ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

วัฒนธรรมกัมพูชา

วัฒนธรรมกัมพูชาที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติมีพื้นฐานมาจากศาสนาทั้งศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู กัมพูชาได้รับอิทธิพลจากอินเดียทั้งทางด้านภาษาและศิลปะผ่านทางแผ่นดินใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งจากการค้าทางทะเลทางไกลกับอินเดียและจีนจนเกิดอาณาจักรฟูนันขึ้นเป็นครั้งแรก

ยุคทองของกัมพูชาอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14 – 19 ในยุคพระนครซึ่งมีอำนาจครอบคลุมพื้นที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระดับหนึ่ง แต่ก็ต้องทำสงครามกับเพื่อนบ้านที่แข็งแกร่งคือสยามกับไดเวียด สิ่งก่อสร้างทางศาสนาที่สำคัญในสมัยนี้คือนครวัดและนครธม และยังมีปราสาทหินที่พบได้ทั่วไปในเขตแดนของกัมพูชา ไทย ลาว และเวียดนามในปัจจุบัน อิทธิพลทางศิลปะของกัมพูชาทั้งสถาปัตยกรรม ดนตรี และนาฏศิลป์ได้ส่งผลต่อศิลปะของประเทศเพื่อนบ้านทั้งไทยและลาว

สิ่งก่อสร้างในสมัยพระนครมักสร้างด้วยหิน ได้รับแรงบันดาลใจทางศาสนา ทั้งศาสนาพุทธและศาสนาฮินดู โดยสลักเรื่องเล่าทางศาสนาเหล่านี้ไว้บนผนัง รวมทั้งใช้สัญลักษณ์ทางศาสนาในการตกแต่ง ตัวอย่างเช่น พระราชวังในพนมเปญใช้รูปครุฑซึ่งเป็นเทพกึ่งนกศักดิ์สิทธิ์ในศาสนาฮินดูในการตกแต่ง

ชนบทสมัยใหม่ในกัมพูชา ชาวบ้านมักอาศัยในบ้านทรงสี่เหลี่ยมที่มีขนาดผันแปรไปตามจำนวนสมาชิกในครัวเรือน สร้างด้วยไม้หรือไม้ไผ่ นิยมยกพื้นสูงเพื่อให้พ้นจากน้ำท่วมที่เกิดขึ้นทุกปี มีบันไดไม้สำหรับขึ้นบ้าน โดยทั่วไปจะแบ่งเป็นสามห้องที่กั้นด้วยฟากไม้ไผ่ การสร้างบ้านจะอาศัยความ ร่วมมือกันระหว่างครอบครัวนั้นและเพื่อนบ้าน ครัวจะแยกออกจากบ้านอยู่ใกล้ๆหรืออยู่ข้างหลัง ห้องน้ำจะอยู่แยกต่างหากจากบ้าน ส่วนบ้านของชาวจีนและชาวเวียดนามจะสร้างบนพื้น ในเขตเมืองมักเป็นอาคารพาณิชย์

ชาวกัมพูชา 90% นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาท มี 1% นับถือศาสนาคริสต์ นอกจากนั้นเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลามและศาสนาดั้งเดิม ศาสนาพุทธเข้ามาสู่กัมพูชาตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 10 และศาสนาพุทธนิกายเถรวาทได้เป็นศาสนาประจำรัฐตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 18 ยกเว้นสมัยเขมรแดงครองอำนาจ

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาของชาวจามหรือเขมรมุสลิมและชนกลุ่มน้อยชาวมลายูในกัมพูชา ในช่วง พ.ศ. 2518 มีมุสลิมในกัมพูชาราว 150,000 - 200,000 คน และลดลงหลังจากที่เขมรแดงมีอำนาจในกัมพูชา ชาวจามนับถือทั้งนิกายสุหนี่และชีอะห์ ในกลุ่มชาวจามด้วยกันเองนั้นจะแบ่งเป็นมุสลิมแบบดั้งเดิมและแบบพื้นบ้าน

ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกเข้ามาสู่กัมพูชาเมื่อราว พ.ศ. 2203 การเผยแพร่เป็นไปอย่างช้าๆ ใน พ.ศ. 2515 คาดว่ามีผู้นับถือศาสนาคริสต์ในกัมพูชาราว 20,000 คน ส่วนใหญ่เป็นนิกายโรมันคาทอลิก ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2513 ก่อนจะมีการขับไล่ชาวเวียดนาม มีขาวคริสต์ในกัมพูชาที่เป็นชาวเวียดนามประมาณ 50,000 คน แต่หลังจากนั้น ชาวคริสต์ที่เหลืออยู่ในเวียดนามมักมีเชื้อสายยุโรป โดยเฉพาะฝรั่งเศส ในขณะที่การเผยแพร่ศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์ของมิชชันนารีจากสหรัฐเพิ่มมากขึ้นหลังจากจัดตั้งสาธารณรัฐเขมร โดยเฉพาะการเผยแพร่ในหมู่ชาวเขมรบนและชาวจาม

ชนเผ่าบนที่สูงในกัมพูชามีระบบความเชื่อดั้งเดิมเป็นของตนเอง มีผู้นับถือราว 100,000 คน โดยเป็นการนับถือสิ่งต่างๆในธรรมชาติ ผู้นำศาสนาคือหมอผี โดยในบรรดาชาวเขมรบน ชาวราเดและชาวจรายมีระบบความเชื่อที่พัฒนาดีที่สุด

การเกิดของเด็กเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจในครอบครัว การเกิดถือว่าเป็นอันตรายทั้งต่อแม่และเด็ก สตรีที่ตายเพราะการคลอดบุตรจะเชื่อว่าเกิดจากการกระทำของปีศาจ ดังนั้น หญิงที่ตั้งครรภ์จึงมีข้อห้ามต่างๆมากมาย ซึ่งข้อห้ามเหล่านี้ยังนิยมอยู่ในชนบท แต่น้อยลงแล้วในเขตเมือง

ในมุมมองของชาวกัมพูชา การตายคือการสิ้นสุดของชีวิตหนึ่งและเป็นการเริ่มต้นของอีกชีวิตหนึ่ง ชาวพุทธในกัมพูชานิยมเผาศพและนำเถ้ามาเก็บในสถูปเจดีย์ในวัด

เด็กในกัมพูชาจะได้รับการเลี้ยงดูจนกว่าจะอายุประมาณ 2-4 ปี หลังจากนั้น เด็กจะมีอิสระมากขึ้น เด็กอายุ 5 ขวบจะสามารถช่วยดูแลน้องๆได้ เด็กส่วนใหญ่จะเริ่มไปโรงเรียนเมื่ออายุ 7-8 ปี เมื่ออายุ 10 ขวบ เด็กหญิงจะเริ่มช่วยงานบ้านได้ ส่วนเด็กผู้ชายต้องช่วยงานในไร่นาภายใต้การควบคุมของผู้ใหญ่ วัยรุ่นมักจะจับกลุ่มในเพศเดียวกัน เด็กผู้ชายบางคนบวชเป็นสามเณร ในยุคก่อนคอมมิวนิสต์ พ่อแม่มีอำนาจปกครองจนกว่าบุตรจะแต่งงาน การติดต่อระหว่างกลุ่มชนต่างอายุกัน จะต้องเลือกใช้คำพูดให้เหมาะสม

การเลือกคู่ครองเป็นเรื่องที่ซับซ้อนโดยจะต้องดูภูมิหลังทางสังคมประกอบด้วย พ่อแม่มีส่วนในการพิจารณาแต่ก็อาจจะคัดค้านได้ ผู้ชายจะแต่งงานในช่วงอายุ 19 – 25 ปี ส่วนผู้หญิงในช่วงอายุ 16 – 22 ปี การแต่งงานตามประเพณีใช้เวลาถึง 3 วันแต่หลังจาก พ.ศ. 2523 ใช้เวลาเพียงวันครึ่ง มีการนิมนต์พระสงฆ์มาสวดมนต์ในวันแต่งงาน ในชนบทจะมีการสวมด้ายมงคลและเวียนเทียน หลังแต่งงาน คู่สมรสจะไปอยู่กับพ่อแม่ฝ่ายหญิงประมาณ 1 ปี หลังจากนั้น จะสร้างบ้านใหม่ใกล้ๆกัน

