ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ลัทธิคอมมิวนิสต์

ลัทธิคอมมิวนิสต์ (อังกฤษ: Communism) เป็นขบวนการปฏิบัติสังคมนิยมเพื่อสถาปนาระเบียบสังคมที่ปราศจากชนชั้น เงินและรัฐ โดยตั้งอยู่บนการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตร่วมกัน เช่นเดียวกับอุดมการณ์ทางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจซึ่งมุ่งสถาปนาระเบียบสังคมนี้ ขบวนการดังกล่าว ในการตีความแบบลัทธิมากซ์-เลนิน มีอิทธิพลอย่างสำคัญต่อประวัติศาสตร์คริสต์ศตวรรษที่ 20 ซึ่งมีการแข่งขันกันดุเดือดระหว่าง "โลกสังคมนิยม" (อันเป็นรัฐสังคมนิยมที่ปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์) และ "โลกตะวันตก" (ประเทศซึ่งมีระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม)

ทฤษฎีลัทธิมากซ์ถือว่า คอมมิวนิสต์บริสุทธิ์หรือคอมมิวนิสต์สมบูรณ์เป็นขั้นของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์โดยเจาะจงที่ถือกำเนิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จากการพัฒนากำลังการผลิตซึ่งนำไปสู่ความมั่งคั่งทางวัตถุที่อุดมสมบูรณ์ เพื่อให้การแจกจ่ายยึดความต้องการและความสัมพันธ์ทางสังคมยึดตามปัจเจกบุคคลที่เกี่ยวข้องกันอย่างเสรี นิยามที่แน่ชัดของคอมมิวนิสต์แตกต่างกัน และมักถูกเข้าใจผิด ในวจนิพนธ์การเมืองทั่วไป ว่าใช้แทนคำว่า สังคมนิยม ได้ อย่างไรก็ดี ทฤษฎีลัทธิมากซ์ยืนยันว่า สังคมนิยมเป็นเพียงขั้นเปลี่ยนผ่านบนวิถีสู่คอมมิวนิสต์ ลัทธิเลนินเพิ่มแนวคิดพรรคการเมืองแนวหน้าเพื่อนำการปฏิวัติโดยชนชั้นกรรมาชีพ และเพื่อยึดอำนาจทางการเมืองทั้งหมดหลังการปฏิวัติเพื่อชนชั้นกรรมกร เพื่อการพัฒนาความตระหนักของชนชั้นทั่วโลกและการมีส่วนร่วมของกรรมกร ในขั้นเปลี่ยนผ่านระหว่างทุนนิยมกับสังคมนิยม

ปัจจุบัน คอมมิวนิสต์มักใช้เรียกนโยบายของรัฐคอมมิวนิสต์ นั่นคือ รัฐที่ถูกควบคุมเบ็ดเสร็จโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ไม่ว่าสาระของระบบเศรษฐกิจในทางปฏิบัติแท้จริงแล้วเป็นอย่างไร ตัวอย่างเช่น นโยบายของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามซึ่งระบบเศรษฐกิจรวมไปถึง "โด๋ยเม้ย", สาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่งระบบเศรษฐกิจเป็น "เศรษฐกิจตลาดสังคมนิยม" และระบบเศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตซึ่งอธิบายได้ว่าเป็น "ทุนนิยมโดยรัฐ" โดยนักสังคมนิยมที่มิใช่ลัทธิเลนิน และภายหลังโดยนักคอมมิวนิสต์ผู้คัดค้านแบบจำลองโซเวียตยุคหลังสตาลินมากขึ้น ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 (เช่น ลัทธิเหมา ลัทธิทร็อตสกี และคอมมิวนิสต์อิสรนิยม และแม้กระทั่งตัววลาดีมีร์ เลนินเอง ในจุดหนึ่ง

