รายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานครมีโรงพยาบาลในสังกัดของกรุงเทพมหานครเอง 9 แห่ง(ไม่นับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช) ศูนย์บริการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง ประกอบไปด้วยศูนย์เอราวัณ สังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และศูนย์นเรนทร สังกัดโรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลเอกชนมีทั้งหมด 93 แห่ง สถานพยาบาลเอกชนทั้งหมด 2 แห่งศูนย์รักษาเลสิคและสายตา 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลจักษุรัตนิน และ โรงพยาบาลของรัฐทั้งหมด 34 แห่ง สถาบันจิตเวชทั้งหมด 3 แห่ง สถานพยาบาลของรัฐทั้งหมด 1 แห่ง โรงพยาบาลรัฐวิสาหกิจทั้งหมด 2 แห่ง โรงพยาบาลเฉพาะทางทันตกรรม 3 แห่งได้แก่ โรงพยาบาลทันตกรรมทองหล่อ โรงพยาบาลฟัน ศูนย์ทันตกรรม Bangkok International Dental Center โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทางโรคไต 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลสถาบันโรคไตภูมิราชนครินทร์โรงพยาบาลรักษาด้วยวิธีสมุทัยเวชศาสตร์ 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเบทเทอร์บีอิ้ง โรงพยาบาลเฉพาะโรคผิวหนัง 1 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลผิวหนัง อโศก รวมแล้วกรุงเทพมหานครมีสถานพยาบาลที่ได้รับการอนุมัติให้เป็นโรงพยาบาลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย 137 แห่งโดยมี 7 แห่งใน 137 แห่งเป็นโรคพยาบาลเฉพาะทาง และมีสถาบันสถานพยาบาลหรือศูนย์การแพทย์รวมถึงคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย 6 แห่ง
โรงพยาบาลของรัฐแบ่งเป็น สังกัดกรุงเทพมหานคร 10 แห่ง(ไม่นับคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช) สังกัดกระทรวงสาธารณสุข 5 แห่ง สังกัดกระทรวงศึกษา 2 แห่ง สังกัดกระทรวงกลาโหม 5 แห่ง สังกัดสำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 2 แห่ง สังกัดกระทรวงยุติธรรม 1 แห่ง สังกัดโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย 1 แห่ง สังกัดสภากาชาดไทย 1 แห่ง สังกัดมูลนิธิมิราเคิลออฟไลฟ์ 1 แห่ง สังกัดสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ 1 แห่ง สถาบันจิตเวชสังกัดกรุงเทพมหานคร 1 แห่ง สถาบันจิตเวชสังกัดรัฐบาล 1 แห่ง
คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานครถือว่าเป็นสังกัดโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกรุงเทพมหานครโดยตรงแต่เป็นโรงพยาบาลในกำกับของกรุงเทพมหานคร
ในปี พ.ศ. 2555 โรงพยาบาลที่รับบัตรประกันสังคมหรือผู้ป่วยในระบบประกันสังคมมีทั้งหมด 47 แห่ง แยกเป็นของโรงพยาบาลรัฐบาล 20 แห่ง และ โรงพยาบาลเอกชน 32 แห่ง สถานพยาบาลของรัฐ 1 แห่ง สถานพยาบาลของเอกชน 2 แห่งดังรายชื่อต่อไปนี้
รายนามโรงพยาบาลเหล่านี้เป็นทางเลือกให้ผู้ประกันตนที่เลือกโรงพยาบาลดังกล่าวได้มีสิทธิในการรักษาพยาบาลกับโรงพยาบาลที่เป็นสาขาของโรงพยาบาลที่ระบุในหน้าบัตรประกันสังคมโดยโรงพยาบาลบางนา 1 ได้เปิดทางเลือกให้ผู้ประกันตนที่ต้องการรักษาตัวในกรุงเทพมหานครได้รักษากับโรงพยาบาลบางนา 2 และโรงพยาบาลบางนา 5 นับเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่เปิดให้ทางเลือกแก่ผู้ประกันตนได้รักษาในเครือข่ายของโรงพยาบาลดังกล่าวมากที่สุดในขณะนี้ (พ.ศ. 2555)
โรงพยาบาลของรัฐที่สังกัดกรุงเทพมหานครผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาพยาบาลได้ในทุกโรงพยาบาลที่สังกัดกรุงเทพมหานคร รวมทั้งคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหมด 10 แห่ง โรงพยาบาลรัฐบาลสังกัดกรุงเทพมหานครเปิดโอกาสให้ผู้ที่เลือกได้ใช้บริการรักษาพยาบาลมากที่สุดในขณะนี้หากเทียบกับโรงพยาบาลของรัฐวิสาหกิจและโรงพยาบาลเอกชน เพราะผู้ประกันตนสามารถเข้ารักษาพยาบาลได้มากที่สุดถึง 10 โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานครและสังกัดมหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อโรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร