ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ลัทธิจักรวรรดินิยม

ลัทธิจักรวรรดินิยม (อังกฤษ: Imperialism) คือ นโยบายขยายอำนาจในการเข้าควบคุมหรือมีอำนาจบังคับบัญชาเหนือดินแดนต่างชาติ อันเป็นวิถีของเจ็สุชาบดีทางเพื่อการได้มาและ/หรือการรักษาจักรวรรดิให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ทั้งจากการขยายอำนาจเข้ายึดครองดินแดน โดยตรง และจากการเข้าคุมอำนาจทางอ้อมในด้านการเมือง และ/หรือทางเศรษฐกิจของประเทศอื่น ๆ บางคนใช้คำศัพท์นี้เพื่ออธิบายถึงนโยบายของประเทศใดประเทศหนึ่งในการคงไว้ซึ่งอาณานิคม และอิทธิพลเหนือดินแดนอันไกลโพ้น โดยไม่คำนึงว่าประเทศนั้น ๆ จะเรียกตนเองว่าเป็นจักรวรรดิหรือไม่ แต่อย่างไรก็ตาม มีการนำเอาคำว่า 'จักรวรรดินิยม' ไปใช้ในบริบทที่แสดงถึงความมีสติปัญญา/ความเจริญที่สูงกว่าด้วย ซึ่งในบริบทนี้คำว่า "จักรวรรดินิยม" มีนัยแสดงถึงความเชื่อที่ว่า การเข้าถือสิทธิยึดครองดินแดนต่างชาติและการคงอยู่ของจักรวรรดิเป็นสิ่งดีงาม เนื่องจากมีการประสมผสานรวมเอาหลักสมมุติฐานที่ว่า โดยธรรมชาติแล้วชาติมหาอำนาจจักรวรรดินิยมนั้นจะมีวัฒนธรรมและความเจริญด้านอื่น ๆ เหนือกว่าชาติที่ถูกรุกรานเข้าไว้ด้วย — โปรดดู ภาระคนขาว (The White Man's Burden)

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีแนวโน้มวิพากษ์วิจารณ์กันมากยิ่งขึ้นว่า "ลัทธิจักรวรรดินิยม" นั้นไม่ได้มีบริบทจำกัดอยู่เพียงแค่ระดับของการเข้าครอบครองหรือครอบงำทางด้านเศรษฐกิจและการเมืองของชาติอื่นเท่านั้น แต่ยังขยายเข้าครอบคลุมไปถึงระดับวัฒนธรรมด้วย โดยเฉพาะในประเด็นเกี่ยวกับอิทธิพลทางวัฒนธรรมอเมริกันที่แผ่ขยายไปทั่วโลก — โปรดดู ลัทธิจักรวรรดินิยมทางวัฒนธรรม

อย่างไรก็ตาม หลายคนโต้แย้งการขยายคำจำกัดความดังกล่าว โดยอ้างเหตุผลว่าเรื่องของ "วัฒนธรรม" นั้นเป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนซับซ้อน ยากที่จะแยกความแตกต่างให้เห็นชัดเจนได้ว่า การรับวัฒนธรรมของชาติใดชาติหนึ่งไปนั้น เป็นเรื่องของปฏิกิริยาที่ชนในชาติมีต่อกันและกันทั้งสองฝ่าย หรือเป็นเรื่องของอิทธิพลที่แผ่ขยายจนเกินขีดจำกัด นอกจากนี้แล้วการนำเอา "วัฒนธรรมจักรวรรดินิยม" ไปใช้ในการอธิบายหรือวิเคราะห์นั้น ยังมีการ "เลือกปฏิบัติ" ด้วย ตัวอย่าง เช่น "แฮมเบอร์เกอร์" ถูกจัดว่าเป็น "วัฒนธรรมจักรวรรดินิยม" ขณะที่ "น้ำชา" นั้นไม่ใช่. ความโต้แย้งในเรื่องนี้จึงยังมีอยู่ต่อไปในปัจจุบัน

