ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

วิทยุสมัครเล่น

วิทยุสมัครเล่น (อังกฤษ: Amateur radio หรือ Ham radio) คือ งานอดิเรกอย่างหนึ่งของผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารด้วยการส่งคลื่นวิทยุ มีกิจกรรมประกอบด้วย การศึกษาเชิงเทคนิคเกี่ยวกับวิทยุและการติดต่อสื่อสาร และการตั้งสถานีวิทยุคมนาคมเพื่อการศึกษา การทดลอง การให้ความช่วยเหลือระหว่างกัน การพักผ่อนหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักวิทยุสมัครเล่นด้วยกัน นักวิทยุสมัครเล่นมักเรียกตัวเองว่า ham

วันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2507 มีการก่อตั้งสมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Radio Amateur Society of Thailand (RAST)

โดยที่สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ "เพื่อเป็นสมาคมของนักวิทยุสมัครเล่นที่มิใช่เพื่อการค้า แต่รวมกันเพื่อส่งเสริมความสนใจเกี่ยวกับการทดลองวิทยุเพื่อความก้าวหน้าทางศิลปการวิทยุ และผดุงไว้ซึ่งชื่อเสียงของนักวิทยุสมัครเล่น ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นซึ่งกันและกันโดยไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง"

ต่อมามีการจัดตั้ง "ชมรมวิทยุอาสาสมัคร" ในปี พ.ศ. 2524 ขึ้น โดย พล.ต.ต.สุชาติ เผือกสกนธ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลขในขณะนั้น และได้มีการจัดให้มีการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 ซึ่งในครั้งนั้นมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานเป็น "VR" โดยเริ่มจาก VR001 ไปเรื่อยๆ ผู้ที่สอบได้จะเรียกตัวเองว่า นักวิทยุอาสาสมัคร

"กิจการวิทยุสมัครเล่น" ได้รับการรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายอย่างแท้จริงเมื่อ วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2530 จากการประกาศใช้ระเบียบคณะกรรมการประสานงานการจัดและบริหารความถี่วิทยุแห่งชาติ ว่าด้วยกิจการวิทยุสมัครเล่น พ.ศ. 2530 นับได้ว่าเป็นการเปิดโอกาสให้มีการติดต่อสื่อสารแบบ "นักวิทยุสมัครเล่น" อย่างแท้จริงขึ้นในประเทศไทย

การจัดตั้งสถานีวิทยุคมนาคม หลังจากที่ได้รับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นแล้ว นักวิทยุก็มีสิทธิที่จะขออนุญาตตั้งสถานีวิทยุได้ในเบื้องต้น 3 รูปแบบ คือ

ซึ่งสถานีทั้ง 3 รูปแบบต้องขออนุญาตจาก กสทช. เพื่อรับสัญญาณเรียกขานCallsign มาใช้ในการติดต่อสื่อสาร โดยแบ่งแยก เป็น

นักวิทยุสมัครเล่นติดต่อสื่อสารกันในหลายรูปแบบ โดยทั่วไปนิยมติดต่อสื่อสารกันด้วยเสียงพูด ซึ่งถ้าใช้การผสมคลื่นความถี่แบบ FM-Frequency Modulation จะได้คุณภาพของเสียงที่ดีมาก แต่หากต้องการติดต่อสื่อสารเป็นระยะทางไกลๆ โดยใช้แถบความถี่น้อยหรือมีแถบความถี่ค่อนข้างจำกัดก็จะใช้การผสมคลื่นแบบ Single Sideband (SSB) ได้ การติดต่อสื่อสารด้วยรหัสมอร์ส (Morse's code) ยังคงได้รับความนิยมอย่างมากสำหรับนักวิทยุสมัครเล่นทั่วโลก[ต้องการอ้างอิง] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในย่านความถี่สูง (HF-High Frequency) ซึ่งจากการทดลองก็พบว่าเป็นการติดต่อสื่อสารที่ดีมากหากเทียบอัตราส่วนระหว่างสัญญาณรบกวนและสัญญาณข้อมูล[ต้องการอ้างอิง]

