ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ลัทธิมาร์กซ

ลัทธิมากซ์ (อังกฤษ: Marxism) หรือมักใช้ทับศัพท์ว่า มาร์กซิสต์ คือทฤษฎีสังคม และการเมือง ที่มีพื้นฐานมาจากผลงานของคาร์ล มากซ์ และฟรีดริช เองเงิลส์ ลัทธิมากซ์มีอิทธิพลอย่างสูงต่อลัทธิคอมมิวนิสต์ (Communism) และยังมีอิทธิพลต่อวงวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง (Political Economy), มากซ์สายใหม่ (Neo-Marxism), สำนักวัฒนธรรมศึกษาเบอร์มิงแฮม (The Birmingham School), สำนักวัฒนธรรมศึกษาแฟรงก์เฟิร์ต (The Frankf?rt School) รวมไปถึงอิทธิพลบางส่วนที่มีต่อลัทธิหลังสมัยใหม่ (Postmodern)

อนึ่งนอกจากคำว่า "ลัทธิมากซ์" และ "มาร์กซิสต์" ที่เป็นศัพท์บัญญัติของราชบัณฑิตยสถานซึ่งใช้แปลความคำว่า Marxism แล้ว นอกจากศัพท์บัญญัติดังกล่าวยังมีการเขียนทับศัพท์อย่างอื่นด้วย อาทิ ลัทธิมาร์กซ์ ลัทธิมาร์คซ์ ลัทธิมาคซ์ ลัทธิมาร์กซ ลัทธิมากรซ์ เป็นต้น เสนอให้สมควรบัญญัติคำว่า "มาร์กซิสม์" ใช้แทนคำว่า Marxism เนื่องจากคำนี้แปลว่า "ตระกูลความคิดแบบมากซ์ เพื่อให้มีความแตกต่างจากคำว่า Marxist ที่สมควรบัญญัติว่า "มาร์กซิสต์" โดยแปลว่า "นักคิดตระกูลมาร์กซิสต์"

คาร์ล มากซ์เป็นนักปรัชญาเศรษฐศาสตร์สายสังคมนิยม (Socialism) และนักปรัชญาจิตนิยมเยอรมันสายเฮเกิล ซึ่งสำนักคิดทั้ง 2 ตระกูลที่มีอิทธิพลทางความคิดต่อมากซ์นั้นมีรายละเอียดโดยสรุป ดังนี้

อิทธิพลทางความคิดทั้ง 2 ส่วนแสดงให้เห็นใน ค.ศ. 1884 ผ่านหนังสือของมากซ์ชื่อ "เอกสารต้นฉบับทางเศรษฐศาสตร์ และปรัชญา (Economics and Philosophical Manuscript 1884)" ซึ่งมากซ์กล่าวถึงความทุกข์ทน 4 ชนิดของแรงงานต่างด้าว (four alienated labor suffocations) ที่เกิดขึ้นในยุคทุนนิยมอันได้แก่

ซึ่งถือว่าเป็นการวิพากษ์ระบบคิดของสังคมทุนนิยมที่คิดแต่เรื่องของ กำไร – ขาดทุน, ค่าเช่า, การแลกเปลี่ยน, ค่าจ้าง ฯลฯ จากทฤษฎีดังกล่าวมากซ์จึงมองว่าในสังคมทุนนิยมนั้นแรงงานจึงเป็นผู้ถูกขูดรีด (the exploited) มูลค่าส่วนเกิน (surplus value) จากวิธีแห่งการผลิต (means of production) ให้ทำงานเกินความจำเป็น ในความคิดของมากซ์กระบวนการดังกล่าวนี้จะสร้างความกดดันให้กับโครงสร้างทางสังคม ทำให้เกิดชนชั้น (class)และนำไปสู่การปฏิวัติสังคมในที่สุด มากซ์มองว่าความคิดเป็นผลผลิตที่สะท้อนโดยตรงของวัตถุ ความคิดและวัตถุจึงสัมพันธ์กัน มากซ์มองว่าประวัติศาสตร์คือการต่อสู้ระหว่างชนชั้น (classes) ซึ่งหน้าที่ของนักประวัติศาสตร์คือ ค้นหากฎซึ่งคุมพฤติกรรมของสังคมมนุษย์ และกฎที่คุมพฤติกรรมในอนาคตด้วย สำหรับมุมมองของมากซ์ในเรื่องดังกล่าวจึงสามารสรุปคร่าว ๆ ได้ว่าคือ