คำว่า "จักรวรรดินิยม" เป็นคำศัพท์ใหม่ เกิดขึ้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ตามข้อมูลของพจนานุกรมภาษาอังกฤษฉบับออกซฟอร์ด (Oxford English Dictionary หรือ OED) ระบุว่าการใช้คำศัพท์นี้ปรากฏย้อนหลังไปถึงปี ค.ศ. 1858 โดยใช้อธิบายความหมายของสันติภาพที่อังกฤษใช้อำนาจบีบให้เกิดขึ้น (Pax Britannica) อย่างไรก็ตาม รากศัพท์ที่ทางปัญญาชนใช้กันจริงๆ นั้น สามารถสาวลึกลงไปถึงในช่วงยุคสมัยของดังเต้ (Dante) ได้เลยทีเดียว ในหนังสือ ราชาธิปไตย (Monarchia) ของเขาพรรณาถึงโลกที่มีจุดรวมศูนย์ทางการเมืองและการปกครองเป็นหนึ่งเดียวว่า "ลัทธิเหตุผลนิยม" (rationalism) ดังเต้ผู้นี้มีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อ จอห์น ดี (John Dee), ซึ่งต่อมาเป็นผู้รังสรรค์ประดิษฐ์คำว่า จักรวรรดินิยมอังกฤษ (British Empire) ขึ้นมาใช้ในปลายศตวรรษที่ 16 จอห์น ดี นั้นเป็นผู้ที่ ช่วยให้เกิดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศของปัญญาชนและวิทยาศาสตร์ขึ้นในอังกฤษ ส่งผลให้นักเดินทะเลชาวอังกฤษอย่างเช่น ฮัมฟรี กิลเบอร์ต (Humphrey Gilbert), มาร์ติน โฟรบิเชอร์ (Martin Frobisher) และวอลเตอร์ ราเลจห์ (Walter Raleigh) สามารถวางรากฐานสำหรับการแผ่อำนาจของจักรวรรดินาวีอังกฤษในเวลาต่อมาได้

พจนานุกรมออกฟอร์ดฉบับภาษาอังกฤษ ระบุว่าในศตวรรษที่ 19 นั้น ตามปกติ คำว่า "จักรวรรดินิยม" จะมีความหมายจำกัดใช้เฉพาะเพียงแค่อธิบายถึงนโยบายของอังกฤษเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ไม่นานนักหลังจากที่มีการประดิษฐ์คิดรังสรรค์ถ้อยคำขึ้นมาใช้เรียกขานกันใหม่ ความหมายของ คำว่า "จักรวรรดินิยม" ก็มีนัยยะแปรเปลี่ยน หวนกลับไปมีความหมายเหมือนกันกับคำว่า "จักรวรรดิโรมัน" (Roman Empire) แทน และต่อมาในศตวรรษที่ 20 คำว่า "จักรวรรดินิยม" นี้ยังถูกนำไปใช้ในการอธิบายถึงนโยบายทั้งของสหภาพโซเวียต และสหรัฐอเมริกา ด้วย แม้ว่าความเป็นจักรวรรดินิยมของทั้งสองชาตินี้จะมีความแตกต่างกันอย่างมาก และลักษณะของจักรวรรดินิยมในยุคสมัยนี้ก็แตกต่างจากจักรวรรดินิยมในสมัยศตวรรษที่ 19 ด้วย ยิ่งไปกว่านั้น คำว่า "จักรวรรดินิยม" ยังถูกขยายความนำไปใช้ในความหมายที่กว้างขวางครอบคลุมไปถึงกรณีทางประวัติศาสตร์ใด ๆ อวดใหญ่โต/แสวงหาผลประโยชน์และกำไร ของชาติมหาอำนาจโดยเอารัดเอาเปรียบจนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ชาติที่เล็กกว่ามีอำนาจน้อยกว่า

