ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

วัชรยาน

วัชรยาน (Vajrayana) เป็นนิกายหนึ่งในพุทธศาสนา ซึ่งเป็นระบบที่ซับซ้อนในหลายมิติในการคิดและการปฏิบัติ ที่ได้มีวิวัฒนาการในหลาย ๆ ร้อยปี

นอกจากเรียกว่าวัชรยานแล้ว ยังมีชื่ออื่น ๆ อีก เช่น พระพุทธศาสนาลัทธิตันตระ (Tantric Buddhism) ตันตรยาน (Tantray?na) มันตรยาน (Mantray?na) คุยหยาน (Esoteric Buddhism) เป็นต้น

พุทธศาสนิกชนฝ่ายวัชรยานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้ทรงหมุนกงล้อพระธรรมจักร 3 ครั้งด้วยกัน ซึ่งมีความหมายว่า ท่านได้เทศนาในหลักใหญ่ๆไว้ 3 เรื่อง 3 วาระ ได้แก่

การเทศนาครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 นั้นได้เทศนาเกี่ยวกับมหายาน ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากในเรื่องของอุดมคติการหลุดพ้นของสรรพสัตว์ทั้งหมด เป็นอุดมคติของมหายาน อุดมคตินี้ เรียกว่า "โพธิจิต"(จิตที่ต้องการตรัสรู้ธรรมเพื่อประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย)

บุคคลใดที่มีอุดมคติแบบโพธิจิตนี้และปฏิบัติอุดมคตินี้ บุคคลนั้นก็คือพระโพธิสัตว์ ในแต่ละครั้งแห่งการเกิด ต้องมีบุพการี 1 กลุ่ม ในการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏนี้แต่ละคนได้มีบุพการีมาแล้วเป็นจำนวนที่นับไม่ถ้วน ฉะนั้นการแสวงหาทางหลุดพ้นจึงควรเป็นไปพร้อมกัน หรือให้บุพการีไปก่อนแล้วเราค่อยหลุดพ้นตามไป นี่คือความเป็นพระโพธิสัตว์ พระอาจารย์ชาวทิเบตได้กล่าวไว้ในศตวรรษที่ 14 ว่า

ความทุกข์ทั้งหมดเกิดขึ้นจากการเห็นแก่ตัว ความสุขทั้งหมดเกิดขึ้นจากการหวังดีให้ผู้อื่นมีความสุข

ฉะนั้นการแลกความสุขของตนเปลี่ยน กับความทุกข์ของผู้อื่นเป็นหน้าที่ของพระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ต้องประกอบไปด้วยบารมี 6 ประการ

ในบารมี 6 ที่พระโพธิสัตว์ปฏิบัตินั้นประกอบด้วยทาน ศีล ขันติ วิริยะ สมาธิ และปัญญา เมื่อปฏิบัติถึงที่สุดแล้ว พระโพธิสัตว์ก็บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าได้ สามารถบรรลุความเป็นตรีกายได้คือธรรมกาย สัมโภคกาย และนิรมาณกาย พระพุทธเจ้าได้สอน เรื่องของวัชรยานไว้ตั้งแต่สมัยพุทธกาล เช่น กาลจักรตันตระ หลังจากได้บรรลุสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว 1 ปี แก่พระโพธิสัตว์ที่บำเพ็ญในภูมิที่สูง ฉะนั้นคำสอนตันตระจึงถือว่าเป็นคำสอนลับเฉพาะ ถ่ายทอดแก่ผู้ที่มีความพร้อมในการปฏิบัติธรรมชั้นสูง หากถ่ายทอดไปยังผู้ไม่เหมาะสม นอกจากจะไม่เกิดประโยชน์แล้วยังอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดได้