มากซ์ได้วิเคราะห์ไว้ในหนังสือชื่อ "ว่าด้วยทุน (Das Kapital)" ว่า รูปแบบการผลิตทุนนิยมบังคับให้กรรมกร (Labour) จำเป็นต้องขายแรงงานของตนเองในราคาถูกแก่นายทุน ดังนั้นกำไรของนายทุน แท้จริงแล้วเกิดจากการขูดรีดมูลค่าส่วนเกินจากค่าแรงของกรรมาชีพ เพื่อกำไร ชนชั้นนายทุนจึงต้องพัฒนาเครื่องมือและวิธีการการผลิตให้ก้าวหน้าขึ้นตลอดเวลา ต้องขยายตลาดสินค้า แหล่งวัตถุดิบและกิจการไปทั่วโลก การผลิตแบบทุนนิยมนี้ได้ทำให้เกิดความปั่นป่วนและวิกฤตทางเศรษฐกิจแบบวัฏจักร นั่นคือการผลิตล้นเกิน ท่ามกลางโลกที่อดอยากขาดแคลน เพื่อแก้ไขวิกฤตการผลิตล้นเกิน และรักษาราคาของผลผลิตให้สูงกว่าต้นทุน จึงต้องทำลายผลผลิตส่วนเกินออกจากตลาด พยายามขยายตลาดใหม่และใช้ตลาดเก่าให้เป็นประโยชน์ ซึ่งผลสุดท้ายก็จะนำไปสู่วิกฤตรอบด้านที่รุนแรงยิ่งขึ้น ทำให้ความขัดแย้งทางชนชั้นในสังคมรุนแรงขึ้นจนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมในที่สุด จากปรากฏการณ์ดังกล่าว มากซ์เห็นว่า สิทธิ เสรีภาพ และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ในสังคมทุนนิยมนั้นเป็นจริงเฉพาะกับผู้ที่มีทรัพย์สิน ไม่ใช่สำหรับกรรมาชีพและคนยากจน การที่มนุษย์ถูกทำให้ยอมรับว่ามีความรวยหรือความจนนั้นมากซ์เรียกว่าจิตสำนึกหลอกลวงและจอมปลอม (False Conciousness)

จิตสำนึกหลอกลวงและจอมปลอมกำหนดพฤติกรรมในสังคมมนุษย์ให้ถูกครอบงำโดยปัจจัยในการผลิต คือ ทุน, เครื่องมือ และที่ดิน ที่สำคัญคือ แรงงานเป็นตัวกำหนด และผลักดัน ซึ่งส่งผลให้เกิดชนชั้นทางสังคม มากซ์เรียกความคิดเหล่านี้ว่า "วัตถุนิยมประวัติศาสตร์" (historical materialism) โดยมีตรรกะดังนี้

การที่มากซ์มองว่าในสังคมทุนนิยมนั้นแรงงานจึงเป็นผู้ถูกขูดรีดมูลค่าส่วนเกินวิธีแห่งการผลิตอันนำไปสู่การสร้างความกดดันให้กับโครงสร้างทางสังคม และนำไปสู่การปฏิวัติสังคมในที่สุดนั้น มากซ์ไม่ได้อธิบายไว้อย่างเป็นรูปธรรม ในส่วนนี้เองเงิลส์จึงอธิบายความคิดเครื่องวิวัฒนาการของสังคมในความคิดของมากซ์ว่า สังคมของมากซ์มีวิวัฒนาการด้วยกัน 6 ขั้น คือ

ทฤษฎีของลัทธิมากซ์ ได้รับการยึดถือ แปลความ และวิพากษ์วิจารณ์ จากบรรดานักวิชาการ นักการเมือง พรรคการเมือง รัฐบาล องค์กรต่าง ๆ ทั่วโลก รวมทั้งประชาชนจำนวนมาก และเรียกทฤษฎีสังคมนิยมของมากซ์ว่า ลัทธิมากซ์นับตั้งแต่ทฤษฎีนี้ ได้กำเนิดขึ้นตลอดมา ตราบจนถึงปัจจุบัน จนกล่าวได้ว่าเป็นทฤษฎีที่ได้รับการพูดถึงและอ้างอิงมากที่สุดทฤษฎีหนึ่ง ไม่ว่าจากฝ่ายที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ตาม

นับจากที่ได้กำเนิดขึ้นในกลางศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ได้มีคนนำลัทธิมากซ์ไปใช้เป็นจำนวนมาก คนเหล่านี้ในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ

