ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ราชาธิปไตยที่ถูกล้มล้าง

ในประวัติศาสตร์โลก มีการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ในหลายประเทศทั่วโลก สาเหตุการล่มสลายของราชวงศ์อาจเป็นผลมาจากการปฏิวัติ, การตั้งสาธารณรัฐ, การลงประชามติของประชาชน, การรัฐประหาร หรือจากสงคราม

พระบรมวงศานุวงศ์ที่เหลือรอดมาจากการล้มล้างก็ยังคงใช้คำนำหน้าพระนามเป็นพระอิสริยยศที่เคยดำรงอยู่ เช่น เจ้าหญิงเฮวอนแห่งเกาหลี ก็ยังคงใช้คำนำหน้าพระนามหรือพระอิสริยศว่า "จักรพรรดินีแห่งเกาหลี" ยังรอการหวนคืนสู่ราชบัลลังก์ และบางประเทศในปัจจุบันก็มีเสียงเรียกร้องให้ฟื้นฟูราชวงศ์ขึ้นมาใหม่ เช่นที่ สาธารณรัฐเกาหลี, สาธารณรัฐออสเตรีย และสาธารณรัฐฮังการี เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังมีการสิ้นสุดลงของพระราชวงศ์ที่ไม่ได้เกิดจากรัฐประหารหรือสาเหตุอื่น ๆ แต่เนื่องจากพระมหากษัตริย์ของประเทศนั้นไม่มีองค์รัชทายาทหรือผู้สืบทอดราชบัลลังก์ เช่น ซามัว

ตัวอย่างของการล้มล้างพระราชวงศ์เช่น ในปี ค.ศ. 1649 พระราชวงศ์อังกฤษ โดยรัฐสภาแห่งอังกฤษภายใต้การนำของ โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ แต่ก็ได้มีการฟื้นฟูภายหลังในปี ค.ศ. 1660 อีกแห่งที่ฝรั่งเศส พระราชวงศ์ฝรั่งเศสถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1792 ในระหว่างการปฏิวัติฝรั่งเศส และก็ได้มีการฟื้นฟูในภายหลังหลายครั้งแต่สุดท้ายฝรั่งเศสก็ได้กลายเป็นสาธารณรัฐ , ในปี ค.ศ. 1871 ราชวงศ์จีนอันเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานก็ถูกล้มล้างและพระจักรพรรดิก็ถูกถอดถอน ซึ่งพระจักรพรรดิองค์สุดท้ายของจีนก็คือ จักรพรรดิผู่อี๋ โดยปฏิวัติของ ซุน ยัตเซ็น, สมเด็พระจักรพรรดิโกจงแห่งเกาหลี พระจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิเกาหลีก็สูญเสียราชบัลลังก์ในปี ค.ศ. 1910 เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นเข้ายึดครองเกาหลีและให้พระราชวงศ์ญี่ปุ่นดำรงเป็นพระประมุขแห่งเกาหลีสืบต่อแทน และอีกแห่งหนึ่งนั้นก็คือมองโกเลีย หลังจากพระมหากษัตริย์ได้สวรรคตลง มองโกเลียก็ได้กลายเป็นสาธารณรัฐ

ในปี ค.ศ. 1893 ผู้นำของกระทรวงการค้าต่างประเทศแห่งราชอาณาจักรฮาวาย ก็ได้ทำการยึดอำนาจจากสมเด็จพระราชินีนาถแห่งราชอาณาจักรฮาวาย และได้ก่อตั้งเป็นสาธารณรัฐจนเข้าร่วมเป็นรัฐสมาชิกรัฐหนึ่งของสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1898, พระราชวงศ์โปรตุเกสก็ถูกล้มล้างในปี ค.ศ. 1910 สองปีหลังจากการสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าคาร์ลอสที่ 1 แห่งโปรตุเกส