การหย่าร้างนั้นถูกกฎหมาย เกิดขึ้นได้ง่าย แต่ไม่ใช่เรื่องปกติ ผู้ที่หย่าร้างแล้วสามารถแต่งงานใหม่ได้ แต่หญิงจะรอไว้ 10 เดือน เด็กมักจะอยู่กับมารดา

ในวัฒนธรรมเขมรถือว่าศีรษะเป็นของสูง การสัมผัสศีรษะหรือหันเท้าไปทางศีรษะจึงไม่สุภาพ การทักทายจะใช้ “ซัมเปี๊ยะห์”ที่คล้ายการไหว้ของไทย การสบตากับผู้สูงอายุถือว่าไม่สุภาพ

การแต่งกายของชาวกัมพูชาต่างกันไปตามชั้นของสังคม ชาวกัมพูชาพื้นเมืองนิยมใช้ผ้าขาวม้าหรือกร็อมาซึ่งเป็นจุดที่ทำให้ชาวเขมรต่างไปจากเพื่อนบ้านคือลาว ไทย และเวียดนาม กร็อมานี้ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น กันแดด ช่วยในการปีนป่ายใช้ห่อทารก ใช้เป็นผ้าขนหนูหรือใช้นุ่งเป็นโสร่ง หรืออาจทำเป็นตุ๊กตาผ้าสำหรับเด็ก ในสมัยเขมรแดง กร็อมาถือเป็นเครื่องแต่งกายมาตรฐาน

ชุดประจำชาติที่มีความนิยมอย่างยาวนานคือสัมพต เป็นเครื่องแต่งกายที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียตั้งแต่สมัยอาณาจักรฟูนัน อย่างไรก็ตาม เครื่องแต่งกายของชาวเขมรได้เปลี่ยนไปตามช่วงเวลาและศาสนา ในช่วงระยะเวลาระหว่างสมัยอาณาจักรฟูนันจนถึงจักรวรรดิเขมรเป็นช่วงที่ศาสนาฮินดูมีอิทธิพลมากแต่งกาย มีการสวมสัมพตและเครื่องประดับต่างๆ เมื่อชาวเขมรหันมานับถือศาสนาพุทธมากขึ้น ชาวเขมรเริ่มสวมเสื้อและกางเกง ความนิยมต่อเครื่องแต่งกายในแบบสมัยฮินดูลดลง มีเครื่องแต่งกายที่เรียกสไบ

สัมพตยังมีการสวมใส่ในกลุ่มเชื้อพระวงศ์ในสมัยอุดงนิยมสวมสไบปิดบ่าซ้ายและเปิดบ่าขวา นักแสดงแต่งกายด้วยสัมพตสระภาพและเครื่องประดับที่เรียกสเรงกอร์ และยังมีมงกุฏสำหรับเชื้อพระวงศ์เพื่อการตกแต่งตามฐานะ

อาหารกัมพูชามีความคล้ายคลึงกับเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยเฉพาะอาหารไทย อาหารเวียดนามและอาหารจีนแต้จิ๋ว อาหารกัมพูชาใช้น้ำปลาเป็นเครื่องปรุงรสสำคัญ มีการปรุงอาหารด้วยการผัดแบบจีน มีแกงใส่กะทิที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารอินเดีย กุยเตียวเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากก๋วยเตี๋ยวของจีนและมีบัญเจาเป็นขนมเบื้องญวนแบบกัมพูชา

อาหารกัมพูชามีการใช้ปลาร้าหรือปร็อฮก (??????) ในการปรุงอาหาร เพื่อให้มีกลิ่นรสที่เฉพาะหรือใช้กะปิที่ทำจากกุ้ง กะทิเป็เครื่องปรุงหลักในอาหารคาวและอาหารหวานหลายชนิด รับประทานทั้งข้าวเจ้าและข้าวเหนียว โดยข้าวเหนียวนิยมใช้ทำขนม เช่น ข้าวเหนียวน้ำกะทิทุเรียน

