ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ลัทธิอำนาจนิยม

อำนาจนิยม (อังกฤษ: authoritarianism) เป็นรูปแบบการจัดระเบียบทางสังคมซึ่งมีลักษณะของการอ่อนน้อมต่ออำนาจหน้าที่ ตามปกติมักตรงข้ามกับปัจเจกนิยมและอิสรนิยม ในทางการเมือง รัฐบาลอำนาจเป็นรัฐบาลซึ่งอำนาจหน้าที่ทางการเมืองกระจุกตัวอยู่กับนักการเมืองกลุ่มเล็ก

อำนาจนิยม เป็นระบอบการเมืองที่มีฐานอยู่บนอุดมการณ์ทางการเมืองแบบเผด็จการชนิดที่ผู้ปกครองสามารถใช้อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือรัฐ หรือกลุ่มคนใดๆในการธำรงไว้ซึ่งเป้าหมายสูงสุดคือการรักษาอำนาจของตน (Kurian, 2011: 103) โดยมักจะไม่คำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพของประชาชน ปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นที่เป็นปฏิปักษ์กับผู้นำ ควบคุมสื่อมวลชน ผูกขาดการใช้อำนาจและจำกัดการตรวจสอบ

กล่าวได้ว่า ระบอบอำนาจนิยมเป็นระบอบการเมืองที่ใช้แพร่หลายมากที่สุดเป็นระยะเวลายาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์การปกครองของมนุษยชาติ ทุกวันนี้ “อำนาจนิยม” เป็นคำที่ถูกใช้ถึงบ่อยครั้งที่สุดเมื่อกล่าวถึงระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ลักษณะเด่นของระบอบอำนาจนิยมคือ การกระทำและการตัดสินใจของผู้ปกครองไม่ถูกจำกัดโดยสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของประชาชน ในขณะที่สิทธิ เสรีภาพของประชาชนมีอยู่อย่างจำกัด กล่าวอีกนัยหนึ่ง สิทธิทางการเมืองของประชาชน หากมีอยู่บ้าง ก็จำกัดเต็มที ด้วยเหตุที่ผู้ปกครองอำนาจนิยมจะสร้างกฎระเบียบ มาตรการที่เข้มงวด เพื่อจำกัดกิจกรรมของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่ต้องการมีส่วนร่วมในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมมักไม่ได้รับอนุญาตให้แสดงออกทางการเมืองใดๆ ยกเว้น กิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุนจากอำนาจรัฐ ฉะนั้น การต่อสู้ทางการเมืองในรูปแบบการชุมนุมประท้วงและเดินขบวนตามจังหวะและโอกาส จึงแทบจะเป็นรูปแบบการมีส่วนร่วมชนิดเดียวที่ทำได้ ในขณะที่เสรีภาพของสื่อมวลชนและประชาชนที่จะวิพากษ์วิจารณ์และตั้งคำถามต่อระบบการเมืองจะถูกตรวจสอบ หากฝ่าฝืนจะมีมาตรการลงโทษ

อำนาจนิยมมีลักษณะของอำนาจที่เข้มข้นและรวมเข้าสู่ศูนย์กลางอย่างมาก ซึ่งรักษาไว้โดยปราบปรามทางการเมืองและการกีดกันคู่แข่งที่เป็นไปได้ รัฐบาลอำนาจนิยมใช้พรรคการเมืองและองค์การมวลชนเพื่อระดมคนมารอบเป้าหมายของรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม ในระบอบอำนาจนิยม ประชาชนสามารถดำเนินชีวิตประจำวันในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับมิติทางการเมืองได้อย่างปกติ สามารถเลือกประกอบอาชีพ นับถือศาสนา และสังสรรค์หาความสุขได้โดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมโดยตรงจากรัฐบาล แต่กระนั้น ในบางประเทศสิทธิและเสรีภาพในการดำเนินชีวิตอาจถูกควบคุมโดยธรรมเนียมปฏิบัติ บรรทัดฐานหรือความเชื่อทางศาสนาที่เข้มงวด ซึ่งอาจเป็นส่วนหนึ่งหรือคนละส่วนกับอำนาจรัฐในระบบการเมืองก็ได้ ประเทศที่เป็นระบอบอำนาจนิยม เช่น อิหร่าน สหภาพเมียนมาร์ (พม่า--Union of Myanmar) ซาอุดิอาระเบีย และอินโดนีเซีย ภายใต้นายพลซูฮาร์โต เป็นต้น

