ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

วังพญาไท

พระราชวังพญาไท หรือ วังพญาไท ตั้งอยู่ที่ริมคลองสามเสน ถนนราชวิถี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น พระราชทานนามให้ว่า "พระตำหนักพญาไท" หรือ "วังพญาไท" ต่อมาในรัชกาลที่ 6 ได้รับการสถาปนาเป็นพระราชวังพญาไท

วังพญาไท เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นที่เสด็จทอดพระเนตรการทำนา การปลูกผักและการเลี้ยงสัตว์ วังนี้พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างตำหนักเป็นที่ประทับ รวมถึงส่วนพื้นที่ด้านตรงข้ามกับพระตำหนัก โปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ทำนา รวมทั้ง โรงนา ขึ้นเพื่อประกอบพระราชพิธีแรกนาขวัญหลายครั้ง ณ วังพญาไท

วังพญาไทใช้เป็นที่ประทับของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในระยะเวลาอันสั้น เพราะเมื่อหลังจากมีการขึ้นเรือนใหม่ได้เพียงไม่กี่เดือนก็สวรรคต และในสมัยรัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทูลเชิญสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวง พระราชมารดา มาประทับที่พระราชวังแห่งนี้ด้วย จนกระทั่งสวรรคตเมื่อปี 2463 หลังจากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ทรงรื้อพระตำหนักพญาไท เหลือไว้เพียง พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ ซึ่งเป็นท้องพระโรง และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระที่นั่งใหม่หลายพระองค์ด้วยกัน รวมทั้งได้รับการสถาปนาวังเป็น พระราชวังพญาไท รัชกาลที่ 6 เสด็จฯ มาประทับที่พระราชวังนี้เป็นประจำ และเริ่มมีพระอาการประชวรในปี 2468 จนเดือนสุดท้ายแห่งรัชกาลจึงเสด็จฯ จากพระราชวังพญาไทไปประทับในพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง จนกระทั่งสวรรคต

พระราชวังพญาไท ยังเคยเป็นที่ประทับของ พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีในช่วงมีพระครรภ์พระหน่อ, สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา และเป็นที่พำนักของ พระสุจริตสุดา พระสนมเอก อีกด้วย

สิ่งที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของพระราชวังพญาไทในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้แก่ ดุสิตธานี หรือเมืองประชาธิปไตยย่อส่วน ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็นเมืองจำลองขึ้นเพื่อทดลองการปกครองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งปัจจุบันไม่มีเหลือให้เห็นแล้ว

ต่อมา สมัยรัชกาลที่ 7 โปรดเกล้าฯ ให้กรมรถไฟหลวงปรับปรุงวังพญาไทเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งสำหรับให้ชาวต่างประเทศพัก เปิดเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2468 ตามพระราชประสงค์ในรัชกาลที่ 6 ที่จะพระราชทานพระราชวังแห่งนี้ให้เป็นโฮเต็ลชั้นหนึ่งของประเทศ ตั้งแต่มีพระราชดำริจัดงานสยามรัฐพิพิธภัณฑ์ เพื่อพัฒนาการพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ระหว่างนั้น ได้มีการใช้ พระราชวังพญาไทได้เป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุกระจายเสียง วิทยุแห่งแรกของไทย ออกอากาศเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2473 กรมรถไฟดำเนินการโรงแรมวังพญาไทได้ 6-7 ปีก็เลิกกิจการเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2475 เนื่องจากคณะราษฎรต้องการนำวังพญาไทสร้างโรงพยาบาลทหาร จึงพระราชทานวังนี้ให้เป็นสถานพยาบาล ของกองทัพบก และได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า มาจนปัจจุบัน

นอกจากนี้ พระราชวังพญาไทยังเคยเป็นสถานที่จัดงานสำคัญหลายวาระ เช่น งานฉลองพระชนมายุ 6 รอบ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2540, การจัดแสดงดนตรีของวง อ.ส.วันศุกร์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ถือเป็นการแสดงต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550, การแข่งขันรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์อัจฉริยะข้ามคืน ล้านที่ 35 รวมทั้งการจัดการแสดงดนตรีต่างๆ เช่น ดนตรีคลาสสิก และดนตรีไทย เป็นต้น