ความคิดที่มีรากฐานไปสู่ลัทธิคอมมิวนิสต์มีมานานมากแล้วในโลกตะวันตก นานกว่าที่มาร์กซ์และเองเกลส์จะเกิดเสียอีก ความคิดที่ว่านี่ย้อนไปได้ถึงยุคกรีกโบราณที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ถูกโยงเข้าไปเกี่ยวข้องกับตำนานเกี่ยวกับยุคทองของมนุษยชาติ ที่ ๆ สังคมอยู่ด้วยกันด้วยความสามัคคีปรองดองกันเสียก่อน จึงร่วมกันสร้างความงอกงามทางวัตถุในภายหลัง แต่บางคนก็แย้งว่า ตำราสาธารณรัฐ (The Republic) ของเพลโตและผลงานอื่นๆ ของนักทฤษฎีรัฐศาสตร์ในยุคโบราณ เพียงแค่สนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ในด้านการอยู่รวมกันในสังคมอย่างปรองดองเท่านั้น รวมถึงหลาย ๆ นิกายในศาสนาคริสต์สมัยเก่า และเน้นเป็นพิเศษในโบสถ์สมัยเก่า ดังที่บันทึกไว้ในบัญญัติแห่งบรรดาอัครสาวก (Acts of the Apostles) อีกทั้งชนเผ่าพื้นเมืองแห่งทวีปอเมริกาก่อนยุคโคลัมบัสบุกเบิก ก็ยังปฏิบัติตามแนวคิดของลัทธิคอมมิวนิสต์ว่าด้วยการอยู่ด้วยกันเป็นสังคมและครอบครองวัตถุร่วมกัน รวมถึงอีกหลายๆ ชนชาติที่พยายามที่จะก่อตั้งสังคมคอมมิวนิสต์ได้แก่ นิกายเอซเซนแห่งยิว (Essenes) และนิกายยูดาทะเลทราย

ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 นักบุญโทมัส มอร์ นักเขียนชาวอังกฤษกล่าวในหนังสือยูโทเปีย (Utopia) ของเขาว่า สังคมทุกสังคมมีรากฐานอยู่ที่การครอบครองวัตถุชิ้นใดๆ ร่วมกัน โดยมีหัวหน้าอยู่หนึ่งคนหรือหนึ่งคณะที่มีหน้าที่นำมันไปใช้ตามหลักแห่งเหตุและผลที่เหมาะสม ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 17 แนวคิดคอมมิวนิสต์ผุดขึ้นมาอีกครั้งในประเทศอังกฤษ เมื่อเอ็ดเวิร์ด เบิร์นสไตน์กล่าวในผลงานแห่งปี พ.ศ. 2438 (ค.ศ. 1895) ของเขา ครอมเวลล์และคอมมิวนิสต์ (Cromwell and Communism) อย่างเผ็ดร้อนว่ามีหลาย ๆ กลุ่มในสงครามกลางเมืองอังกฤษ โดยเฉพาะพวกนักขุดหรือผู้เผยเปลือกใน (Digger หรือ True Leveller) ที่แสดงการสนับสนุนแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจน เน้นความสำคัญไปที่บรรดาชาวไร่ชาวนา ซึ่งทัศนคติของ โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ต่อคนกลุ่มนี้มักเป็นความรำคาญ หรือแม้กระทั่งแสดงความเป็นศัตรูต่อคนกลุ่มนี้อย่างชัดเจน ความไม่เห็นด้วยครอบครองวัตถุแต่เพียงผู้เดียวยังคงถูกแย้งมาโดยตลอดในยุคแสงสว่าง (The Age of Enlightenment) แห่งคริสต์ศตวรรษที่ 18 ผ่านนักวิชาการชื่อดังเช่น ชอง-ชาก รุสโซ รวมถึงนักเขียนสังคมนิยมยูโทเปีย เช่น โรเบิร์ต โอเวน ซึ่งบรรดาบุคคลเหล่านี้ก็ถูกขนานนามว่าเป็นคอมมิวนิสต์ในบางครั้ง

คาร์ล มาร์กซ์เห็นว่าแนวคิดคอมมิวนิสต์ในช่วงเริ่มแรกนั้นคือสถานะดั้งเดิมของมนุษยชาติที่พัฒนาตนเองขึ้นมาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ควบคู่ไปกับระบบฟิวดัล ที่เป็นสถานะของระบบทุนนิยมในขณะนั้น เขาจึงเสนอก้าวต่อไปในวิวัฒนาการทางสังคมกลับไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์ ที่มีระดับสูงกว่าแนวคิดคอมมิวนิสต์เก่าๆ ที่มนุษยชาติเคยปฏิบัติกันมา

