ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

วัดมัชฌันติการาม

วัดมัชฌันติการาม หรือ วัดน้อย เป็นวัดราษฎร์ เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4 ผู้ที่ให้การอุปถัมภ์วัด เริ่มต้นนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด มีผู้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เจ้าจอมมารดาเที่ยง พระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เข้ามาอุปถัมภ์ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "วัดมัชฌันติการาม" เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่เจ้าจอมมารดาเที่ยง ผู้อุปถัมภ์วัด

วัดมัชฌันติการาม (วัดน้อย) ได้สร้างขึ้นมาเมื่อใดไม่มีหลักฐานปรากฏชัดเจน จึงยากที่จะทราบประวัติความเป็นมาที่ถูกต้อง จากการเล่าสู่กันมาของคนเฒ่าคนแก่ในท้องถิ่นประกอบกับหลักฐานที่พอจะรวบรวมได้ในปัจจุบันคือ วัดนี้เริ่มสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นวัดป่าที่ล้อมไปด้วยสวนทุเรียน สวนกล้วย สวนหมาก สวนส้ม ในสมัยนั้นวัดยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ แต่เป็นสถานที่วิปัสสนากรรมฐานของพระธุดงค์ที่ผ่านไปมา มีพระอยู่บ้างไม่มีบ้าง

จนในปี พ.ศ. 2417 เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4 ได้เป็นองค์อุปถัมภ์ในการก่อสร้างศาสนวัตถุต่างๆ เพื่อจะให้เป็นวัดที่ถูกต้องตามพระวินัยและกฎหมายบ้านเมือง การสร้างวัดได้มาสำเร็จเสร็จบริบูรณ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงรับเป็นพระธุระในการผูกพัทธสีมา และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 ทรงพระราชนามว่า "วัดมัชฌันติการาม"

เมื่อสิ้นบุญเจ้าจอมมารดาเที่ยงแล้ว เจ้าจอมมารดาแส ในรัชกาลที่ 5 และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอัพภันตรีปชา เป็นผู้ให้การอุปถัมภ์สืบต่อๆกันมาตามลำดับ จนมาถึงประชาชนทั่วไปให้การอุปถัมภ์ดังที่ปรากฏให้เห็นกันในปัจจุบัน เนื่องจากสมัยก่อนการคมนาคมยังไม่สะดวกเหมือนอย่างในปัจจุบัน เมื่อจะเดินทางมาที่วัดมัชฌันติการามจะต้องเดินทางมาทางน้ำ โดยนั่งเรือเข้าคลองบางเขนใหม่ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัด จึงเป็นที่มาของการสร้างพระอุโบสถหันหน้าไปทางทิศตะวันตก พระอุโบสถได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อปี พ.ศ. 2418 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 60 เมตร

ส่วนการตั้งชื่อวัดก็เนื่องมาจาก เจ้าจอมมารดาเที่ยงเป็นผู้อุปถัมภ์ ล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 จึงโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามวัดว่า "มัชฌันติการาม" ตามชื่อของผู้อุปถัมภ์วัดคือ "มัชฌันติก" และอารามซึ่งแปลว่า "เที่ยง" และ "วัด" เมื่อรวมกันจึงแปลได้ว่า "วัดของเจ้าจอมมารดาเที่ยง" คนส่วนมากมักจะเรียนว่า "วัดน้อย" เพราะง่ายออกเสียงมากกว่า สันนิษฐานการเรียกว่าวัดน้อยนี้ เพราะเป็นวัดของเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4 ซึ่งให้การอุปถัมภ์ ชาวบ้านทั่วไปถือว่าเป็นนางสนม เพื่อให้เข้าใจง่ายคู่กับวัดหลวง ซึ่งเป็นวัดที่ภรรยาหลวงให้การอุปถัมภ์เช่นเดียวกัน (อยู่ในซอยวงศ์สว่าง19 ปัจจุบันวัดหลวงไม่มีแล้ว เหลือแต่ที่ดินของวัด ซึ่งสำนักงานศาสนสมบัติ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้ดูแลอยู่) เนื่องจากการคมนาคมไม่สะดวกในสมัยก่อน จึงทำให้มีพระจำพรรษาไม่กี่รูป ต้องไปนิมนต์พระจากวัดอื่นมาอยู่จำพรรษา เช่น วัดราชาธิวาส วัดปทุมวนาราม วัดราชบพิธ และวัดบวรนิเวศ จนต่อมามีการตัดถนนวงศ์สว่างผ่านด้านหลังวัด ทางวัดพร้อมด้วยอุบาสกอุบาสิกา ราษฎรผู้มีจิตศรัทธาช่วยกันบริจาคที่ดินตัดถนนเข้าวัดในสมัย พระครูวิจิตรธรรมสาร (ไขย จนฺทสาโร) เจ้าอาวาสรูปที่ 7

หลังจากนั้นทางวัดได้ขออนุญาตเปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรมและบาลีขึ้น โดยเป็นสาขาของวัดบวรนิเวศ จึงเป็นเหตุให้มีพระภิกษุสามเณรเข้ามาศึกษาเล่าเรียนเป็นจำนวนมาก ในแต่ละปีมีพระภิกษุสามเณรสอบได้นักธรรมและบาลีเป็นจำนวนมาก จนได้รับการยกย่องจากพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ตลอดมา

ปัจจุบันที่ดินวัดโฉนดเลขที่ 75465 เดิมมีเนื้อที่ทั้งหมด 19 ไร่ 2 งาน 70 ตารางวา ต่อมาในปี พ.ศ. 2543 คุณอำพันธ์ - คุณพิไลลักษณ์ นาคเจริญ และคุณสมพงษ์ ทองทั่ว ถวายที่ดินเพิ่มอีก 1 งาน 19 ตารางวา รวมทั้งที่ดินที่ทางวัดมีโครงการจะซื้อต่อออกไปอีกเพื่อทำสวนปฏิบัติธรรม ขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมปัจจัย ปัจจุบันวัดมีเนื้อที่โดยประมาณ 24 ไร่

เป็นพระอุโบสถเก่าแก่ สร้างมาตั้งแต่สมัยเริ่มสร้างวัด มาแล้วเสร็จและผูกพัทธสีมาให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยในปี พ.ศ. 2418 รูปแบบพระอุโบสถเดิมไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ เป็นทรงปั้นหยา แต่เนื่องจากได้รับการบูรณะหลายครั้ง จึงมีรูปแบบอย่างที่เห็นในปัจจุบัน โดยมีความยาว 22.50 เมตร กว้าง 9.80 เมตร หันหน้าไปทางทิศตะวันตกอันมีคลองบางเขนใหม่เป็นทิศเบื้องหน้า หลังคามุงกระเบื้องโบราณ มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันถือปูน มีตรีมูรติอยู่บนพานอันเป็นสัญลักษณ์ของราชวงศ์จักรี ภายใต้มงกุฎคราบ มีฉัตร 5 ชั้น ประดับทั้ง 2 ข้าง มีรัศมีเปลางประกายโดยรอบ ซึ่งใช้เป็นตราของวัดในปัจจุบัน

เป็นเจดีย์ที่สร้างมาพร้อมพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำสีทองอร่าม สูง 17 เมตร ทางวัดได้มีการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุของพระสาวกขึ้นประดิษฐานที่เจดีย์องค์ใหญ่ วันที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2555 เจดีย์นี้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกของชาติจากกรมศิลปากร

เป็นศาลา 2 ชั้น ผูกเหล็กหล่อปูนใช้เป็นที่ทำบุญในวันพระและวันสำคัญทางพุทธศาสนา ซึ่งแต่เดิมเป็นศาลาการเปรียญไม้ 2 ชั้น โดยข้างบนใช้ประกิบพิธีส่วนชั้นล่างปล่อยโล่ง ได้รับการรื้อและสร้างใหม่ในสมัย พระครูวิจิตรธรรมสาร (ไขย จนฺทสาโร) เจ้าอาวาสรูปที่ 7 ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันเป็นรูปลายไทย มีรูปปั้นเป้นกงล้อ ทำการปฏิสังขรณ์โดยบริษัทอิตาเลี่ยนไทย ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2553 ได้ทำการบูรณะศาลาการเปรียญให้สูงขึ้น แล้วทำการเทพื้นล่างใหม่ พร้อมทั้งประดับตกแต่งติดไฟ พัดลม ให้ดูสวยงาม สืบเนื่องมาจากอุบาสกอุบาสิกาส่วนใหญ่เป็นผู้มีอายุมาก เดินขึ้นลงบันไดลำบาก พิธีกรรมทางพุทธศาสนา ทำบุญในวันพระที่ชั้นล่างของศาลาการเปรียญจวบจนถึงในปัจจุบัน