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้เกิดการล้มล้างอำนาจของพระราชวงศ์ทั่วโลกครั้งใหญ่ เช่น ในจักรวรรดิรัสเซียภาวะความอดอยากและยากจนของประเทศจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้ทำให้เกิดการปฏิวัติยึดอำนาจพระราชวงศ์รัสเซีย และได้ก่อให้เกิดลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่เน้นการต้อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งภายหลังได้ทำการสังหารหมู่พระราชวงศ์รัสเซีย ส่วนประเทศที่ล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลง ได้แก่ จักรวรรดิเยอรมัน, จักรวรรดิออสเตรีย - ฮังการี, และจักรวรรดิออตโตมาน ในระหว่างสงครามพระราชวงศ์บางแห่งก็มีแผนที่จะประกาศเอกราชและก่อตั้งราชวงศ์เช่น แกรนด์ดัชชีฟินแลนด์ และที่ ลิทัวเนีย รวมทั้งรัฐในอารักขา และอาณานิคมบางแห่งของจักรวรรดิเยอรมัน ซึ่งทั้งพระมหากษัตริย์แห่งฟินแลนด์และลิทัวเนีย ก็ได้สละราชบัลลังก์ภายหลังการพ้ายแพ้ของเยอรมัน ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1918

ในปี ค.ศ. 1939 ราชอาณาจักรอิตาลี ก็ได้เข้ายึดครองแอลเบเนียซึ่งได้ทำการล้มล้างพระราชวงศ์แอลเบเนีย และสถาปนาพระราชวงศ์อิตาลีขึ้นเป็นพระประมุขแห่งแอลเบเนีย ตลอดจนพระราชวงศ์ของยุโรปตะวันออก เช่นพระราชวงศ์บัลแกเรีย, ฮังการี และโรมาเนีย ก็ได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่สอง ต่อต้านราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย, ฝ่ายสัมพันธมิตร และสหภาพโซเวียต ในขณะที่ฝ่ายอักษะกำลังพ้ายแพ้ในสงคราม แนวร่วมของลัทธิคอมมิวนิสต์ทั้งใน ยูโกสลาเวีย และแอลเบเนีย ก็ได้ทำการยึดอำนาจและล้มล้างพระราชวงศ์ของทั้งสองประเทศลง ส่วนลัทธิคอมมิวนิสต์ในบัลแกเรีย, ฮังการี และโรมาเนีย ก็ได้ทำการล้มล้างพระราชวงศ์ของตนโดยกองกำลังอันแข็งแกร่งของสหภาพโซเวียต ที่มีทั้งอาวุธและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนมากในระหว่างการดำเนินไปของสงครามโลกครั้งที่สอง ในขณะที่พระมหากษัตริย์แห่งอิตาลีก็ได้ทำการสลับข้างจากฝ่ายอักษะเป็นฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามจากความอนุเคราะห์ของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่ถึงอย่างไรก็ตามพระราชวงศ์อิตาลีก็สิ้นสุดลงจากการลงประชามติของประชาชนชาวอิตาลีในปี ค.ศ. 1946 เช่นกัน แต่มีพระมหากษัตริย์แห่งเดียวในโลกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ถึงแม้จะพ้ายแพ้ในสงคราม แต่พระราชวงศ์ก็มิได้ถูกล้มล้างนั้นคือ สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะแห่งญี่ปุ่น ที่ถึงแม้จะเป็นผู้ให้การต่อต้านการทำสงครามแต่ก็เป็นผู้คุมอำนาจสำคัญของการทำศึกต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ยินยอมให้สหรัฐอเมริกาเข้าควบคุมญี่ปุ่นแทนการถูกนำตัวไปขึ้นศาลโลกในฐานะอาชญากรสงครามและล้มล้างพระราชวงศ์ญี่ปุ่น แต่ทว่าตระกูลเจ้าชายต่างๆ ในระบบศักดินาได้ถูกทำลายแทน

ในราชอาณาจักรกรีซ สมเด็จพระราชาธิบดีและพระราชวงศ์ก็ถูกเนรเทศโดยกองทัพจากการรัฐประหาร ในปี ค.ศ. 1967 ถึงแม้จะมีการฟื้นฟูในภายหลังแต่ก็ถูกล้มล้างอีกครั้งจากการลงประชามติของประชาชนในปี ค.ศ. 1974

