คลองแสนแสบ เป็นคลองที่ขุดขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) เพื่อเชื่อมแม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกงเข้าด้วยกัน เมื่อปี พ.ศ. 2380 ซึ่งนับได้กว่าหนึ่งร้อยเจ็ดสิบปีมาแล้ว ด้วยพระราชประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกในการขนส่งอาวุธยุทธภัณฑ์ กำลังรบ และเสบียงอาหารไปยังญวน (เวียดนาม) ในราชการสงครามไทย-ญวน ซึ่งใช้เวลารบนานถึง 14 ปี ใน "สงครามอานามสยามยุทธ"[ต้องการอ้างอิง]
คลองแสนแสบเป็นเส้นทางโดยสารที่นิยมเพราะสะดวกรวดเร็ว และเป็นเส้นทางเรือโดยสารคลองแสนแสบ แต่ปัจจุบันมีปัญหามลภาวะในน้ำ ส่งกลิ่นเหม็น เนื่องจากมีการทำลายสิ่งแวดล้อมและทิ้งขยะลงในแม่น้ำเจ้าพระยา
จากหนังสืออานามสยามยุทธ พิมพ์โดยสำนักพิมพ์ โฆษิต หน้า ๓๔๒ เขียนโดย ก.ศ.ร.กุหลาบ จากบันทึกของเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) แม่ทัพไทยที่ไปบัญชาการรบในเขมร ระบุว่า
ครั้นถึง ณ เดือนยี่ขี้นสี่ค่ำ ในปีระกานพศกจุลศักราช ๑๑๙๙ ปี เป็นปีที่ ๑๔ในรัชกาลแผ่นดินที่ ๓กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการดำรัสสั่งให้ พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา(ชื่อทัด)เป็นแม่กองจ้างจีนขุดคลอง ตั้งแต่ตำบลหัวหมากต่อคลองบางกะปิไปทางตะวันออก ทะลุที่บางกะหนากฝั่งแม่น้ำเมืองฉะเชิงเทรา รางวัดทางยาว ๑,๓๓๗เส้น ๑๙ วา ๒ ศอก กว้าง ๖ วา ราคาค่าจ้างขุดเส้นละ เจ็ดสิบบาท รวมเงินทั้งค่าฟันตอไม้ ค่าแก้คลองพระโขนงข้างปลาย รวมเป็นเงินพันสองร้อยหกชั่งสิบสามตำลึง สองบาทสลึงเฟื้อง ขุดอยู่ถึงสีปีเศษจึงสำเร็จแล้วตลอด เป็นลำคลองเรื่อเดินได้ เมื่อปลายปีชวดโทศกจุลศักราช ๑๒๐๒ ปี เป็นปีที่ ๑๗ในรัฃกาลที่๓ กรุงเทพฯ ชนสามัญเรียกว่า "คลองแสนแสบ"
เนื่องจากคลองแสนแสบเป็นคลองหลัก ในการคมนาคมระหว่างลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำบางปะกง จึงมีการขุดคลองซอยขึ้นเป็นจำนวนมาก ดังนี้
คลองซอยฝั่งซ้ายหมายถึงคลองทางฝั่งทิศเหนือหรือใกล้เคียง เรียงจากปากคลองด้านติดคลองผดุงกรุงเกษมไปทางตะวันออก ได้แก่
คลองซอยฝั่งขวาหมายถึงคลองทางฝั่งทิศใต้หรือใกล้เคียง เรียงจากปากคลองด้านติดคลองผดุงกรุงเกษมไปทางตะวันออก ได้แก่