1. ลัทธิมากซ์โบราณ (Orthodox Marxism หรือ Old School Marxism) ลัทธิมากซ์โบราณคือกลุ่มนักวิชาการที่ยึดถือทฤษฎีของมากซ์อย่างเคร่งครัด

4. มากซ์สายใหม่หรือนีโอมากซิสม์ (Neo-Marxism) มากซ์สายใหม่เป็นสกุลทางความคิดที่เกิดขึ้นในช่วงศตวรรษที่ 20 โดยยังยึดโยงทางความคิดเข้ากับความคิดของมากซ์ไว้ โดยเฉพาะในเรื่องที่ว่าสังคมและวัฒนธรรมมักจะมีความขัดแย้งและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเสมอ ผลของการเปลี่ยนแปลงมักจะเป็นสภาวะใหม่ที่แตกต่างจากภาวะเดิม รวมถึงเชื่อว่าสังคมมนุษย์นั้นมีความไม่เท่าเทียมกัน อำนาจการชี้นำ และครอบงำสังคมยกอยู่ในมือกลุ่มคนส่วนน้อย

ในส่วนที่มากซ์สายใหม่มองต่างไปจากมากซ์โบราณ คือในเรื่องเครื่องมือหรือเงื่อนไขของการครอบงำ ดังนี้

มากซ์สายใหม่ยังแยกย่อยอีกเป็นหลายตระกูล แต่ก็มักเรียกขานแยกต่างหากกันไป อาทิ มากซ์สายใหม่ที่เน้นศึกษาวัฒนธรรมได้แก่นักปรัชญามากซ์สายใหม่ในมหาวิทยาลัยแฟรงก์เฟิร์ทในเยอรมนี ก็จะเรียกขานว่านักคิดสายแฟรงก์เฟิร์ท หรือนักปรัชญามากซ์สายใหม่ในมหาวิทยาลัยเบอร์มิงแฮมก็จะเรียกขานว่านักคิดสายเบอร์มิงแฮม เป็นต้น แต่อย่างไรเสียอิทธิพลความคิดของนักทฤษฎีมากซ์สายใหม่นั้นก็สามารถลากโยงไปถึงความคิดของนักการเมืองชาวอิตาลีที่ชื่อว่า อันโตนีโอ กรัมชี

5. ลัทธิมากซ์เชิงโครงสร้าง (the Structural Marxism) หลุยส์ อัลธูแซร์ นักปรัชญาชาวฝรั่งเศส ได้พัฒนาความคิดของมากซ์ และมากซ์สายใหม่ของกรัมชี่ผนวกเข้ากับทฤษฎีสังคมศาสตร์ตระกูลโครงสร้างนิยม โดยมองว่ารัฐนั้นเป็นข้ารับใช้ของระบอบทุนนิยม และชนชั้นนายทุน ชนชั้นนายทุนมีอำนาจสั่งการรัฐโดยตรง อำนาจรัฐกับอำนาจของทุนจึงเป็นสิ่งเดียวกัน จากกระบวนการดังกล่าวรัฐจึงทำหน้าที่ตอบสนองต่อทุน ในการโอบอุ้มช่วยเหลือนายทุนมากกว่าตอบสนอง และโอบอุ้มสังคม รัฐกระทำการดังกล่าวผ่านนโยบายสาธารณะ, กฎหมาย และระบบเศรษฐกิจให้เป็นไปตามที่นายทุนต้องการ

สำหรับอาลตูว์แซร์อุดมการณ์มีฐานะเป็นโครงสร้างส่วนบนที่มีบทบาทในการกำหนดให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างกับโครงสร้างส่วนล่าง อุดมการณ์จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างรัฐกับปัจเจกบุคคลสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมีเอกภาพและต่อเนื่อง จนกลายเป็นเรื่องคุ้นชินเรื่องปกติธรรมดาไป

อาลตูว์แซร์มองว่าอุดมการณ์เป็นเครื่องมือในการสร้าง, สืบสาน และผลิตซ้ำให้กับสังคม อุดมการณ์จึงต้องถูกผลิตซ้ำผ่านการปลูกฝังบ่มเพาะให้กับสมาชิกในสังคม โดยถูกฝึกฝนให้ยอมรับต่อกฎเกณฑ์ของระบบที่ดำรงอยู่ การผลิตซ้ำความสัมพันธ์ทางการผลิตนี้ถูกกระทำขึ้นอย่างมั่นคงโดยใช้อำนาจรัฐผ่านกลไกหรือสถาบันซึ่งรวมกันเป็นรัฐ อุดมการณ์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญของรัฐ โดยรัฐใช้อุดมการณ์เพื่อผลประโยชน์ดังกล่าวสิ่งที่อัลธูแซร์เรียกว่ากลไกของรัฐ (the state apparatus) โดย อาลตูว์แซร์แบ่งออกเป็นสองแบบ คือ