โรงเรียนพระปริยัติธรรม เป็นอาคารเรียน 3 ชั้น ชั้นที่ 1 เป็นห้องประชุมและเป็นที่จัดงานการกุศลต่างๆ ปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ประกิบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ทำบุญในวันพระ สืบเนื่องมาจากมีการบูรณปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญหลังเก่า ชั้นที่ 2 เป็นห้องเรียนและสำนักงานโรงเรียนพระปริยัติธรรม ทั้งแผนกนักธรรมและบาลี ซึ่งจะจัดให้มีการเรียนการสอนในช่วงเข้าพรรษาของทุกปี ซึ่งมีนักเรียนเป็นพระภิกษุสามเณรภายในวัด และมีพระภิกษุใหม่บวชเข้าพรรษาก็จะได้รับการเรียนแผนกนักธรรม ตั้งแต่นักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก โดยจะมีการสอบในช่วงใกล้ๆจะออกพรรษา ส่วนแผนกบาลี ก็จะเริ่มสอนตั้งแต่ บาลีไวยากรณ์ ประโยค 1-3 ส่วนประโยคสูงๆกว่านี้ ให้ศึกษาเอง หรือไปเรียนกับสำนักเรียนอื่นๆ และชั้นที่ 3 เป็นห้องสมุด พร้อมห้องอบรมวิบัสสนากรรมฐาน หน้าบันทั้ง 3 ด้าน เป็นภาพเกี่ยวกับพุทธประวัติ

เป็นวิหารที่ประดิษฐานรูปเหมือนปูนปั้นของพระครูธรรมสารวิจิตร (อ่อน ญาณเตโช) โดยคณะศิษย์สร้างถวายในปี พ.ศ. 2515 เป็นวิหารก่ออิฐถือปูน ตั้งอยู่ทางซ้ายของพระอุโบสถ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนของ พระครูวิจิตรธรรมสาร (ไขย จนฺทสาโร) และพระครูใบฎีกาพันธ์ อาจาโร ในปัจจุบันนี้วิหารหลวงปู่อ่อนได้สร้างขึ้นใหม่เป็นวิหารจัตุรมุข มียอดฟ้าใบระกา ปูพื้นด้วยกระเบื้องแผ่นใหญ่ ประตูหน้าต่างเป็นไม้ มีโรงจอดเรือของหลวงปู่อ่อนอยู่ด้านหลังของวิหาร ติดโคมไฟทั้งข้างใน และรอบวิหาร ปัจจุบันวิหารหลวงปู่อ่อนตั้งอยู่ข้างท่าน้ำทางด้านซ้าย ติดกับต้นโพธิ์ใหญ่ และติดประตูทางเข้าวัด

เป็นซุ้มประตูแห่งเดียวในเขตบางซื่อ ที่นำตราคณะธรรมยุติกนิกายมาประดิษฐานบนซุ้ม ทำด้วยหินอ่อนขัดทั้งซุ้ม ต่อมาทรุดโทรมลงมาก ทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ได้มีจิตศรัทธาบูรณปฏิสังขรณ์ให้ใหม่จนแล้วเสร็จ

หลังคาเป็นทรงไทย ก่ออิฐถือปูนทั้งหลัง ชั้น 1 ใช้เป็นที่แขวนกลอง ชั้น 2 ใช้เป็นที่แขวนระฆังเพื่อตีบอกสัญญาณในวันพระและวันสำคัญอื่นๆ ซึ่งหอระฆังดังกล่าวได้ทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ต่อมาได้สร้างหอระฆัง 3 ชั้น หน้าศาลการเปรียญ แต่ก็ได้รื้อไป ปัจจุบันได้สร้างหอระฆัง 3 ชั้น ขึ้นใหม่แต่ตำแหน่งใกล้เคียงกันกับหอระฆัง 2 ชั้น ในอดีต


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301