ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ราชสภาแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ราชสภาเยอรมัน (อังกฤษ: Reichstag) คือรัฐสภาของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และต่อมาสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือ และ ของเยอรมนีจนกระทั่งถึง ค.ศ. 1945 ในปัจจุบันรัฐสภาของเยอรมนีเรียกว่า “Bundestag” (รัฐสภาแห่งเยอรมนี) แต่ตึกที่เป็นที่ประชุมรัฐสภายังคงเรียกว่า “Reichstag”

คำว่า “Reichstag” เป็นคำสมาสของคำว่า “Reich” ที่แปลว่า “จักรวรรดิ” และ “Tag” ที่แปลว่า “ที่ประชุม” (ไม่ใช่ “วัน” แต่คำที่มาจากคำกิริยา “tagen” ที่แปลว่า “มาชุมนุม”) ในปัจจุบันสภาปกครองระดับต่างๆ ก็ยังใช้คำว่า “-tag” ต่อท้ายเช่น “Bundestag” ที่หมายถึงรัฐสภาของรัฐบาลกลาง หรือ “Landtag” ที่หมายถึงสภาระดับท้องถิ่น

ระหว่างสมัยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ดำรงอยู่จนถึง ค.ศ. 1806 ราชสภาไม่ใช่รัฐสภาเช่นที่ปฏิบัติกันในปัจจุบัน แต่เป็นการชุมนุมของราชรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ที่ขึ้นตรงต่อพระมหาจักรพรรดิ บทบาทและหน้าที่ของราชสภาก็เปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของจักรวรรดิ ที่รัฐและดินแดนต่างๆ ในจักรวรรดิมีอำนาจมากขึ้นทุกขณะ ในระยะแรกการประชุมของราชสภาก็ไม่มีการกำหนดสถานที่หรือเวลากันอย่างเป็นที่แน่นอน ที่เริ่มด้วยการประชุมของดยุกของดินแดนของชนเจอร์มานิคกลุ่มต่างๆ ที่รวมตัวกันเป็นราชอาณาจักรแฟรงก์เมื่อมีการตัดสินใจอันสำคัญที่จะต้องการความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม และอาจจะมีพื้นฐานมาจากกฎบัตรเจอร์มานิคเดิมที่สมาชิกแต่ละคนต้องพึ่งการสนับสนุนของผู้นำของกลุ่ม เช่นราชสภาแห่งอาเคินในรัชสมัยของชาร์เลอมาญก็ได้วางกฎหมายสำหรับแซ็กซอนและชนกลุ่มอื่นๆ ราชสภาของปี ค.ศ. 919 ในฟริทซลาร์เลือกกษัตริย์องค์แรกของชาวเยอรมันผู้เป็นแซ็กซอน--เฮนรี เดอะ ฟาวเลอร์ แก้ความขัดแย้งระหว่างแฟรงค์และแซ็กซอนที่มีมานาน และเป็นการวางรากฐานของการก่อตั้งจักรวรรดิเยอรมันต่อมา ในปี ค.ศ. 1158 การประชุมราชสภาแห่งรอนคาเกลีย (Diet of Roncaglia) อนุมัติกฎหมายสี่ฉบับที่ไม่ได้บันทึกเป็นตัวอักษรอย่างเป็นทางการ แต่มีผลในการเปลี่ยนแปลงอันสำคัญของราชธรรมนูญของจักรวรรดิ และเป็นจุดเริ่มของการลดอำนาจของศูนย์กลาง ไปเป็นอำนาจที่อยู่ในมือของดยุกท้องถิ่น ในปี ค.ศ. 1356 พระราชบัญญัติทองที่ออกโดยจักรพรรดิคาร์ลที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ก็เป็นการวางรากฐานอย่างเป็นทางการของปรัชญา “การปครองโดยท้องถิ่น” (เยอรมัน: Landesherrschaft) โดยดยุกในดินแดนในปกครอง และจำกัดจำนวนเจ้านครรัฐผู้คัดเลือกเป็นเจ็ดคนที่รวมทั้งดยุกแห่งแซ็กโซนี, มาร์เกรฟแห่งบรันเดนบูร์ก, พระมหากษัตริย์โบฮีเมีย, ผู้คัดเลือกแห่งพาลาทิเนต และอาร์ชบิชอปแห่งไมนซ์ อาร์ชบิชอปแห่งเทรียร์ และอาร์ชบิชอปแห่งโคโลญ จากนั้นเป็นต้นมาสมเด็จพระสันตะปาปาก็ไม่มีส่วนในกระบวนการการเลือกตั้งจักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