คำสอนมหายานเป็นที่เริ่มสนใจปฏิบัติในช่วงของท่านนาคารชุนในปื ค.ศ. 1 ท่านนาคารชุนได้ปฏิบัติคำสอนตันตระได้ อย่างเป็นเลิศ ท่านได้เขียนเรื่องการปฏิบัติตันตระเรื่องกูเยียซามูจาตันตระ ในศตวรรษที่ 16 ท่านตารานาถ พระอาจารย์ชาวทิเบตในนิกายโจนังปะ (Jonangpa) ได้บันทึกไว้ว่าท่านคุรุนาคารชุนได้เขียนคำสอนเกี่ยวกับตันตระ ไว้มากเพียงแต่ช่วงที่ท่านมีชีวิตอยู่ไม่เป็นที่นิยมและแพร่หลาย ทิเบตเริ่มรับคำสอนจากอินเดีย ในช่วงศตวรรษที่ 7-8 ในช่วงนั้นการปฏิบัติตันตระในอินเดียได้พัฒนาขึ้นถึงจุดสูงสุดไปจนถึง ศตวรรษที่ 12 การปฏิบัติในวัชรยานมีเงื่อนไขสำคัญอยู่หนึ่งข้อคือก่อนที่จะศึกษาปฏิบัติตันตระ จะต้องได้รับการมนตราภิเษก (initiation/ empowerment) จากพระอาจารย์ผู้มีคุณสมบัติเหมาะสมและได้รับอนุญาตจากครูบาอาจารย์ในสายของท่านให้เป็นผู้ประกอบพิธี ถ้าไม่มีมนตราภิเษก ถึงแม้จะปฏิบัติอย่างไรก็ตามจะไม่ได้รับผลเต็มที่ ฉะนั้นผู้สนใจปฏิบัติวัชรยานจึงต้องได้รับการมนตราภิเษกจากพระอาจารย์เสียก่อน อย่างไรก็ตาม มนตราภิเษกที่สมบูรณ์ไม่ได้เกิดหลังผ่านพิธีกรรม แต่เกิดไปตลอดชีวิตของผู้ปฏิบัติเมื่อเขาฝึกฝนตนเองตามบทปฏิบัติจนจิตของเขาประสานเป็นหนึ่งเดียวกับจิตของพระพุทธเจ้าองค์ที่เขาปฏิบัติบูชา และการให้มนตราภิเษกชั้นสูงจะมอบให้เพียงศิษย์ที่คุรุไว้วางใจว่ามีจิตเยี่ยงพระโพธิสัตว์และจะสามารถรักษาและปฏิบัติตามคำสอนได้อย่างเคร่งครัด นอกจากมนตราภิเษก คำสอนในสายตันตระยังต้องได้รับการส่งมอบจากคุรุสู่ศิษย์ที่เรียกว่า การถ่ายทอดคำสอน (transmission) และได้รับการอธิบาย (instruction) อย่างชัดแจ้ง

คำสอนวัชรยานมีไว้สำหรับผู้ที่มีพื้นฐานปัญญาจากมหายานเป็นอย่างดีจึงสามารถเข้าใจคำสอนอันลึกซึ้งได้ เป็นที่รู้กันว่าในทิเบต ท่านมิลาเรปะได้บรรลุธรรมในช่วงชีวิตของท่านด้วยการปฏิบัติตันตระ การปฏิบัติวัชรยานสามารถ ทำให้เราบรรลุถึงจุดนั้นได้ด้วยเวลาอันสั้น คำสอนต่างๆในตันตระได้ถูกบันทึกไว้ด้วยวิธีการ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสสั่งไว้ เราสามารถศึกษาตันตระได้จากคำสอนต่างๆที่พระอาจารย์ชาวอินเดียได้บันทึกไว้และได้แปลทั้งหมดสู่ภาษาทิเบต เนื่องจากคำสอนดั้งเดิมที่เป็นภาษาสันสกฤตได้สูญหาย และถูกทำลายไปนานแล้ว

