลอยน้ำค้างและโอลิวีน แหล่งแร่พลอยที่สำคัญได้แก่พื้นที่บ้านด่าน อำเภอกันทรลักษ์ และพื้นที่เชิงเขาพนมดงรักในเขตอำเภอขุนหาญ ซึ่งเป็นแหล่งแร่รัตนชาติขนาดใหญ่ที่กรมทรัพยากรธรณียังไม่ได้เปิดสัมปทานให้มีการดำเนินการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจ

ส่วนพื้นที่ทางตอนเหนือของจังหวัด เป็นแหล่งทรายและกรวดแม่น้ำเพื่ออุตสาหกรรมการก่อสร้างในจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดใกล้เคียง โดยแหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่พื้นที่ฝั่งแม่น้ำมูลในหลายอำเภอ เช่น อำเภอศิลาลาด อำเภอราษีไศล อำเภอเมืองศรีสะเกษ อำเภอยางชุมน้อย และอำเภอกันทรารมย์ นอกจากนั้น พื้นที่ทางตอนเหนือยังเป็นแหล่งแร่เกลือหินและโพแทซ ซึ่งมีปริมาณสำรองเพียงพอและมีศักยภาพเชิงเศรษฐกิจ แร่ดังกล่าวพบมากในเขตอำเภอศิลาลาด อำเภอราษีไศล อำเภอยางชุมน้อย และบางส่วนของอำเภอบึงบูรพ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ และอำเภอกันทรารมย์

นอกเหนือจากแร่ข้างต้นแล้ว หลายพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ ทั้งตอนเหนือ ตอนกลางและตอนใต้ ยังเป็นแหล่งแร่ศิลาแลงหรือดินแลงและแร่ดินเหนียว ซึ่งมีปริมาณสำรองและศักยภาพเหมาะสมสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างรวมทั้งอุตสาหกรรมประเภทอื่นๆ เช่น อุตสาหกรรมอิฐและดินเผา แหล่งแร่ที่สำคัญครอบคลุมพื้นที่อำเภอโพธิ์ศรีสุวรรณ อำเภอบึงบูรพ์ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอศรีรัตนะ อำเภอขุนหาญ และอำเภอกันทรลักษ์

ในจังหวัดศรีสะเกษ มีชุมชนหลายกลุ่มตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ร่วมกัน ทั้งนี้เป็นผลมาจากการอพยพย้ายครัวเข้ามาของคนในกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ตั้งแต่ในอดีต ปัจจุบันยังคงปรากฏลักษณะเฉพาะทางกายภาพและวัฒนธรรมของกลุ่มคนเหล่านั้นอยู่ กลุ่มคนดังกล่าวได้แก่ ชาวลาว ชาวเขมร ชาวกูย (หรือส่วยหรือกวย) และเยอ

โครงสร้างหลักทางเศรษฐกิจของจังหวัดศรีสะเกษ 3 อันดับแรกขึ้นอยู่กับภาคการเกษตร ภาคการขายส่งขายปลีก และภาคการศึกษา เป็นสำคัญ โดยในปี พ.ศ. 2553 มีสัดส่วนต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) เป็น 12,622 ล้านบาท, 12,525 ล้านบาท และ 8,731 ล้านบาท ตามลำดับ ผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งสิ้นเพิ่มขึ้นเป็น 55,643 ล้านบาท ประชากรมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 36,142 บาท/คน/ปี

ภาวะเศรษฐกิจของจังหวัดศรีสะเกษมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตรกรรม สภาพเศรษฐกิจส่วนใหญ่จึงขึ้นอยู่กับปริมาณและระดับราคาของพืชผลทางการเกษตรในแต่ละปี อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นมาภาคการเกษตรมีผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผลไม้เริ่มมีผลผลิตออกสู่ท้องตลาดด้วยราคาผลผลิตพืชเศรษฐกิจหลักปรับตัวลดลง ขณะที่ด้านการผลิตภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน ด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคของประชาชนขยายตัวเล็กน้อยตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล การลงทุนภาคเอกชนหดตัว เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ด้านการลงทุนภาคอุตสาหกรรม มีจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม 423 โรงงาน ทุนจดทะเบียนจำนวน 3,294.687 ล้านบาท

ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น (OTOP) จังหวัดศรีสะเกษมีรายได้จากการจำหน่ายสินค้า OTOP ปีละประมาณ 1,356.798 ล้านบาท ในด้านภาคการค้าชายแดน จังหวัดศรีสะเกษมีอาณาเขตติดต่อกับประเทศกัมพูชา และมีจุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นจุดผ่านแดนถาวรที่เป็นเส้นทางสำคัญในการท่องเที่ยว การค้า การลงทุน ทั้งนี้ สถานการณ์การค้าชายแดนบริเวณจุดผ่านแดนถาวรช่องสะงำ นับตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน มีมูลค่าการค้าในแต่ละปีเพิ่มสูงมาก โดยในปี 2544 มีมูลค่ารวม 48.107 ล้านบาท และในปี พ.ศ. 2552 มีมูลค่ารวม 1,090.681 ล้านบาท (มูลค่าการส่งออก 905.638 ล้านบาท มูลค่าการนำเข้า 185.044 ล้านบาท)

นอกจากนั้น สามารถเดินทางจากตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษไปยังอำเภอต่างๆภายในจังหวัดและไปยังตัวเมืองของจังหวัดใกล้เคียง โดยทางรถยนต์ด้วยระยะทาง ดังนี้

จังหวัดศรีสะเกษ มีสถานศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 1,032 แห่ง แบ่งเป็นสถานศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 972 แห่ง (สพฐ. 914 แห่ง, เอกชน 28 แห่ง, อาชีวศึกษา 6 แห่ง, กศน. 22 แห่ง, สกอ. 2 แห่ง) และสถานศึกษานอกสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 53 แห่ง (สธ 1 แห่ง, อปท. 39 แห่ง, ตชด. 1 แห่ง, พศ. 10 แห่ง, สพล. 2 แห่ง)

บริเวณที่ตั้งของจังหวัดนี้เคยเป็นอู่วัฒนธรรมโบราณ มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ตอนปลาย จนเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ได้แก่วัฒนธรรมทวารวดี,อาณาจักรขอมหรือเขมรโบราณ,ล้านช้าง, อยุธยา และ รัตนโกสินทร์ ตามลำดับ เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านหลุบโมก ตำบลเมืองคง อำเภอราษีไศล พบร่องรอยเมืองโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบสองชั้น ภายในเมืองมีซากโบราณสถานและใบเสมาอันแสดงถึงร่องรอยการนับถือพุทธศาสนา นอกจากนี้ยังพบปราสาทและปรางค์กู่อีกหลายแห่ง โดยเป็นศิลปะเขมรราวพุทธศตวรรษที่ 13-17 รวมทั้งชุมชนเขมรโบราณ เช่น แหล่งโบราณคดีในเขตปราสาทสระกำแพงใหญ่ ซึ่งอยู่รอบๆบารายหรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่ประจำชุมชนเขมรโบราณใน อำเภออุทุมพรพิสัย, แหล่งโบราณคดีบ้านหัวช้าง อำเภอไพรบึง ซึ่งพบชิ้นส่วนภาชนะดินเผาชนิดเนื้อแกร่ง ตกแต่งผิวด้วยการเคลือบสีน้ำตาล ตลอดจนสิ่งของเครื่องใช้ที่ทำด้วยโลหะ

โบราณสถานที่มีความสำคัญทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ซึ่งกรมศิลปากร ได้ดำเนินการสำรวจและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ ได้แก่

จังหวัดศรีสะเกษ มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่งที่มีลักษณะทางธรรมชาติโดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ในทางธรณีวิทยา ตลอดจนแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมจำนวนมาก อาทิ

ในช่วงเดือนมีนาคมของแต่ละปี ดอกลำดวนซึ่งเป็นพันธุ์ไม้มงคลพระราชทานและเป็นต้นไม้/ดอกไม้ประจำจังหวัดศรีสะเกษ มีขึ้นอยู่ตามธรรมชาติโดยทั่วไปโดยเฉพาะในสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ อันเป็นสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์แห่งแรกของประเทศไทย ที่มีต้นลำดวนมากกว่า 50,000 ต้น ได้ออกดอกบานสะพรั่ง สิ่งกลิ่นหอมอบอวลไปทั่วทั้งเมือง เปรียบเสมือนเมืองในเทพนิยาย

จังหวัดศรีสะเกษได้ร่วมกับมูลนิธิสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์, การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และส่วนราชการทุกหน่วยงานภายในจังหวัดศรีสะเกษ กำหนดจัดงาน เทศกาลดอกลำดวนบาน สืบสานประเพณีสี่เผ่าไทศรีสะเกษ ขึ้น ณ บริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ ในช่วงเดือนมีนาคม ของทุกปี