ปัจจุบันพระราชวังพญาไทอยู่ในสภาพทรุดโทรมและกำลังอยู่ในระหว่างระดมทุนเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ และจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ถาวร ภายใต้การดำเนินงานของ ชมรมคนรักวัง และ มูลนิธิอนุรักษ์พระราชวังพญาไท ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี

ในปัจจุบัน คงเหลือพระที่นั่งที่สร้างในรัชกาลที่ 5 เพียงองค์เดียว คือ พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ และพระที่นั่งที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน พระที่นั่งพิมานจักรี พระที่นั่งศรีสุทธาวาส พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ พระตำหนักเมขลารูจี สวนโรมัน และ ศาลท้าวหิรันยพนาสูร โดยชื่อของพระที่นั่งจะตั้งให้มีความคล้องจองกัน ได้แก่ ไวกูณฐเทพยสถาน พิมานจักรี ศรีสุทธนิวาส เทวราชสภารมย์ อุดมวนาภรณ์ ลักษณะของสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นของพระราชวังพญาไทคือหอคอยสูงและหลังคายอดแหลมของพระที่นั่งพิมานจักรี ส่วนภายในมีภาพเขียนแบบปูนเปียกเป็นลวดลายงดงามแบบตะวันตก

พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่สร้างขึ้นในภายหลัง เป็นพระบรมราชานุสาวรีย์หล่อสำริดทรงยืนตั้งอยู่ด้านหน้าอาคารเทียบรถพระทีนั่งเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์ที่หล่อขึ้นขนาดเท่าองค์จริงทรงเครื่องยศจอมพลทหารบกประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี

อาคารเทียบรถพระที่นั่ง ตั้งอยู่ด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว มีลักษณะเป็นอาคารแบบนีโอคลาสสิคอยู่ด้านหน้าพระที่นั่งพิมานจักรีโดยดาดฟ้าของอาคารเชื่อมกับพระที่นั่งพิมานจักรี ใช้เป็นลานเทียบรถพระที่นั่งและห้องพักของผู้ที่รอเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวปัจจุบันทางพระราชวังได้เปิดให้เอกชนเช่าเป็นร้านกาแฟ นรสิงห์ ณ พญาไท

พระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน เป็นพระที่นั่งที่ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของพระที่นั่งพิมานจักรีซึ่งพระที่นั่งทั้งสององค์นี้เชื่อมต่อกันคล้ายๆกับเป็นองค์เดียวกันซึ่งเชื่อมต่อด้วยระเบียงลักษณะเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กก่ออิฐฉาบปูน2ชั้นต่อมาได้ต่อเติมเป็น3ชั้นสำหรับเป็นห้องพระบรรทมชั้นล่างด้านหน้าเป็นห้องหกเหลี่ยมซึ่งใช้เป็นห้องรับแขก ด้านหลังเป็นห้องประชุมที่ประกอบไปด้วยห้องนอนมหาดเล็ก โถงบันไดกลางและห้องพักคอย ชั้น2และชั้น3เป็นห้องส่วนพระองค์