อย่างไรก็ตาม นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียตและรัฐบริวารนั้น คำว่า "จักรวรรดินิยม" เกือบทั้งหมดจะถูกปรับระดับนำเอาไปใช้กับประเทศมหาอำนาจที่เหลืออยู่เพียงหนึ่งเดียวของโลก คือประเทศสหรัฐอเมริกา

นักมาร์กซิสต์ใช้ศัพท์คำว่า "จักรวรรดินิยม" ในความหมายเช่นที่เลนินให้คำจำกัดความไว้คือ "สภาวะ/ขั้นตอนสูงสุดของลัทธิทุนนิยม" โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่ทุนการเงินผูกขาดได้กลายเป็นปัจจัยสำคัญยิ่ง ในการบีบให้ประเทศจักรวรรนิยมทั้งหลายต้องแข่งขันระหว่างกันเองเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้สามารถเข้าควบคุมแหล่งทรัพยากร และตลาดทั่วโลกไว้ได้ การเข้าควบคุมนี้อาจอยู่ทั้งในรูปแบบของการใช้เครื่องมือทางภูมิรัฐศาสตร์, การใช้กองกำลังทหารเข้ายึด หรือการยักย้ายถ่ายเททางการเงินก็ได้

สาระสำคัญของทฤษฎีมาร์กซิสต์ที่เกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยม หรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ทฤษฎีพึ่งพา (dependency theory) นั้นต่างก็มุ่งเน้นไปที่ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่างๆ มากกว่าความสัมพันธ์ที่ชัดเจนทางการเมือง ดังนั้นลัทธิจักรวรรดินิยมในทฤษฎีของมาร์กซิสต์จึงไม่เพียงแต่ประกอบด้วยการเข้าควบคุมปกครองประเทศใดประเทศหนึ่งโดยตรงเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมไปถึงการกดขี่ขูดรีด แสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในภูมิภาคหนึ่ง โดยภูมิภาคอื่น ๆ หรือโดยกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจากนอกภูมิภาคด้วย ความหมายของจักรวรรดินิยมที่มาร์กซิสต์ใช้นี้ตรงกันข้ามกับความหมายที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ ซึ่งโดยปกติมักจะเข้าใจกันว่า "ลัทธิจักรวรรดินิยม" นั้นมีความหมายเกี่ยวข้องกับยุคสมัยที่ประเทศมหาอำนาจขยายอิทธิพลเข้าปกครองควบคุมเหนือดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลไว้โดยตรง มากกว่าที่จะเป็นการเข้าควบคุมครอบงำทางเศรษฐกิจ อันเป็นลักษณะเหมือนกันกับที่บางประเทศในโลกปัจจุบันนี้เข้ามีอิทธิพลครอบงำเหนือชาติอื่นๆ ซึ่งความเข้าใจในลักษณะนี้ เป็นผลมาจากการผนวกรวมเอาความหมายของลัทธิจักรวรรดินิยม เข้ากับคำว่า ลัทธิอาณานิคม ซึ่งเป็นการขยายอำนาจด้วยการเข้าไปตั้งดินแดนภายใต้ปกครองหรืออาณานิคมขึ้นในดินแดนโพ้นทะเล

แม้ว่าโดยทั่วไปแล้วมาร์กซิสต์จะพิจารณาว่ามหาอำนาจเจ้าจักรวรรดินั้นมักเป็นประเทศทุนนิยมแห่งโลกที่ 1 แต่ก็มีมาร์กซิสต์บางกลุ่ม (เบื้องต้นคือกลุ่มนิยมเหมาและกลุ่มอื่นๆ อีกหลายกลุ่ม) ที่เชื่อว่า ท้ายที่สุดแล้วสหภาพโซเวียต ก็จะพัฒนากลายไปเป็น "สังคม-จักรวรรดินิยม" (social-imperialist) ด้วย --- นั่นคือเป็น "สังคมนิยมโดยคำพูดแต่เป็นจักรวรรดินิยมโดยกระทำ" ซึ่งหมายถึงการที่สหภาพโซเวียตใช้กำลังอำนาจและอิทธิพลเข้าครอบงำประเทศในกลุ่มยุโรปตะวันออก และประเทศอื่นๆอีกหลายประเทศ

