ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ล้านช้าง

อาณาจักรล้านช้าง (ภาษาลาว: ???????????????) เป็นอาณาจักรของชนชาติลาวซึ่งตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง มีอาณาเขตอยู่ในบริเวณประเทศลาวทั้งหมด ตลอดจนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งการเมืองการปกครอง ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนพระพุทธศาสนา ที่มีพัฒนาการเคียงคู่มาพร้อมกันอาณาจักรอื่น ๆ ใกล้เคียง ทั้งล้านนา สยาม พม่า และเขมร

อาณาจักรแห่งนี้ได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นปึกแผ่นมั่งคงอย่างแท้จริงในปี พ.ศ. 1896 สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม มีความรุ่งเรืองสลับกับความร่วงโรยต่อมาหลายสมัย ซึ่งยุคที่นับได้ว่าเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านช้างคือรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช (พ.ศ. 2091- พ.ศ. 2114 และรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. 2181- พ.ศ. 2238) หลังจากนั้นอาณาจักรลาวก็เสื่อมอำนาจลงและแตกแยกเป็น 3 ราชอาณาจักร และในปี พ.ศ. 2321 ทั้ง 3 อาณาจักรก็ได้สูญเสียเอกราชแก่ราชอาณาจักรสยามในที่สุด

นักประวัติศาสตร์ลาวเชื่อว่า ชาวลาวเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ระหว่างแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซีเกียงแถบมณฑลเสฉวนในประเทศจีนปัจจุบัน ต่อมาได้ถูกจีนรุกรานจึงได้อพยพมาทางตอนใต้ของเสฉวนจนถึงยูนนาน ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหนองแสหรืออาณาจักรน่านเจ้าโดยได้มีความเจริญรุ่งเรืองและดำรงเอกราชมากว่าร้อยปี (ปัจจุบันมีการพิสูจน์ว่าอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของชนชาติต้าหลี่ ไม่ใช่ของชนชาติไท-ลาว) จนถึงสมัยของขุนบรมราชาธิราชพระองค์ได้ทรงสถาปนาเมืองใหม่ที่นาน้อยอ้อยหนู โดยให้ชื่อว่า "เมืองแถน" หรือ "เมืองกาหลง" (มหาสิลา วีระวงส์ เชื่อว่าคือเมืองแถงหรือเดียนเบียนฟูในดินแดนสิบสองจุไท ประเทศเวียดนามปัจจุบัน

ในพงศาวดารล้านช้างกล่าวว่า ขุนบรมได้ทรงแผ่ขยายอาณาจักรออกไป โดยทรงส่งโอรส 7 องค์ไปปกครองเมืองต่าง ๆ ซึ่งเชื่อว่าอยู่ในภูมิภาคอินโดจีนปัจจุบันดังนี้

ขุนลอผู้ทรงสร้างเมืองชวานี้ถือกันว่าทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของชาวลาวทั้งปวง ในปี พ.ศ. 1300 โดยประมาณ พระองค์ได้ทรงตั้งให้เมืองชวาเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้าง พระราชทานนามราชธานีแห่งนี้ใหม่ว่า “เมืองเชียงทอง” พระองค์ได้ทรงขับไล่ชนชาติขอมซึ่งเป็นผู้มีอำนาจอยู่เดิมในบริเวณดังกล่าวสำเร็จ ทำให้อาณาจักรล้านช้างมีความมั่นคงต่อมายาวนาน และมีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีกหลายชั่วคน

ในปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรล้านช้างก็ได้มีกษัตริย์องค์สำคัญซึ่งชาวลาวยกย่องพระองค์ในฐานะ “พระบิดาของชาติลาว” ได้แก่ พระยาฟ้างุ้ม (พ.ศ. 1896 - พ.ศ. 1916, พระนามเต็มคือ “พระเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี”) เนื่องจากพระองค์มีบทบาทในการรวบรวมแผ่นดินลาวให้เป็นปึกแผ่น ทั้งยังทรงวางรากฐานของพระพุทธศาสนาในลาวและทรงยกย่องให้เป็นศาสนาหลักของอาณาจักร

พระยาฟ้างุ้มเป็นพระราชโอรสของท้าวผีฟ้า และเป็นพระราชนัดดาของพระยาสุวรรณคำผง โดยในรัชสมัยของพระยาคำผง ท้าวผีฟ้า ซึ่งเป็นพระบิดาของพระยาฟ้างุ้มได้ถูกเนรเทศ จึงเสด็จหนีไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารของกษัตริย์เขมร ในเวลาต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระยาสุวรรณคำผง อันเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรเขมรเริ่มเสื่อมอำนาจ ในขณะเดียวกันที่อาณาจักรสุโขทัยเข้มแข็งขึ้น ฝ่ายเขมรจึงต้องการคานอำนาจของสุโขทัย จึงได้สนับสนุนให้พระยาฟ้างุ้มซึ่งเสด็จติดตามพระราชบิดาไปประทับที่อาณาจักรเขมรนั้น นำกำลังเข้าแย่งชิงอำนาจจากพระยาฟ้าคำเฮียวซึ่งเป็นพระปิตุลา (อา) ผู้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระยาสุวรรณคำผง พระยาฟ้างุ้มสามารถเอาชนะพระยาฟ้าคำเฮียวได้ จึงเสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนาอาณาจักรล้านช้างขึ้นอย่างเป็นทางการ

ในรัชสมัยของพระยาฟ้างุ้ม แม้พระองค์จะได้สร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้กับอาณาจักรล้านช้าง ต่อมาในปี พ.ศ. 1899 แล้วอัญเชิญพระยาอุ่นเฮือนพระราชโอรสขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา ส่วนพระยาฟ้างุ้มได้เสด็จมาประทับอยู่ ณ เมืองน่านกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 1916