ในขณะเดียวกัน ลัทธิคอมมิวนิสต์ก็เติบโตมาจากการเคลื่อนไหวของชนผู้ใช้แรงงานในยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การปฏิวัติทางอุตสาหกรรมพัฒนายิ่งขึ้น แต่นักวิชาการหัวคิดสังคมนิยมเห็นว่าระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมทำให้กำลังแรงงานด้อยคุณภาพลง ในขณะที่คนงานที่ทำงานในโรงงานกลางเมืองก็ต้องทำงานในสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายยิ่งขึ้น และช่องว่างที่แคบลงระหว่างคนรวยและคนยากไร้

มาร์กซ์และเองเกลส์พยายามหาแนวทางที่จะนำจุดจบมาสู่ระบบทุนนิยมและการกดขี่ผู้ใช้แรงงานเหมือนกับนักสังคมนิยมคนอื่นๆ แต่ในขณะที่นักสังคมนิยมคนอื่นหวังถึงการค่อยๆ ปฏิรูปสังคมในระยะยาว ทั้งมาร์กซ์และเองเกิลส์คิดว่ามีอยู่หนทางเดียวเท่านั้นที่จะนำไปสู่ระบอบสังคมนิยมได้ นั่นคือการปฏิวัติ

ตามที่ข้อสนับสนุนลัทธิคอมมิวนิสต์ของมาร์กซ์กล่าวไว้ว่า ลักษณะเฉพาะของเผ่าพันธุ์มนุษย์ในสังคมชนชั้นคือความไม่สนใจซึ่งกันและกัน และยังกล่าวอีกว่าความคิดแบบคอมมิวนิสต์คือสิ่งที่มนุษย์ปรารถนา เพราะมันนำมาซึ่งความหยั่งรู้และการพบกับอิสรภาพแห่งมนุษย์อย่างแท้จริง มาร์กซ์ในที่นี้กล่าวตามนักปรัชญาชาวเยอรมัน ยอร์ช วิลเฮล์ม ฟรีดดิช ฮีเกล (G.W.F. Hegel) ที่กล่าวว่าอิสรภาพมิใช่เพียงแค่การมิให้อำนาจเข้ามาควบคุมเท่านั้น แต่ยังหมายถึงการกระทำที่มีสำนึกศีลธรรมอีกด้วย ไม่เพียงแค่ระบอบคอมมิวนิสต์จะทำให้คนทำในสิ่งที่พวกเขาต้องการเท่านั้น แต่การทำให้มนุษย์ที่มีสถานภาพเดียวกันและความเหมือนกันนั้น จะทำให้พวกเขาไม่ต้องการแสวงหาผลประโยชน์สู่ตนเองอีกต่อไป ในขณะที่เฮเกลคิดถึงการใช้ชีวิตตามหลักจรรยา ผ่านมโนภาพที่ยิ่งใหญ่ แต่สำหรับมาร์กซ์แล้ว คอมมิวนิสต์นั้นเกิดขึ้นได้จากวัตถุและผลิตผล โดยเฉพาะการพัฒนารายได้ที่ประชาชนจะได้รับจากการผลิต

