ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ราชวงศ์โชซ็อน

ยุคก่อนประวัติศาสตร์  ยุคชึลมุน  ยุคมูมุนอาณาจักรโชซ็อนโบราณ 2333–108 BC  รัฐจิ้นก่อนสามก๊ก: 108–57 BC  พูยอ, อกจอ, ทงเย  สามฮั่น: มา, บย็อน, ชินสามก๊ก: 57 BC – 668 AD  อาณาจักรโคกูรยอ 37 BC – 668 AD  อาณาจักรแพ็กเจ 18 BC – 660 AD  อาณาจักรชิลลา 57 BC – 935 AD  คายา 42–562อาณาจักรเหนือใต้: 698–935  อาณาจักรรวมชิลลา 668–935  อาณาจักรพัลแฮ 698–926  สามอาณาจักรหลัง 892–935   อาณาจักรโคกูรยอใหม่, อาณาจักรแพ็กเจใหม่, อาณาจักรชิลลาราชวงศ์โครยอ 918–1392ราชวงศ์โชซ็อน 1392–1897จักรวรรดิเกาหลี 1897–1910ญี่ปุ่นปกครอง 1910–1945  รัฐบาลพลัดถิ่น 1919–1948การแบ่งเกาหลี 1945–1948เหนือ, ใต้ 1948–present  สงครามเกาหลี 1950–1953

ราชวงศ์โชซ็อน (อังกฤษ: Joseon Dynasty; เกาหลี: ??, ฮันจา: ??, MC: Joseon, MR: Chos?n) หรือ ราชวงศ์อี ที่สถาปนาขึ้นภายหลังการยกสถานะของอาณาจักรโชซ็อนเป็นจักรวรรดิโชซ็อนตามพระบรมราชโองการของสมเด็จพระจักรพรรดิควางมูแห่งจักรวรรดิโชซ็อน (พระเจ้าโกจง) เป็นราชวงศ์ที่ปกครองคาบสมุทรเกาหลีในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1392-1910 (อย่างเป็นทางการ) โดยรวมแล้วราชวงศ์โชซ็อนมีอายุกว่า 600 ปี

ช่วงเวลาที่ราชวงศ์โชซ็อนปกครองเกาหลีนั้น ได้สร้างการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่มั่นคง ส่งเสริมปรัชญาของลัทธิขงจื๊อให้ซึมซาบไปในสังคมโชซ็อน และรับวัฒนธรรมจีน เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมโชซ็อนรุ่งเรือง และมีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี แต่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราชวงศ์โชซ็อนอ่อนแอลงด้วยการรุกรานของญี่ปุ่นและแมนจูเรีย ทำให้โชซ็อนใช้นโยบายปิดประเทศอย่างแข็งกร้าว อาณาจักรโชซ็อนจึงเป็นรู้จักของชาวตะวันตกในนาม อาณาจักรฤๅษี (The Hermit Kingdom) เมื่อสิ้นคริสต์ศตวรรษที่ 18 อาณาจักรโชซ็อนก็เสื่อมลงด้วยการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายและการแย่งชิงอำนาจและการเผชิญทั้งศึกภายนอกและศึกภายใน จนกระทั่งปี ค.ศ. 1895 เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นชนะสงครามกับจักรวรรดิชิง (ประเทศจีน) ก็ได้ส่งทหารบุกเข้าพระราชวังเคียงบกเพื่อปลงพระชนม์ พระมเหสีมิน จายอง พระมเหสีในพระเจ้าโกจง (ภายหลังได้รับการสถาปนาพระอิสริยยศเป็น จักรพรรดินีเมียงซอง) และบังคับให้อาณาจักรโชซ็อนแยกตัวเป็นเอกราชจากจักรวรรดิชิงตามสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ใน ค.ศ. 1897 อย่างไรก็ตาม อาณาจักรโชซ็อนโดยพระเจ้าโกจง (พระอิสรยิยศขณะนั้น) โดยถวายคำแนะนำของรัสเซีย จึงเลื่อนสถานะของอาณาจักรโชซ็อนเป็นจักรวรรดิโชซ็อน และสถาปนาอิสริยยศพระองค์เองใหม่เป็นสมเด็จพระจักรพรรดิ แต่ในที่สุดก็จบลงด้วยการเข้ายึดครองของจักรวรรดิญี่ปุ่นใน พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) ตามสนธิสัญญาการเข้ายึดครองเกาหลีของญี่ปุ่น ในรัชสมัยของสมเด็จพระจักรพรรดิยุงฮีแห่งจักรวรรดิโชซ็อน (พระเจ้าซุนจง) ด้วยการลดพระอิสริยยศเหลือเพียง กษัตริย์ และบังคับเชื้อพระวงศ์ทุกพระองค์ไปประทับที่ญี่ปุ่นเพื่อเป็นองค์ประกัน