ในรัชสมัยของพระยาอุ่นเฮือน (พ.ศ. 1899 – 1916) และอีกสองรัชสมัยต่อมา คือในรัชสมัยของพระเจ้าสามแสนไทยไตรภูวนาถ (พ.ศ. 1916 – 1959) และพระยาล้านคำแดง (พ.ศ. 1959 – 1971) เป็นช่วงที่อาณาจักรล้านช้างปลอดจากการรุกรานจากภายนอก เนื่องด้วยการเสื่อมอำนาจลงของอาณาจักรเขมรเป็นสำคัญ อีกทั้งฝ่ายสุโขทัยที่เข้มแข็งขึ้นก็มุ่งอยู่กับการปราบปรามอำนาจของเขมรที่เคยมีเหนือดินแดนตน ทางอาณาจักรจามปาซึ่งเพิ่งพ่ายแพ้ต่อจักรวรรดิมองโกลก็ยังไม่เข้มแข็ง การแข่งขันกันสร้างเสริมความมั่นคงของสุโขทัยและล้านนาอันเป็นอาณาจักรที่ได้รับการสถาปนาขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้อาณาจักรล้านช้างก็ต้องพยายามเสริมสร้างความมั่นคงของตนด้วย โดยได้มีการจัดทำบัญชีไพร่พลและปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ ซึ่งด้วยทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ ก็ทำให้อาณาจักรล้านช้างมีความมั่นคงเป็นอย่างมาก

หลังพระยาล้านคำแดงเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1971 แล้ว อาณาจักรล้านช้างกลับตกอยู่ในสภาพระส่ำระสาย เพราะอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงได้ตกอยู่ในมือของพระนางมหาเทวีอามพัน (หรือนางแก้วพิมพา) ซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระยาล้านคำแดง พระองค์ได้ทรงใช้อำนาจที่ทรงมีอยู่แต่งตั้งกษัตริย์ขึ้นปกครองราชอาณาจักรตามอำเภอใจ หากไม่พอใจพระเจ้าแผ่นดินองค์ไหนก็ปลดออกจากตำแหน่งหรือลอบปลงพระชนม์เสีย กษัตริย์ล้านช้างในช่วงนี้จึงไม่มีองค์ใดอยู่ในราชสมบัติได้นานนัก ส่วนมากทรงครองราชย์อยู่ได้ไม่ถึงปี สร้างความปั่นป่วนแก่ราชสำนักและยังความเสียหายบริหารราชการแผ่นดินเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 1981 บรรดาขุนนางทั้งหลายจึงปรีกษากันว่าจะเอาพระนางมหาเทวีไว้ไม่ได้จึงพร้อมในกันจับตัวพระนางสำเร็จโทษ แล้วเชิญพระราชโอรสของพระยาล้านคำแดงขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว อาณาจักรล้านช้างจึงกลับคืนสู่ความสงบอีกครั้ง เป็นการยุติความยุ่งเหยิงซึ่งกินเวลานานถึงสิบกว่าปี

พ.ศ. 2023 จักรวรรดิเวียดนามซึ่งเริ่มมีกำลังกล้าแข็งจึงได้ทียกทัพเข้ามารุกรานและสามารถยึดครองเมืองเชียงทองอันเป็นเมืองหลวงไว้ได้ พระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วต้องเสด็จหนีไปประทับอยู่ ณ เมืองเชียงคาน แล้วมอบพระราชสมบัติให้กับพระเจ้าสุวรรณบัลลังก์ ซึ่งเป็นพระราชโอรส พระเจ้าสุวรรณบัลลังก์ทรงนำไพร่พลขับไล่ชาวเวียดนามออกไปได้ จากนั้นจึงทรงเวนพระราชสมบัติถวายแก่พระราชบิดา พระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วจึงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นครั้งที่สอง กระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2022 พระเจ้าสุวรรณบัลลังก์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาอีกครั้ง จวบจนเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2029 พระยาหล้าแสนไทย พระอนุชาได้เสด็จขึ้นครองราชย์และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2039 โดยได้มอบพระราชสมบัติให้แก่เจ้าชมพูพระราชโอรส แต่เจ้าชมพูครองราชย์อยู่ได้ห้าปีก็ถูกบรรดาขุนนางร่วมกันก่อกบฏแล้วจับสำเร็จโทษเสีย จากนั้นก็อัญเชิญพระเจ้าวิชุลราช พระราชโอรสของพระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2044 พระองค์โดยโปรดให้สร้างวัดวิชุลราชแล้วอัญเชิญพระบางมาประดิษฐาน ดังนั้นเมืองเชียงทองจึงถูกเรียกว่าหลวงพระบางนับแต่นั้นมา

ในรัชสมัยของพระเจ้าโพธิสารราช (พ.ศ. 2063 - พ.ศ. 2090) พระโพธิสารราชเจ้าขึ้นครองราชย์และรวบรวมแผ่นดินให้เกิดความเป็นปึกแผ่นประกาศยกเลิกไม่ให้ประชาชนนับถือผีสางให้มายึดมั่นในพระพุทธศาสนา ทรงสร้างวัดวาอารามต่าง ๆ มากมาย ให้การช่วยเหลือเวียดนามและเจริญสัมพันธไมตรีกับล้านนา (เชียงใหม่) ต่อมาเมื่อถึงปีพ.ศ. 2091 พระราชโอรสองค์ใหญ่ของพระโพธิสารราชเจ้าซึ่งประสูติกับพระมเหสีที่มีพระนามว่า “พระนางยอดคำทิพย์” (หรือเจ้านางหลวงคำผาย:พระธิดาในกษัตริย์ล้านนา) ได้ทรงขึ้นครองราชย์ทรงมีพระนามว่า สมเด็จพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในรัชสมัยของพระองค์เกิดศึกพม่ายกทัพมาตีเมืองเชียงใหม่ พระองค์ทรงเล็งเห็นว่า กรุงสีสัตนาคนหุตล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง แห่งนี้ชัยภูมิไม่เหมาะสมที่จะตั้งเป็นเมืองหลวงอีกต่อไปเพราะอยู่ใกล้กับศัตรู เมื่อพวกพม่าตีเมืองเชียงใหม่ได้แล้วต่อไปภายภาคหน้าก็อาจยกทัพมารุกราน ลาวล้านช้าง ก็เป็นได้ พระองค์จึงทรงย้ายเมืองหลวงจาก หลวงพระบาง มาสร้างเมือง เวียงจันทน์ และสถาปนาขึ้นเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่โดยพระราชทานนามว่า กรุงศรีสัตตนาคะนะหุตล้านช้างร่มขาวเวียงจันทน์ นับได้ว่าเป็นรัชสมัยแห่งความรุ่งเรืองในด้านศิลปะและวรรณกรรมต่าง ๆ ในด้านพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ได้ทรงประกาศห้ามให้มีการบูชาผีต่าง ๆ และทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยความเลื่อมใสอย่างยิ่ง โดยมีการรับอิทธิพลด้านพุทธศาสนามาจากอาณาจักรล้านนาซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับล้านช้างในเวลานั้นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการใช้อักษรธรรมล้านนาเป็นเครื่องมือศึกษาพระพุทธศาสนา (อักษรดังกล่าวนี้ได้พัฒนาเป็นอักษรธรรมลาวในเวลาต่อมา)