ความโดดเด่นของเทศกาลคือการแสดงประกอบแสง สี เสียง ชุด ศรีพฤทเธศวร ซึ่งเป็นการแสดงที่ย้อนยุคบอกเล่าตำนานของการสร้างเมืองศรีสะเกษ หรือ เมืองศรีนครลำดวน ในอดีต นับเป็นการแสดงละครกลางแจ้งที่สมบูรณ์แบบที่สุดรายการหนึ่งของประเทศไทย ประกอบด้วยนักแสดงจำนวนกว่า 1,000 คน และชุดการแสดงหลายรายการ โดยเฉพาะ ระบำศรีพฤทเธศวร ซึ่งเป็นการแสดงนาฏยศิลป์ที่ได้รับการออกแบบโดยกรมศิลปากร นอกจากนั้น ยังมีการแสดงดนตรี การฟ้อนรำ และศิลปะพื้นบ้านของชน 4 เผ่าไทยศรีสะเกษ ได้แก่ ลาว กูย เยอ และ เขมร ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมที่ต้งถิ่นฐานอยู่ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ และระหว่างชมการแสดงนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสกับรสชาติอาหารพื้นเมืองในบรรยากาศการรับประทานอาหารแบบ พาข้าวแลง หรือการรับประทานอาหารมื้อค่ำ ท่ามกลางกลิ่นหอมของดอกลำดวน

จังหวัดศรีสะเกษ ถือเป็นแผ่นดินทองแห่งอีสานใต้ เนื่องจากมีสภาพดินที่อุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะเขตที่ราบลุ่มน้ำมูลและเขตที่ราบลุ่มตอนกลางของจังหวัดในบริเวณที่เรียกว่า ดงภูดินแดง ที่มีลักษณะดินป็นดินร่วนปนทราย สีแดง(จึงเรียกว่า ดงดินแดง หรือ ภูดินแดง )มีความอุดมสมบูรณ์สูง สามารถปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญได้ ภูดินแดงเป็นภูเขาไฟเก่าที่มีพื้นที่กว้างขวาง อยู่ลึกเข้ามาจากแนวเทือกเขาพนมดงรัก ชายเขตแดนไทยกับกัมพูชา เป็นรอยต่อของอำเภอเบญจลักษณ์ อำเภอน้ำเกลี้ยง อำเภอศรีรัตนะ อำเภอขุนหาญและอำเภอกันทรลักษณ์ เขตนี้จึงเป็นย่านที่ปลูกพืชสวนสำคัญๆ ได้ผลดี เช่น เงาะ ทุเรียน มังคุด ลองกอง มะยงชิด สะตอ ยางพารา ลำไย ลิ้นจี่ มะปรางหวาน กระท้อน ส้มโอ มะม่วง โดยเฉพาะ การผลิตเงาะและทุเรียน จังหวัดศรีสะเกษถือเป็นแห่งผลิตแห่งแรก และเป็นแหล่งใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีพื้นที่ปลูกกว่า 7,000 ไร่ เงาะที่ผลิตเป็นพันธุ์เงาะโรงเรียน ส่วนทุเรียนเป็นพันธุ์หมอนทอง พันธุ์ชะนี จึงเป็นแหล่งพืชสวนและผลไม้อันเป็นผลิตผลทางการเกษตรเพื่อการส่งออกแหล่งใหญ่ที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย นอกจากนั้น ยังมีพืชผลอื่นๆ ที่ออกผลตลอดทั้งปี

ดังนั้น ในเดือนมิถุนายนของทุกปี จังหวัดศรีสะเกษจึงกำหนดเป็นช่วงเทศกาล เงาะ ทุเรียน และของดีศรีสะเกษ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของจังหวัด รวมทั้งการเผยแพร่ชื่อเสียงของผลไม้และพืชผลทางการเกษตรจากศรีสะเกษ มีขบวนรถบุปผาชาติประดับด้วยผลไม้ กิจกรรมคาราวานการท่องเที่ยวชมสวนและชิมผลไม้ไปตามสวนในพื้นที่เพาะปลูกสำคัญ เช่น ในเขตอำเภอกันทรลักษ์และอำเภอขุนหาญ รวมทั้งการจำหน่ายผลไม้และพืชผลทางการเกษตรคุณภาพดี ราคาย่อมเยาว์

จัดขึ้นในวันอาทิตย์ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือนสิงหาคมทุกปี บนเส้นทางขึ้นสู่ผามออีแดง เขตอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ระหว่างหมู่บ้านภูมิซรอล-ผามออีแดง เนื่องจากเป็นเส้นทางขึ้นเขาสู่ชายแดนที่ต้องวิ่งฝ่าสายหมอกในช่วงปลายฤดูฝน จึงนับเป็นเส้นทางและรายการที่ท้าทาย เป็นสนามประลองกำลังที่นักกีฬาวิ่งมาราธอนจากทั่วประเทศให้ความสนใจมากที่สุดอีกรายการหนึ่ง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180