ที่น่าสนใจคือ ประสบการณ์ทางการเมืองของประเทศในลาตินอเมริกา นำมาสู่คำเรียกขาน “ระบอบราชการ-อำนาจนิยม” (bureaucratic authoritarianism) ที่ใช้อธิบายประเทศจำนวนหนึ่งที่เคยเป็นประชาธิปไตย แต่เกิดหักเหจนในที่สุดระบอบประชาธิปไตยต้องล่มสลาย และถูกแทนที่ด้วยแนวร่วมระหว่างคณะทหารกับพลเรือนที่ทำการรัฐประหารยึดกุมสถาบันการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ชนชั้นนำที่ประกอบด้วย ทหาร ข้าราชการพลเรือน นักเทคนิคระดับสูง (technocrats) ตลอดจนนักธุรกิจชั้นนำดำเนินนโยบายที่เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม แต่ปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบาย และการเข้ามาแข่งขันในตลาดการเมือง โดยคณะทหารและระบบราชการดังกล่าว แสดงบทบาททางการเมืองในฐานะที่เป็นสถาบัน ไม่ใช่ตัวบุคคล นักวิชาการลาตินอเมริกาวิเคราะห์ว่า ระบอบราชการ-อำนาจนิยม เป็นผลจากการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบทุนนิยมพึ่งพา ประเทศที่จัดว่าใช้ระบอบราชการ-อำนาจนิยม เช่น บราซิล อาร์เจนตินา และ ชิลี

อำนาจนิยมที่มีการกล่าวถึงในยุคปัจจุบันมากที่สุดคือ “อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianisms) หรือระบอบอำนาจนิยมที่มีเปลือกนอกฉาบด้วยผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งปรากฏให้เห็นในหลายประเทศแถบตะวันออกกลาง และแอฟริกาเหนือ (Linz, 2000: 34; Badie, 2011: 107) ในระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน กระบวนการอันสำคัญและจำเป็นกระบวนการหนึ่งที่มิอาจขาดหายไปได้เลยก็คือ การเลือกตั้ง (election) เพราะเป็นกระบวนการที่จะทำให้ประชาชนเจ้าของอำนาจได้แสดงออกซึ่งเจตจำนงเสรีของแต่ละบุคคล ทว่าการเลือกตั้งก็อาจมิใช่ตัวบ่งชี้ถึงความเป็นประชาธิปไตยเสมอไป เพราะระบอบอำนาจนิยมในหลายประเทศได้อาศัยกระบวนการเลือกตั้งมาเป็นเครื่องมือในการสร้างความชอบธรรมในการปกครอง และการใช้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเพื่อประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้ง ด้วยการอ้างเสียงสนับสนุนข้างมาก ทำให้เกิดอำนาจนิยมแบบใหม่ที่เรียกว่า อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง (electoral authoritarianism) ทำให้เกิดข้อถกเถียงว่า การเลือกตั้งมิได้เท่ากับการมีประชาธิปไตยเสมอไป หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การเลือกตั้งเป็นปัจจัยที่ “จำเป็น” แต่อาจไม่ “เพียงพอ” ที่จะแบ่งระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ออกจากระบอบการปกครองที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

เส้นแบ่งใหม่ที่เกิดขึ้นระหว่างการเลือกตั้งของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย และระบอบอำนาจนิยมที่แฝงเร้นอยู่ในคราบประชาธิปไตยตัวแทนจอมปลอม (authoritarianism disguised in the form of representative democracy) จึงอยู่ที่มิติด้านคุณภาพของการเลือกตั้งและประสิทธิภาพของกลไกตรวจสอบด้วย กล่าวคือ การเลือกตั้งจะต้องเป็นการเลือกตั้งที่เสรี เที่ยงธรรม และโปร่งใส (free, fair, and transparent election) ที่ปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอกอื่นๆ อาทิ การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การแทรกแซงของคณะทหาร ไม่มีการครอบงำ หรือจำกัดคู่แข่งทางการเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง จึงจะนับได้ว่าเป็นการเลือกตั้งที่เพียงพอและจำเป็นที่จะนำไปสู่ระบอบเสรีประชาธิปไตยได้อย่างแท้จริง (Badie, 2011: 112-114) และเมื่อได้ชัยชนะและมีเสียงข้างมากแล้ว หากใช้กลไกเสียงข้างมากบ่อนทำลายกลไกตรวจสอบ ก็อาจนำไปสู่อำนาจนิยมซึ่งเกิดขึ้นภายใต้เสื้อคลุมประชาธิปไตย นอกจากนั้น ความแตกต่างระหว่างอำนาจนิยมและประชาธิปไตยที่สำคัญไม่แพ้การเลือกตั้ง คือ การมีหลักนิติธรรมที่ไม่เอนเอียง มีรัฐบาลที่ตรวจสอบได้ และมีกระบวนการยุติธรรมที่เป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงหรืออคติ

แนวคิดเรื่องระบอบอำนาจนิยมเป็นผลจากบริบททางการเมืองหลังทศวรรษ 1960 เป็นต้นมา ที่โลกได้แบ่งระบอบการปกครองต่างๆ ออกเป็น 2 ค่ายใหญ่ตามอุดมการณ์ทางการเมือง คือ ระบอบประชาธิปไตย และระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย โดยระบอบอำนาจนิยมถูกมองว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย

ทฤษฎีเกี่ยวกับอำนาจนิยมได้มีการศึกษาอย่างเป็นระบบครั้งแรกโดยฮวน เจ. ลินท์ (Juan J. Linz) ในปี ค.ศ. 1964 ลินท์ ระบุว่าระบอบการปกครองแบบอำนาจนิยมนั้นจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติพื้นฐาน 3 ประการอันได้แก่ 1) พหุนิยมแบบจำกัด 2) การมุ่งไปที่จิตใจมากกว่าอุดมการณ์ 3) ปราศจากการระดมสรรพกำลังทางการเมือง (political mobilization) เพื่อการสนับสนุนในระยะยาว (Badie, 2011: 108)

ความเป็นพหุนิยมแบบจำกัดนั้นเป็นลักษณะประการหนึ่งที่ทำให้อำนาจนิยมอยู่กึ่งกลางระหว่างเผด็จการเบ็ดเสร็จ กับประชาธิปไตย เพราะในขณะที่ระบอบประชาธิปไตยเปิดโอกาสให้มีพหุนิยมแบบเต็มรูปแบบ และเผด็จการเบ็ดเสร็จที่ไม่เปิดโอกาสให้มีพหุนิยมขึ้นในสังคมเลยนั้น ระบอบอำนาจนิยมกลับเปิดโอกาสให้ความแตกต่างหลากหลายบางประการดำรงอยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการยอมให้มีคู่แข่ง หรือฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง คือ พรรคการเมืองอื่นๆ หรือภาคประชาสังคมบ้าง แต่กระนั้นสิ่งเหล่านี้ก็มักจะต้องถูกจำกัด และดำเนินกิจกรรมอยู่ได้ก็โดยความยินยอมของผู้นำอำนาจนิยม ภายในขอบเขตที่ถูกกำหนดไว้ เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วการยอมให้มีความแตกต่างในสังคมอยู่บ้างนี้ ก็มักจะเป็นเพียงการสร้างความชอบธรรมให้แก่การปกครองโดยคณะทหาร (military junta) หรือผู้นำที่กุมอำนาจอยู่เบื้องหลังนั่นเอง ซึ่งความก้ำกึ่งเหล่านี้นี่เองที่ทำให้ระบอบอำนาจนิยมไม่มีการจัดระบบโครงสร้าง และอุดมการณ์ที่อยู่เบื้องหลังอย่างเป็นระบบและชัดเจน อันเป็นที่มาของลักษณะสำคัญประการที่สองก็คือ การมุ่งควบคุมจิตใจมากกว่าอุดมการณ์ ซึ่งส่งผลให้ระบอบการปกครองนี้ไม่สามารถระดมสรรพกำลังทางการเมือง เพื่อให้ได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากวัยรุ่นหนุ่มสาว นักวิชาการ และนักศึกษาปัญญาชนในสังคมได้นั่นเอง (Linz, 2000: 159-261)

