โรงพยาบาลวชิระ หรือ วชิรพยาบาล เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นโรงพยาบาลแห่งแรกๆที่เกิดขึ้นในประเทศไทย สถาปนาขึ้นโดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวในปี พ.ศ. 2455 วชิรพยาบาลเป็นโรงพยาบาลในสังกัดคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และเป็นที่ทำการเรียนการสอนของ คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล และ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ ตั้งอยู่บน ถ.สามเสน แขวงวชิรพยาบาล เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองสมบัติ พระองค์ทรงคำนึงถึงโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์จะทรงสร้างพระอารามไว้เป็นเครื่องเฉลิมพระราชศรัทธาและเพื่อให้เป็นสถานที่สถิตย์แห่งภิกษุสงฆ์เป็นผู้ค้ำจุนพระบวรพุทธศาสนาให้ถาวรอยู่เพื่อประโยชน์แห่งผสกนิกร แต่เนื่องจากในรัชสมัยของพระองค์นั้นมีพระอารามภายในพระนครอยู่มาก ครั้นจะสร้างเพิ่มอีกก็จะเกินความจำเป็นในการทะนุบำรุงพระศาสนา ดังนั้น พระองค์จึงตัดสินพระทัยที่จะสร้างโรงพยาบาลขึ้นดังพระกระแสรับสั่งตอนหนึ่งว่า
บัดนี้โรงพยาบาลอันนี้ ก็ได้ตกแต่งขึ้นพร้อมแล้ว เราขอให้นามว่า วชิรพยาบาล และขอมอบที่นี้ไว้เป็นสาธารณสถาน เป็นสมบัติสิทธิ์ขาดแก่ประชาชนชาวไทย ”
พระองค์ทรงสละพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินพร้อมด้วยตึกและสิ่งปลูกสร้าง มอบไว้เป็นสาธารณสถานแก่ประชาชนให้เป็นที่พยาบาลผู้ป่วยไข้ต่อไป พระองค์เสด็จพระราชดำเนินมาเปิดโรงพยาบาลเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2455 โดยให้กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล (พัฒนาเป็นกรุงเทพมหานครในเวลาต่อมา) เป็นผู้ปกปักรักษา พร้อมทั้งพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า "วชิรพยาบาล"
ต่อมาในปี พ.ศ. 2541ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างใหม่ โดยได้รวม "วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานคร" และ "วชิรพยาบาล" เข้าเป็นหน่วยราชการเดียวกันในชื่อ "วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล" ซึ้งได้รับการพัฒนาเป็น "คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล" ในเวลาต่อมา
จะศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นฐานทั่วไปร่วมกับนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์สถาบันพระบรมราชชนก ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ศึกษาระดับ pre-clinic ร่วมกับนักศึกษาแพทย์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และ กลุ่มนักศึกษาแพทย์ในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท ในความรับผิดชอบของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พญาไท
อยู่ในความรับผิดชอบของคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล สำหรับนักศึกษาปีที่ 6 จะมีการศึกษาดูงานที่โรงพยาบาลในสังกัดสำนักการแพทย์กรุงเทพมหานครเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์
1. ระบบรับตรง (Direct Admissions) จำนวน 70 คน ผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ประมาณเดือนสิงหาคม
2. ระบบโควต้าพิเศษ จำนวน 10 คน ได้แก่ นักเรียนที่มีภูมิลำเนาในเขตกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน นักเรียนของโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร นักเรียนที่เป็นบุตรข้าราชการ/ลูกจ้างประจำสังกัดกรุงเทพมหานคร ติดตามข้อมูลการสมัครระบบโควต้าพิเศษ www.vajira.ac.th ประมาณเดือนสิงหาคม -กันยายน
14 กันยายน พ.ศ. 2556 เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าสามเสนเร่งตั้งเสาไฟฟ้า ที่บริเวณถนนขาว และถนนสังคโลก ขึ้นใหม่ทั้งหมด จำนวน 29 ต้น ภายหลังเกิดเหตุ ต้นไม้ใหญ่ล้มพาดเกี่ยวสายไฟฟ้า ทำให้เสาไฟฟ้าในบริเวณดังกล่าวหักล้มเสียหาย เหตุเกิดเมื่อคืนที่ผ่านมา โดยนายประสงค์ คุ้มประดิษฐ์ ผู้อำนวยการไฟฟ้าเขตสามเสน ระบุว่า บริเวณถนนขาวได้ตั้งเสาไฟฟ้าขึ้นใหม้เรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างเดินสายไฟฟ้าเพื่อต่อระบบจ่ายไฟฟ้า โดยจะเร่งดำเนินการให้จ่ายไฟได้ตาม ปกติภายใน 15 นาฬิกา ส่วนที่ถนนสังคโลก ที่ติดต่อกับถนนขาว อยู่ระหว่างเร่ง รื้อเสาไฟที่หักล้ม ก่อนจะตั้งเสาไฟฟ้าและ ต่อสายไฟฟ้าเชื่อมระบบจ่ายกระแสไฟ คาดว่าจะแล้วเสร็จได้ในเลาไล่เลี่ยกัน สำหรับจุดที่ถูกตัดกระแสไฟฟ้าชั่วคราว คือ ชุมชนโดยรอบบริเวณถนนขาว / อาคารห้องพักด้านหลังโรงพยาบาลวชิรพยาบาล / วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ ไปจนถึง ชุมชนใต้สะพานซังฮี้ ทั้งนี้ ในส่วนสภาพการจราจร เจ้าหน้าที่ จำเป็นต้องปิดถนนขาว และถนนสังคโลก เพื่อดำเนินการซ่อม