ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ลัทธิประทับใจยุคหลัง

ลัทธิประทับใจยุคหลัง (อังกฤษ: post-impressionism) เป็นคำที่คิดขึ้นในปี ค.ศ. 1910 โดยรอเจอร์ ฟราย (Roger Fry) ศิลปินและนักวิจารณ์ศิลปะชาวอังกฤษ เพื่อบรรยายศิลปะที่วิวัฒนาการขึ้นในฝรั่งเศสหลังสมัยเอดัวร์ มาแน จิตรกรลัทธิประทับใจยุคหลังยังคงสร้างงานศิลปะลัทธิประทับใจ แต่ไม่ยอมรับความจำกัดของศิลปะลัทธิประทับใจ จิตรกรสมัยหลังจะเลือกใช้สีจัด เขียนสีหนา ฝีแปรงที่เด่นชัดและวาดภาพจากของจริง และมักจะเน้นรูปทรงเชิงเรขาคณิตเพื่อจะบิดเบือนจากการแสดงออก นอกจากนั้นการใช้สีก็จะเป็นสีที่ไม่เป็นธรรมชาติและจะขึ้นอยู่กับสีที่จิตรกรต้องการจะใช้

จิตรกรลัทธิประทับใจยุคหลังมีความไม่พึงพอใจต่อความจำกัดของหัวเรื่องที่วาดของศิลปะลัทธิประทับใจ และแนวความคิดของปรัชญาที่เริ่มจะสูญหายไปของขบวนการเขียนของลัทธิประทับใจ แต่จิตรกรกลุ่มนี้ก็มิได้มีความเห็นพ้องกันถึงทิศทางใหม่ที่ควรจะดำเนินต่อไปข้างหน้า ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอราและผู้ติดตามนิยมการเขียนโดยวิธีผสานจุดสี (pointillism) ซึ่งเป็นการเขียนที่ใช้จุดสีเล็ก ๆ ในการสร้างภาพเขียน ปอล เซซานพยายามสร้างกฎเกณฑ์และความมีระเบียบของศิลปะลัทธิประทับใจให้เป็นรูปเป็นทรงขึ้นเพื่อจะทำให้ "ศิลปะลัทธิประทับใจเป็นศิลปะที่มั่งคงและคงยืนตลอดไป เช่นเดียวกับศิลปะที่แสดงในพิพิธภัณฑ์" การสร้างกฎเกณฑ์การเขียนของเซซานทำด้วยการลดจำนวนสิ่งของในภาพลงไป จนเหลือแต่รูปทรงที่เป็นแก่นสำคัญแต่ยังเซซานยังคงรักษาความจัดของสีที่ใช้แบบศิลปะลัทธิประทับใจ กามีย์ ปีซาโร ทดลองการเขียนแบบใหม่โดยวาดในลัทธิประทับใจใหม่ระหว่างกลางคริสต์ทศวรรษ 1880 และต้นคริสต์ทศวรรษ 1890 เมื่อไม่พอใจที่ถูกเรียกว่าเป็นจิตรกรลัทธิประทับใจแบบจินตนิยม ปีซาโรก็หันไปหาการเขียนไปเป็นแบบผสานจุดสีซึ่งปีซาโรเรียกว่าเป็นศิลปะลัทธิประทับใจแบบวิทยาศาสตร์ ก่อนที่กลับไปเขียนภาพแบบลัทธิประทับใจแท้ตามเดิมในช่วงสิบปีสุดท้ายก่อนที่จะเสียชีวิตฟินเซนต์ ฟัน โคค ใช้สีเข้มสดและฝีแปรงที่ขดม้วนอย่างมีชีวิตจิตใจเพื่อสื่อความรู้สึกและสถานะภาพทางจิตใจของตนเอง แม้ว่าจิตรกรลัทธิประทับใจยุคหลังมักจะแสดงงานร่วมกันแต่ก็ยังไม่มีความคิดเห็นพ้องกันในแนวทางของขบวนการเขียน จิตรกรรุ่นเด็กกว่าระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1890 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขียนงานในบริเวณที่แตกต่างออกไปและในแนวการเขียนที่ต่างออกไปเช่นคติโฟวิสต์และลัทธิบาศกนิยม