พุทธศาสนาได้เข้าสู่ทิเบตในสมัยกษัตริย์ซงซัน กัมโปในคริสต์ศตวรรษที่ 7 พุทธศาสนาเข้าสู่ทิเบตทั้งจากอินเดียและจีน ได้มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ทิเบตว่ามีการสังคายนาพระพุทธศาสนา ณ นครลาซา โดยผ่านการโต้วาทีธรรมระหว่างนิกายเซนของจีนและวัชรยานจากอินเดีย ผลปรากฏว่า ชาวทิเบตเลื่อมใสในวัชรยานมากกว่า ดังนั้นพุทธศาสนาวัชรยานจึงลงรากฐานมั่นคงในทิเบตสืบมา พระเจ้าตรีซง เตเซ็น ได้ทรงนิมนต์ท่านศานตรักษิต ภิกษุชาวอินเดียและพระคุรุปัทมสมภวะเข้ามาเพื่อเผยแผ่พระธรรม โดยเฉพาะพระคุรุปัทมสมภวะได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวทิเบตอย่างมากจนท่านได้รับการยกย่องว่าเป็นพระพุทธเจ้าองค์ที่ 2 ของชาวทิเบต ท่านได้ร่วมกับท่านศานตรักษิตสร้างวัดสัมเย่ขึ้นในปี ค.ศ. 787 และเริ่มมีการอุปสมบทพระภิกษุชาวทิเบตขึ้นเป็นครั้งแรก ในความอุปถัมภ์ของกษัตริย์ตรีซง เตเซ็น ทั้งนี้ยังได้จัดนักปราชญ์ชาวทิเบตเข้าร่วมในการแปลพระพุทธธรรมเป็นภาษาทิเบตด้วยอย่างมากมาย

พุทธศาสนาในทิเบตมีประวัติความเป็นมา 2 ทาง ทางหนึ่งเผยแผ่จากอินเดียในศตวรรษที่ 7 ในสมัยกษัตริย์ซงซัน กัมโปดังกล่าวข้างต้น แบ่งออกเป็น 4 นิกายใหญ่ๆ ได้แก่ ญิงมาปะ (Nyingmapa), กาจูร์ปะ (Kagyupa), สาเกียปะ (Sakyapa) และเกลุกปะ (Gelugpa) โดยญิงมาปะเน้นการฝึกปฏิบัติตามคำสอนในคัมภีร์ที่ได้มีการแปลจากสันสกฤตระหว่างศตวรรษที่ 7-10 ส่วนนิกายที่เหลือรวมเรียกว่า ซาร์มา (Sarma) หมายถึงนิกายใหม่ เน้นการฝึกปฏิบัติตามคำสอนในคัมภีร์ที่ได้มีการแปลหลังศตวรรษที่ 11 โดยมีท่านอตีศะทีปังกร พระอาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้เน้นในเนื้อหาของพระสูตร

การเผยแผ่ในทิเบตอีกทางหนึ่ง มีต้นกำเนิดจากอาณาจักรชางชุง (Zhang zhung หรือ Shang shung) ซึ่งเชื่อว่าคือบริเวณภูเขาไกรลาศทางตะวันตกของทิเบตในปัจจุบัน อันมีอาณาเขตไปจนถึงเปอร์เซีย โดยที่พุทธศาสนาดั้งเดิมนี้ หรือที่ Professor Christopher Beckwith เรียกว่า พุทธโบราณของเอเซียกลาง (ancient Buddhism of Central Asia) มีชื่อเรียกว่า เพิน (Bon) หรือชื่อที่ถูกต้องคือ ยุงตรุงเพิน (Yungdrung Bon) หมายถึง ธรรมะที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง คำว่า เพิน แปลว่า ธรรมะ หรือสภาวธรรม คำนี้จึงเป็นคำเดียวกับคำว่า เชอ (Chos) ซึ่งใช้เรียกธรรมะในพุทธศาสนาที่เผยแผ่มาจากอินเดีย หมายถึง คำสอนในนิกายต่างๆข้างต้น (คำว่า เพิน หรือนักแปลบางคนออกเสียงตามภาษาอังกฤษว่า บอน ยังเป็นชื่อเรียกลัทธิความเชื่อแต่ดั้งเดิมที่มีการนับถือธรรมชาติและเคยมีการบูชายัญ แต่ลัทธินี้ซึ่งชื่อเต็มคือ "เตอเม เพิน" ถูกทำลายไปจนหมดสิ้นตั้งแต่ในสมัยพุทธกาลของพระพุทธเจ้าเติมปา เชนรับ มิโวเช องค์พระศาสดาก่อนสมัยพุทธกาลของพระพุทธเจ้าศรีศายมุนี เมื่อกว่า 10,000 ปีมาแล้ว หลังจากนั้น ชาวชางชุงได้กลายเป็นชาวพุทธ เมื่อพระพุทธเจ้าเติมปา เชนรับเสด็จทิเบต ทรงนำคำสอนนี้ไปเผยแผ่ในทิเบต ทำให้คำสอนนี้รุ่งเรืองในทิเบต จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 7 ที่มีการรับคำสอนมาจากอินเดีย ด้วยปัญหาทางการเมืองและศาสนา ในสมัยของกษัติรย์ตรีซง เตเซ็น (ศตวรรษที่ 8) อาณาจักรชางชุงถูกยึดครอง ผู้ปฏิบัติเพินจำนวนมากถูกสังหาร และกษัติรย์องค์สุดท้ายของชางชุงคือ กษัตริย์ลิกมินชาถูกปลงพระชนม์ หลังจากนั้น วิถีปฏิบัติพุทธเพินก็ได้ตกอยู่ในความขัดแย้งของการแบ่งแยกทางศาสนา)