ช่วงเวลาที่ประเทศไทยปกครองด้วยระบอบอำนาจนิยมที่ชัดเจนที่สุดเห็นจะได้แก่ ช่วงปี พ.ศ. 2500 -2516 หรือ ในช่วงระบอบสฤษดิ์ และระบอบถนอม-ประภาส นั่นเอง โดยในช่วง พ.ศ. 2502-2506 ที่ได้มีการประกาศธรรมนูญการปกครอง พ.ศ. 2502 ทำให้นายกรัฐมนตรี คือจอมพลสฤษดิ์สามารถใช้อำนาจตามมาตรา 17 ซึ่งบัญญัติข้อความให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในกรณีพิเศษไว้อย่างกว้างขวาง แม้กระทั่งสามารถสั่งประหารประชาชนโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรม ไม่มีเสรีภาพของสื่อมวลชนในการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่างๆ และที่สำคัญก็คือ ไม่มีพรรคการเมือง และการเลือกตั้ง อำนาจการเมืองทั้งหมดจึงอยู่ในมือของจอมพลสฤษดิ์แต่เพียงผู้เดียว ที่แต่งตั้งตนเองเป็นทั้งผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้บัญชาการทหารบก และอธิบดีกรมตำรวจ การจัดวางความสัมพันธ์ของส่วนต่างๆในสังคมในสายตาของจอมพลสฤษดิ์ตั้งอยู่บนความเชื่อที่ว่า รัฐบาลต้องมีอำนาจสูงสุดในการบริหารประเทศ โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่เสถียรภาพทางการเมืองและความเป็นปึกแผ่นของชาติ ส่วนระบบราชการมีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของรัฐบาลโดยเฉพาะจากตัวผู้นำคือจอมพลสฤษดิ์ ภายใต้ตรรกะนี้ ข้าราชการจึงมีหน้าที่หลักเป็นผู้รับใช้รัฐบาล ไม่ใช่รับใช้ประชาชน แนวคิดของจอมพลสฤษดิ์เป็นการประยุกต์ประเพณีการจัดระเบียบการเมืองการปกครองของไทยแบบพ่อปกครองลูกที่มีพื้นฐานอยู่บนประวัติศาสตร์และจารีตดั้งเดิมในสมัยสุโขทัย แนวคิดดังกล่าวถูกเรียกขานว่า “ระบอบพ่อขุนอุปถัมภ์” (ทักษ์, 2552: 226-227) ซึ่งได้กลายเป็นที่มาของวาทกรรม “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ที่ใช้สร้างความชอบธรรมทางการเมืองท่ามกลางความล้มเหลวในการวางรากฐานประชาธิปไตยของสังคมไทยมาหลายทศวรรษ

แม้ว่าในปี พ.ศ. 2511 หลังจากการถึงแก่อนิจกรรมของจอมพลสฤษดิ์ไปกว่า 5 ปี ประเทศไทยได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือ รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2511 และตามติดมาด้วยการเลือกตั้งในปีเดียวกัน อันเป็นผลลัพธ์มาจากความพยายามของสหรัฐอเมริกาในการผลักดันให้ไทยเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น โดยกลไกของการเลือกตั้ง เพื่อรับมือกับภัยคอมมิวนิสต์ (Kesboonchoo-Mead, 2012: 215-240) ทว่าการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นนั้น แท้จริงเป็นเพียงฉากหน้าในการสร้างความชอบธรรมให้แก่ระบอบถนอม-ประภาสผู้สืบทอดอำนาจจากจอมพลสฤษดิ์ เพราะพรรคการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งก็ได้แก่พรรคสหประชาไทย ของจอมพลถนอม กิตติขจร อีกทั้งในสภายังมีวุฒิสมาชิกที่มาจากการแต่งตั้งของจอมพลถนอมอีกกว่าครึ่งสภา (จำนวน 91 คน จาก 140 คน) ดังนั้น จอมพลถนอมจึงมีอำนาจล้นเหลือที่มาจากการผูกขาดเสียงสนับสนุนในรัฐสภา

รัฐบาลของจอมพลถนอมในปี พ.ศ. 2511 จึงเป็นเพียงแค่รัฐบาลตัวแทนของระบอบอำนาจนิยมจากการเลือกตั้งที่แม้จะเปิดโอกาสให้มีพรรคการเมือง และการเลือกตั้ง แต่ก็แฝงเร้นไว้ด้วยความพยายามในการรักษาฐานอำนาจทางการเมือง ควบคู่ไปกับการแสร้งทำให้ดูเหมือนว่าเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตย แต่ด้วยกลไกที่ผิดฝาผิดตัว และบิดเบือนจึงทำให้รัฐบาลของจอมพลถนอมไม่อาจรับมือกับแรงเสียดทานที่ตามมาจากกลไกของระบบรัฐสภา คือ การตรวจสอบ และการอภิปรายซักถามโดยฝ่ายค้าน และสมาชิกรัฐสภาไปได้ ด้วยเหตุนี้หลังจากที่รัฐบาลไม่สามารถผ่านร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อรัฐสภาได้ จอมพลถนอมจึงตัดสินใจสลัดคราบประชาธิปไตย และเปิดเผยตัวตนของระบอบเผด็จการด้วยการยึดอำนาจตัวเองในปี พ.ศ. 2514 ซึ่งการรัฐประหารครั้งนี้ได้นำไปสู่ความขัดแย้งทางการเมืองที่รุนแรงมากขึ้น และนำไปสู่การล่มสลายของระบอบอำนาจนิยม ถนอม-ประภาส ภายหลังจากการเกิดวิกฤติการณ์เดือนตุลาคมในอีก 2 ปีถัดมา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในนาม “เหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516”