ราชวงศ์โชซ็อนก่อตั้งขึ้นโดย นายพลอี ซ็อง-กเย (??; Lee Seong-gye) ขุนพลคนสำคัญแห่งราชวงศ์โครยอ (Korea Dynasty) ได้ก่อการยึดอำนาจในปี พ.ศ. 1935 (ค.ศ. 1392) ขึ้นเป็นพระเจ้าแทโจ ทรงเปลี่ยนชื่อประเทศเสียใหม่เป็นโชซ็อนและย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ฮันยาง หรือ กรุงโซลในปัจจุบัน

ก่อนหน้านั้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 1931 แผ่นดินซึ่งปกครองโดยราชวงศ์โครยอที่ปกครองเกาหลีมาถูกล้มล้างราชบัลลังก์ และให้พระเจ้าคงยาง ครองราชย์เป็นกษัตริย์หุ่นเชิด

ใน พ.ศ. 1935 อี ซ็อง-กเย ก็ปลดพระเจ้าคงยางและตั้งตนเองเป็นกษัตริย์ราชวงศ์ใหม่ และย้ายเมืองหลวงมาที่ฮันยาง ทำการก่อสร้างและปรับปรุงเมือง จนสร้างพระราชวังเคียงบกเสร็จใน พ.ศ. 1938 พระเจ้าแทจงโอรสของพระเจ้าแทโจก็ได้ทรงวางรากฐานการปกครองของอาณาจักรโชซ็อน ทรงตั้งสภาอึยจอง ให้มีการสำรวจสำมะโนประชากร และสนับสนุนลัทธิขงจื๊อให้เป็นที่ยอมรับนับถือเหนือพระพุทธศาสนาซึ่งแต่เดิมมีชาวโชซ็อนนับถือกันมาช้านาน พ.ศ. 1944 ราชวงศ์หมิงก็ยอมรับให้ราชวงศ์โชซ็อนปกครองโชซ็อนอย่างเป็นทางการ และเป็นเมืองขึ้นของจีนต้องส่งบรรณาการ

การแบ่งชนชั้นในสมัยโชซ็อนมีรากฐานมาจากสังคมในปลายสมัยโครยอ มีกษัตริย์โชซ็อนอยู่ที่ยอดพีระมิด รองลงมาเป็นชนชั้นปกครอง คือ พวกขุนนาง ปราชญ์ขงจื๊อต่าง ๆ ชนชั้นของโชซ็อนเป็น 4 ชั้น

การแบ่งชนชั้นทางสังคมโชซ็อนนั้นเข้มงวดมากในต้นสมัยโชซ็อน แต่หลังจากสงครามกับญี่ปุ่นและการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตกแล้ว ชนชั้นล่างก็เริ่มที่จะลืมตาอ้าปากได้ขณะที่ชนชั้นบนก็ยากจนขัดสนลง สตรียังบันนั้นจะต้องเชื่อฟังสามี เก็บตัวอยู่แต่ในบ้านออกนอกบ้านได้นาน ๆ ครั้ง เมื่อออกนอกบ้านต้องปกปิดหน้าตา แต่สตรีในระดับชั้นล่างกลับมีอิสรภาพมากกว่า สามารถไปไหนมาไหนก็ได้

อาณาจักรโชซ็อนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในสมัยพระเจ้าเซจงมหาราช (พ.ศ. 1961 - พ.ศ. 1993) ทั้งในด้านการปกครองและวัฒนธรรม ทรงได้ชื่อว่าเป็นกษัตริย์ที่ตั้งอยู่ในคุณธรรมและเห็นแก่ประชาชน พระเจ้าเซจงทรงให้มีการก่อสร้างจิปฮย็อนจอน สำนักรวบรวมปราชญ์ขงจื๊อเพื่อคอยเป็นที่ปรึกษาให้กับพระองค์และสร้างนักปราชญ์ที่คงแก่เรียนต่อไป สมัยพระเจ้าเซจงมหาราชมีนักประดิษฐ์ชื่อจาง ยองชิล ประดิษฐ์มาตรวัดน้ำฝนอันแรกของโลก และสิ่งประดิษฐ์อื่น ๆ เช่น นาฬิกาแดด สมัยพระเจ้าเซจงมหาราชเป็นสมัยแห่งการแผยแพร่ความรู้ตามแบบเกาหลีโบราณในหลายสาขา เช่น การเกษตร การแพทย์ ดนตรี มีการพิมพ์หนังสือขึ้นหลายเล่ม เกี่ยวกับแขนงวิชาเหล่านี้ และใน พ.ศ. 1986 ทรงสั่งให้มีการประดิษฐ์อักษรฮันกึล เป็นอักษรของชาวเกาหลีชุดแรกแทนที่ฮันจา|อักษรจีนที่ใช้เขียนแทนเสียงภาษาเกาหลี