อาหารกัมพูชามีลักษณะเฉพาะตามพื้นที่ ในกำปอตและแกบ อาหารที่มีชื่อเสียงคือปูพริกกำปอต (????????????????) ในไพลิน หมี่โกลาซึ่งเป็นอาหารของชาวกุลา ชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งในกัมพูชาเป็นที่นิยม ทางภาคใต้จะพบอาหารเวียดนามมาก โดยเฉพาะบัญตรัง ซึ่งเป็นอาหารที่นิยมในภาคใต้มากกว่าภาคกลาง อาหารของชาวกัมพูชาเชื้อสายจีนเป็นที่นิยมในเสียมราฐและกำปงธม

ประวัติของทัศนศิลป์ในกัมพูชาย้อนหลังไปถึงยุคของนครวัดที่นิยมจารึกลงบนศิลา และได้รับศิลปะแบบตะวันตกเข้าสู่ประเทศด้วย แต่ศิลปะพื้นบ้านและศิลปะสมัยใหม่ตกต่ำลงในสมัยเขมรแดงที่มีการสังหารศิลปินและการทำลายศิลปะ ศิลปินที่รอดชีวิตได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล องค์กรเอกชนและต่างประเทศมากขึ้น

ในช่วง พ.ศ. 2503 – 2513 สิน สีสมุทและรส ศรีสุทธาเป็นนักร้องที่โด่งดังในประเทศ หลังจากที่ทั้งสองคนเสียชีวิตได้มีนักร้องรุ่นใหม่เกิดขึ้นและกัมพูชาได้รับอิทธิพลจากตะวันตกมากขึ้น

ดนตรีคลาสสิกของกัมพูชาเช่นพิณเพียต นิยมบรรเลงในงานเทศกาลต่างๆ และประกอบการแสดงระบำ เครื่องดนตรีประกอบด้วยโรเนียตเอกหรือระนาดเอก โรเนียตทุงหรือระนาดทุ้ม กองวงตวจหรือฆ้องวงเล็กและกองวงทมหรือฆ้องวงใหญ่ กลองสัมโพ กลองสกอร์ทมและสราไลหรือปี่

นาฏศิลป์ในประเทศกัมพูชาแบ่งได้เป็นนาฏศิลป์คลาสสิก นาฏศิลป์พื้นบ้านและการแสดงทางสังคม นาฏศิลป์คลาสสิกเกิดขึ้นในราชสำนัก มีความคล้ายคลึงกับนาฏศิลป์ไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2493 จะแสดงในงานเฉลิมฉลอง เทศกาลสำคัญและเพื่อการท่องเที่ยว ช่วง พ.ศ. 2503 เป็นยุคทองของนาฏศิลป์คลาสสิก บัลเลต์หลวงของกัมพูชาได้รับการยกย่องว่าเป็นความทรงจำของโลก นาฏศิลป์ของกัมพูชานิยมแสดงเกี่ยวกับเรื่องเรียมเกอร์หรือรามเกียรติ์ เช่นระบำสุวรรณมัจฉาและระบำมณีเมขลา ระบำอัปสราเป็นการแสดงของกัมพูชาที่กำเนิดจากรูปนางอัปสราสมัยพระนคร เป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยว ริเริ่มโดยพระนโรดม บุปผาเทวีก่อนสมัยเขมรแดงปกครองประเทศ และได้รับการยกย่องให้เป็นสัญลักษณ์ของกัมพูชา

ระบำพื้นบ้านของกัมพูชาเป็นการแสดงที่รูปแบบไม่ได้กำหนดตายตัวเช่นระบำคลาสสิก การแต่งกายเป็นไปตามการแต่งกายของกลุ่มชน เช่น ชาวจาม ชาวเขมรบนเผ่าต่างๆ และชาวนา นิยมบรรเลงด้วยวงมโหรี ระบำเชิงสังคมเป็นการแสดงในโอกาสที่มีการเฉลิมฉลองทางสังคมเช่น รอมวง รอมกบัจ รอมสาละวันและลำเลียบ บางส่วนได้รับอิทธิพลจากการแสดงพื้นบ้านของลาวยกเว้นรอมกบัจที่ได้อิทธิพลจากระบำราชสำนักมาก