พระที่นั่งพิมานจักรี เป็นพระที่นั่งองค์ประธานของหมู่พระที่นั่งภายในพระราชวังพญาไท สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น โดยมีสถาปัตยกรรมทรงโรมันเนสก์ผสมกับทรงกอธิค โดยจุดเด่นของพระที่นั่งองค์นี้อยู่ที่ยอดโดมสีแดงซึ่งในอดีตใช้สำหรับชักธงมหาราชขึ้นเหนือพระที่นั่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จมาประทับ รวมทั้ง บริเวณฝาผนังใกล้กับเพดานและเพดานของพระที่นั่งมีภาพเขียนลายดอกไม้แบบปูนเปียกซึ่งมีความงดงามมากและบานประตูเป็นไม้จำหลักปิดทอง มีจารึกพระปรมาภิไธยย่อเหนือบานประตูว่า "ร.ร.๖" ซึ่งหมายถึง สมเด็จพระรามราชาธิบดี รัชกาลที่ ๖ พระที่นั่งพิมานจักรีใช้เป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระมเหสีภายในชั้น1ประกอบด้วย ห้องเสวย และห้องธารกำนัลซึ่งเป็นห้องสำหรับให้ข้าราชบริพารเข้าเฝ้าต่อมาเมื่อเปลี่ยนเป็นโฮเต็ลวังพญาไทห้องนี้จึงกลางเป็นห้องอาหารชั้นสองเป็นที่ตั้งของท้องพระโรงกลางซึ่งเป็นห้องเสด็จให้เข้าเฝ้าส่วนพระองค์ภายในตกแต่งแบบยุโรปภายในมีเตาผิงซึ่งด้านบนประดิษฐานพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวภายใต้พระมหาพิชัยมงกุฏซึ่งล้อมรอบด้วยรัศมีภายในห้องพระบรรทมตกแต่งลายเพดานด้วยจิตรกรรมสีปูนแห้งเป็นภาพคัมภีร์ในศาสนาพุทธซึ่งจารึกบนใบลานภาพรอยพระพุทธบาทและภาพพระเกศแล้วจุฬามณีเจดีย์นอกจากนี้ยังมีภาพพญามังกรหมายถึงสัญลักษณ์แห่งความเป็นพระราชาและปีพระราชสมภพภายในห้องพระบรรทมมีห้องสรงด้วย ภายในห้องทรงพระอักษรมีตู้หนังสือซึ่งเป็นตู้แบบติดผนังเป็นตู้สีขาวลายทองมีอักษรยอพระปรมาภิไธยอยู่ ภายในห้องพระบรรทมของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรชายา บนเพดานเขียนลายดอกไม้ส่วนบนผนังเป็นลายนกยูงซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ประจำพระองค์ปัจจุบันเป็นที่จัดแสดง เรือนมหิธร ซึ่งเป็นหนึ่งในอาคารของดุสิตธานีจากห้องที่ประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีมีทางเชื่อมต่อไปยังพระที่นั่งศรีสุทธานิวาส

พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งพิมานจักรี เป็นพระที่นั่งก่ออิฐถือปูน2ชั้นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กโดยมียอดโดมขนาดเล็กอยู่ด้านบนแต่เดิมใช้เป็นท้องพระโรงประจำพระราชวังแต่ต่อมาใช้เป็นสถานที่รับรองเจ้านายฝ่ายในเนื่องจากมีห้องสี่เหลี่ยมผืนผ้าวางเรียงกันเป็นกลุ่มโดยเชื่อมต่อกันที่บริเวณโถงกลางรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบคฤหาสน์ของยุโรปตามแบบโรแมนติกนิยมแต่เดิมพระที่นั่งองค์นี้ชื่อว่าพระที่นั่งลักษมีพิลาส ตั้งตามพระนามของพระนางเธอลักษมีลาวัณ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นพระที่นั่งศรีสุทธานิวาสในปัจจุบันโดยชั้นล่างประกอบด้วยห้องชุดขนาดใหญ่โดยทางตะวันออกเป็นห้องเสวยและห้องรับแขกถัดไปเป็นโถงบันไดทิศตะวันตกเป็นห้องนอนข้าหลวงห้องแต่งตัว หัองน้ำและห้องมโหรีชั้นบนเป็นห้องบรรทม3ชุด ด้านตะวันออกและตะวันตกเป็นของเจ้านายด้านใต้เป็นของข้าหลวง