คำว่า "ลัทธิประทับใจยุคหลัง" เป็นคำที่เริ่มใช้ในปี ค.ศ. 1910 โดยรอเจอร์ ฟราย (ศิลปินและนักวิพากษ์ศิลป์ชาวอังกฤษ) สำหรับการแสดงงานศิลปะของจิตรกรฝรั่งเศสสมัยใหม่ที่จัดขึ้นในลอนดอน จิตรกรส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมอายุน้อยกว่าจิตรกรลัทธิประทับใจ ต่อมาฟรายให้คำอธิบายในการใช้คำว่า "ลัทธิประทับใจยุคหลัง" ว่าเป็นการใช้ "เพื่อความสะดวก ที่จำเป็นต้องตั้งชื่อให้ศิลปินกลุ่มนี้โดยใช้ชื่อที่มีความหมายกว้างที่ไม่บ่งเฉพาะเจาะจงถึงแนวเขียน ชื่อที่เลือกก็คือ "ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง" เพื่อเป็นการแสดงการแยกตัวของศิลปินกลุ่มนี้แต่ยังแสดงความสัมพันธ์บางอย่างกับขบวนการลัทธิประทับใจเดิม"

"ลัทธิประทับใจยุคหลัง" กระตุ้นอารมณ์ผ่านความรู้สึกลึก ๆ ภายในมากกว่าต้องการแสดงศักยภาพหรือความสามารถ กระแสศิลปะนี้หันไปตอบสนองความต้องการตามทัศนคติของตัวศิลปิน รับแรงบันดาลใจจากเรื่องของการค้นหาหมายของชีวิต และอุทิศผลงานเพื่อความผาสุกของเหล่ามวลมนุษย์ ศิลปินลัทธิประทับใจยุคหลังเชื่อว่า จิตวิญญาณกับธรรมชาติแยกออกจากกันแต่นำมาเชื่อมโยงกันผ่านการสังเคราะห์ด้วยการหลอมรวมจิตวิญญาณของศิลปินกับธรรมชาติ ผ่านผลงานไปสู่ผู้ชม ศิลปินเสนอภาพจากภายในไม่ใช่เพียงการลอกเลียนแบบความงามของธรรมชาติ แสดงเนื้อหาสำคัญอย่างนามธรรม ด้วยอารมณ์ที่เป็นอิสระ ไม่ยึดติดกับรูปแบบ รูปทรง หรือสีตามสิ่งที่ตาเห็น

จอห์น เรวอลด์ (John Rewald) ที่เป็นนักประวัติศาสตร์ศิลปะอาชีพคนแรกที่มีความสนใจในการกำเนิดของศิลปะสมัยใหม่ในระยะแรกที่จำกัดอยู่ในระยะเวลาของ "ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง" ที่นิยมกันระหว่าง ค.ศ. 1886 ถึงค.ศ. 1892 ในหนังสือ "ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง : จากฟัน โคค ถึงโกแก็ง" (ค.ศ. 1956) เรวอลด์เห็นว่าเป็นขบวนการที่ต่อเนื่องจากหนังสือที่เขียนก่อนหน้านั้น "ประวัติของศิลปะลัทธิประทับใจ" (ค.ศ. 1946) และให้ข้อสังเกตว่าเป็น "ฉบับที่อุทิศให้แก่สมัยหลังของศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง"—"ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง : จากโกแก็งถึงมาติส" เป็นเล่มที่ตามมาแต่เล่มนี้รวมศิลปะแนวอื่นที่แตกหน่อมาจากศิลปะลัทธิประทับใจด้วย" และจำกัดเวลาระหว่างปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เรวอลด์เน้นความสนใจกับการวิวัฒนาการของศิลปินลัทธิประทับใจยุคหลังในระยะแรกในฝรั่งเศส : ฟินเซนต์ ฟัน โคค, ปอล โกแก็ง, ฌอร์ฌ-ปีแยร์ เซอรา, ออดีลง เรอดง (Odilon Redon) และความสัมพันธ์ต่อกันในกลุ่ม และรวมถึงกลุ่มศิลปินอื่นที่ศิลปินกลุ่มนี้ให้ความสนใจหรือต่อต้าน :