ลัทธิมาร์กซ์นั้นยึดถือว่า กระบวนการแตกแยกระหว่างชนชั้นที่ต่างกัน ผสมกับการดิ้นรนต่อสู่ที่จะปฏิวัติ จะนำชัยชนะมาสู่ชนชั้นแรงงาน และนำมาซึ่งการก่อตั้งสังคมคอมมิวนิสต์ที่ที่สิทธิ์ในการการครอบครองทรัพย์สมบัติส่วนบุคคลจะค่อย ๆ ถูกลบล้างไป และรายได้ของประชาชนจากการผลิต และความเป็นอยู่ที่ยึดติดอยู่กับชุมชนจะค่อย ๆ เข้ามาแทนที่ ตัวมาร์กซ์เองนั้นชี้แจงไว้เพียงเล็กน้อย เกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่เมื่ออยู่ภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์ แต่กล่าวถึงข้อมูลเฉพาะส่วนหลัก ๆ ที่เป็นแนวทางไปสู่ระบอบคอมมิวนิสต์เท่านั้น ซึ่งส่วนมากจะเกี่ยวกับการลดขอบเขตของสิ่งที่บุคคลพึงกระทำ เห็นได้จากสโลแกนของกลุ่มเคลื่อนไหวลัทธิคอมมิวนิสต์ที่มีความว่า สังคมคอมมิวนิสต์คือโลกที่ทุก ๆ คนทำในสิ่งที่พวกเขาถนัด และได้รับตามที่พวกเขาต้องการ ตัวอย่างที่อธิบายแนวคิดของมาร์กซ์มาจากผลงานเขียนเพียงไม่กี่ชิ้นของเขาที่มีข้อมูลเกี่ยวกับอนาคตของลัทธิคอมมิวนิสต์โดยละเอียด คือ แนวคิดลัทธิของเยอรมัน (The German Ideology) ในปี พ.ศ. 2388 (ค.ศ. 1845) งานชิ้นนั้นมีใจความว่า:

วิสัยทัศน์ที่มั่นคงของมาร์กซ์ ทำให้วิสัยทัศน์นี้กลายเป็นทฤษฎีวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับความเป็นไปของสังคมที่เป็นระบบ ภายใต้ระบอบการปกครองแบบคอมมิวนิสต์อย่างแท้จริง และเป็นทฤษฎีทางการเมืองที่อธิบายถึงความจำเป็นที่จะต้องกระทำการปฏิวัติเพื่อได้สิ่งใดๆ มาที่มีข้อกังขาเล็กน้อย

ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 นิยามของคำว่า ระบอบสังคมนิยม และ ระบอบคอมมิวนิสต์ มักถูกใช้แทนกัน อย่างไรก็ตาม มาร์กซ์และเองเกิลส์เห็นว่า สังคมนิยมคือระดับปานกลางของสังคมที่ทรัพย์สมบัติส่วนใหญ่จากการผลิตมีมวลชนเป็นเจ้าของร่วมกัน โดยที่ยังคงความแตกต่างระหว่างชนชั้นไว้เล็กน้อย โดยที่พวกเขาสงวนนิยามของระบอบคอมมิวนิสต์ไว้ว่า เป็นขั้นสุดท้ายของสังคมที่ไม่มีความแตกต่างระหว่างชนชั้น ทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสามัคคี และรัฐบาลเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นอีกต่อไป

หลักเกณฑ์เหล่านี้ต่อมาจึงถูกพัฒนา โดยเฉพาะจากวลาดีมีร์ เลนิน ซึ่งมีอิทธิพลในการกำหนดลักษณะของพรรคคอมมิวนิสต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ให้โดดเด่น นักเขียนรุ่นต่อมาเปลี่ยนแปลงวิสัยทัศน์ของมาร์กซ์โดยมอบอำนาจให้กับรัฐให้เป็นศูนย์กลางของการพัฒนาสังคมดังกล่าว โดยแย้งว่าการที่จะให้เป็นคอมมิวนิสต์โดยสมบูรณ์ได้นั้น ต้องเริ่มมาจากการเป็นสังคมนิยมเสียก่อน จึงค่อย ๆ แปลงสังคมภายใต้ระบอบสังคมนิยม ให้กลายเป็นสังคมคอมมิวนิสต์โดยสมบูรณ์

คนรุ่นเดียวกับมาร์กซ์บางคน เช่น อนาธิปัตย์อย่างมิคาเอล บาคูนิน ก็สนับสนุนแนวคิดคล้าย ๆ กัน แต่ต่างกันในทัศนคติของพวกเขาในเรื่องของวิธีที่จะนำไปสู่สังคมสามัคคีที่ไร้ชนชั้นได้ จนมาถึงทุกวันนี้ยังคงมีการแบ่งกลุ่มเคลื่อนไหวของคนงานอยู่ระหว่างกลุ่มลัทธิคอมมิวนิสต์ของมาร์กซ์และกลุ่มอนาธิปัตย์ โดยที่พวกอนาธิปัตย์มีความคิดเป็นปฏิปักษ์และต้องการที่จะล้มล้างทุกอย่างที่เป็นของรัฐบาล แต่ในหมู่พวกเขาก็มีนักอนาธิปัตย์-คอมมิวนิสต์อย่าง ปีเตอร์ โครพอตคิน ที่เชื่อในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ไร้ชนชั้นในทันที ในขณะที่นักอนาธิปัตย์-สหการนิยมเชื่อในสหภาพแรงงานที่เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นผู้นำในสังคม ตรงกันข้ามกับพรรคคอมมิวนิสต์ (ที่เชื่อในสังคมไร้ชนชั้น นั่นคือไม่มีผู้นำ)

ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 แนวทฤษฎีของมาร์กซ์เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดพรรคสังคมนิยมทั่วยุโรป แม้ว่านโยบายของพวกเขาในเวลาต่อมาจะค่อนข้างคล้อยตามกับระบอบทุนนิยมที่กำลังปรับเปลี่ยนตัวเอง มากกว่าที่จะก่อการรัฐประหาร ยกเว้นพรรคแรงงานสังคมประชาธิปัตย์แห่งรัสเซีย (Russian Social Democratic Workers' Party) โดยหนึ่งในกลุ่มในพรรค ที่เป็นที่รู้จักในนามของกลุ่มบอลเชวิก ซึ่งนำโดยวลาดีมีร์ เลนินที่ประสบความสำเร็จในการปกครองประเทศหลังจากการล้มล้างรัฐบาลรักษาการณ์ในการปฏิวัติรัสเซีย (Russian Revolution of 1917) ใน พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) ในปีต่อมา พรรคดังกล่าวเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งจากนั้นมาทำให้เกิดข้อแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างระบอบคอมมิวนิสต์และระบอบสังคมนิยม

หลังจากประสบความสำเร็จในการปฏิวัติตุลาคม (October Revolution) ในรัสเซีย ทำให้พรรคสังคมนิยมในหลายๆ ประเทศเปลี่ยนตัวเองเป็นพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีความภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียตที่แตกต่างกันไป เมื่อสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง คณะบริหารที่เรียกตนเองว่าคอมมิวนิสต์ก็เข้ายึดอำนาจในยุโรปตะวันออก ในปี พ.ศ. 2492 (ค.ศ. 1949) พวกคอมมิวนิสต์ในประเทศจีน นำโดยเหมา เจ๋อตงก็ขึ้นสู่อำนาจและก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างนั้นบรรดาประเทศโลกที่สามต่างก็รับระบอบคอมมิวนิสต์เข้ามาเป็นระบอบการปกครองได้แก่คิวบา เกาหลีเหนือ เวียดนาม ลาว แองโกลา และโมซัมบิก ในต้นทศวรรษที่ 1980 ประชากรหนึ่งในสามของโลกถูกปกครองภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์

ความเชื่อแบบคอมมิวนิสต์ถือว่าเป็นเรื่องต้องห้ามในสหรัฐอเมริกา จากประวัติศาสตร์การต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์มาตั้งแต่สมัยก่อนสงครามเย็นของอเมริกา ต่อมาในต้นคริสต์ทศวรรษที่ 1970 นิยามใหม่ที่เรียกว่า "ยูโรคอมมิวนิสต์" (Eurocommunism) ก็ถูกใช้ระบุถึงนโยบายใหม่ของพรรคคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันตก ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่ที่ตั้งใจจะปฏิเสธการช่วยเหลือที่ไม่มากนักและไม่คงเส้นคงวาของสหภาพโซเวียต บางพรรคดังกล่าวถือว่าเป็นพรรคใหญ่และเป็นหัวคะแนนในการเลือกตั้งได้แก่ในฝรั่งเศสและอิตาลี แต่จากการล่มสลายของรัฐบาลคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกจากช่วงปลายทศวรรษที่ 1980 จนไปถึงการล่มสลายของสหภาพโซเวียตใน พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991) ทำให้อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ลดลงไปอย่างมากในยุโรป อย่างไรก็ตามประชากรหนึ่งในสามของโลกก็ยังคงตกอยู่ภายใต้การปกครองระบอบคอมมิวนิสต์อยู่ดี


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301