วิกฤตการณ์ปากน้ำ เป็นการรบระหว่างวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2436 ในขณะที่แล่นเรือผ่านเข้าไปในปากแม่น้ำเจ้าพระยา เรือรบฝรั่งเศส 3 ลำถูกโจมตีโดยป้อมปืนของสยามและเรือปืน ผลการรบ ฝรั่งเศสได้รับชัยชนะและดำเนินการปิดล้อมกรุงเทพซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดของเหตุการณ์
ความขัดแย้งเกิดขึ้นเมื่อเรือการข่าว "แองกงสตัง" (Inconstant) และเรือปืน "โกแมต" (Com?te) 2 ของกองทัพเรือฝรั่งเศสเดินทางมาถึงปากแม่น้ำและขออนุญาตแล่นเรือผ่านปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อไปสมทบกับเรือ "ลูแตง" (Le Lutin) เพื่อเจรจาต่อรอง เมื่อสยามปฏิเสธ ผู้บังคับบัญชาฝ่ายฝรั่งเศส พลเรือตรี แอดการ์ อูว์มัน (Edgar Humann) เมินเฉยต่อความต้องการของสยามและคำสั่งจากรัฐบาลฝร่งเศส ซึ่งก่อนการต่อสู้ พลเรือตรี อูว์มัน ได้รับคำสั่งห้ามเข้าสู่ปากแม่น้ำเพราะสยามได้เตรียมการอย่างดีสำหรับการรบ กองกำลังฝ่ายสยามประกอบด้วยป้อมพระจุลจอมเกล้าที่พึ่งสร้างเสร็จ มีปืนเสือหมอบขนาด 6 นิ้ว 7 กระบอก3 สยามยังได้จมเรือสำเภาและเรือบรรทุกหินในแม่น้ำเพื่อเป็นแนวป้องกัน บีบให้เส้นทางเดินเรือกลายเป็นทางผ่านแคบ ๆ เพียงทางเดียว
เรือปืน 5 ลำจอดทอดสมออยู่ด้านหลังแนวสิ่งกีดขวาง ประกอบไปด้วย เรือมกุฎราชกุมาร, เรือทูลกระหม่อม, เรือหาญหักศัตรู, เรือนฤเบนทร์บุตรี และ เรือมูรธาวสิตสวัสดิ์4 มีเรือ 2 ลำเป็นเรือรบทันสมัย คือ เรือมกุฎราชกุมาร และเรือมูรธาวสิตสวัสดิ์ ขณะที่เรือที่เหลือเป็นเรือปืนเก่าหรือเรือกลไฟแม่น้ำที่ดัดแปลงมา มีการวางข่ายทุ่นระเบิด 16 ลูก ผู้บังคับบัญชาป้อมเป็นนายพลเรือชาวดัตช์ซึ่งเป็นหนึ่งในชาวยุโรปหลายคนที่เข้ารับราชการในกองทัพไทย พลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ (อองเดร ดู เปลซี เดอ ริเชอลิเออ) เป็นผู้บังคับบัญชาเรือปืน
ฝรั่งเศสเลือกที่จะเข้าปากแม่น้ำหลังพระอาทิตย์ตกดินในวันที่ 13 กรกฎาคม โดยมีวัตถุประสงค์คือแล่นผ่านการป้องกันของสยามให้ได้ถ้ามีการเปิดฉากยิงกันขึ้น สภาพอากาศครึ้มฝน ขณะนั้นสยามได้ประจำสถานีรบและเตรียมพร้อมขั้นสูงสุด เรือรบฝรั่งเศสได้แล่นตามเรือกลไฟนำร่องฌองบัปติสต์เซย์ (Jean Baptiste Say) เข้าสู่ปากแม่น้ำ เมื่อเวลา 18.15 น. ฝนหยุดตก ทหารในป้อมสังเกตเห็นเรือรบฝรั่งเศสแล่นผ่านกระโจมไฟ สองสามนาทีหลังจากนั้นเรือฝรั่งเศสแล่นผ่านทุ่นดำเข้ามาในระยะยิงของป้อม ทหารประจำป้อมได้รับคำสั่งให้ยิงเตือน 3 นัด แต่ถ้าฝรั่งเศสเพิกเฉยเรือปืนจะเปิดฉากยิง
เวลา 18.30 น. ป้อมปืนเปิดฉากยิงเตือนด้วยกระสุนเปล่า 2 นัด แต่เรือรบฝรั่งเศสยังคงแล่นต่อไป ในนัดที่สามสยามได้ใช้กระสุนจริงยิงเตือน กระสุนตกลงในน้ำหน้าเรือฌองบัปติสต์เซย์ เมื่อเห็นฝรั่งเศสเพิกเฉยต่อสัญญาณเตือน นัดที่สี่จากเรือปืน มกุฎราชกุมาร และ มูรธาวสิตสวัสดิ์ ก็เปิดฉากยิงเมื่อเวลา 18.50 น. เรือแองกองสตองได้ยิงตอบโต้กับป้อมในขณะที่โกแมตยิงสู้กับเรือปืนสยาม มีเรือขนาดเล็กที่บรรจุระเบิดถูกส่งมาพุ่งชนเรือฝรั่งเศสแต่พลาดเป้า การต่อสู้กินเวลาประมาณ 25 นาที
ในที่สุด พลเรือตรี อูว์มัน ก็พาเรือรบฝ่าการป้องกันของสยามไปได้ และสามารถจมเรือปืนฝ่ายสยามได้หนึ่งลำ ส่วนอีกลำได้รับความเสียหายจากกระสุนปืน ทหารสยามตาย 10 นาย บาดเจ็บ 12 นาย ฝรั่งเศสได้รับความเสียหายน้อยกว่า ขณะที่ผ่านปากน้ำเรือฌองบัปติสต์เซย์ถูกยิงด้วยปืนใหญ่ ไปเกยตื้นที่แหลมลำพูราย เรือแองกองสตองและเรือโกแมตแล่นผ่านไปได้ถึงกรุงเทพ จอดทอดสมออยู่ที่สถานทูตฝรั่งเศส ทหารฝรั่งเศสตาย 3 นาย บาดเจ็บ 2 นาย เรือโกแมตถูกยิงได้รับความเสียหายมากกว่าเรือแองกองสตองแต่ไม่ได้เสียหายร้ายแรง ป้อมของสยามไม่ได้รับความเสียหาย
เช้าวันต่อมา ลูกเรือฌองบัปติสต์เซย์ยังคงอยู่บนเรือที่เกยตื้น สยามได้ส่งเรือเข้ามาควบคุมเรือกลไฟฌองบัปติสต์เซย์และได้พยายามจมเรือแต่ไม่สำเร็จ จากรายงาน นักโทษได้รับการปฏิบัติที่เลวร้ายและถูกส่งตัวเข้าคุกกรุงเทพ วันต่อมาเรือปืนฝรั่งเศส ฟอร์แฟต (Forfait) ได้มาถึงปากน้ำและส่งเรือพร้อมทหารเต็มลำเข้ายึดเรือฌองบัปติสต์เซย์แต่เมื่อถึงเรือกลับโดนโจมตีขับไล่ถอยไปโดยทหารสยามที่ยึดเรืออยู่ เมื่อพลเรือตรี อูว์มัน มาถึงกรุงเทพ เขาได้ทำการปิดล้อมและหันกระบอกปืนมาทางพระบรมมหาราชวัง ในวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 ก็มีการลงนามในสนธิสัญญาถือเป็นการสิ้นสุดการรบ