ลำไย ชื่อวิทยาศาสตร์: Dimocarpus longan(มักเขียนผิดเป็น ลำใย) มีชื่อเรียกพื้นบ้านว่า บ่าลำไย ชื่อภาษาอังกฤษว่าลองแกน (Longan) วงศ์ Sapindaceae เป็นพืชพื้นเมืองในพื้นที่ราบต่ำของลังกาอินเดียตอนใต้ บังกลาเทศ พม่าและจีนภาคใต้ เป็นพืชไม้ผลเขตร้อนและกึ่งร้อน เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นสีน้ำตาล ออกดอกเป็นช่อ สีขาวครีม ผลทรงกลมเป็นช่อ ผลดิบเปลือกสีน้ำตาลอมเขียว ผลสุกสีน้ำตาลล้วน เนื้อลำไยสีขาวหรือชมพูอ่อน เมล็ดสีดำเป็นมัน เนื้อล่อนเม็ด
ลำไยเป็นไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนและกึ่งร้อนของเอเชีย ซึ่งอาจมีถิ่นกำเนิดในลังกาอินเดียพม่าหรือจีนแต่ที่พบหลักฐานที่ปรากฏในวรรณคดีของจีนในสมัยพระเจ้าเซ็งแทงของจีนเมื่อ 1,766 ปีก่อนคริสกาลและจากหนังสือRuYaของจีนเมื่อ 110 ปีก่อนคริสตกาลได้มีการกล่าวถึงลำไยไว้แล้ว และชาวยุโรปได้เดินทางไปยังประเทศจีนเมื่อปีพ.ศ. 1514 ก็เขียนเรื่องราวเกี่ยวกับลำไยไว้ในปีพ.ศ. 1585 แสดงว่าลำไยมีการปลูกในจีนที่มณฑลกวางตุ้งเสฉวนมีศูนย์กลางอยู่ที่มณฑลฟูเกียน[ต้องการอ้างอิง]
ลำไยได้แพร่หลายเข้าไปในประเทศอินเดีย ลังกา พม่าและประเทศแถบเอเชียลังกาพม่าและประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเข้าสู่ประเทศอเมริกาในปลายพุทธศตวรรษที่ 25 ในประเทศไทย ทางภาคเหนือมีลำไยพันธุ์พื้นเมืองเรียก "ลำไยกะลา" ในสมัยรัชการลที่ 5 มีชาวจีนนำพันธู์ลำไยเข้ามาถวายพระราชชายา เจ้าดารารัศมี จำนวน 5 ต้น เป็นพันธุ์เบี้ยวเขียว ทรงให้ปลูกที่เชียงใหม่ 3 ต้น ที่ตรอกจันทร์ กรุงเทพฯ 2 ต้น หลักฐานที่พบเป็นต้นลำไยในสวนเก่าแก่ของ ร.อ.หลวงราญอริพล (เหรียญ ศัพทเสน) ที่ปลูกในตรอกจันทร์ถนนสาธุประดิษฐ์ใกล้วัดปริวาศในสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมามีการขยายพันธุ์จากต้นในจังหวัดเชียงใหม่จากนั้นก็ขยายสู่ภูมิภาคต่างๆในล้านนาโดยเพาะเมล็ดจนเกิดการกลายพันธุ์ (Mutation) เกิดพันธุ์ใหม่ตามสภาพคุณลักษณะที่ดีของภูมิอากาศที่เหมาะสมและเกื้อกูลเจริญเติบโตของลำไย
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จังหวัดลำพูนมีสภาพภูมิประเทศที่ดีในลุ่มแม่น้ำใหญ่หลายสาย จนเกิดลำไยต้นหมื่นที่บ้านหนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน ซึ่งเก็บผลขายต้นเดียวได้ราคาเป็นหมื่น เมื่อปีพ.ศ. 2511 ผลิตผลต่อต้นได้ 40-50เข่งพัฒนาการของลำไยในภูมิภาคนี้โดยเฉพาะที่จังหวัดลำพูนถ้านับจากการเสด็จกลับล้านนาครั้งแรกของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเมื่อปีพ.ศ. 2457จนถึงลำไยต้นหมื่นที่หนองช้างคืนเมื่อปีพ.ศ. 2511ก็พัฒนามาร่วม60ปีและถ้านับถึงปีปัจจุบัน มีการพัฒนาพันธุ์ร่วม90ปีแล้วจนขณะนี้มีลำไยมากมายหลายพันธุ์และมีการปลูกมากถึง157,220ไร่[ต้องการอ้างอิง]
ลำไยปลูกในหลายประเทศที่สำคัญคือประเทศจีนมีการปลูกลำไยถึง 26 พันธุ์ คือพันธุ์ที่ปลูกในมณฑล กวางตุ้ง 12 สายพันธุ์ปลูกในประเทศไต้หวันอีก 15 สายพันธุ์ปลูกในสหรัฐอเมริกามี 1 สายพันธุ์คือ พันธุ์โคฮาลาพันธุ์ลำไยในประเทศไทย จำแนกออกตามลักษณะผลเนื้อเมล็ดและรสชาติแบ่งได้ 5 พวก คือ
เปลือกของต้นมีสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาและมีรสฝาดใช้ต้มเป็นยาหม้อแก้ท้องร่วง ลำต้นมีขนาดใหญ่ สูงประมาณ 30-40 ฟุต เนื้อไม้มีสีแดงและแข็งสามารถใช้ทำเครื่องใช้ประดับบ้านได้ เนื้อลำไยกินสดเป็นผลไม้ ทำเป็นอาหารหวาน เช่น ข้าวเหนียวเปียกลำไย วุ้นลำไย ลำไยลอยแก้ว น้ำลำไย หรือแปรรูป เช่น บรรจุกระป๋อง ตากแห้งสามารถทำเป็นชาชงดื่ม เป็นยาบำรุงกำลังช่วยให้หลับสบายเจริญอาหาร แต่ถ้ากินลำไยมากเกินไปจะเกิดอาการร้อนใน แผลในปาก หรือตาแฉะได้ ในตำรายาจีนเรียกกุ้ยหยวน (ภาษาจีนกลาง) หรือ กุ้ยอี้ (ภาษาจีนแต้จิ๋ว) ใช้เป็นยาบำรุงเลือด กล่อมประสาท
กองวิทยาศาสตร์กรมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยได้ทำการวิเคราะห์ส่วนประกอบของลำไยปรากฏผลว่า[ต้องการอ้างอิง]
ในเมล็ดลำไยมีปริมาณโปรตีนรวม 6.5% ปริมาณไขมันรวม1.94% และปริมาณเยื่อใยรวมเป็น 8.33% ค่าพลังงานที่ใช้ประยชน์ได้จริงเป็น 3,365 kcal/kg สามารถนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารสัตว์ได้ ในเปลือกหุ้มเมล็ดของลำไยมีปริมาณแทนนินสูง