นักทฤษฎีสำนักวัฒนธรรมร่วมสมัยพยายามที่จะข้ามพ้นวิธีคิดแบบเศรษฐกิจกำหนดวัฒนธรรมในฐานะที่วัฒนธรรมเป็นโครงสร้างส่วนบนแบบลัทธิมากซ์โบราณมาสู่ความเข้าใจวัฒนธรรมในฐานะที่เป็น "การกระทำ" (action) ที่เกี่ยวพันกับเศรษฐกิจและการเมือง ทั้งนี้โดยเอามนุษย์เป็นแกนกลางในการศึกษา (human agency) มากกว่าจะศึกษาเพียงแค่สภาวะที่กำหนดพฤติกรรมมนุษย์ (condition) กับผลที่ตามมาจากการถูกกำหนด (outcome) หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือนักทฤษฎีสำนักวัฒนธรรมร่วมสมัยพยายามเข้าใจการเกิดขึ้นของวัฒนธรรม (the making of culture) ในรายละเอียด มากกว่าศึกษาแค่ว่าอะไรเป็นตัวกำหนดวัฒนธรรมแต่เพียงเท่านั้น โดยสรุป นักคิดสำนักวัฒนธรรมร่วมสมัยพยายามที่จะหาส่วนผสมผสานระหว่างแนวคิดว่าวัฒนธรรมนั้นถูกกำหนดโดยพลังในระดับโครงสร้างต่าง ๆ อย่างสมบูรณ์ และวัฒนธรรมนั้นมีอิสระโดยตัวเอง ซึ่งการผสมผสานดังกล่าวนั้นสำนักวัฒนธรรมร่วมสมัยได้รับแรงบันดาลใจจากงานของกรัมชี่

งานเขียนของสำนักวัฒนธรรมร่วมสมัยศึกษานั้นเน้นการศึกษาชีวิตจริงของผู้คนในแง่มุมต่าง ๆ อาทิ เรื่องการศึกษา เรื่องวัฒนธรรมวัยรุ่น เรื่องสื่อมวลชน อาทิ โฆษณา และโทรทัศน์ ดังนั้น หัวใจสำคัญของการศึกษาของสำนักวัฒนธรรมร่วมสมัยนั้นจึงอยู่ที่การประกาศจุดยืนทางอุดมการณ์ของตัวเองอย่างชัดเจนในเบื้องแรกว่า ยึดถือและศรัทธาในงานของมากซ์ แต่ก็เสนอว่าที่ผ่านมานั้นยังไม่มีทฤษฎีในเรื่องของอุดมการณ์ที่เป็นที่พอใจและหนทางที่จะได้ทฤษฎีอุดมการณ์ที่น่าพอใจนั้นก็คือการผสมผสานการถกเถียงทางทฤษฎีเข้ากับการศึกษากรณีรูปธรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะทำการค้นหา "ความสัมพันธ์ที่แท้จริง (real relations)" กับ "รูปแบบที่ปรากฏออกมา (phenomenal form)" ซึ่งในหลายกรณีนั้นรูปแบบที่ปรากฏออกมานั้นก็ทำให้เราลุ่มหลงอยู่กับมัน และเชื่อว่าสิ่งนั้นเป็นจริงแท้