วรรณคดียุคเริ่มแรกของกัมพูชาเป็นจารึกบนศิลาซึ่งเล่าถึงการสืบเชื้อสายของราชวงศ์ การศาสนา อาณาเขตยึดครอง และการจัดการภายในราชอาณาจักร เอกสารภาษาเขมรที่เก่าแก่ที่สุดเป็นการแปลพระไตรปิฎกและอรรถกถาจากภาษาบาลี เขียนโดยพระสงฆ์ลงบนใบลาน

เรียมเกอร์เป็นรามายณะฉบับเขมรที่ได้รับอิทธิพลจากอินเดียและยังมีอิทธิพลต่อระบำคลาสสิก และเป็นเรื่องที่มีประวัติการนำมาแสดงเก่าแก่ที่สุดในกัมพูชา กัมพูชามีวรรณกรรมมุขปาฐะที่หลากหลาย ซึ่งไม่มีการเขียนจนกระทั่งได้รับอิทธิพลจากยุโรป เรื่องที่มีชื่อเสียงมากคือวรวงศ์และสรวงศ์หรือวรวงศ์และเสารวงศ์ซึ่งเป็นเรื่องเล่าเกี่ยวกับเจ้าชายเขมรสององค์ มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่พระตะบอง ตุมเตียว เป็นเรื่องแนวความรักที่เป็นที่นิยมในกัมพูชา โครงเรื่องคล้ายโรมิโอและจูเลียตของเชคสเปียร์ โดยมีที่มาจากกวีนิพนธ์ของพระปทุมเถระ (โสม)

นัง สเบกมีลักษณะใกล้เคียงกับหนังใหญ่ในประเทศไทย วายังของมาเลเซียและอินโดนีเซียในบริเวณเกาะชวาและบาหลี ทำให้คาดว่าต้นกำเนิดของนัง สเบกมาจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ปัจจุบันมีผู้นิยมน้อยลง นัง สเบกในกัมพูชามี 3 ชนิดคือ

ภาพยนตร์ในกัมพูชาเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2493 พระนโรดม สีหนุเองทรงมีบทบาทสำคัญในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์และในสมัยระบอบสังคมของพระองค์เป็นยุคทองของภาพยนตร์ก่อนจะตกต่ำลงในสมัยเขมรแดง

นับแต่ช่วง 30 ปีที่ผ่านมา กัมพูชาเข้าร่วมในการแข่งขันกีฬาในระดับโลกมากขึ้น ฟุตบอลกลายเป็นกีฬายอดนิยมเช่นเดียวกับศิลปะการต่อสู้เช่น ประดัลเสรี ปกกโต และมวยปล้ำกัมพูชา

ปกกโตเป็นศิลปะการต่อสู้แบบโบราณในกัมพูชา และคาดว่าเป็นต้นกำเนิดของกีฬามวยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบในภาพแกะสลักสมัยนครวัด และมีการแต่งกายคล้ายกับทหารโบราณของกัมพูชา และถือเป็นศิลปะการสู้รบของทหาร ประดัลเสรีเป็นมวยพื้นบ้านของกัมพูชา มีภาพสลักของการต่อสู้ที่คล้ายประดัลเสรีที่นครวัดเช่นกัน อย่างไรก็ตาม หลายชาติในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับจุดกำเนิดของกีฬามวยในภูมิภาค มวยปล้ำกัมพูชาเป็นกีฬายอดนิยมอย่างหนึ่งในกัมพูชา นิยมจัดแข่งขันช่วงเทศกาลปีใหม่

สหพันธ์ฟุตบอลกัมพูชาเป็นผู้ควบคุมกีฬาฟุตบอลในกัมพูชา และฟุตบอลทีมชาติกัมพูชา ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2476 และเป็นสมาชิกฟีฟ่าตั้งแต่ พ.ศ. 2496 เป็นสมาชิกสหพันธ์ฟุตบอลเอเชียใน พ.ศ. 2500 สนามกีฬาแห่งชาติพนมเปญเป็นสนามกีฬาแห่งชาติ จุคนได้ 50,000 คน ตั้งอยู่ในพนมเปญ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301