ราชสภามีได้ก่อตั้งขึ้นเป็นสถาบันอย่างเป็นทางการมาจนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก่อนหน้านั้นดยุกและเจ้าชายก็จะมาประชุมกันในราชสำนักของพระจักรพรรดิอย่างไม่เป็นทางการในบางโอกาสที่ไม่สม่ำเสมอ ที่มักจะเรียกว่า “Hoftage” (การประชุมในราชสำนัก) เมื่อมาถึงต้นปี ค.ศ. 1489 การประชุมเช่นที่ว่าจึงได้มาเรียกกันว่า “Reichstag” (การประชุมราชสภา) และแบ่งออกไปอย่างเป็นทางการออกเป็นสภา (collegia) ในระยะแรกราชสภาก็แบ่งเป็นสองสภา สภาแรกคือสภา “เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก” และอีกสภาหนึ่งประกอบด้วยดยุกและเจ้าชายอื่นๆ ต่อมาราชนครรัฐอิสระต่างๆที่ได้รับอิมพีเรียลอิมมีเดียซีก็สามารถรวมตัวกันเป็นสภาที่สาม

ในสมัยประวัติศาตร์ของราชสภาก็ได้มีการพยายามที่จะปฏิรูปหลายครั้งในการพยายามทำให้มีความแข็งแกร่งขึ้น เช่นในปี ค.ศ. 1495 แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าใดนัก และตามความเป็นจริงแล้วก็ยิ่งทำให้ราชสภาอ่อนแอลงเร็วขึ้น โดยเฉพาะเมื่อมาถึงปี ค.ศ. 1648 เมื่อสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลียบังคับให้พระมหาจักรพรรดิยอมรับการอนุมัติทุกอย่างจากราชสภา ซึ่งก็เท่ากับเป็นการลิดรอนอำนาจที่เหลือของจักรพรรดิ ตั้งแต่บัดนั้นจนถึงปี ค.ศ. 1806 จักรวรรดิก็เป็นเพียงกลุ่มรัฐที่ต่างก็มีอำนาจในการปกครองตนเอง

การประชุมราชสภาครั้งสำคัญที่สุดก็เห็นจะเป็นการประชุมราชสภาที่เวิร์มส์ในปี ค.ศ. 1495 การปฏิรูปจักรวรรดิ (Imperial Reform), การประชุมในปี ค.ศ. 1521 ที่มาร์ติน ลูเทอร์ถูกแบนตามพระราชกฤษฎีกาแห่งเวิร์มส์), การประชุมในปี ค.ศ. 1529 ที่ชไปเออร์ และอีกหลายครั้งที่เนิร์นแบร์ก

จนเมื่อมีการเสนอการประชุมถาวรของราชสภา (เยอรมัน: Immerw?hrender Reichstag) ในปี ค.ศ. 1663 เท่านั้นที่ราชสภาเริ่มมีการประชุมอย่างเป็นทางการในที่ประชุมถาวรที่เรเกนส์บูร์ก

หลังจากการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1806 คำว่า “Reichstag” ก็นำมาใช้สำหรับรัฐสภาของปี ค.ศ. 1849 ที่มีการร่างธรรมนูญฟรังเฟิร์ตที่มิได้นำมาบังคับใช้ และต่อมาสำหรับรัฐสภาของสมาพันธรัฐเยอรมันเหนือระหว่าง ค.ศ. 1867 ถึง ค.ศ. 1871 และ ในที่สุดก็รัฐสภาของจักรวรรดิเยอรมัน ในปี ค.ศ. 1871 ในสองกรณีหลังสมาชิกของราชสภาเป็นผู้ที่ได้รับการเลือกตั้งจากชายผู้ที่มีอายุเกิน 25 ปี ซึ่งทำให้เป็นราชสภาที่เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดในยุโรปขณะนั้น

ในปี ค.ศ. 1919 ราชสภาของสาธารณรัฐไวมาร์มีนายกรัฐมนตรีผู้ได้รับเลือกโดยตรงจากประชาชนเป็นประมุข แต่ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 รัฐสภาก็ใช้อำนาจทางอ้อมที่มอบให้แก่ประธานาธิบดีแห่งเยอรมนีภายใต้มาตรา 48 ของรัฐธรรมนูญว่าด้วยการมอบอำนาจฉุกเฉิน หลังจากอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้รับตำแหน่งเป็น “นายกรัฐมนตรี” (Reichskanzler) เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 หลังจากนั้นรัฐสภาก็สิ้นอำนาจ รัฐสภาของอาณาจักรที่สามประชุมกันเป็นครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 26 เมษายน ค.ศ. 1942


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

อาสวกิเลส อวิชชา เอ็มพีแอลเอส ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา แวน สมาร์ทโฟน ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์) แอลทีอี 4 จี 3 จี วีโอไอพี บริการข้อความสั้น ใยแก้วนำแสง ระบบโทรศัพท์ การกล้ำสัญญาณ เนตเวิร์กสวิตช์ เราต์เตอร์ สัญญาณดิจิทัล ซิมเพล็กซ์ สายอากาศ เสาอากาศ แลน Transmission Control Protocol อินเทอร์เน็ตโพรโทคอล แพ็กเกตสวิตชิง ดาวเทียมสื่อสาร การพูด การสื่อสารภายในบุคคล การประชาสัมพันธ์ การโฆษณาชวนเชื่อ การตลาด การสื่อสารระหว่างบุคคล ไอแซค อสิมอฟ เขามาจากดาวอังคาร อินุยาฉะ เทพอสูรจิ้งจอกเงิน สโลว์สเต็ป สัญกรณ์โอใหญ่ พรีไบโอติกส์ ป. อินทรปาลิต การเวก (พืช) การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สีเทา สีขาว สีน้ำตาล ม่วง เขียว น้ำเงิน สีกากี ชมพู ระบบสี RGB SVG เบราว์เซอร์ แม่สีแสง CSS RGB เวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม เว็บจีแอล จาวาสคริปต์ Font family (HTML) ซีเอสเอส สไตล์ชีต ด็อม ซี-เอชทีเอ็มแอล เอกซ์เอชทีเอ็มแอล เอชทีเอ็มแอล5 COLOR ISO 11940 ธอง แม่กุญแจสีม่วง ไวต่ออักษรใหญ่เล็ก แม่กุญแจสีทอง ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า ปากานี ซอนด้า เคนต์ โลตัส อีลิส โรวัน แอตคินสัน พยัคฆ์ร้าย ศูนย์ ศูนย์ ก๊าก พยัคฆ์ร้ายทวงแค้นระห่ำโลก จอมมฤตยู 007 เอียน เฟลมมิง พยัคฆ์ร้ายสะบัดลาย โคเวนทรี ระบบส่งกำลัง โปรตอน เอ็กซ์โซร่า โปรตอน วาจา โปรตอน เพอร์โซนา โปรตอน เพรเว่ นิตยสารฟอร์บส Thai language Japanese language Polish language Italian language Dutch language Hindi 2007 พระแม่กาลี มหาธิการิณี

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23944