พุทธวัชรยานแบ่งเป็นหลากหลายนิกาย แต่ละนิกายล้วนมีสังฆราช หรือผู้ปกครองสุงสุดของคณะสงฆ์ในแต่ละนิกายนั้น ๆ แต่ทุกนิกายล้วนแต่ยึดสมเด็จองค์ดาไลลามะ (ทะไลลามะ) เป็นประมุขทางจิตวิญญาณ

1. นิกายยุงตรุงเพิน หรือสาขาย่อยของวัชรยานที่มีต้นกำเนิดมาจากทิเบต (ไม่ได้เผยแผ่มาจากอินเดีย) เป็นพุทธโบราณที่สืบทอดมานับหมื่นปี แบ่งเป็น 9 ยาน และมี 3 มรรควิถีแห่งพระสูตร ตันตระ และซกเช็น พระสังฆราชของนิกายนี้คือสมเด็จแมนรี ทริซิน ริมโปเช (His Holiness Menri Trizin Rinpoche) ปัจจุบันทรงประทับอยู่ที่วัดแมนรี ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่สำคัญของนิกายนี้โดยมีการศึกษาในระดับปริญญาเกเช เทียบเท่าปริญญาเอก

ญิงมาปะเป็นนิกายแรกที่เผยแผ่มาจากอินเดีย โดยถือว่ากำเนิดจากท่านคุรุปัทมสมภวะ ได้มีพัฒนาการครั้งใหญ่ๆ 3 ครั้ง คือ การเริ่มต้น ซึ่งก็ถือว่าเป็นการเริ่ม ต้นพุทธศาสนาของทิเบตด้วย และเป็นนิกายเดียวที่มีอยู่ในช่วงนั้น คือศตวรรษที่ 8-11 คำว่า "ญิงมาปะ" ซึ่งแปลว่าโบราณสัญลักษณ์ของนิกายคือใส่หมวกสีแดงชาวทิเบตเลื่อมใสศรัทธา ท่านคุรุปัทมภพมากเชื่อว่าท่านเป็นผู้ทรงพลานุภาพอย่างมากในการให้ความช่วยเหลือขจัดอุปสรร ต่างๆได้จนหมดสิ้น ณยิงมาปะได้เน้นในด้านพุทธตันตระคำว่าตันตระนั้นแปลว่าเชือกหรือเส้นด้ายใหญ่ๆ หรือความต่อเนื่อง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการถ่ายทอดคำสอนจากอาจารย์ไปสู่ศิษย์ โดยไม่มีการขาดตอนโดยผ่านพิธีมนตราภิเษก และเป็นการถ่ายทอดคำสอนปากเปล่าจากอาจารย์สู่ศิษย์

คำสอนญิงมาปะเน้นในเรื่องความไม่เป็นแก่นสารของจักรวาลและเน้นถึงความเป็นไปได้ในการตรัสรู้ในเวลาอันสั้น แบ่งพุทธศาสนาออกเป็น 9 ยานคือ