ระบอบราชาธิปไตยในอินเดีย, เคนยา, แทนซาเนีย, แซมเบีย และซิมบับเว ถูกล้มลงไม่นานหลังจากได้รับเอกราชจากสหราชอาณาจักร หลังจากที่ก่อนหน้านี้ในขณะที่เป็นรัฐสมาชิกของเครือจักรภพแห่งชาติได้มีสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร เป็นพระประมุขมาโดยตลอด

นอกจากนี้ยังมีประเทศที่มีความพยายามที่จะฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ของตนเองขึ้นมาอีกครั้งแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเช่นที่ บราซิล ในปี ค.ศ. 1990 รัฐสภาแห่งบราซิลได้มีการลงมติให้มติการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นอันตกไป ในขณะที่ยังมีความพยายามในการฟื้นฟูพระราชวงศ์ยังคงดำเนินต่อไปในทางภาคตะวันออกของประเทศ ที่บัลแกเรีย พระเจ้าซาร์ซิเมออนที่ 2 พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายที่ได้ขึ้นเสวยราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ของประเทศ ทรงได้รับเลือกมาเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศ โดยดำรงตำแหน่งตามวาระ 4 ปี เริ่มดำรงตำแหน่งในปี ค.ศ. 2001 ถึง ค.ศ. 2005 แต่ท้ายที่สุดก็ไม่ได้มีการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศขึ้นมาแต่อย่างใด ที่ออสเตรเลียเองก็มีปัญหาเกี่ยวกับพระราชวงศ์อังกฤษขึ้นมา เนื่องจากประชาชนบางกลุ่มต้องการให้ออสเตรเลียกลายเป็นสาธารณรัฐ จึงได้ยื่นข้อเสนอเข้ารัฐสภาและก็ได้มีการลงมติของรัฐสภาในเรื่องนี้ ผลที่ออกมาก็คือรัฐสภาของทุกรัฐลงมติให้ออสเตรเลียยังคงใช้ระบอบการปกครองแบบเดิม ที่มีพระประมุขของประเทศยังคงเป็น สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ยกเว้นที่เขตนครหลวงแห่งออสเตรเลียที่ผ่านข้อเสนอเท่านั้น ที่แอลเบเนียเองก็ได้มีความพยายามฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นกันในปี ค.ศ. 1997 แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ส่วนที่สาธารณรัฐเกาหลี ค.ศ. 2007 สมเด็จพระจักรพรรดินีเฮวอนแห่งเกาหลี ได้ประกาศที่จะฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ภายในประเทศขึ้นมาอีกครั้ง แต่รัฐบาลกลางของเกาหลีก็ยังไม่ได้มีการเข้ามายุ่งเกี่ยวหรือพิจารณาในกรณีนี้ ซึ่งแนวทางในการฟื้นฟูมีความเป็นไปได้สูงเพราะว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ของเกาหลีเองก็มีบทบาทในการเป็นศูนย์รวมใจของประชาชนเรื่อยมาตั้งแต่หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง โดยคาดการณ์กันว่าสองเกาหลีจะต้องรวมประเทศกันเสียก่อนถึงจะมีการฟื้นฟู และเกาหลีใหม่นี้จะต้องปกครองในระบอบประชาธิปไตย ที่โรมาเนียเองสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศก็มีบทบาทเป็นเป็นศูนย์รวมใจของประชาชน โดยมีการยื่นให้รัฐสภามีการพิจารณาฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ขึ้นมาอีกครั้ง เช่นเดียวกับที่เซอร์เบียที่พระราชวงศ์ต่างได้สิทธิจากรัฐบาลให้พำนักในพระราชวังในเมืองหลวงและยังคงมีบทบาททางสังคมเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน อีกทั้งพระราชวงศ์ยังปฏิบัติพระราชกรณียกิจต่าง ๆ มากมายเช่น ด้านสิทธิมนุษยชน เป็นต้น ซึ่งที่เซอร์เบียนี้เองที่มีความพยายามอย่างมากในการฟื้นฟูพระราชวงศ์เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศยังคงเป็นกลุ่มนิยมกษัตริย์


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301