การติดต่อด้วยรหัสมอร์สนั้นเป็นส่วนช่วยให้นักวิทยุสมัครเล่นที่อยู่คนละประเทศ พูดคนละภาษา แต่สามารถใช้รหัสมอร์สพูดคุยหรือสื่อสารกันได้ด้วยรูปแบบที่เป็นสากล และที่สำคัญเครื่องรับ-ส่ง CW นั้นสามารถสร้างได้ง่ายอีกด้วย สำหรับการติดต่อสื่อสารในปัจจุบันที่ทันสมัยของนักวิทยุสมัคเล่นโดยอาศัยคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็นส่วนเสริมให้การติดต่อสื่อสารแบบดิจิตอลได้รับความนิยมขึ้นเป็นอย่างมาก ซึ่งหากเป็นสมัยก่อนจะต้องใช้เครื่องมือมากมายในการติดต่อสื่อสารที่เป็นดิจิตอล ที่ผ่านมานักวิทยุสมัครเล่นเป็นผู้ริเริ่มนำระบบ Packet Radio เข้ามาใช้งาน ซึ่งต่อมาได้มีหลายๆ องค์กรนำไปพัฒนาและใช้งานให้เกิดประโยชน์มากมาย อีกทั้งนักวิทยุสมัครเล่นยังได้พัฒนาการติดต่อสื่อสารดิจิตอลอีกหลายรูปแบบ เช่น PSK31 ที่ใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารแบบทันทีและใช้กำลังส่งที่น้อยในความถี่คลื่นสั้น (HF) WSJT ซึ่งนิยมใช้สำหรับการติดต่อสื่อสารที่สัญญาณอ่อนมากๆ โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารสะท้อนพื้นผิวดวงจันทร์ การติดต่อสื่อสารด้วยภาพคล้ายการส่งสัญญาณโทรทัศน์นักวิทยุสมัครเล่นก็สามารถพัฒนาขึ้นมาใช้งานได้เช่นกัน

นักวิทยุสมัครเล่นจำนวนไม่น้อยชอบที่จะพูดคุยกับนักวิทยุสมัครเล่นคนอื่น ๆ บนความถี่วิทยุเป็นประจำ โดยคุยกันเป็นกลุ่มหลาย ๆ คน เรียกการจับกลุ่มคุยแบบนี้ว่า "Rag Chew" การคุยกันแบบนี้นับได้ว่ามีมาตั้งแต่เริ่มแรกของวิทยุสมัครเล่นเลยก็ว่าได้[ต้องการอ้างอิง]

เรื่องที่พูดคุยกันนั้นก็เป็นเรื่องทั่วๆ ไป หรือเรื่องราวเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น เช่น ความรู้สายอากาศ การซ่อมแซมอุปกรณ์ต่างๆ คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

นอกจากนี้ อีกกลุ่มหนึ่งที่มีการรวมตัวกันทำกิจกรรมเกี่ยวกับวิทยุสมัครเล่น คือ กลุ่มนักศึกษาในมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมตัวกันเป็นกลุ่มเรียกว่า "ชมรมนักวิทยุสมัครเล่น" ประจำสถาบันต่างๆ

โดยทั่วไปนักวิทยุสมัครเล่นมักนิยมแลกเปลี่ยนบัตรยืนยันการติดต่อ หรือ QSL card ระหว่างกัน เพื่อที่จดบันทึกการติดต่อสื่อสารครั้งนั้นไว้ ซึ่งรางวัลต่าง ๆ ในกิจการวิทยุสมัครเล่น หลายรางวัลจำเป็นต้องใช้บัตรยืนยันการติดต่อนี้เพื่อรับรางวัล นักวิทยุสมัครเล่นบางคนก็นิยมเก็บสะสม เพราะมีความสวยงาม นอกจากการยืนยันโดยบัตรยืนยันการติดต่อแล้ว ปัจจุบันมีการยืนยันแบบอิเล็กทรอนิกส์ เช่น Logbook of the World (LoTW) จัดทำโดยสมาคมวิทยุสมัครเล่นอเมริกา (ARRL) การยืนยันแบบนี้สามารถแลกรางวัล (ที่จัดโดยสมาคม) ได้เช่นกัน

นักวิทยุสมัครเล่นหลายคนก็นิยมติดต่อกับสถานีที่อยู่ไกลออกไปจากที่อยู่ของตนเอง เช่น ติดต่อกันผ่านความถี่ย่าน HF ซึ่งสามารถติดต่อระหว่างประเทศ ระหว่างทวีปได้ทั่วโลก หรือแม้กระทั่งพยายามใช้ความถี่ย่าน VHF สามารถติดต่อได้ไกลๆ โดยเทคนิคด้านการสื่อสารแบบต่าง เช่น การติดต่อสื่อสารโดยสะท้อนคลื่นวิทยุจากผิวพื้นดวงจันทร์ การติดต่อแบบสะท้อนฝนดาวตก เป็นต้น