นิกายกาจูร์ปะเป็นนิกายสำคัญนิกายหนึ่งในต้นศตวรรษที่ 11 "กาจูร์ปะ" แปลว่า การถ่ายทอดคำสอนด้วยการบอกกล่าวจากอาจารย์สู่ศิษย์ ผู้ก่อตั้งคือท่านมาร์ปะ ผู้สืบสายคำสอนมาจากนาโรปะ นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งมหาวิหารนาลันทา ผู้รับสืบทอดคำสอนมาจากติโลปะ ผู้ถือว่ารู้แจ้งเองไม่ปรากฏว่าท่านได้รับคำสอนจากพระอาจารย์ท่านใด แต่ได้มีบันทึกบอกกล่าวไว้ว่าท่านได้รับคำสอนโดยตรงจากพระพุทธวัชรธร มาร์ปะเป็นลามะปราชญ์ผู้แปลพระธรรมที่มีชื่อเสียงมากท่านหนึ่งของทิเบต ท่านได้ถ่ายทอดคำสอนต่อให้มิลาเรปะ โยคีผู้บรรลุความรู้แจ้งในชีวิตนี้ นิกายกาจูร์ปะได้ชื่อว่านิกายขาวก็สืบเนื่องจากการครองผ้าของมิลาเรปะซึ่งท่านจะครองผ้าบางๆสีขาวหรืออาจจะมาจากสัญลักษณ์ของวัดในกาจูร์ปะซึ่งจะทาสีขาวทั้งหมด มาร์ปะและมิลาเรปะถือว่ามีความสำคัญมากในพุทธตันตระของทิเบต ท่านได้ประพันธ์คำสอนไว้มากมาย มิลาเรปะมีศิษย์ทั้งหมด 21 ท่าน ท่านที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ กัมโปปะ คำสอนสำคัญของนิกายนี้ ตันตระโยคะทั้ง 6 และการปฏิบัติ มหามุทรา

นิกายนี้ได้มาจากชื่อของวัดสาเกีย คำว่า สาเกีย แปลว่าดินสีเทา อยู่ในแคว้นซัง ทางตอนใต้ของ แม่น้ำยาลุงซังโป

วัดสาเกียมีเอกลักษณ์คือทาสีเป็น 3 แถบ คือแถบสีแดง สีขาว และสีดำ สีทั้ง 3 เป็นสีแห่งพระโพธิสัตว์ 3 องค์ คือ

นิกายสาเกียปะได้ตั้งขึ้นในศตวรรษที่ 11 ผู้ก่อตั้งนิกายคือผู้สืบเชื้อสายขุนนางเก่าตระกูลเกิน โกนชก เกียลโป ท่านได้รับคำสอนกาลจักรตันตระจากบิดาซึ่งรับคำสอนมากจากวิรูปะ โยคีชาวอินเดีย ท่านเกิน โกนชก เกียลโปได้เดินทางไปเรียนตันตระจากอาจารย์อีกท่านคือโยมิโลซาวา เป็นบัญญัติของท่านเกิน โกนชก เกียลโป ว่าการสืบทอดในนิกายนี้จะสืบทอดเฉพาะคนในตระกูลเกินเท่านั้น ตำแหน่งของเจ้านิกายสาเกียปะเป็นตำแหน่งที่มีอำนาจทั้งในทางการเมืองและการศาสนาความสำคัญในเชิงประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าผู้สืบสายนิกายสาเกียปะ ท่านที่4คือกุงกา เกียลเซ็น หรือ สาเกียบันฑิต และหลานของท่านที่ชื่อว่า พักปะ โลดุป เกียลเซนทั้ง 2 ท่านเป็นผู้มีชื่อเสียงในการเมืองของทิเบตมาก ท่านได้รับการเชิญจากโดยข่านชาวมงโกลให้ไปแผ่แผ่พุทธตันตระในประเทศจีน เป็นที่เลื่อมใสแก่ข่านมงโกลอย่างมาก กุบไลข่านได้แต่งตั้งให้พักปะ โลดุป เกียลเซนให้ปกครองทิเบต และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการที่พระสงฆ์นั้นปกครองทั้งอาณาจักรและศาสนจักร