พระที่นั่งเทวราชสภารมย์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงเสด็จมาประทับ ณ พระราชวังพญาไท ออกแบบโดยวิศวกรชาวอิตาลีพระที่นั่งองค์นี้มีสถาปัตยกรรมแบบผสมผสานระหว่างคลาสสิคและอาร์ตนูโวที่สร้างด้วยโครงสร้างคอนกรีตหน้าตัดหน้าบันทางทิศใต้มีพระปรมาภิไธยย่อ ส.ผ.(เสาวภาผ่องศรี)ทำให้พระที่นั่งองค์นี้มีชื่อเรียกว่าท้องพระโรงส.ผ.โครงสร้างเป็นไม้ผังอาคารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด12.24เมตรแบ่งออกเป็น3ส่วน โดยช่วงเสาตรงกลางกว้าง6เมตร ด้านข้างกว้างข้างละ3เมตรผนังอังคารเป็นประตูที่สามารถเปิดออกได้ทั้งหมดทำให้มีลักษณะคล้ายกับอาคารโถงผนังส่วนบนเป็นช่องแสงขนาดประมาณครึ่งหนึ่งของประตูส่วนล่างด้านบนมีระเบียงทางเดินที่ล้อไปตามลักษณะของหลังคาที่มีผังเป็นรูปกากบาทแบบแขนไม่เท่ากันโดยแกนทางเหนือใต้ยาวกว่าตะวันออกตะวันตกส่วนบนของหลังคาเป็นทรงโดมสถาปัตยกรรมแบบโรมันชายคาประดับลวดลายฉลุพระที่นั่งองค์นี้ใชเป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญๆต่างๆและใช้เป็นสถานที่รับแขกส่วนพระองค์รวมทั้งใข้เป็นสถานที่แสดงละคร

พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระที่นั่งไวกูญฐเทพยสถาน เป็นพระที่นั่งก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น เน้นการออกแบบที่เรียบง่าย โครงสร้างเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กและมีเหล็กโครงสร้างดัดเป็นแบบอาร์ต นูโว (Art Nouvea) ตกแต่งด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาวเน้นประตูทางเข้าและบันไดขนาดใหญ่ตรงกลาง สันนิษฐานว่าการสร้างพระที่นั่งองค์นี้ไม่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับหมู่พระที่นั่งพิมานจักรี แต่เมื่อใช้เป็นที่ประทับของพระสุจริตสุดาและพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระสนมเอกและพระวรราชเทวีในรัชกาลที่ 6 ตามลำดับจึงมีการสร้างทางเชื่อมกับพระที่นั่งไวกูญฐเทพยสถานในชั้นที่ 2 ทำให้สามารถเดินถึงกันกับหมู่พระที่นั่งพิมานจักรีได้ ปัจจุบันไม่เปิดให้เข้าชมเนื่องจากทางโรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้าใช้พระที่นั่งองค์นี้เป็นที่ตั้งของศูนย์อำนวยการแพทย์พระมงกุฏเกล้า

พระตำหนักเมขลารูจี อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งพิมานจักรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นหนึ่งองค์ที่ริมคลองพญาไทตอนกลางพระราชทานนามว่า พระตำหนักอุดมวนาภรณ์ เป็นเรือนไม้2ชั้นลักษณะสถาปัตยกรรมแบบกระท่อมของยุโรปสร้างด้วยไม้ทั้งหมดตั้งแต่โครงสร้างพื้นและผนังผังอาคารมีลักษณะคล้ายกับเรือนไทยโดยมีโถงใหญ่อยู่ตรงกลางและมีเรือนพักอาศัยชั้นเดียวขนาบข้างซ้ายและขวาโดยทิศเหนือเป็นห้องเครื่องและห้องเสวยและทิศใต้เป็นเรือนวางในแนวทแยงประกอบด้วยห้องทรงเครื่องใหญ่(ตัดผม)และห้องสรงติดคลองทิศตะวันตกของห้องโถงเป็นเรือน2ชั้นหลังคาจุกตรงกลางเป็นห้องพระบรรทมมีเฉลียงด้านหน้าลักษณะเด่นของพระตำหนักนี้คือหลังคาที่มีหลายรูปแบบทั้งทรงจั่ว ทรงปั้นหยา ทรงจุกปิรามิด และทรงเพิง หน้าต่างเป็นวงโค้งครึ่งวงกลมขนาดใหญ่ของห้องสรงที่ติดกับคลองพญาไทและกระจกลายเขียนสีรูปนก นกยูง ลายพรรณพฤกษาและเรขาคณิตแบบอาร์ต นูโวและได้เสด็จมาประทับอยู่ชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2463 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นที่ประทับแห่งแรกในพระราชวังแห่งนี้โดยได้ใช้เป็นที่ทรงงานวางโครงการสร้างพระราชมณเฑียรสถานสำหรับประทับถาวรอีกด้วยต่อมา เมื่อการก่อสร้าง พระราชมณเฑียร สถานอื่นๆ ในพระราชวังแห่งนี้แล้วเสร็จและมีพระราชประสงค์ให้พระที่นั่งด้านตะวันออกซึ่งเชื่อมต่อกับพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถานใช้นามว่าพระที่นั่งอุดมวนาภรณ์จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามพระตำหนักแห่งนี้ใหม่เป็น พระตำหนักเมขลารูจี