การที่ล้านช้างมีความสัมพันธ์กับล้านนาอย่างใกล้ชิดก็ด้วยเหตุผลด้านการเมืองเป็นหลัก กล่าวคือ ในขณะนั้นอาณาจักรล้านนาได้อ่อนแลลงจากการทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ภัยธรรมชาติ และความล้มเหลวในการรุกรานเมืองเชียงตุง เปิดช่องให้อาณาจักรข้างเคียงอย่างล้านช้าง หงสาวดี และอยุธยาสร้างอิทธิพลแทรกแซงภายในอาณาจักร โดยล้านช้างได้เข้าเกี่ยวดองกับล้านนาผ่านการเสกสมรสของเจ้านายในเครือญาติของทั้งสองฝ่าย

ต่อมาเมื่อพระเมืองเกษเกล้าแห่งล้านนาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2088 อาณาจักรล้านนาก็เกิดความวุ่นวายจากการสรรหาผู้เหมาะสมที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์ เหล่าขุนนางแห่งล้านนาจึงได้อัญเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระราชโอรสของพระเจ้าโพธิสารและเจ้าหญิงเชื้อสายล้านนา ให้เสวยราชสมบัติปกครองอาณาจักรล้านนาในปี พ.ศ. 2089 เพื่ออาศัยอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างคานอำนาจกับอาณาจักรหงสาวดีที่นับวันจะกล้าแข็งขึ้นเรื่อย ๆ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2091 พระเจ้าโพธิสารราชทรงตกช้างระหว่างเสด็จประพาสคล้องช้างป่าและเสด็จสวรรคต เจ้าศรีวรวงษาราชกุมาร (เจ้ามหาอุปราชศรีวรวงษา) และเจ้ากิจธนวราธิราช (เจ้าท่าเรือ) ผู้เป็นพระราชโอรสองค์รองต่างพยายามจะขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ ขุนนางล้านช้างจึงเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จกลับมานครหลวงพระบางเพื่อรับเถลิงถวัลยราชสมบัติระงับเหตุวุ่นวายที่จะเกิดขึ้น โดยพระองค์ยังได้เชิญพระแก้วมรกตซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของล้านนามาสถิต ณ นครหลวงพระบางด้วย ขุนนางแห่งล้านนาจึงถวายราชสมบัติกษัตริย์ล้านนาให้แก่พระเมกุฏิ เจ้านายล้านนาเชื้อสายเมืองเชียงราย ขึ้นปกครองแทน

รัชกาลพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช นับได้ว่าเป็นสมัยหนึ่งของประวัติศาสตร์ลาวที่มีความรุ่งเรืองมากท่ามกลางวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นรอบด้าน ชาวลาวล้วนนับถือพระองค์ว่าทรงเป็นมหาราชและทรงเป็นวีรกษัตริย์พระองค์สำคัญในประวัติศาสตร์ลาว พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่าง ๆ ที่สำคัญไว้หลายประการ โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนาซึ่งได้รับการทำนุบำรุงอย่างกว้างขวาง โปรดให้มีการสร้างและบูรณะปูชนียสถานในพระพุทธศาสนาหลายแห่ง เช่น ทรงสร้างหอพระแก้วเพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกตอันได้ทรงอัญเชิญมาจากอาณาจักรล้านนา และทรงสร้างพระเจดีย์โลกจุฬามณี (พระธาตุหลวง) ที่นครเวียงจันทน์ ทรงสถาปนาพระธาตุศรีสองรักร่วมกับอาณาจักรอยุธยาที่เมืองด่านซ้าย ทรงปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมที่เมืองนคร (นครพนม) เป็นต้น

ในระยะเวลานี้เองที่อาณาจักรหงสาวดีในรัชสมัยพระเจ้าบุเรงนองมีกำลังที่เข้มแข็งและทรงอิทธิพลอย่างมาก และพยายามจะขยายอาณาจักรมาทางทิศตะวันออก พระองค์จึงโปรดให้มีการย้ายราชธานีจากหลวงพระบางมาอยู่ที่นครเวียงจันทน์เพื่อหลีกเลี่ยงอำนาจของหงสาวดีในปี พ.ศ. 2103 และพระราชทานนามราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า "พระนครจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุตตมราชธานี" ทั้งยังทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อเป็นกำลังในการต่อต้านพม่าซึ่งเป็นศัตรูร่วมกัน

ในปี พ.ศ. 2107 ทัพพม่าได้ติดตามจับกุมขุนนางล้านนาเชียงใหม่มาถึงเวียงจันทน์ และสามารถตีกรุงเวียงจันทน์ได้ในขณะที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมิได้ประทับอยู่ในพระนคร พร้อมทั้งกวาดต้อนชาวเมืองและเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงกลับไปยังพม่าเป็นจำนวนมาก รวมถึงเจ้ามหาอุปราชศรีวรวงษา พระราชอนุชาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แล้วจึงถอยทัพกลับไป พระองค์ทรงคุมแค้นฝ่ายหงสาวดีอยู่มาก เมื่อฝ่ายอยุธยาขอความช่วยเหลือให้ช่วยรบพม่าในช่วงปี พ.ศ. 2110 – 2112 พระองค์จึงทรงส่งกองทัพไปช่วยเหลืออยุธยาแต่ไม่สำเร็จเนื่องจากถูกฝ่ายพม่าและพระมหาธรรมราชาเมืองพิษณุโลกซ้อนกลจนแตกพ่าย หลังอาณาจักรหงสาวดีพิชิตกรุงศรีอยุธยาได้แล้วพระเจ้าบุเรงนองจึงทรงส่งกองทัพมาปราบปรามล้านช้างแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากพระเจ้าไชยเชษฐาได้ทรงนำกองทัพและชาวเมืองหลบภัยในป่าและคอยลอบโจมตีกองทัพพม่าอยู่เนือง ๆ จนกองทัพพม่าต้องถอนกำลังกลับไป