เช่นเดียวกับนิกายกาจูร์ปะและสาเกียปะ จุดเริ่มของทั้ง 2 นิกายมาจากอตีศะทีปังกร และศิษย์ของท่านชื่อ ตมเติมปะ ท่านอตีศะได้เน้นมากในเรื่องคำสอนดั้งเดิมของพุทธศาสนาและเน้นในการปฏิบัติพระธรรมวินัยที่เคร่งครัดโดยไม่เน้นในคำสอนตันตระ ศิษย์ของท่านอตีศะได้ก่อตั้งนิกายกาดัมปะขึ้น คำว่า กาดัม แปลว่าคำสอนของพระพุทธเจ้า เมื่อเวลาผ่านไปกาดัมปะได้สูญเอกลักษณ์ของตนเองไปบ้างด้วยแรงดึงดูดใจจากตันตระ ในศตวรรษที่14 พระอาจารย์ซงคาปาได้ศึกษาคำสอนของท่านอตีศะและได้ปฏิวัตินิกายกาดัมปะขึ้นมาใหม่ให้คงเอกลักษณ์เดิมและได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นนิกายเกลุกปะ คำว่าเกลุก แปลว่าความดีงาม คำสอนของเกลุกปะ เน้นที่การศึกษาจากต่ำขึ้นไปสูงเน้นธรรมวินัย เน้นด้านตรรกะและพุทธปรัชญา

ผู้นำคำสอนนิกายพุทธตันตระเข้าสู่ประเทศจีนคือ ศุกรสิงหะซึ่งเข้าสู่จีนเมื่อ พ.ศ. 1259 ต่อมาได้มีคณาจารย์สำคัญเช่น วัชรโพธิ์ และอโมฆวัชระเข้ามาเผยแพร่คำสอนอีก นิกายนี้ได้รับการส่งเสริมมากเมื่อมองโกลเข้ามามีอำนาจในจีน จากนั้นได้เสื่อมไป

ก่อตั้งโดยคูไค ซึ่งมีนามว่า โคโบ ไดจิหลังจากมรณภาพ โดยรับคำสอนผ่านทางนิกายเชนเหยนในจีน ได้รวมเอาความเชื่อในศาสนาชินโตเข้าไว้ด้วย

พระพุทธศาสนาฝ่ายวัชรยานในเมืองไทย เกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยของ พระมหาคณาจารย์จีนธรรมสมาธิวัตร (โพธิ์แจ้งมหาเถระ) หรือลามะทริมซินกุนดั๊กรินโปเช) ปฐมเจ้าอาวาสวัดโพธิ์แมนคุณาราม และอดีตเจ้าคณะใหญ่จีนนิกายรูปที่ 6 ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้จาริกไปประเทศจีน ได้ธุดงค์ไปถึงแคว้นคาม ทิเบตตะวันออก และได้เข้าศึกษามนตรยาน นิกายณยิงมาคากิว ณสำนักสังฆราชาริโวเช่ แคว้นคาม ทิเบตตะวันออก กับพระสังฆราชา “วัชระนะนาฮู้ทู้เคียกทู้” (พระมหาวัชรจารย์พุทธนอร่ารินโปเช่) ซึ่งเป็นพระมหาเถระที่มีชื่อเสียงมากของทิเบต จีน และในแถบจีนตอนใต้ ฮ่องกง ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย

ท่านสังฆราชานะนา ได้เปิดเผยว่าท่านเจ้าคุณ อาจารย์ถือกำเนิดจากปรมาจารย์ “คุรุนาคารชุน” (ตามความเชื่อและแนวทางปฏิบัติในทิเบต) ซึ่งมาเพื่อฟื้นฟู สถาปนาพุทธศาสนามหายานให้มั่นคงในภูมิภาคนี้ ดังนั้นท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้รับ ความเมตตาจากพระอาจารย์เป็นพิเศษ เมื่อท่านเจ้าคุณอาจารย์ศึกษาแตกฉานใน มนตรยานณยิงมาคากิว แล้ว พระสังฆราชาฯ ได้ประกอบมนตรภิเษก ตั้งให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์โพธิ์แจ้งมหาเถระ หรือลามะทริมซินกุนดั๊ก เป็น “พระวัชรธราจารย์” อันดับที่ 26 สืบต่อจากท่าน ในการครั้งนั้น ท่านสังฆราชานะนาได้มอบ อัฐบริขาร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำตำแหน่งสังฆราชาให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์อย่างครบถ้วน และหลังจากนั้นไม่นานท่านได้รับเกียตริสูงสุดในตำแหน่งพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งนิกายมันตรยาน ทิเบต