จีน อินเดีย และประเทศขนาดใหญ่อื่น ๆ อีกหลายประเทศที่มีอิทธิพลโดดเด่นในแต่ละภูมิภาคของโลกนั้น บางครั้งก็ถูกกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมเป็นผู้นิยมในลัทธิจักรวรรดินิยม ด้วยเช่นกัน

เป็นที่น่าสังเกตว่า มาร์กซเองนั้น ไม่ได้ประกาศหรือเสนอ ทฤษฎีเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมไว้เลย และมีความเห็นตรงกันข้ามกับนักคิดมาร์กซิสต์รุ่นต่อๆมา ซึ่งโดยทั่วไปมองว่า ลัทธิอาณานิคม ของชาติมหาอำนาจยุโรปเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งในการแพร่ขยายลัทธิทุนนิยมออกไปทั่วโลก มากกว่าที่จะมองว่า เป็นการปล้นสะดมประเทศอาณานิคมเหล่านั้นเพื่อกอบโกยผลประโยชน์ไปให้แก่ประเทศแม่ที่เป็นศูนย์กลางอยู่ในยุโรป

พัฒนาการใหม่ในแนวคิดของมาร์กซิสต์ศึกษาเกี่ยวกับลัทธิจักรวรรดินิยมได้ก่อกำเนิดขึ้นจาก การวางรากฐานครั้งสำคัญของหนังสือ "ยุคแห่งลัทธิจักรวรรดินิยม" (The Age of Imperialism) ซึ่งเขียนขึ้นโดย แฮร์รี แมกดอฟฟ์ (Harry Magdoff) ในปีค.ศ. 1969 ปัจจุบันนี้ มีความเห็นโดยทั่วไปด้วยว่า โลกาภิวัตน์ (Globalization) นั้น แท้จริงแล้วก็คือ การกลับชาติมาเกิดใหม่ของ ลัทธิจักรรดินิยมนั่นเอง

มีการถกเถียงกันมากในปัจจุบันเกี่ยวกับนโยบายและบทบาทของประเทศสหรัฐอเมริกาในประเด็นที่ว่า การใช้อำนาจและนโยบายกดดันโลกส่วนอื่นๆ ของลุงแซมนั้น ในภาพรวมแล้ว ควรถือว่าเป็นปฏิบัติการของลัทธิจักรวรรดินิยมหรือไม่ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีการเรียกขานสหรัฐอเมริกาในบางครั้งว่า "จักรวรรดินิยมอเมริกัน" (American Empire)

การล่มสลายของสหภาพโซเวียต (Soviet Union) และการสิ้นสุดของสงครามเย็น (Cold War) ซึ่งทำให้ สหรัฐอเมริกากลายเป็นประเทศมหาอำนาจโดดเด่นเพียงหนึ่งเดียวของโลกอยู่ในขณะนี้ ก็ยิ่งทำให้ข้อถกเถียงโต้แย้งในประเด็น "จักรวรรดินิยมอเมริกัน" นี้เป็นสิ่งที่ยากจะปฏิเสธได้มากยิ่งขึ้นไปอีก ประกอบกับในช่วงศตวรรษที่ผ่านมานั้น สหรัฐอเมริกาเองก็ได้ใช้ทั้งการเข้าแทรกแซงด้วยกำลังทหารและอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองในการจัดการกับประเทศใต้อิทธิพลของตน ในเขตซีกโลกตะวันตกมาแล้วหลายครั้ง นอกจากนี้ ยังปรากฏว่า แม้ความคิดเห็นของกลุ่มอำนาจทางการเมืองในสหรัฐอเมริกาจะมีความแตกต่างกันมากระหว่างกลุ่มสายเหยี่ยว (hawkish) กับกลุ่มสายพิราบ (dovish) แต่ก็มีสายเหยี่ยวจำนวนมากยิ่งขึ้นที่มองว่าลัทธิขยายอำนาจ ในแนวทางแบบจักรวรรดินิยมนั้นแท้จริงแล้ว ถือได้ว่าเป็น "ภาระหน้าที่" ส่วนหนึ่งในการรักษาผลประโยชน์หรือ "โชคชะตาที่สวรรค์กำหนดไว้แล้ว" ( Manifest Destiny) ของชนชาติอเมริกัน

