ลิทัวเนีย (อังกฤษ: Lithuania; ลิทัวเนีย: Lietuva) หรือ สาธารณรัฐลิทัวเนีย (อังกฤษ: Republic of Lithuania; ลิทัวเนีย: Lietuvos Respublika) ตั้งอยู่กลางทวีปยุโรป ทางฝั่งตะวันออกของทะเลบอลติก ทิศเหนือจรดลัตเวีย ทิศตะวันออกและทิศใตัจรดเบลารุส และทิศตะวันตกเฉียงใต้จรดโปแลนด์และรัสเซีย (แคว้นคาลินินกราด) เคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศรัสเซีย
ปัจจุบันสถานภาพทางการเมืองของลิทัวเนียในสายตาของนานาชาตินั้นถือได้ว่ามีเสถียรภาพและเอื้ออำนวยค้าการลงทุน ภายหลังจากการถอนทหารรัสเซียออกจากลิทัวเนียตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2539 กอปรกับชนกลุ่มน้อยชาวรัสเซียในลิทัวเนียไม่มีบทบาทสำคัญทางการเมือง จึงส่งผลทำให้การบริหารบ้านเมืองของรัฐบาลลิทัวเนียในเรื่องชนกลุ่มน้อยค่อนข้างเป็นไปอย่างราบรื่น เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มประเทศบอลติกอื่น ๆ ซึ่งได้แก่ ลัตเวีย และเอสโตเนีย
ระบบการเมือง มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศ ภายใต้รัฐธรรมปัจจุบัน ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2535
สถาบันทางการเมือง ลิทัวเนียมีประธานาธิบดีเป็นประมุขซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละ 5 ปี รัฐสภาใช้ระบบสภาเดียว (Unicamera) เรียกว่า Seimas จำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด 141 คน (71 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรง อีก 70 คน มาจากการเลือกตั้งแบบสัดส่วน) มีวาระดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี พรรคการเมืองจะต้องได้รับคะแนนเสียงเกินร้อยละ 4 จากการลงคะแนนเสียงทั่วประเทศ จึงจะมีสิทธิเข้าร่วมในรัฐสภา ยกเว้นพรรคที่มาจากชนกลุ่มน้อย คณะรัฐบาลดำรงตำแหน่งเท่ากับวาระของสมาชิกรัฐสภาเว้นแต่สมาชิกคณะรัฐบาลจะลาออก หรือรัฐสภาลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลด้วยเสียงข้างมากเด็ดขาด ประธานสภาเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี
ประเทศลิทัวเนียประกอบด้วย 10 เทศมณฑล (counties - apskritys) แต่ละแห่งแบ่งย่อยออกเป็น เทศบาล (municipalities) มี 3 ประเภทคือ เทศบาลนคร 9 แห่ง เทศบาลเขต 43 แห่ง และเทศบาล 5 แห่ง รวมทั้งหมด 60 แห่ง
มีพื้นที่ 65,300 ตารางกิโลเมตร ใหญ่ที่สุดในจำนวน 3 ประเทศแถบบอลติก (เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นป่าสนและเนินทราย ลิทัวเนียเป็นแหล่งอำพัน (Amber) ที่สำคัญ
ลิทัวเนียมีประชากร 3,596,617 คน (กรกฎาคม 2548) เป็นชาวลิทัวเนียร้อยละ 83.5 ชาวรัสเซียร้อยละ 9 ชาวโปลร้อยละ 7 และชาวเบโลรัสเซียร้อยละ 1.5 ใช้ภาษาลิทัวเนียเป็นภาษาทางการ ประมาณร้อยละ 80 ของประชากรใช้ภาษารัสเซีย ประชากรนับือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกมากที่สุด แต่สำหรับชาวรัสเซียในลิทัวเนียนับถือศาสนาคริสต์นิกายออร์ทอดอกซ์