ทั้งนี้พระอาจารย์ได้มอบพระธรรมคัมภีร์ ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ที่สุดของนิกายพร้อมทั้งกำชับให้ท่านเจ้าคุณอาจารย์นำกลับมาประดิษฐานในประเทศไทย ด้วยเหตุที่ว่าเมืองไทยพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองและมั่งคง ท่านสังฆราชาได้ทำนายว่า ทิเบตต้องแตก พระธรรมคัมภีร์อันมีค่ามหาศาลจะถูกทำลายหมด ในปัจจุบันเป็นที่ยืนยันแล้วว่า พระธรรมคัมภีร์ฉบับที่อยู่ กับท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นฉบับสมบูรณ์ที่สุด

ครั้นเมื่อท่านได้ธุดงค์วัตรกลับสู่เมืองไทยแล้วท่านได้ถ่ายทอดวัชรยานให้กับลูกศิษย์เพียงไม่กี่ท่านเท่านั้น และหลังจากปี พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ท่านกลับไม่ได้พูดถึงเรื่องวัชรยานอีกเลย เพียงแต่ท่านได้บอกกับลูกศิษย์ว่า "เดี๋ยวรู้เอง" สุดท้ายทุกอย่างก็เป็นความลับต่อมา

จนถึงสมัยก่อนที่ท่านจะดับขันธ์ ท่านเกิดอาการล้มป่วยเข้าพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลธนบุรี ท่านเจ้าคุณเย็นเต็ก ซึ่งเป็นลูกศิษย์ท่านได้เดินทางไปยังเนปลา เพื่อสอบถามถึงอาการป่วยของพระอาจารย์จากลามะชั้นสูง และท่านได้เข้าพบกับพระสังฆราชต๊ากน่า จึงได้ถ่ายทอดรหัสนัยแห่งวัชรยานให้แก่ท่านเจ้าคุณเย็นเต็ก

เมื่อท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้งถึงแก่กาลดับขันธ์นั้น ท่านไม่ได้ถ่ายทอดรหัสนัย และตำแหน่งพระสังฆราชนิกายมนตรายานให้แก่ผู้ใดเลย คณะศิษย์ของท่านได้เดินทางตามหาพระลามะที่จะมาต่อสายวัชรยานจากท่านหลาย ๆ ประเทศ โดยอาศัยเพียงรูปถ่ายของท่านเจ้าคุณโพธิ์แจ้ง และพระอาจารย์นอร่ารินโปเช่ และท่านวิทยาดรุ๊ปวังเท่านั้น สุดท้ายก็พบกับท่านพระมหาวัชรจารย์โซนัม ท๊อปเกียว รินโปเช่ จึงได้กระจ่างขึ้น เมื่อท่านได้เปิดเผยความลับเรื่องวัชรยาน

จนถึงปัจจุบันนี้ พุทธศาสนาฝ่ายวัชรยานในเมืองไทย ได้รับการสืบทอดมาจากพระอารามรินโวเช่ ซึ่งเป็นต้นสายของวัชรยาน จากแคว้นคามทิเบต ตะวันออก โดยมีพระมหาวัชรจารย์โซนัมท๊อปเกียวรินโวเช่เป็นผู้สืบทอด และมีการฝึกปฏิบัติแนวทางนี้ที่รินโวเช่ธรรมสถาน และวัดภิกษุณีที่ จ.สมุทรปราการ

พระในคณะสงฆ์จีนนิกายนั้น วัชรยานที่ท่านเจ้าคุณได้ถ่ายทอดให้กับศิษย์นั้นเหลือไม่กี่ท่านที่ยังยึดถือและปฏิบัติตามวิถีทางแห่งวัชรยานอย่างเคร่งครัด อาทิเช่น ท่านเจ้าคุณเย็นอี่ วัดโพธิ์เย็น พระอาจารย์เย็นเมี่ยง วัดเทพพุทธาราม เป็นต้น

นอกนั้นยังมีการยึดถือปฏิบัติพิธีกรรม และการมนตราภิเษก และการเขียนอักขรมนต์ในพิธีเจริญพุทธมนต์

ปัจจุบันมีการถ่ายทอดคำสอนเข้ามาในประเทศไทยจากหลายนิกาย และได้มีการตั้งกลุ่มปฏิบัติต่างๆ ขึ้นดังนี้

