ในสหราชอาณาจักรและอาณานิคมโพ้นทะเลมีแหล่งมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนโดยยูเนสโกทั้งหมด 28 แห่ง โดยอยู่ในอังกฤษสิบเจ็ดแห่ง สกอตแลนด์สี่แห่ง เวลส์สามแห่ง ไอร์แลนด์เหนือหนึ่งแห่ง และในอาณานิคมโพ้นทะเลเบอร์มิวดา หมู่เกาะพิตแคร์น และเซนต์เฮเลนาที่ละหนึ่งแห่ง แหล่งมรดกโลกของสหราชอาณาจักรที่ได้ขึ้นทะเบียนในครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2529 ได้แก่
ใน พ.ศ. 2489 ประเทศ 26 ประเทศ รวมถึงสหราชอาณาจักร ได้ให้สัตยาบันธรรมนูญแห่งองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (เรียกกันทั่วไปว่ายูเนสโก) ซึ่งมีความมุ่งหมายเพื่อ "อนุรักษ์และคุ้มครองมรดกทางเอกสาร งานศิลปะ และอนุสรณ์ทางประวัติศาสตร์และธรรมชาติของโลก" สหราชอาณาจักรได้ให้เงินช่วยเหลือกองทุนมรดกโลกปีละ 130,000 ปอนด์เพื่อเป็นเงินทุนในการอนุรักษ์แหล่งมรดกโลกในประเทศกำลังพัฒนา แหล่งมรดกโลกบางแห่งนั้นประกอบด้วยสถานที่หลายแห่งที่มีสถานที่ตั้งทางภูมิศาสตร์หรือมรดกทางวัฒนธรรมร่วมกัน
คณะกรรมการแห่งสหราชอาณาจักรว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ มีบทบาทในการแนะนำนโยบายเกี่ยวกับยูเนสโกต่อรัฐบาลอังกฤษซึ่งรับผิดชอบดูและรักษาแหล่งมรดกโลกในประเทศ ใน พ.ศ. 2551 Andy Burnham รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม สื่อ และกีฬาในขณะนั้น ได้แถลงถึงความกังวลเกี่ยวกับประโยชน์ของการขึ้นทะเบียนสถานที่ในสหราชอาณาจักรเป็นแหล่งมรดกโลก และเรียกร้องให้ทบทวนนโยบายของรัฐบาลในการเสนอชื่อสถานที่ใหม่ๆ เนื่องมาจากค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นและมีรายได้จากนักท่องเที่ยวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ อีกทั้งมีนักท่องเที่ยวไม่มากที่ตระหนักถึงสถานะมรดกโลกของสถานที่เหล่านั้น
เกณฑ์การรับรองแหล่งมรดกโลกข้อที่ i-iv ใช้สำหรับมรดกโลกประเภทวัฒนธรรม และข้อที่ vii-x ใช้สำหรับประเภทธรรมชาติ ในสหราชอาณาจักรมีแหล่งมรดกโลกประเภทวัฒนธรรมยี่สิบสามแห่ง ประเภทธรรมชาติสี่แห่ง และประเภทผสมหนึ่งแห่ง[note 1] จำนวนแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักรที่แบ่งตามประเภทจะใกล้เคียงจำนวนแหล่งมรดกโลกทั้งหมดในโลกที่แบ่งตามประเภทเช่นกัน คือ จากแหล่งมรดกโลก 890 แห่งทั่วโลก เป็นประเภทวัฒนธรรมร้อยละ 77.4 ธรรมชาติร้อยละ 19.8 และผสมร้อยละ 2.8% โดยเซนต์คิลดาเป็นแหล่งมรดกโลกประเภทผสมแห่งเดียวในสหราชอาณาจักร ซึ่งแต่เดิมนั้นได้ขึ้นทะเบียนเนื่องด้วยเป็นถิ่นที่อยู่ตามธรรมชาติของพันธุ์พืชและสัตว์เท่านั้น ต่อมาใน พ.ศ. 2548 ได้รับการเสนอให้เพิ่มความสำคัญในฐานะที่ตั้งชุมชนเกษตรกรรมในอดีต และกลายเป็นแหล่งมรดกโลกประเภทผสมหนึ่งใน 25 แห่งจากทั่วโลก ส่วนแหล่งมรดกโลกประเภทธรรมชาติได้แก่ ชายฝั่งดอร์เซตและอีสต์เดวอน ไจอันส์คอสเวย์และชายฝั่ง เกาะกอฟและอินักเซสซิเบิล และเกาะเฮนเดอร์สัน ที่เหลือเป็นประเภทวัฒนธรรม
บัญชีรายชื่อเบื้องต้นเป็นรายชื่อสถานที่สำคัญทางวัฒนธรรมและธรรมชาติที่แต่ละประเทศยื่นเสนอให้ขึ้นทะเบียนในบัญชีรายชื่อมรดกโลก รายชื่อสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดเวลา แต่การเพิ่มสถานที่ลงในรายชื่อจะต้องทำก่อนเสนอชื่อขึ้นทะเบียนห้าถึงสิบปี
บัญชีรายชื่อเบื้องต้นของสหราชอาณาจักรได้ปรับเปลี่ยนครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2549 ประกอบด้วยสถานที่ 15 แห่งดังต่อไปนี้
ปราสาทและกำแพงเมืองของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่กุยเน็ดด์ (ปราสาทบิวมาริส ? ปราสาทคายร์นาร์วอน ? ปราสาทคอนุย ? ปราสาทฮาร์เล็ค) ? บริเวณอุตสาหกรรมเบลนาวอน
เกาะเฮนเดอร์สัน ? เกาะกอฟ และ เกาะอินอักเซสซิเบิล ? เซนต์จอร์จ, เบอร์มิวดา และ ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อแหล่งมรดกโลกในสหราชอาณาจักร