ปฏิบัติการนี้เป็นปฏิบัติการสำหรับการยกพลขึ้นเกาะอังกฤษของกองทัพนาซีเยอรมัน ซึ่งการจะยกพลขึ้นได้นั้นต้องทำการถล่มกองทัพเรือและกองทัพอากาศของอังกฤษให้สิ้นซากเสียก่อนแล้วค่อยทำการยกพลขึ้นบก แม้ว่ากองทัพอากาศของเยอรมนีจะถล่มกรุงลอนดอนและอีกหลายๆ เมืองในอังกฤษจนได้รับความเสียหายอย่างหนัก แต่ก็ไม่สามารถทำให้อังกฤษยอมแพ้ได้ และอังกฤษยังได้รับกำลังเสริมเพิ่มเติมจากสหรัฐอเมริกา และประเทศเครือจักรภพอีก จนกระทั่งวันที่ 31 ตุลาคม ค.ศ.1940 กองทัพอากาศเยอรมนีได้ยุติการถล่มเกาะอังกฤษ สิ่งที่ทำให้อังกฤษสามารถต่อสู้กับกองทัพอากาศเยอรมนีได้เพราะว่าอังกฤษได้มีการพัฒนาระบบเรดาห์ในการค้นหาเครื่องบินของกองทัพเยอรมัน จึงทำให้อังกฤษมีการเตรียมตัวเพื่อ รับมือการโจมตีได้ทันท่วงที
เป็นปฏิบัติการที่กองทัพนาซีใช้ในการรุกรานสหภาพโซเวียตเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 ซึ่งหลังจากที่ฝรั่งเศสได้ลงนามยอมแพ้ต่อกองทัพนาซีครบ 1 ปีพอดี โดยปฏิบัติการนี้กองทัพฝ่ายอักษะใช้กำลังทหารประมาณ 5,600,000 คน ส่วนสหภาพโซเวียตมีกำลังทหารในการป้องกันในช่วงนั้นประมาณ 2,900,000 คน โดยปฏิบัติการครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 สาย คือ สายที่ 1 มุ่งตรงไปยังเมืองเลนินกราดเพื่อตัดเส้นทางการลำเลียงอาวุธและยังทำให้สหภาพโซเวียตถูกตัดขาดจากโลกภายนอก สายที่ 2 ยึดเมืองทางตอนกลางแล้วมุ่งตรงไปยังกรุงมอสโก และส่วนที่ 3 มุ่งตรงไปยังเมืองเคียฟ (เมืองหลวงของยูเครนในปัจจุบัน) แล้วมุ่งตรงไปยังลุ่มแม่น้ำวอลกาเพื่อยึดเมืองสตาลินกราด ซึ่งในตอนต้นของปฏิบัติการนี้ทางกองทัพฝ่ายอักษะเกือบประสบความสำเร็จในการยึดครองสหภาพโซเวียต เนื่องจากอยู่ห่างจากนครหลวงมอสโกเพียง 40 ไมล์เท่านั้นและกองทัพแดงของโซเวียตในช่วงต้นๆ ต้องเสียทหารไปกว่า 5 ล้านคน ส่วนที่เมืองสตาลินกราดนั้นกองทัพฝ่ายอักษะไม่สามารถที่จะตีแตกได้เพราะการป้องกันอันเข้มแข็งของกองทัพแดง ซึ่งในเมืองนี้จะเป็นจุดชี้ชะตาแห่งชัยชนะระหว่างกองทัพแดงและกองทัพนาซี แต่ในที่สุดกองทัพแดงก็สามารถกำชัยชนะมาได้ในที่สุด ในปฏิบัติการนี้นั้นแม้ว่าสหภาพโซเวียตจะมีชัยชนะเหนือกองทัพฝ่ายอักษะ แต่ก็ต้องแลกมาด้วยการสังเวยชีวิตของประชากรและกำลังทหารกว่า 27 ล้านคน และอาวุธอีกหลายล้านตัน จนกระทั่งกองทัพแดงตีโต้ตอบกลับจนทำให้ฝ่ายอักษะแพ้สงครามในที่สุด และสาเหตุนี้เองที่ทำให้เป็นการเปิดโอกาสให้สหภาพโซเวียตเข้ายึดครองประเทศแถบยุโรปกลางและบอลข่านได้อย่างง่ายดาย
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อปฏิบัติการทางทหารระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง