บัญชีรายชื่อประเทศนี้ได้ถูกนำเสนอใน “Failed States Index” ของกองทุนเพื่อสันติภาพ มีหลายเหตุผลมากที่จะบ่งชี้ถึงความเป็น “รัฐที่ล้มเหลว” ตัวชี้วัดที่นำมาใช้นั้น โดยพื้นฐานแล้วจะพิจารณาถึงความอ่อนแอของรัฐบาลกลาง หรือความไร้ประสิทธิภาพในการควบคุมดินแดนของตน การขาดการจัดสรรบริการสาธารณะ การก่ออาชญากรรม และการคอรัปชั่นอย่างกว้างขว้าง การลี้ภัยหรือการย้ายถิ่นฐานอย่างจำเป็นของประชากร หรือสัญญาเตือนของเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา รายงานฉบับนี้ได้ถูกนำเสนอในแต่ละปี โดย สหรัฐอเมริกา กองทุนเพื่อสันติภาพ และนิตยสาร Foreign Policy
การจัดอันดับ ยึดตามดัชนี FSI ซึ่งเป็นค่าดัชนีความล้มเหลวของรัฐ มีคะแนนเต็มอยู่ที่ 120 ยิ่งมีคะแนนสูง ยิ่งแปลว่าเป็นรัฐที่ไม่มั่นคง, รัฐที่คะแนนต่ำกว่า แปลว่าเป็นรัฐที่มั่นคงกว่า โดยจัดอันดับในครั้งนี้ จะเรียงเอาประเทศที่มีความล้มเหลวมากขึ้นก่อน คือ โซมาเลีย เป็นรัฐที่ล้มเหลวที่สุดในโลก และอันดับสุดท้าย คือ นอร์เวย์ มั่นคงที่สุดในโลก จากผลการสำรวจในปี ค.ศ. 2009
เนื่องจากการวัดดัชนีความล้มเหลว วัดโดยใช้ดัชนีย่อย 12 ดัชนี ภายใต้ลักษณะเด่น 4 ประการ ของความล้มเหลวของรัฐ คือ
จากคุณสมบัติข้อแรก หากรัฐบาลหรือประมุขแห่งรัฐมีที่มาอย่างถูกต้อง และปกครองรัฐอย่างถูกต้อง ไม่ใช้ความรุนแรงหากไม่จำเป็น หากรัฐบาลจำเป็นจะต้องใช้ความรุนแรงใดๆ นั่นหมายถึงประชาชนจะมีมุมมองต่อผู้ที่ถูกใช้ความรุนแรงว่าเป็นบุคคลอันตราย และไม่ต่อต้านการใช้ความรุนแรงของผู้นำ[ต้องการอ้างอิง] ตรงกันข้าม หากผู้นำมีที่มาที่ไปอย่างไม่ถูกต้อง ปฏิบัติงานไม่โปร่งใส มีความลำเอียง ไม่มีความชอบธรรมในใจประชาชน หากรัฐใช้ความรุนแรง ประชาชนจะมีมุมมองต่อผู้นำในแง่ไม่ดี ไม่ให้ความร่วมมือ และต่อต้านการใช้กำลังของรัฐบาล หรือใช้กำลังต่อต้านกลับ เมื่อประชาชนเริ่มใช้ความรุนแรงตอบโต้ นั่นหมายถึง รัฐได้สูญเสียสิทธิ์ขาดในการใช้ความรุนแรงไปแล้ว และหากรัฐพยายามช่วงชิงอำนาจดังกล่าวกลับคืนอาจนำไปสู่เหตุการณ์นองเลือด จลาจล วางเพลิง ก่อวินาศกรรม การเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว เป็นสัญลักษณ์หนึ่งของความพินาศของรัฐ[ต้องการอ้างอิง]
ข้อสอง สืบเนื่องจากข้อแรก หากรัฐบาลที่มาอย่างไม่ชอบธรรมพยายามช่วงชิงอำนาจจากประชาชน ใช้วิธีต่างๆ เท่าที่มี เช่น ประเทศเผด็จการในสมัยก่อนๆ อาจใช้วิธีการบังคับปิดกั้นสื่อมวลชน ให้รายงานข่าวในมุมมองที่เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาล ทำให้ประชาชนที่บริโภคสื่อมีทั้งที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย จึงเกิดเป็นความแตกแยกชิงชังกันเองภายในประเทศ เป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งของความพินาศของรัฐ[ต้องการอ้างอิง]
ข้อที่สาม หากเกิดการความไม่สงบ โดยที่เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถยับยั้งได้ จนมีประชาชนเสียชีวิต แสดงว่าอำนาจรัฐกำลังมีปัญหา ยิ่งโดยเฉพาะหากเป็นการก่อการร้ายที่สามารถคาดการณ์ได้[ต้องการอ้างอิง] หากมีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นที่สงสัยต่อประชาชน รัฐใด ทำได้เพียงการตั้งศูนย์อำนวยการต่างๆ ขึ้นเป็นกรณีพิเศษ แล้วออกแถลงการณ์ปัดความรับผิดชอบไปที่ผู้อื่นเพียงอย่างเดียว มุ่งสร้างความชอบธรรมแก่รัฐบาล แต่ยังไม่มีการป้องกันที่ปฏิบัติได้จริง ปล่อยให้เกิดการสังหารประชาชนอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกสัญลักษณ์หนึ่งที่บ่งบอกถึงความพินาศของรัฐ[ต้องการอ้างอิง]
ข้อที่สี่ หากรัฐบาลมีความชอบธรรมโปร่งใส ต่างประเทศจะไว้ใจติดต่อกับรัฐบาลแต่เพียงผู้เดียว ติดต่อกับตัวแทนประชาชนบ้างตามหน้าที่[ต้องการอ้างอิง] ในทางตรงกันข้าม หากรัฐบาลมีที่มาที่ไปอย่างไม่ชอบธรรม ปฏิบัติงานไม่โปร่งใส ใช้ความรุนแรงเกินกว่าเหตุ สังคมโลกจะไม่ไว้ใจรัฐบาล ตัวแทนของแต่ละรัฐจะติดต่อกับรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ และผู้นำอื่นๆ เป็นฉากหน้า และไปติดต่อกับตัวแทนประชาชนเสียมากกว่า[ต้องการอ้างอิง] หากสังคมโลกไม่ไว้ใจรัฐบาล ก็เป็นสัญญาณหนึ่งที่บ่งบอกถึงความพินาศของรัฐ
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อประเทศตามดัชนีรัฐบอบบาง