วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ (อังกฤษ: Mechatronics Engineering) เป็นสหวิทยาการเชิงประยุกต์ ที่นำวิชาพื้นฐานหลักว่าด้วย วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมการควบคุมอัตโนมัติ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ มาบูรณาการเข้าด้วยกันเพื่อการออกแบบและสร้างผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ เมื่อ เทคโนโลยี ก้าวหน้าขึ้น, สาขาย่อยของ วิศวกรรม ก็ขยายและพัฒนา จุดประสงค์ของแมคคาทรอนิกส์จึงเป็นกระบวนการออกแบบที่รวมเป็นหนึ่งเดียวของสาขาย่อยเหล่านี้ แต่เดิม แมคคาทรอนิกส์ได้รวมแค่แมคคานิกส์และอิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น ดังนั้นคำว่าแมคคาทรอนิกส์จึงเป็นคำผสมของ แมคคา และ ทรอนิกส์; อย่างไรก็ตาม เมื่อระบบด้านเทคนิคมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ คำ ๆ นี้จึงถูกขยายความให้รวมถึงพื้นที่ทางเทคนิคมากยิ่งขึ้น
คำว่า "แมคคาทรอนิกส์" มีจุดเริ่มต้นในภาษา Japanese-English และถูกริเริ่มโดยนาย Tetsuro Mori, วิศวกรจากบริษัท Yaskawa Electric Corporation คำนี้ถูกลงทะเบียนเป็น เครื่องหมายการค้า โดยบริษัทในญี่ปุ่นด้วยทะเบียนหมายเลข "46-32714" ในปี 1971 อย่างไรก็ตาม หลังจากนั้นบริษัทได้สละสิทธ์การใช้ในสาธารณะ คำนี้จึงขยายออกไปทั่วโลก ในปัจจุบันคำนี้ถูกแปลเป็นภาษาอื่นและได้รับการพิจารณาว่าเป็นคำสำคัญในอุตสาหกรรม
มาตรฐานของฝรั่งเศส NF E 01-010 ให้คำนิยามต่อไปนี้: “ดำเนินการในจุดประสงค์เพื่อบูรณาการอย่างเสริมประสานกันของทฤษฎีกลไก, อิเล็กทรอนิกส์, ควบคุม, และวิทยาการคอมพิวเตอร์ภายในการออกแบบและการผลิตผลิตภัณฑ์, เพื่อปรับปรุงและ/หรือให้ประโยชน์สูงสุดของหน้าที่การทำงานของมัน"
คนจำนวนมากปฏิบัติต่อ "แมคคาทรอนิกส์" เหมือนกับเป็นคำศัพท์เฉพาะที่ทันสมัยที่พ้องกับคำว่า "วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกล"
ตัวอย่างผลงานที่สร้างจากสาขาวิชานี้ได้แก่ “ระบบอัจฉริยะ” (Intelligent Systems) ซึ่งมีกลไกที่สามารถทำงานด้วยตัวเองโดยอัตโนมัติ ตามความต้องการที่กำหนดไว้ได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ ตัวอย่างของระบบที่มีระบบเมคคาทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบ เช่น หุ่นยนต์อุตสาหกรรม หุ่นยนต์กู้ภัย และอาคารอัจฉริยะ เป็นต้น
สำหรับในประเทศไทย สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน ได้เปิดสอนในหลักสูตรวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ ระดับปริญญาตรีเป็นแห่งแรก[ต้องการอ้างอิง] ส่วนมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ก็เปิดสอนเช่นกัน เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/วิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์