ลุถึงปี พ.ศ. 2114 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้เสด็จออกปราบกบฏ ณ เมืองรามรักโองการ (เชื่อกันว่าอยู่ในพื้นที่แขวงอัตตะปือในปัจจุบัน) แล้วสูญหายไปในศึกนั้น ในเวลานั้นพระองค์มีพระราชโอรสพระองค์เดียวคือพระหน่อแก้วกุมาร ซึ่งประสูติจากบาทบริจาริกาผู้เป็นธิดาของพระยาแสนสุรินทร์ลือชัย และเพิ่งประสูติได้ไม่นาน

หลังการหายสาบสูญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในกรุงเวียงจันทน์ก็เกิดสงครามกลางเมืองจากการแก่งแย่งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระหน่อแก้วกุมารระหว่างเสนาบดีผู้ใหญ่ 2 คน คือ พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย อัครมหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายผู้มีสถานะเป็นพระอัยกาของพระราชกุมาร กับพระยาจันทสีหราช อัครมหาเสนาบดีฝ่ายขวา ที่สุดแล้วพระยาแสนสุรินทร์ลือชัยเป็นฝ่ายชนะ จึงสถาปนาตนเองเป็นพระสุมังคละอัยโกโพธิสัตว์ราชา เป็นผู้ว่าราชการแผ่นดินแทนพระหน่อแก้วกุมารผู้ทรงพระเยาว์ คนทั่วไปเรียกว่า “พระเจ้าปู่หลาน”

พ.ศ. 2118 ฝ่ายพม่าได้ยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ได้ จึงคุมตัวพระยาแสนสุรินทร์ลือชัยกลับหงสาวดี แล้วแต่งตั้งให้เจ้ามหาอุปราชศรีวรวงษา พระอนุชาของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชซึ่งถูกคุมตัวไปหงสาวดีตั้งแต่ครั้งที่พม่าตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งแรก ขึ้นปกครองเมือง พระนามว่า พระเจ้าศรีวรวงษาธิราช

พ.ศ. 2123 ได้เกิดกบฏขึ้นที่เมืองเวียงจันทน์ พระเจ้าศรีวรวงษาธิราชสู้ไม่ได้จึงเสด็จหนีแต่ได้สิ้นพระชนม์ระหว่างการเดินทาง เมื่อพม่าได้ยกทัพมาปราบกบฏได้ จึงแต่งตั้งให้พระยาแสนสุรินทร์ลือชัยขึ้นปกครองเมืองอีกครั้ง กระทั่งถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2125 จากนั้น พระยานครน้อย บุตรของพระยาแสนสุรินทร์ลือชัยได้ขึ้นปกครองเมืองสืบต่อจากบิดา แต่ไม่ได้รับความนิยมจากชาวเมืองจึงถูกขุนนางร่วมกันปลดออกจากราชสมบัติ นับแต่นั้นเมืองเวียงจันทน์ก็อยู่ในสภาพไร้ผู้ปกครองถึงแปดปี ขุนนางทั้งหลายจึงได้แต่งตั้งให้คณะสงฆ์เดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าบุเรงนองเพื่อทูลขอตัวพระหน่อแก้วกุมารมาครองเมือง พระหน่อแก้วจึงได้ขึ้นครองเมืองเวียงจันทน์อีกครั้งในปีพ.ศ. 2134

พ.ศ. 2139 พระหน่อแก้วกุมารสวรรคต ทำให้พระวรวงศาธรรมิกราชซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระหน่อแก้วกุมาร ได้รับการอัญเชิญให้ปกครองเมืองเวียงจันทน์

พ.ศ. 2164 พระวรวงศาธรรมิกราชเกิดข้อขัดแย้งกับพระอุปยุวราช พระราชโอรส จนถึงขั้นเข้าต่อสู้กัน พระวรวงศาธรรมิกราชเสด็จสวรรคตในการต่อสู้ พระอุปยุวราชจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ แต่ทรงครองราชย์ได้เพียงปีกว่าก็เสด็จสวรรคต ประชาชนก็ได้ร่วมกันอัญเชิญพระยามหานามอันเป็นขุนนางผู้ใหญ่ดำรงตำแหน่งพระยานครขึ้นเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่าพระยาบัณฑิตโพธิสาร ทรงครองราชย์ได้สี่ปีก็เสด็จสวรรคต ประชาชนจึงร่วมกันอัญเชิญพระหม่อมแก้ว พระโอรสในพระวรวงศาธรรมิกราช เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2170 เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต พระยาอุปยุวราช พระราชโอรสได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา เมื่อพระอุปยุวราชเสด็จสวรรคต พระโอรสทั้งสองพระองค์ คือ ท้าวต่อนคำ และท้าววิชัย ได้ร่วมกันปกครองบ้านเมือง กระทั่งท้าววิชัยเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2179

พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (พ.ศ. 2181- พ.ศ. 2238) เป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองอีกยุคหนึ่ง เนื่องด้วยพระองค์มีวิธีการปกครองบ้านเมืองหลักแหลมและเป็นธรรม ทำให้ล้านช้างมีความมั่นคงและสงบร่มเย็นกว่าครึ่งศตวรรษ ทั้งความรุ่งเรื่องทางสถาปัตยกรรม อักษรศาสตร์ ศิลปะแขนงต่างๆ ตลอดจนการค้าขายกับต่างชาติ

พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีความยุติธรรม จากรณีที่พระราชโอรสของพระองค์ได้กระทำความผิดลักลอบเป็นชู้กับภริยาของขุนนางผู้หนึ่ง พระองค์ก็ลงโทษตามอาญาถึงขั้นประหารชีวิตโดยมิได้ใส่ใจว่าเป็นพระโอรส ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงอยู่ในสภาพที่ไร้รัชทายาท และเมื่อพระองค์สวรรคตโดยไร้รัชทายาท ประชาชนจึงได้อัญเชิญพระยาเมืองจันซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่ให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ แต่ก็ครองราชย์อยู่ได้หกปี เจ้านันทราชแห่งเมืองน่านก็ยกทัพเข้ามาชิงเมืองเวียงจันทน์ไว้ได้ เจ้านันทราชจึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างใน พ.ศ. 2238

เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ราชอาณาจักรล้านช้างเกิดภาวะระส่ำระสายอย่างหนัก จากการแก่งแย่งอำนาจของบรรดาเชื้อพระวงศ์ จนทำให้ราชอาณาจักรแตกแยกออกเป็น 3 ราชอาณาจักรเอกราช ได้แก่

อาณาจักรนี้คืออาณาจักรที่สืบทอดจากอาณาจักรล้านช้างศรีสัตนาคนหุตเดิม มีอาณาปกครองดินแดนลาวภาคกลางในปัจจุบัน มีพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 เป็นปฐมกษัตริย์ พระไชยเชษฐาองค์นี้ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ที่ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ที่จักรวรรดิเวียดนาม ซึ่งมีราชธานีในขณะนั้นอยู่ที่เมืองเว้ คนทั้งหลายจึงขนานพระนามอีกอย่างว่าพระไชยองค์เว้หรือพระไชยองค์เวียด พระองค์ได้นำกำลังจากเวียดนามเข้ายึดกรุงเวียงจันทน์จับเจ้านันทราชสำเร็จโทษ แล้วราชาภิเษกพระองค์เองเป็นกษัตริย์ในปี พ.ศ. 2241 จากนั้นจึงทรงตั้งท้าวลองเป็นเจ้าอุปราชครองเมืองหลวงพระบางแต่ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวลาวทั้งมวล เพราะพระองค์มีความใกล้ชิดกับจักรวรรดิเวียดนาม

ในปี พ.ศ. 2250 เจ้ากิ่งกิสราชกับเจ้าองค์คำ พระราชนัดดาของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ที่หนีไปประทับที่เมืองหงสา (อยู่ในแขวงไซยะบูลีในปัจจุบัน) ได้ยกทัพเข้ามาชิงเมืองหลวงพระบาง จับเจ้าอุปราชท้าวลองสำเร็จโทษ และเตรียมจะยกทัพเข้าตีกรุงเวียงจันทน์ พระไชยองค์เว้จึงมีพระราชสาส์นไปยังสมเด็จพระเพทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อขอความช่วยเหลือ ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาจึงไกล่เกลี่ยทั้งสองฝ่ายให้ยุติการรบและปกปันเขตแดนต่อกัน ทำให้หลวงพระบางกลายเป็นอาณาจักรเอกราชไม่ขึ้นกับเวียงจันทน์มานับแต่นั้น ในยุคนี้จึงนับได้ว่าเป็นยุคที่ลาวแตกแยกเป็น 2 อาณาจักร คือ อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์และอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ซึ่งเวียงจันทน์ก็เองไม่ไว้ใจและหาทางทำลายฝ่ายหลวงพระบางอยู่ตลอด

อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางถือกำเนิดจากความแตกแยกระหว่างเวียงจันทน์และหลวงพระบางในปี พ.ศ. 2250 ดังได้กล่าวมาแล้ว มีอาณาปกครองดินแดนลาวภาคเหนือในปัจจุบัน มีพระเจ้ากิ่งกิสราชเป็นปฐมกษัตริย์ (พ.ศ. 2249 - 2256) และมีเชื้อสายกษัตริย์สืบราชสมบัติต่อมาจนกระทั่งประเทศลาวเป็นเอกราชจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2492 และเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรลาวต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2518 ในยุคแรกอาณาจักรนี้เกิดการแย่งชิงอำนาจภายในของตนเองเป็นระยะ และมีการจะขอกำลังจากรัฐที่ใหญ่กว่าอย่างพม่ามาช่วยเหลือเสมอ แน่นอนว่าฝ่ายหลวงพระบางก็ไม่ไว้ใจและหาทางทำลายฝ่ายเวียงจันทน์เช่นกัน

อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์มีกำเนิดมาจากการอพยพหลบภัยการเมืองของเจ้านางสุมังคละและประชาชนส่วนหนึ่งภายใต้การนำของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พระเถระผู้ใหญ่ในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช มูลเหตุมาจากพระยาเมืองจันผู้เป็นเสนาบดีได้ชิงราชสมบัติขึ้นครองอาณาจักรหลังพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชเสด็จสวรรคต และคิดจะเอาเจ้านางสุมังคละ พระราชนัดดาของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (ซึ่งทรงเป็นหม้ายและกำลังทรงครรภ์) เป็นมเหสี แต่นางไม่ยอม จึงหนีไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กจึงพาญาติโยมของตนประมาณ 3,000 คนและเจ้านางสุมังคละหนีออกจากเวียงจันทน์ทางใต้ไปซ่อนตัวอยู่ที่บ้านงิ้วพันลำโสมสนุก ณ ที่นั้นเจ้านางสุมังคละได้ประสูติพระโอรสนามว่า เจ้าหน่อกษัตริย์