นอกจากนั้นในบทนำใน "ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง" เรวอลด์เกริ่นเนื้อหาที่จะเขียนในเล่มสองที่จะรวมอ็องรี เดอ ตูลูซ-โลแทร็ก, อ็องรี รูโซ, กลุ่มนาบี, ปอล เซซาน และคติโฟวิสต์, ปาโบล ปีกัสโซ และการเดินทางครั้งสุดท้ายของโกแก็งไปทะเลใต้; ที่จะมีเนื้อครอบคลุมอย่างน้อยจนถึงคริสต์ทศวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่เรวอลด์ไม่มีโอกาสเขียนเล่มสองเสร็จ

เรวอลด์กล่าวว่าคำว่า "ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง" เป็นคำที่ตั้งขึ้นเพื่อความสะดวกและมิได้มีความหมายเฉพาะเจาะจงถึงลักษณะการเขียนแต่อย่างใด และเป็นคำที่ใช้ที่จำกัดเฉพาะทัศนศิลป์ของฝรั่งเศสที่วิวัฒนาการมาจากศิลปะลัทธิประทับใจตั้งแต่ ค.ศ. 1886 วิธีเขียนหนังสือเกี่ยวกับศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลังของเรวอลด์เป็นการเขียนตามที่เกิดขึ้นมิใช่เป็นการวิจัยลักษณะของศิลปะ เรวอลด์ทิ้งไวให้ศิลปะเป็นเครื่องตัดสินตัวเองในอนาคต คำอื่นเช่น นวยุคนิยม (modernism) หรือลัทธิสัญลักษณ์นิยมก็เป็นคำที่ยากที่จะใช้เพราะเป็นคำที่ไม่เฉพาะเจาะจงกับศิลปะแต่ครอบคลุมสาขาวิชาอื่นด้วยเช่นวรรณกรรมหรือสถาปัตยกรรมและเป็นคำที่ขยายออกไปใช้ในหลายประเทศ

แอลัน โบว์เนสส์ (Alan Bowness) ยืดเวลา "ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง" ไปจนถึง ค.ศ. 1914 แต่จำกัดการเขียนในฝรั่งเศสลงไปอย่างมากในคริสต์ทศวรรษ 1890 ประเทศยุโรปอื่น ๆ ใช้มาตรฐานของ "ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง" ส่วนศิลปะของยุโรปตะวันออกไม่รวมอยู่ในกลุ่มนี้

แม้ว่า "ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง" จะแยกจาก "ศิลปะลัทธิประทับใจ" ใน ค.ศ. 1886 แต่จุดจบของ "ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง" ยังไม่เป็นที่ตกลงกัน สำหรับโบว์เนสส์และเรวอลด์แล้ว ลัทธิบาศกนิยม (cubism) เป็นการเริ่มยุคใหม่ ฉะนั้นบาศกนิยมจึงถือว่าเป็นการเริ่มยุคการเขียนใหม่ในฝรั่งเศสตั้งแต่ต้นและต่อมาในประเทศอื่น ขณะเดียวกันศิลปินยุโรปตะวันออกไม่คำนึงถึงการแบ่งแยกตระกูลการเขียนที่ใช้ในศิลปะตะวันตกก็ยังเขียนตามแบบที่เรียกว่าจิตรกรรมนามธรรมและอนุตรนิยม (suprematism) ซึ่งเป็นคำที่ใช้ต่อมาจนในคริสต์ศตวรรษที่ 20

"ศิลปะลัทธิประทับใจยุคหลัง" ตามความหมายของเรวอลด์จึงเป็นคำที่หมายถึงช่วงเวลาของประวัติศิลปะเท่านั้นที่เน้นงานศิลปะของฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 1886 ถึงปี ค.ศ. 1914


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406