การเดินทางมาท่องเที่ยวประเทศไทยของชาวลิทัวเนียเริ่มขึ้นในปี 2533 จากสถิติในปี 2542 มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางมาไทยจำนวน 478 คน ในปี 2544 มีจำนวน 616 คนซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2543 ร้อยละ 20.55 ในปี 2545 มีจำนวน 683 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.88 และในปี 2546 มีจำนวน 575 คน ลดลงร้อยละ 15.81 สำหรับในช่วงมกราคม-ตุลาคม ปี 2547 มีนักท่องเที่ยวชาวลิทัวเนียเดินทางมาประเทศไทยทั้งหมด 658 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 55.56 ในช่วงแรกประเทศไทยได้รับความนิยมจากชาวลิทัวเนียในฐานะที่เป็นแหล่งการค้า อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันชาวลิทัวเนียเดินทางมายังประเทศไทยในฐานะนักท่องเที่ยวมากขึ้น แหล่งท่องเที่ยวที่นิยม คือ กรุงเทพฯ พัทยา ภูเก็ต เกาะสมุย และชาวลิทัวเนียนิยมท่องเที่ยวในลักษณะแบบครอบครัว และการท่องเที่ยวในรูปแบบผจญภัยเช่น ดำน้ำ ล่องแก่ง และปีนภูเขา
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 (ค.ศ. 2004) ลิทัวเนียและประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มบอลติก คือ เอสโตเนียและลัตเวีย พร้อมด้วยสาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวาเกีย ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์
ก่อนหน้านี้ ลิทัวเนียและกลุ่มประเทศบอลติกพยายามที่จะดำเนินการเจรจาเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปในขั้นตอนต่าง ๆ และการปฏิบัติตามเงื่อนไขของการเข้าเป็นสมาชิกใหม่ให้เสร็จสิ้นลุล่วงในปี 2545 (ค.ศ. 2002) เพื่อได้มีความพร้อมสำหรับการลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปในปี 2547 (ค.ศ. 2004)
ลิทัวเนียได้รับเชิญให้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การนาโต ในปี 2545 (ค.ศ. 2002) โดยรัฐบาลดำเนินนโยบายในเชิงรุกเพื่อสร้างความตื่นตัวและความกระตือรือร้นให้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการเป็นสมาชิกภาพองค์การนาโต ของลิทัวเนียในด้านต่าง ๆ และจะมีการติดต่อหารืออย่างต่อเนื่องกับประเทศสมาชิกองค์การนาโต เพื่อแสดงให้เห็นถึงความพร้อมของลิทัวเนีย
เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 (ค.ศ. 2003) สมาชิกองค์การนาโต 19 ประเทศ ได้ ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรับสมาชิกใหม่ 7 ประเทศ คือ บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โรมาเนีย สโลวาเกีย และสโลวีเนีย ที่กรุงบรัสเซลส์ ต่อมา มื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547 ประเทศสมาชิกองค์การนาโตใหม่ ทั้ง 7 ประเทศ ได้มอบภาคยานุวัตรสารให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
ลิทัวเนียให้ความสำคัญแก่การพัฒนาความสัมพันธ์และความเป็นหุ้นส่วนที่ใกล้ชิดกับโปแลนด์ การแสวงหาความร่วมมือในภูมิภาคยุโรปเหนือกับกลุ่มประเทศแถบทะเลบอลติกและกลุ่มประเทศนอร์ดิก (Nordic) การกระชับความร่วมมือกับรัสเซียโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านเศรษฐกิจ พลังงาน การคมนาคมขนส่ง รวมทั้งการขยายความร่วมมือกับเบลารุส และประเทศต่าง ๆ ในแถบทะเลดำ
ลิทัวเนียจะมุ่งเน้นการพัฒนาในการส่งออกและการแสวงหาการลงทุนจากต่างประเทศเพื่อพัฒนาขีดความสามารถทางเศรษฐกิจของลิทัวเนีย ขณะเดียวกัน มุ่งเน้นให้ความสำคัญมากขึ้นแก่มิติความสัมพันธ์ทางด้านวัฒนธรรมกับประเทศต่าง ๆ เพื่อส่งผลเกื้อกูลดำเนินนโยบายต่างประเทศของลิทัวเนีย
ฯพณฯ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในระหว่างการเยือน รัฐมนตรีวาลิโอนีสได้เข้าเยี่ยมคารวะ ฯพณฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และเข้าพบหารือกับ ฯพณฯ นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และผู้แทนการค้าไทย (นายกันตธีร์ ศุภมงคล)