สำนักวัฒนธรรมร่วมสมัยศึกษานั้นจึงเสนอว่า การศึกษาเรื่องอุดมการณ์นั้นเป็นส่วนสำคัญในการศึกษา "วัฒนธรรม" โดยเฉพาะในความสัมพันธ์ระหว่าง ความคิดต่าง ๆ สถาบันต่าง ๆ และบริบททางสังคม ทฤษฎีของสำนักวัฒนธรรมร่วมสมัยศึกษามีอิทธิพลในการศึกษาเรื่องของการสื่อสารและสื่อมวลชนกับมิติทางการเมืองโดยเฉพาะในอังกฤษในช่วงทศวรรษที่ 70 เป็นต้นมา โดยเฉพาะงานเขียนของสจวร์ต ฮอลล์ นักสังคมวิทยาชาวสหราชอาณาจักรที่มีอิทธิพลอย่างสูงอยู่ในวงวิชาการในศูนย์ศึกษาวัฒนธรรมร่วมสมัยที่มหาวิทยาลัย เบอร์มิงแฮม (Center of Contemporary Cultural Studies ; CCCS) หรือที่รู้จักกันในเวลาต่อมาว่า "ตระกูลนักคิดสายเบอร์มิงแฮม (the Birmingham school)" โดยฮอลล์ เสนอว่า คำว่าอุดมการณ์นั้นไม่เคยเป็นคำที่มีความเป็นกลางทางการเมือง และแม้จะมีการให้ความหมายว่า อุดมการณ์คือ "ชุดของความคิดที่มีความเป็นระบบ" แต่วิธีการอธิบายเช่นนี้ก็มีลักษณะที่เน้นการพรรณาความ มากกว่าการวิเคราะห์ ดังนั้น แม้ว่าคำว่าอุดมการณ์ทางการเมืองจะมีความเกี่ยวข้องกับคำว่า "ความคิด" แต่ในขณะเดียวกันความคิดนั้นไม่ใช่ตัวอุดมการณ์ทั้งหมด อุดมการณ์จึงมีการซ่อนแอบความหมายอยู่ด้วย และเป็นหน้าที่ของนักวัฒนธรรมร่วมสมัยศึกษาที่จะต้องค้นหาให้ได้ว่าอะไรคือรากฐานหรือธรรมชาติของการบังคับหรือเป็นที่มาของการที่บางสิ่งบางอย่างที่ไม่ใช่เรื่องของความคิดซึ่งเข้ามากำหนดส่วนที่เป็นความคิด

นักคิดสายเบอร์มิงแฮมใช้รากฐานทางทฤษฎีของฮอลล์มาใช้เชิงวิพากษ์วัฒนธรรมผ่านการวิเคราะห์ การตีความ การวิจารณ์นวัตกรรมทางวัฒนธรรม โดยรวมแล้วนักคิดสายเบอร์มิงแฮมมองว่าวัฒนธรรมเป็นรากฐานของการแปรรูปทางสังคม (social reformation) โดยสังคมมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่เป็นลำดับชั้น และเป็นปฏิปักษ์ระหว่างกัน ทั้งในเรื่องชนชั้น ความเป็นเพศ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ และความเป็นชาติ นักคิดสายเบอร์มิงแฮมจึงมุ่งศึกษาความสัมพันธ์เชิงอำนาจของพลังที่ครอบงำ และการต่อต้านในกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง รวมถึงปฏิเสธ การจัดระบบแบบลำดับชั้นสูงต่ำ (hierarchical stratification) ของวัฒนธรรม นักคิดสายเบอร์มิงแฮมจะเชื่อว่าวัฒนธรรมนั้นต่างมีความสำคัญต่อกันในระดับระนาบ (horizontal) ผู้รับสื่อเป็นผู้กระทำ (active audience) เพราะเป็นผู้สร้างความหมายต่าง ๆ และยังผลิตซ้ำวัฒนธรรมดังกล่าวด้วย นักคิดสายเบอร์มิงแฮมจะพุ่งประเด็นศึกษาว่าผู้รับสื่อตีความและแปรความหมายวัฒนธรรมที่ได้รับจากสื่ออย่างไร รวมถึงวิเคราะห์ถึงปัจจัยที่ทำให้ผู้รับสารตอบสนองต่อสื่อแตกต่างกันไป

ในช่วงทศวรรษที่ 1970 นักคิดสายเบอร์มิงแฮมเริ่มให้ความสนใจกับวัฒนธรรมย่อยของกลุ่มวัยรุ่น เพื่อต่อต้านการครอบงำของระบบทุนนิยมในรูปแบบต่าง ๆ วัฒนธรรมวัยรุ่นจึงถูกมองในฐานะรูปแบบวัฒนธรรมใหม่ที่เป็นผลสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ประเด็นเรื่องอัตลักษณ์, ความแตกต่างหลากหลาย, การครอบงำทางวัฒนธรรม ฯลฯ ผ่าน การแต่งกาย แฟชั่น พฤติกรรม และอุดมการณ์ทางการเมือง และที่สำคัญการเกิดขึ้นของ "วัฒนธรรมย่อย (sub culture)" ที่ต่อต้านรูปแบบวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ที่ครอบงำนั้นเกิดขึ้น หรือสามารถถูกเข้าใจได้อย่างไร