บ้านติโลปะ (Tilopa House) สืบสายการปฏิบัติของท่านทรุงปะริมโปเช เช่นเดียวกับสายชัมบาลา แต่ผ่านคุรุทางจิตวิญญาณชาวอเมริกันชื่อ เรจินัลด์ เรย์ (Reginald Ray) มีบ้านปฏิบัติธรรมและที่อบรมเสวนาในกรุงเทพมหานคร

นอกจากนี้ ยังมีคำสอนในพุทธวัชรยานที่ได้รับการถ่ายทอดที่วัตรทรงธรรมกัลยาณี เช่น คำสอนเกี่ยวกับพระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า คำสอนในสายเกลุกปะ และเสถียรธรรมสถาน เช่น คำสอนเกี่ยวกับพระโพธิสัตว์ตารา


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

ลีโอ กาเมซ ดัสติน ฮอฟฟ์แมน จักรพรรดินีมารีเยีย อะเลคซันโดรฟนาแห่งรัสเซีย โอลิมปิก 2008 กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน ครั้งที่ 24 การก่อการกำเริบ 8888 วิทยาลัยเทคนิคภาคพายัพ ยุทธการแห่งบริเตน บีเซนเต เดล โบสเก โคเซ มานวยล์ เรย์นา เคซุส นาบัส คาบี มาร์ตีเนซ เฟร์นันโด โยเรนเต เปโดร โรดรีเกซ เลเดสมา เซร์คีโอ ราโมส ควน มานวยล์ มาตา บิกตอร์ บัลเดส ชูอัน กัปเดบีลา ชาบี ดาบิด บียา อันเดรส อีเนียสตา การ์เลส ปูยอล ราอุล อัลบีออล กัปตัน (ฟุตบอล) อีเกร์ กาซียัส สโมสรฟุตบอลบียาร์เรอัล 2000 Summer Olympics Football at the Summer Olympics Spain national football team Valencia CF S.L. Benfica Sevilla FC Villarreal CF Midfielder Defender (association football) เนวิลล์ ลองบัตท่อม เจ.เค. โรว์ลิ่ง แฮร์รี่ พอตเตอร์ (ตัวละคร) บ็อบบี ร็อบสัน สมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงแห่งเบลเยียม แอนดรูว์ จอห์นสัน อิกเนเชียสแห่งโลโยลา เจ. เค. โรว์ลิ่ง เวสลีย์ สไนปส์ ฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ยอดเขาเคทู สมาคมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Munhwa Broadcasting Corporation โจ อินซุง ควอน ซัง วู ยุน อึนเฮ รักวุ่นวายของเจ้าชายกาแฟ อุซึมากิ คุชินะ มาเอดะ อัตสึโกะ คิม ฮีชอล เจสสิก้า ซิมพ์สัน จาง เซี๊ยะโหย่ว พิภพ ธงไชย วิมล ศิริไพบูลย์ มหาธีร์ โมฮัมหมัด บอริส เยลซิน ออกแลนด์ เรนโบว์วอริเออร์ ฝ่ายพันธมิตร เด่น จุลพันธ์ เคอิทาโร โฮชิโน แมนนี่ เมลชอร์ ผู้ฝึกสอน ไมเคิล โดมิงโก ก. สุรางคนางค์ นิโคล เทริโอ ซีเนอดีน ซีดาน เริ่น เสียนฉี โจเซฟีน เดอ โบอาร์เนส์ โอดะ โนบุนากะ แยกราชประสงค์ แคชเมียร์ วีโต้ แอฟริกัน-อเมริกัน Rolling Stone People (magazine) TV Guide อินสตาแกรม Obi-Wan Kenobi Saturday Night Live The Lego Movie Jurassic World Guardians of the Galaxy (film) Her (film) แอนนา ฟาริส จอมโจรอัจฉริยะ จอมโจรคิด ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ตัวละครในฮายาเตะ พ่อบ้านประจัญบาน ลุยจี กอนซากา ครีษมายัน เจริญ วัดอักษร อลิซ บราวน์ อินิโก โจนส์ กาแอล กากูตา

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
เลขมงคล รถยนต์ ทะเบียน ทะเบียนรถ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23180