ต่อมานางแพงเจ้าเมืองจำปาสักชาวพื้นเมืองได้อาราธนาเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กมาปกครองบ้านเมือง เจ้าราชครูหลวงปกครองบ้านเมืองได้ระยะหนึ่งก็เกิดปัญหาการปกครองในบางประการซึ่งเอาหลักทางธรรมมาตัดสินและยุติปัญหาไม่ได้ ท่านจึงให้คนไปเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์ซึ่งเจริญพระชนม์มากพอที่จะปกครองบ้านเมืองได้แล้ว มาทำพิธีราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ปกครองนครจำปาสักในปี พ.ศ. 2257 ทรงพระนามว่า พระเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร อาณาจักรล้านช้างแห่งที่ 3 คือ อาณาจักรล้านช้างจำปาสัก จึงถือกำเนิดขึ้นในปีนี้ พระองค์ได้ประกาศอาณาเขตแยกออกจากเวียงจันทน์ ปกครองดินแดนลาวภาคใต้ตั้งแต่เขตเมืองนครพนม เมืองคำม่วน ลงไปจนถึงเมืองเชียงแตง เมืองมโนไพรต่อแดนเขมร ส่วนทางด้านตะวันตกอาณาเขตไปไกลจนถึงเมืองท่งหรือเมืองสุวรรณภูมิ เชื้อสายของกษัตริย์แห่งอาณาจักรนี้ได้ปกครองจำปาสักต่อมาทั้งในฐานะกษัตริย์ เจ้าผู้ครองนคร และผู้ว่าราชการเมือง จนกระทั่งแผ่นดินลาวรวมเป็นหนึ่งในปี พ.ศ. 2489 แต่ยังคงมีบทบาททางการเมืองในลาวยุคพระราชอาณาจักรมาตลอดจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2518

เมื่ออาณาจักรล้านช้างแตกเป็น 3 อาณาจักรเอกราช แต่ละอาณาจักรต่างตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันและไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะกับหลวงพระบางและเวียงจันทน์แล้ว ทั้งสองอาณาจักรนี้ล้วนถือว่าอีกฝ่ายเป็นศัตรูเลยทีเดียว ต่างก็จ้องหาทางทำลายล้างต่อกันด้วยการอาศัยกำลังทหารพม่าที่มีอำนาจในล้านนาอยู่ตลอด

มูลเหตุที่อาณาจักรล้านช้างทั้งสามจะเสียเอกราชให้แก่สยามมาจากความขัดแย้งภายในของอาณาจักรล้านช้าง ระหว่างพระเจ้าศิริบุญสารกษัตริย์เวียงจันทน์กับเจ้าพระวอ เจ้าพระตา สองขุนนางผู้ใหญ่ ทั้งสองคนนี้เป็นพี่น้องกัน (บางแห่งว่าพระวอเป็นพี่ พระตาเป็นน้อง บางแห่งว่ากลับกัน บางแห่งว่าทั้งสองคนเป็นคนเดียวกันก็มี) มีเชื้อสายเจ้าปางคำเมืองเชียงรุ้ง ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกษัตริย์เวียงจันทน์ให้ตั้งถิ่นฐานที่เมืองหนองบัวลุ่มภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่าน ทั้งสองเคยได้ช่วยเหลือให้พระเจ้าศิริบุญสารได้เสวยราชสมบัติในเวียงจันทน์มาก่อน ต่อมาในปี พ.ศ. 2313 พระเจ้าศิริบุญสารทรงขอตัวลูกสาวของขุนนางทั้งสองทำนองจะเอาไว้เป็นตัวประกัน เจ้าพระวอ เจ้าพระตา ไม่พอใจพระเจ้าศิริบุญสารมาก จึงกลับมาตั้งมั่นเตรียมสู้รบอยู่ที่เมืองหนองบัวลุ่มภู (สาเหตุที่ขัดแย้งกันยังมีต่างออกไปอีกตามหลักฐานแต่ละแห่ง)

พระเจ้าศิริบุญสารทรงส่งกองทัพมาปราบถึงสามครั้ง กองทัพฝ่ายเจ้าพระวอเจ้าพระตาก็ชนะทุกครั้ง แต่เมื่อรบนานไปฝ่ายหนองบัวลุ่มภูเห็นว่าจะแพ้เพราะกำลังรบลดลงแน่นอนจึงได้ขอความช่วยเหลือจากกองทัพพม่า ทว่ากองทัพพม่ากลับให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายเวียงจันทน์เพราะฝ่ายเวียงจันทน์ส่งคนไปขอความช่วยเหลือตัดหน้าฝ่ายหนองบัวลุ่มภู ในการรบครั้งต่อมาฝ่ายหนองบัวลุ่มภูจึงแพ้ เจ้าพระตาตายในที่รบ เจ้าพระวอจึงนำไพร่พลและเชื้อสายที่รอดตายหนีไปพึ่งพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารแห่งอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก โดยไปตั้งมั่นอยู่ที่บ้านเวียงดอนกองซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีของไทยในปัจจุบัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2319 เจ้าพระวอเกิดความขัดแย้งกับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารจากเรื่องการสร้างกำแพงเมืองกับการสร้างหอคำ (เรือนหลวง) จึงได้พาไพร่พลมาตั้งมั่นที่บ้านดอนมดแดงและทำหนังสือขอเป็นขอบขัณฑสีมาของกรุงสยามในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งพระองค์ก็ได้รับไว้ ฝ่ายเวียงจันทน์เห็นว่าถ้าส่งกำลังไปปราบเจ้าพระวอแล้วฝ่ายจำปาสักจะไม่ให้ความช่วยเหลือเจ้าพระวอแน่นอนจึงทรงส่งกองทัพมาจับเจ้าพระวอฆ่าที่บ้านดอนมดแดงเสีย เจ้าคำผง เจ้าทิดพรหม และเจ้าก่ำ บุตรหลานของเจ้าพระวอและเจ้าพระตาซึ่งตีฝ่าวงล้อมออกมาได้จึงแจ้งเรื่องกราบทูลไปยังกรุงธนบุรีผ่านทางเมืองนครราชสีมา

สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระพิโรธมากที่ฝ่ายเวียงจันทน์ส่งกองทัพมาฆ่าผู้ที่อยู่ในขอบขัณฑสีมาของพระองค์ กอปรกับพระองค์เองก็ไม่ทรงไว้ใจฝ่ายเวียงจันทน์ที่มีท่าทีฝักใฝ่อาณาจักรพม่าซึ่งยังคงคุกคามฝ่ายสยามอยู่ตลอด ในปี พ.ศ. 2321 พระองค์จึงทรงส่งกองทัพภายใต้การนำของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ขึ้นไปตีอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ โดยไล่ตีมาทางใต้ผ่านทางอาณาจักรล้านช้างจำปาสักก่อน ฝ่ายจำปาสักเห็นว่าจะสู้กองทัพไทยไม่ได้จึงยอมอ่อนน้อมโดยดี จากนั้นจึงยกทัพขึ้นเหนือตีหัวเมืองหน้าด่านของเวียงจันทน์เรื่อยมา จนสามารถหักเอาเมืองเวียงจันทน์ได้สำเร็จ ฝ่ายสยามจึงกวาดต้อนทรัพย์สิน ผู้คน ขุนนาง เชื้อพระวงศ์ และกุมตัวพระเจ้าศิริบุญสารลงมายังกรุงธนบุรี ด้านอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางซึ่งเป็นอริกับเวียงจันทน์มาตลอดก็ได้ให้ความช่วยเหลือฝ่ายสยามในสงครามครั้งนี้อย่างเต็มที่ แต่พอสิ้นศึกก็ถูกฝ่ายไทยบังคับให้ยอมอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้นด้วยเช่นกัน อาณาจักรล้านช้างทั้งสามแห่งจึงตกเป็นประเทศราชของไทยทั้งหมดในปี พ.ศ. 2321 นี้เอง แม้ต่อมาภายในสยามก็เกิดการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์สู่ราชวงศ์จักรีและย้ายราชธานีมายังกรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ. 2325 ก็ตาม แต่ภาวะความเป็นประเทศราชของทั้งสามอาณาจักรก็มิได้เปลี่ยนแปลง

ภายหลังที่สูญเสียเอกราชให้แก่อาณาจักรสยาม พระเจ้าแผ่นดินสยามจึงให้เจ้านันทเสนโอรสของพระเจ้าศิริบุญสาร เสด็จขึ้นครองราชย์แทน แล้วแต่งตั้งเจ้าอินทวงศ์เป็นอุปราช ส่วนเจ้าอนุวงศ์และเจ้าพรหมวงศ์ให้ลงไปเป็นตัวประกันที่กรุงธนบุรี แต่ต่อมาก็เกิดข้อพิพาทฟ้องร้องกันกับเจ้าอนุรุทธแห่งนครหลวงพระบางหลายครั้ง จนครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2336 เจ้านันทเสนถูกกล่าวหาว่าสมคบกับเจ้าเมืองนครพนมและเวียดนามจะก่อการกบฏ จึงถูกเรียกตัวลงไปสอบสวนที่กรุงเทพฯ พระองค์ต่อสู้คดีอยู่ 2 ปี ก็เสด็จสวรรคต

เจ้าอินทวงศ์พระอนุชาของเจ้านันทเสนได้ครองราชย์สืบต่อ และครองเมืองมาถึงปี พ.ศ. 2346 ก็ถึงแก่พิราลัย ทำให้เจ้าอนุวงศ์ พระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพระเจ้าศิริบุญสารได้ขึ้นครองราชสมบัติในนครเวียงจันทน์ พระองค์เป็นผู้มีความสามารถในหลายด้าน โดยได้เคยยกทัพไปช่วยฝ่ายไทยรบกับพม่าจนได้รับชัยชนะหลายครั้ง ตลอดจนได้ทรงจัดแจงสร้างบ้านแปลงเมืองให้เจริญรุ่งเรืองในหลายด้าน ทั้งในทางพระพุทธศานาและทางทหาร ทั้งได้ยึดครองจำปาศักดิ์จากความดีความชอบที่ เจ้าราชบุตรโย้ ผู้เป็นโอรสทำการปราบกบฏอ้ายสา

เมื่อมีอำนาจเข้มแข็งขึ้นแล้วเจ้าอนุวงศ์จึงทรงมีความต้องการที่จะขยายอำนาจออกไปอีก โดยมุ่งหมายจะยึดครองดินแดนสยาม ในครั้งนั้นทรงมีดำริว่าจะยกทัพไปยึดกรุงเทพฯเสีย เพื่อให้คนไทยมาอยู่ในอำนาจ แต่เมื่อได้รับการทัดทานจากขุนนางว่าสยามเป็นประเทศใหญ่ ไม่สามารถปกครองได้ทั่วถึง เจ้าอนุวงศ์จึงว่าถ้าหากปกครองคนไทยได้ไม่หมดก็จะ "ทำลายกรุงเทพฯให้สิ้นซาก" กวาดทรัพย์สินและผู้คนมาเวียงจัน เพื่อไม่ให้คนไทยมีกำลังตั้งตนได้อีก เจ้าอนุวงศ์ได้บุกเข้าตีถึงจังหวัดนครราชสีมา แต่เสียทีให้กับ ท้าวสุรนารี ประกอบกับอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางยังคงจงรักภักดีต่อกรุงเทพฯ จึงส่งกำลังมาช่วยทัพไทยตีทัพเจ้าอนุวงศ์จนพ่ายแพ้ เจ้าอนุวงศ์ถูกจับตัวส่งลงไปที่กรุงเทพฯ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และเสด็จสวรรคตในพ.ศ. 2371

เมื่อกองทัพอาณาจักรสยามตีนครเวียงจันทน์ครั้งที่ 2 ในรัชกาลของเจ้าอนุวงศ์นี้ ฝ่ายสยาม (รัชกาลที่ 3) ได้สั่งให้ "ทำลายนครเวียงจันทน์ให้สิ้นซาก" และกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนมากรุงเทพฯ อีกทั้งให้ล้มเลิกอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์เสีย มิให้มีเมืองและเจ้าครองนครอีกต่อไป นครเวียงจันทน์ที่จึงถูกทำลายกลายเป็นเมืองร้าง ในปี พ.ศ. 2371