เป็นกลุ่มนักวิชาการในสถาบันวิจัยทางสังคมแห่งมหาวิทยาลัยแฟรงก์เฟิร์ต (Institution of Social Research, Johann Wolfgang von Goethe-University of Frankfurt) โดยนำของมักซ์ ฮอคไฮม์เมอร์, ธีโอดอร์ อดอร์โน, , เฮอร์เบิร์ท มาคูเซอ และวอลเตอร์ เบนญามิน ที่เริ่มมีการศึกษาเชิงวิพากษ์ (critical theory) ในประเด็นทางวัฒนธรรมอาทิ เศรษฐศาสตร์การเมืองของสื่อ, การวิเคราะห์วัฒนธรรม, การวิเคราะห์การรับสารในทางอุดมการณ์ เป็นต้น นักวิชาการกลุ่มดังกล่าวนี้เป็นที่รู้จักในนามนักคิดสายแฟรงก์เฟิร์ท (The Frankf?rt School) ซึ่งก็คือชื่อสถาบันที่นักวิชาการกลุ่มนี้สังกัดนั่นเอง

นักคิดสายแฟรงก์เฟิร์ทจะปฏิเสธทฤษฎีลัทธิมากซ์ในส่วนที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยวิพาก์ว่าให้ความสำคัญต่อส่วนนี้มากเกินไปจนละเลยมิติอื่นไปเสียหมด โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรม นักคิดสายแฟรงก์เฟิร์ทจึงให้ความสำคัญกับมิติด้านวัฒนธรรม ความคิด จิตสำนึก และอุดมการณ์ ประเด็นที่นักคิดสายแฟรงก์เฟิร์ทให้ความสนใจคือการที่สื่อทำให้ "วัฒนธรรม" แปรสภาพมาเป็น "สินค้า" หรือในภาษาของนักคิดสายแฟรงก์เฟิร์ททำให้ทุกอย่างกลายเป็น "วัฒนธรรมสำหรับคนหมู่มาก (mass culture) กล่าวคือมีการผลิตวัฒนธรรมเพื่อกำไร ซึ่งนักคิดสายแฟรงก์เฟิร์ทเห็นว่าเป็นการทำลายคุณค่าทางวัฒนธรรม ดังนั้นสำหรับนักคิดสายแฟรงก์เฟิร์ทวัฒนธรรมจึงไม่มีวัฒนธรรมชั้นสูง (hi-culture) หรือวัฒนธรรมชั้นล่าง (lo-culture) คงมีแต่เพียงวัฒนธรรมสำหรับคนหมู่มากที่ต่างถูกผลิตมาเพื่อตอบสนองความต้องการขายวัฒนธรรมในฐานะของสินค้า ที่คุณค่านั้นได้ถูกทำลายลงไปแล้วทั้งหมดเท่านั้น

แนวคิดลัทธิมากซ์ แบบหลังโครงสร้างนิยม (Poststructuralist Marxism) หรือ ลัทธิมากซ์หลังสมัยใหม่ (Postmodern Marxism) หรือเรียกสั้น ๆ ว่าหลังลัทธิมากซ์ (Post-Marxism) เป็นแนวคิดที่วางฐานอยู่บนการวิพากษ์แนวคิดลัทธิมากซ์เชิงโครงสร้างของอาลตูว์แซร์ และใช้ฐานคิดบางส่วนจากแนวคิดของมีแชล ฟูโก ข้อแตกต่างสำคัญระหว่างแนวคิดหลังลัทธิมากซ์กับลัทธิมากซ์อื่น ๆ คือ แต่เดิมนั้นลัทธิมากซ์จะมองการต่อสู้ทางชนชั้นโดยวางฐานอยู่บนแนวคิดเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แต่แนวคิดหลังลัทธิมากซ์จะปฏิเสธมุมมองดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าเป็นมุมมองที่มีความคับแคบ แนวคิดหลังลัทธิมากซ์จะมองว่าการกดขี่ทางชนชั้นนั้นสามารถกล่าวรวมไปถึงเรื่องเพศ ชาติพันธุ์วรรณา เชื้อชาติ ศาสนา ฯลฯ อย่างไรก็ดีก็มีการกล่าววิจารณ์ว่าแม้แนวคิดหลังมาร์ซิสม์จะพยายามกล่าวว่าตนเองนั้นหันหลังให้กับลัทธิมากซ์ก็ตาม อย่างไรก็ดีนักคิดตระกูลนี้เองก็ยังหลงใหลในแนวทางการวิเคราะห์สังคมและการเมืองแบบมากซ์อยู่อย่างมากเช่นกัน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301