มีหลายประเทศหรือหลายสถานที่ ที่มีนักวิทยุสมัครเล่นอยู่น้อยหรือไม่มีเลย ซึ่งเป็นที่ต้องการของนักวิทยุสมัครเล่นจากส่วนต่างๆ ของโลกที่ต้องการติดต่อกับสถานีวิทยุสมัครเล่นในสถานที่เหล่านี้ ซึ่งอาจมีการวมตัวกันเดินทางไปตั้งสถานีชั่วคราว เพื่อทำการติดต่อออกมาจากสถานที่เหล่านี้ ซึ่งการเดินทางไปเช่นนี้เรียกว่า DX-peditions ซึ่งถ้าเป็นการเดินทางไปยังสถานที่ที่ยากลำบากหรือมีความต้องการติดต่อกับสถานที่นั้นมาก จะสามารถติดต่อได้เป็นแสนสถานีจากทั่วทุกประเทศ ภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์

มีรางวัลสำหรับนักวิทยุสมัครเล่นที่สามารถติดต่อ (มักนิยมเรียกว่า "Work") กับสถานีวิทยุสมัครเล่นในส่วนต่างๆ ของโลก มากมายหลายรางวัล รางวัลที่เป็นที่นิยมได้แก่ รางวัล DX Century Club (DXCC) คือรางวัลที่ให้กับผู้ที่สามารถติดต่อและยืนยันด้วยบัตรยืนยันการติดต่อได้ 100 ประเทศขึ้นไป จากทั้งหมด 335 ประเทศ ซึ่งเป็นรางวัลที่นิยมมากที่สุด ถ้าใครได้รับรางวัลนี้ก็เป็นการพิสูจน์ว่าเป็นผู้มีทักษะและความพยายาม ในการใช้ความสามารถในการติดต่อได้หลายประเทศ นอกจากนี้ยังมี รางวัล Work All States สำหรับผู้ที่สามารถติดต่อครบทุกรัฐของสหรัฐอเมริกา รางวัล Work All Continents ให้กับผู้ที่สามารถติดต่อได้ครบ 6 ทวีปของโลก รางวัล Work All Zones มอบให้ผู้ที่ติดต่อได้ครบ Zone

การแข่งขัน หรือ Contesting หรือ Radiosport คือ กิจกรรมการแข่งขันของนักวิทยุสมัครเล่นที่จัดและดำเนินการโดยนักวิทยุสมัครเล่น ซึ่งในการแข่งขันนั้น สถานีวิทยุสมัครเล่น อาจออกอากาศด้วยนักวิทยุสมัครเล่นเพียงคนเดียวหรือรวมกลุ่มกัน เพื่อจะพยายามติดต่อสถานีวิทยุสมัครเล่นอื่นๆ ให้ได้มากที่สุดภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยในการติดต่อกันนั้นจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันด้วย ซึ่งกติกาการแข่งขันนั้นก็จะกำหนดความถี่ที่ใช้ในการติดต่อและข้อมูลที่ต้องแลกเปลี่ยนกันในแต่ละครั้ง ซึ่งการติดต่อแต่ละสถานีจะถูกคำนวณออกมาเป็นคะแนน ซึ่งจะนำมาจัดลำดับหลังจากจบการแข่งขัน การแข่งขันแต่ละรายการจะมีผู้สนับสนุนและกติกาแตกต่างกันออกไป ส่วนมากผลการแข่งขันจะประกาศในนิตยสารวิทยุสมัครเล่นที่เป็นที่รู้จักหรือตามเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยุสมัครเล่น นับวันจะมีจำนวนการแข่งขันเพิ่มขึ้น รวมทั้งนักวิทยุสมัครเล่นที่เข้าร่วมแข่งขันก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และนักวิทยุสมัครเล่นหลายๆ คน มักเข้าร่วมแข่งขันเป็นประจำทุกรายการ เหมือนกับว่าเป็นกิจกรรมหลักของนักวิทยุสมัครเล่นนั้น ๆ ก็ว่าได้

ในเหตุการณ์สำคัญต่างๆ มักจะมีการกำหนดสัญญาณเรียกขานพิเศษ เพื่อใช้สำหรับการทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นั้น ซึ่งนักวิทยุหลายคนก็คอยจะติดต่อกับสถานีพิเศษเหล่านี้ เพื่อจะขอรับบัตรยืนยันการติดต่อไว้เป็นที่ระลึก ซึ่งในบางโอกาสอาจมีการใช้ prefix พิเศษ เช่น HS2000 ซึ่งเป็นสถานีรายงานการปรับเปลี่ยนปี ค.ศ. ใหม่ HS50A สัญญาณเรียกขานพิเศษสำหรับเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี

นักวิทยุสมัครเล่นมักจะนำอุปกรณ์วิทยุสื่อสารของตนเองติดตัวไปด้วยเวลาไปเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวต่าง และจะออกอากาศหรือทำการติดต่อจากสถานที่เหล่านั้น (ต้องได้รับอนุญาตสำหรับการออกอากาศในสถานที่นอกเหนือจากที่ได้รับอนุญาต) ด้วยกำลังส่งต่ำ และสายอากาศที่สามารถติดตั้งได้ง่าย ซึ่งก็มีบ่อยครั้งที่ตั้งใจเดินทางไปยังสถานที่ที่ห่างไกลและไม่มีนักวิทยุสมัครเล่นไปออกอากาศ เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิทยุสมัครเล่นจากที่ต่าง ๆ ได้ติดต่อเข้ามาเพื่อแลกบัตรยืนยันการติดต่อ แม้กระทั่ง นักวิทยุที่ชอบเดินทางด้วยเรือหรือเครื่องบินก็สามารถใช้เครื่องมือสื่อสารติดต่อกับนักวิทยุสมัครเล่นอื่น ๆ ได้เช่นกัน

มีนักวิทยุสมัครเล่นบางคนที่ชอบสร้างเครื่องวิทยุ รับ-ส่ง ด้วยตนเอง แบบง่าย ๆ ด้วยงบประมาณที่ไม่สูงมาก และเครื่องวิทยุ รับ - ส่ง เหล่านี้มักจะมีกำลังส่งที่ต่ำ หรือที่เรียกกันว่า QRP ซึ่งย่อมาจาก Q code ที่มีความหมายว่า "ลดกำลังส่ง" การออกอากาศด้วย QRP ใช้กำลังส่งไม่เกิน 5 วัตต์ สำหรับการติดต่อแบบ รหัสมอร์ส และไม่เกิน 10 วัตต์สำหรับการติดต่อแบบ เสียงพูด

ที่ผ่านมานักวิทยุสมัครเล่นได้ส่งดาวเทียมสำหรับการติดต่อสื่อสารหรือการทดลองของนักวิทยุสมัครเล่นมากกว่า 70 ดวงแล้ว ในโครงการที่ชื่อว่า Orbiting Satellite Carrying Amateur Radio หรือ OSCAR ซึ่งบางดวงก็สามารถใช้งานด้วยการใช้เครื่องวิทยุรับ-ส่งชนิดมือถือ และสายอากาศชนิดติดกับตัวเครื่อง หรือ "rubber duck" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง AO-51 หรือ AMSAT Echo นักวิทยุสมัครเล่นยังสามารถใช้ "ดาวเทียมธรรมชาติ" ได้แก่ ดวงจันทร์ และ ดาวตก สำหรับการสะท้อนคลื่นเพื่อการติดต่อสื่อสาร นักวิทยุสมัครเล่นยังสามารถติดต่อสื่อสารกับสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station หรือ ISS) ซึ่งนักบินอวกาศเกือบทุกคนที่ประจำอยู่จะได้รับใบอนุญาตการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมีโครงการให้นักเรียนได้ติดต่อพูดคุยกับนักบินอวกาศผ่านความถี่วิทยุสมัครเล่น อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นความถี่สำรองสำหรับสถานีอวกาศนานาชาติอีกด้วย

นักวิทยุสมัครเล่น ได้ชื่อว่าเป็นนักค้นคว้าและทดลอง จนได้มีการพัฒนาระบบรายงานพิกัดอัตโนมัติผ่านวิทยุสมัครเล่น (Automatic Packet Reporting System (APRS)) ขึ้น โดยเป็นการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ระบุพิกัดสัญญาณดาวเทียม GPS และทำการส่งพิกัดที่อยู่หรือที่ตั้งสถานีของนักวิทยุสมัครเล่น ยานพาหนะ ทั้งรถยนต์ เรือ หรือเครื่องบิน ผ่านเครือข่ายวิทยุสมัครเล่น โดยมีสถานีรับสัญญาณที่เป็นสถานีที่นักวิทยุสมัครเล่นจัดตั้งขึ้นและกระจายอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศรับสัญญาณและส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต และสามารถเรียนดูพิกัดดังกล่าวได้ทั่วโลก


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301