ภายใต้ระบอบอำนาจนิยม สฤษดิ์ – ถนอม – ประภาส ก่อให้เกิดการสืบทอดค่านิยม และทัศนคติแบบเจ้าคนนายคน การที่คณะรัฐมนตรีในช่วงเวลาดังกล่าวมีที่มาจากข้าราชการประจำและข้าราชการบำนาญจำนวนมาก ทำให้มีการใช้เส้นสายในแวดวงข้าราชการเป็นบันไดไต่เต้าไปสู่ตำแหน่งทางการเมือง เปิดโอกาสให้คณะทหาร กลุ่มธุรกิจและข้าราชการผูกขาดอำนาจและกอบโกยผลประโยชน์เข้ากระเป๋าตัวเองเป็นจำนวนมหาศาล

จนกระทั่ง รัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ได้มีการระบุว่าเป็น ลัทธิอำนาจนิยมที่แฝงมากับระบอบประชาธิปไตย หรือ “อำนาจนิยมที่มาจากการเลือกตั้ง” (electoral authoritarianisms) โดยนักวิชาการชื่อเกษียร เตชะพีระ (2547) กล่าวว่า "วัฒนธรรรมการเมืองอำนาจนิยมแบบปฏิปักษ์ปฏิรูปภายใต้ระบอบทักษิณ มี 7 ประการ ได้แก่ 1.) การสร้าง “เสียงข้างมาก” และ “ผลประโยชน์ส่วนรวม” เสมือนจริง. 2.) ผลประโยชน์ทับซ้อนและมาตรฐานสองหน้า. 3.) เสียงที่เห็นต่างและผลประโยชน์ของผู้เห็นต่างถูกเบียดผลักให้กลายเป็น “เสียงส่วนน้อย” และ “ผลประโยชน์ของคนข้างน้อย.” 4.) สิทธิเสียงข้างน้อยและของบุคคลถูกบิดพลิ้ว ปัดปฏิเสธ กระทั่งบดขยี้ ด้วยกำลังของรัฐได้อย่างชอบธรรม. 5.)วาทกรรมและวิธีการของชาตินิยมเผด็จการฝ่ายขวาต่อต้านคอมมิวนิสต์ในอดีต ถูกหยิบยืมมาเวียนใช้ สืบทอดและพัฒนา. 6.) การก่อการร้ายโดยรัฐใช้ได้เหมือนในยุคสงครามเย็น. 7.) การเมืองภาคประชาชนกลายเป็นการเมืองประเด็นเดียว.

ปรัชญาเศรษฐศาสตร์ ? ปรัชญาการศึกษา ? ปรัชญาประวัติศาสตร์ ? นิติศาสตร์ ? ปรัชญาสังคมศาสตร์ ? ปรัชญาความรัก

สังคม ? สงคราม ? กฎหมาย ? ความยุติธรรม ? สันติภาพ ? สิทธิมนุษยชน ? การปฏิวัติ ? การดื้อแพ่ง ? ประชาธิปไตย ? สัญญาประชาคม

อนาธิปไตย ? อำนาจนิยม ? อนุรักษนิยม ? เสรีนิยม ? อิสรนิยม ? ชาตินิยม ? สังคมนิยม ? ประโยชน์นิยม ? ทฤษฎีความขัดแย้ง ? ทฤษฎีความเห็นหมู่

เพลโต ? โสกราตีส ? อริสโตเติล ? ขงจื๊อ ? นักบุญออกัสติน ? นักบุญโทมัส อควีนาส ? มาเกียเวลลี ? ฮอบส์ ? ล็อก ? รูโซ ? มงแต็สกีเยอ ? วอลแตร์ ? อดัม สมิธ ? โรเบิร์ต พีล ? เอ็ดมันด์ เบิรก์ ? มิล ? แฟรงคลิน ? ไลบ์นิซ ? คานท์ ? ทอโร ? มหาตมา คานธี


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301