เมื่อสูญเสียเอกราชใน พ.ศ. 2321 ในสมัยเจ้าสุริยวงศ์ พระองค์จึงถูกคุมตัวลงไปที่กรุงธนบุรี ภายหลังจึงถูกส่งคืนมาเป็นเจ้านครหลวงพระบาง และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2334 บรรดาเสนาอำมาตย์จึงทูลเชิญเจ้าอนุรุทธ พระอนุชาของเจ้าสุริยวงศ์ขึ้นครองราชย์ เมื่อเจ้านันทเสนแห่งเวียงจันทน์ยกทัพมาตีหลวงพระบางได้ เจ้าอนุรุทธจึงถูกส่งลงไปขังที่กรุงเทพฯอยู่ 4 ปี จึงได้เสด็จกลับมาขึ้นครองราชย์ตามเดิม และเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2339 เจ้ามันธาตุราช โอรสของเจ้าอนุรุทธะจึงได้ขึ้นครองเมืองแทนใน พ.ศ. 2360 ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต เจ้ามันธาตุราชจึงได้เสด็จลงไปกรุงเทพฯ เพื่ออุปสมบทต่อหน้าพระบรมศพแล้วจึงเสด็จกลับมาครองครองราชย์ตามเดิม โดยในปี พ.ศ. 2370 เกิดเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ เจ้ามันธาตุราชจึงได้ส่งกำลังพลไปช่วยกองทัพไทยตีเวียงจันทน์

เมื่อเจ้ามันธาตุราชสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2379 ทางกรุงเทพฯจึงตั้งให้เจ้าสุกเสริม โอรสของเจ้ามันตุราชขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินหลวงพระบางใน พ.ศ. 2381 และสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2393 เจ้านันทราชราชโอรสองค์ที่ 2 ของเจ้ามันธาตุราชได้ครองราชสืบแทนและครองราชย์อยู่ 20 ปี จึงสวรรคตใน พ.ศ. 2414 ทำให้เจ้าอุ่นคำโอรสของเจ้ามันตุราช ได้ครองราชสมบัติสืบต่อ ในรัชสมัยนี้เจ้าอุ่นคำนี้ได้เกิดกบฏฮ่อขึ้นทำให้พระองค์หนีไปอยู่ที่เมืองปากลาย รัฐบาลไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้จึงได้ส่งกองทัพมาปราบ พร้อมทั้งปลดเจ้าอุ่นคำออกจากบัลลังก์ แล้วตั้งเจ้าคำสุกโอรสของเจ้าอุ่นคำขึ้นครองราชย์แทน ในพ.ศ. 2432

เจ้าคำสุกได้ ได้ขึ้นครองราชย์จนถึง พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทสยาม-ฝรั่งเศส รัฐบาลสยามได้ยอมยกดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมดให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส เจ้าคำสุกจึงเป็นพระเจ้าแผ่นดินหลวงพระบางภายใต้การอารักขาของฝรั่งเศส จนถึง พ.ศ. 2448 จึงสิ้นพระชนม์

ภายหลังจากที่จำปาศักดิ์แยกเป็นอิสระจากเวียงจันทน์เมื่อ พ.ศ. 2257 โดยมีเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ผู้เป็นหลานของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2321 ในสมัยของเจ้าไชยกุมาร นครจำปาศักดิ์ก็ต้องเสียเอกราชให้แก่ไทย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2334 ได้เกิดกบฏขึ้นในนครจำปาศักดิ์ทำให้เจ้าไชยกุมารต้องเสด็จหนีแล้วไปสวรรคตในป่า แต่ท้าวฝ่ายหน้าแห่งบ้านสิงห์ท่า (เมืองยโสธร) กับพระประทุมวรราชสุริยวงศ์ (เจ้าคำผง) เจ้าเมืองอุบล ผู้เป็นพระเชษฐา ได้ยกกองกำลังไปปราบกบฏและตีเอาเมืองจำปาศักดิ์คืนมาได้ ทำให้ท้าวฝ่ายหน้าได้รับแต่งตั้งจากไทยให้เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์มีนามว่า พระวิไชยราชขัตติยวงศา

เมื่อพระวิไชยราชขัตติยวงศาถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2350 ฝ่ายอาณาจักรสยามจึงได้แต่งตั้งเจ้านู โอรสของเจ้าไชยกุมาร ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน แต่ก็ถึงแก่พิราลัย หลังรับสุพรรณบัตรเจ้าเมืองได้เพียง 3 วัน ฝ่ายไทยจึงได้แต่งตั้งให้เจ้าหมาน้อย โอรสของอุปราชสุริโย เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ต่อมาเกิดกบฏอ้ายสาเกียดโง้งขึ้นในเมือง ทำให้เจ้าหมาน้อยถูกส่งตัวลงไปยังกรุงเทพฯ และได้ถึงแก่กรรมที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2370 เจ้าราชบุตรโย้ โอรสของเจ้าอนุวงศ์ ที่มีความชอบจากการปราบกบฏอ้ายสา จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ขึ้น เจ้าราชบุตรโย้จึงถูกเจ้าฮุยจับตัวส่งให้แก่ทางกรุงเทพฯ เจ้าฮุยจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ใน พ.ศ. 2371

เมื่อเจ้าฮุยถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. 2384 เจ้านาคผู้เป็นอุปราชจึงได้ครองเมืองสืบแทน จนถึงแก่พิราลัยด้วยอหิวาตกโรคใน พ.ศ. 2396 ทางฝ่ายสยามจึงได้แต่งตั้งเจ้าคำใหญ่ ผู้เป็นโอรสของเจ้าฮุย ขึ้นเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ มีนามว่า เจ้ายุติธรรมธร (คำใหญ่) จนถึง พ.ศ. 2402 ก็ถึงแก่กรรม เจ้าคำสุกผู้เป็นอนุชาจึงได้เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์สืบแทน มีพระนามว่า เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก) พระองค์ได้ส่งบุตรชายทั้ง 3 ไปยังกรุงเทพฯจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ทั้งสามคนได้แก่ เจ้าราชดนัย (หยุย) เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์ (เจ้าเบง) และเจ้าศักดิ์ประเสริฐ (เจ้าอุย)

เมื่อเกิดกรณีพิพาทสยาม-ฝรั่งเศส ฝ่ายอาณาจักรสยามได้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2446 เมื่อเจ้ายุติธรรมธร (คำสุก) ถึงแก่พิราลัย เจ้าราชดนัย (หยุย) ก็ได้รับแต่งตั้งจากฝรั่งเศสให้เป็นผู้ว่าการนครจำปาศักดิ์ ดังนั้นอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์จึงมีฐานะเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301