คำว่า "จักรวรรดินิยม" นั้น โดยธรรมชาติแล้ว มีความขัดแย้งอยู่ในตัวมันเองอยู่แล้ว --- นั่นคือ คนทั่วไปมองบริบทส่วนใหญ่ของ "จักรวรรดินิยม" ว่าจำกัดอยู่ในลักษณะเชิงประวัติศาสตร์ (มากกว่าที่จะเป็นเหตุการณ์ปัจจุบัน) เนื่องจากตัวอย่างของ "จักรวรรดิ" นั้นมักจะปรากฏให้เห็นอยู่เสมอในประวัติศาสตร์จนทำให้เกิดความคุ้นเคยและเกิดแนวความคิดว่าเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีตเท่านั้น ขณะที่ตัวอย่างของจักรวรรดินิยมสมัยใหม่นั้นจะต้องมองในลักษณะที่แตกต่างออกไป จาก ในรูปของการกดขี่ข่มเหงและลัทธิการใช้อำนาจทางทหารเข้ารุกราน นอกจากนี้ ประเทศสหรัฐอเมริกานั้นก็เพิ่งจะครองตำแหน่ง "มหาอำนาจเพียงหนึ่งเดียว" ของโลกมาได้เพียงไม่กี่ปีมานี้เอง คือเมื่อ สหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นศัตรูคู่แข่งสำคัญทางการเมือง การทหาร และลัทธิอุดมการณ์ล่มสลายลง สงครามเย็น (Cold War) ซึ่งเป็นการต่อสู้แย่งชิงความเป็นใหญ่ทางภูมิรัฐศาสตร์ ระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตนี้ถูกหล่อหลอมให้ปรากฏเป็นการต่อสู้ระหว่าง "เสรีภาพกับการกดขี่รังแก" ซึ่งมีผลทำให้ภาพของความเป็นจักรวรรดิของชาติมหาอำนาจทั้งสองลดน้อยถอยลง

นอกจากนี้ คำว่า "จักรวรรดินิยม" นั้นยังมีความหมายออกไปในเชิงลบ เป็นไปในลักษณะของทรราช และการกดขี่ข่มเหง/รังแกผู้อื่นมากกว่า ดังนั้น โดยธรรมชาติแล้ว พลเมืองในบังคับของชาติจักรวรรดิที่ไปอ้างสิทธิเหนือหัวชาติอื่นๆอยู่นั้น ย่อมไม่สมัครใจที่จะให้ใช้คำดังกล่าวในการพาดพิงหรือโยงใยเกี่ยวข้องกับตนเอง