ศาลท้าวหิรันยพนาสูร เชื่อกันว่าท้าวหิรันยพนาสูร เป็นชายรูปร่างล่ำสันใหญ่โต คอยติดตามป้องกันภยันตรายทั้งปวงให้กับพระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัวใน พ.ศ. 2465 เมื่อการสร้างพระราชวังพญาไทสำหรับประทับเป็นการถาวรเสร็จเรียบร้อยแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้ช่างหล่อรูปท้าวหิรันยพนาสูรขนาดใหญ่ด้วยทองสัมฤทธิ์มีชฎา เทริดอย่างไทยโบราณ และไม้เท้าเป็นเครื่องประดับยศ มีพระราชพิธีบวงสรวงขอเชิญท้าวหิรันยพนาสูรเข้าสิงสถิตย์ ณ รูปสัมฤทธิ์เพื่อเป็นศาลเทพารักษ์ประจำพระราชวังพญาไท

วิหารพระมหานาคชินะวรวรานุสรณ์มงกุฎราช เป็นที่ประดิษฐานพระมหานาคชินะวรวรานุสรณ์มงกุฎราชพระพุทธรูปประจำพระราชวังพญาไท สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลอุทิศแด่พระบาทสมเด็จพระมงกฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระพุทธรูปองค์นี้จำลองแบบมาจากพระมหานาคชินะ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงสร้างไว้เมื่อครั้งทรงผนวช ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก จัดเป็นพระประจำวันเสาร์ ลักษณะเด่นชัด คือ นั่งขัดสมาธิราบ (โยคะสนะ) พระชงฆ์ขวาทับซ้าย เป็นท่านั่งที่สำรวมอิริยาบถ หงายพระหัตถ์วางซ้อนกันบนพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางทับบนพระหัตถ์ซ้าย มีพญานาคแผ่พังพาน 7 เศียร ตามพุทธประวัติว่าด้วยเหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่ๆ พระภูมีพระภาคเจ้าประทับเสวยวิมุติสุข ณ โคนต้นจิก 7 วัน ได้เกิดเมฆใหญู่ผิดฤดูกาล มีฝนตกพรำ เจือด้วยลมหนาวตลอด 7 วัน พญานาคชื่อมุจลินท์ มาวงด้วยขนดรอบพระผู้มีพระภาค 7 รอบ เพื่อป้องกันความหนาวร้อน เหลือบ ยุง

สวนโรมัน สันนิษฐานว่าเป็น1ใน3พระราชอุทยานของพระราชวังพญาไทจัดแต่งสวนแบบเรขาคณิตประกอบด้วยศาลาในสวนซึ่งเป็นศาลาแบบโรมันศาลาทรงกลมต่างๆมีหลังคาโดมรับด้วยเสาแบบคอรินเทียนขนาบด้วยศาลาแบบโปร่งโล่งไม่มีหลังคาซึ่งกำหนดขอบเขตด้วยเสาแบบเดียวกันกับโดม รองรับคานที่พาดด้านบน ประดับด้วยตุ๊กตาหินอ่อนแบบโรมันบริเวณบันไดทางขึ้นซึ่งต่อเนื่องกับด้านหน้าที่มีสระน้ำขนาดใหญ่ ตั้งอยู่ในแนวเดียวกับโดม


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406