ในต้นศตวรรษที่21 สหรัฐอเมริกาได้หันความทะเยนทะยานอยากของตน ทั้งทางการทหาร การเมืองและการเศรษฐกิจไปยังประเทศที่ร่ำรวยไปด้วยน้ำมันในแถบเอเชียกลาง และ ตะวันออกกลาง เริ่มต้นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2ยุติลง โดยสหรัฐเข้าสืบทอดบทบาทเด่นๆส่วนใหญ่ที่สหราชอาณาจักรเคยใช้ในการเข้าควบคุมตะวันออกกลาง การยุยงส่งเสริม รวมทั้งเข้าช่วยเหลือในการลอบสังหารและหนุนการก่อปฏิวัติรัฐประหารของสหรัฐอเมริกา ทำให้ชาติในตะวันออกกลางหลายประเทศได้รับรู้และประจักษ์ชัดแจ้ง ถึงอิทธิพลที่แข็งแกร่งของสังคมตะวันตกที่สยายปีกทะมึนเข้าสู่ภูมิภาคนี้ ทั้ง อียิปต์, อิรัก, ซาอุดีอาระเบีย, ซีเรีย, เลบานอน และ อิสราเอล ต่างก็ถูกนโยบายของสหรัฐอเมริกาแผ่อิทธิพลเข้าครอบงำ ไม่โดยตรงก็โดยเนื้อหาสาระกันถ้วนทั่วหน้า (แต่อย่างไรก็ตาม ลักษณะของลัทธิจักรวรรดินิยมสมัยใหม่เหล่านี้ไม่ได้ครอบคลุมไปถึงช่วงที่จักรวรรดินิยมอังกฤษ เข้ายึดครองภูมิภาคนี้ในอดีตก่อนหน้านั้น รวมทั้งการคงอำนาจเจ้าอาณานิคมปกครองอินเดียและปากีสถาน อยู่ต่อไปของอังกฤษเข้าไว้ด้วย)

เมื่อมีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่มีขีดความสามารถและแข็งแกร่งรอบด้านสูงมากอย่างเช่นสหรัฐอเมริกา นักวิเคราะห์บางคนจึงชี้ว่า ปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐอเมริกาบางส่วน หรือเกือบจะทั้งหมดนั้นก็คือปฏิบัติการของลัทธิจักรวรรดินิยมทหารนั่นเอง ขณะที่นักวิชาการอีกจำนวนหนึ่ง ระบุตรง ๆ เลยว่า ข้อกล่าวหา "จักรวรรดินิยมอเมริกัน" นี้ถูกนำมาใช้ โจมตีสหรัฐอเมริกาได้ตลอดเวลา และไม่ว่าอเมริกันนั้นจะเปิดปฏิบัติการทางทหารขึ้นในเวลาใดก็ตาม เนื่องจากมีข้อเท็จจริงที่ไม่มีใครโต้แย้งได้เกี่ยวกับสหรัฐอเมริกา 2 ประการสนับสนุน นั่นคือ ประการแรก สหรัฐอเมริกามีกองทัพขนาดใหญ่กว่าและทันสมัยมากกว่าทุกประเทศในโลก สามารถเปิดปฏิบัติการได้จากฐานทัพจำนวนมากกว่า 100 แห่งทั่วโลกได้ในเวลาเพียงไม่กี่นาที และประการที่ 2 สหรัฐอเมริกาพร้อมที่จะใช้กองทัพของตนในการพิทักษ์ปกป้องผลประโยชน์ของชาติตนโดยลำพังฝ่ายเดียวได้ โดยไม่ต้องพึ่งพาอาศัยความร่วมมือของชาติอื่นๆ ดังนั้นประเด็นที่ยังถกเถียงกันอยู่เกี่ยวกับ "จักรวรรดินิยมอเมริกัน" ขณะนี้ จึงเป็นเรื่องที่ว่า คุณสมบัติ/ลักษณะต่างๆเหล่านี้ โดยลำพังแล้ว เป็นปัจจัยที่เมื่อประกอบกันแล้วทำให้สหรัฐอเมริกากลายเป็นชาติจักรวรรดินิยม ใช่หรือไม่ และ "ลัทธิจักรวรรดินิยม" ในลักษณะของอเมริกานี้มีความเหมือนหรือคล้ายคลึงกันมาก หรือเพียงพอแล้วที่จะชี้ชัดลงไปได้ว่า จักรวรรดินิยมอเมริกานั้นคือ การกลับมาเกิดใหม่อีกครั้งของลัทธิจักรวรรดินิยม เหมือนเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งในอดีต --- ตั้งแต่ ยุคสมัยของโรมัน ตามต่อมาด้วยสมัยของอังกฤษ เยอรมัน และชาติจักรวรรดินิยมอื่น ๆ อีกหลายชาติตามที่มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301