ในพ.ศ. 2130 โทโยโทมิ ฮิเดโยชิิ โชกุนซึ่งได้รวบรวมประเทศญี่ปุ่นในยุคเซงโงกุุได้จนสำเร็จ คิดวางแผนที่จะบุกยึดจีนราชวงศ์หมิง แต่ระหว่างทั้งสองประเทศนั้นมีโชซ็อนคั่นกลาง โทโยโทมิจึงได้สั่งให้โซ โยชิโทชิ เจ้าผู้ครองเกาะซึชิมา ไปยื่นคำขาดแก่โชซ็อนให้ช่วยเหลือญี่ปุ่นในการบุกยึดราชวงศ์หมิง แต่เกาะซิชิมาได้รับเอกสิทธิ์จากโชซ็อนให้เป็นทางผ่านการค้ากับโชซ็อนเพียงเกาะเดียว ทำให้โซเจ้าผู้ครองเกาะไม่อยากจะทำลายความสัมพันธ์อันดีกับโชซ็อนและทำลายการค้า จึงส่งบรรณาการให้กับโชซ็อนแทน พระเจ้าซอนโจจึงส่งทูตไปยังเกียวโตเพื่อขอบพระทัยโทโยโทมิ แต่โทโยโทมิเข้าใจว่าทูตโชซ็อนมาส่งบรรณาการจึงเขียนจดหมายตอบกลับไปให้โชซ็อนเข้าร่วมสงครามกับราชวงศ์หมิง

พระเจ้าซอนโจและบรรดาขุนนางพากันตะลึงว่าญี่ปุ่นจะบุกยึดจีน ด้วยเหตุที่โชซ็อนเป็นเมืองขึ้นจีน การจะทำสงครามกับจีนคงเป็นไปไม่ได้ จึงตัดสินใจรอรายละเอียดที่ชัดเจนจากญี่ปุ่น แต่โทโยโทมิเห็นว่าส่งคำขอไปสองครั้งแล้วไม่ตอบรับก็ส่งกองทัพบุกโชซ็อนในพ.ศ. 2135 บุกยึดปูซาน และรุกไปทางเหนือยึดฮันยางได้อย่างรวดเร็ว เพราะญี่ปุ่นมีกองทัพทหารที่พร้อมและปืนไฟ(เทปโปะ)ซึ่งมีอานุภาพสูงกว่าโชซ็อนซึ่งใช้เพียงคันธนูและปืนรุ่นเก่าแบบจีนรวมถึงระบบการทหารอันอ่อนแอ กองทัพญี่ปุ่นสามารถรุกเข้าไปเผาพระราชวังเคียงบกจนยับเยิน แต่พระเจ้าซองโจทรงหลบหนีไปเปียงยางก่อนหน้านี้แล้ว ทัพญี่ปุ่นจึงบุกไปทางเหนือยึดเปียงยาง แต่ทางทะเลนั้นมีขุนพลอี ซุนชิน สกัดกั้นการส่งเสบียงของญี่ปุ่นทางน้ำได้โดยใช้คอบุกซอน (เรือเต่า) เรือที่มีเกราะเหล็กลำแรกของโลก และทางบกมี ควาน ยูล โต้ทัพญี่ปุ่นกลับทางบก พระเจ้าซอนโจทรงหลบหนีไปปักกิ่งและร้องขอให้จักรพรรดิหว่านอี่ช่วยเหลือ ฮ่องเต้หว่านอี่ส่งทัพมาช่วยจนยึดเปียงยางคืนได้ในพ.ศ. 2131 และทำลายเสบียงญี่ปุ่นจนต้องทิ้งเมืองฮันยาง จนในที่สุดจีนและญี่ปุ่นก็สงบศึกกัน

สงครามทำให้โชซ็อนปรับปรุงการป้องกันประเทศของตนใหม่ โดยจัดการสร้างป้อมรอบฮันยาง มีการปรับปรุงอาวุธยุทโธปกรณ์เป็นปืนรุ่นใหม่ตามแบบกองทัพญี่ปุ่นซึ่งปรับจากอาวุธที่ยึดได้จากสงครามและตั้งเป็นประเภททหารอย่างเป็นทางการ เมื่อการเจรจาสงบศึกของจีนและญี่ปุ่นไม่เป็นผล โทโยโทมิก็ส่งทัพมาบุกอีกในพ.ศ. 2140 แต่ถูกทัพโชซ็อนและจีนต้านทานไว้ได้เป็นส่วนใหญ่ และทางน้ำอีซุนชิน ทำลายทัพเรือญี่ปุ่นยับเยิน โทโยโทมิเสียชีวิตในพ.ศ. 2141 ญี่ปุ่นจึงถอยทัพกลับ และถูกทัพเรือโชซ็อนโจมตีที่โนรยาง แต่แม่ทัพอีซุนชินถูกยิงเสียชีวิตในระหว่างสู้รบบนเรือ

เมื่อสิ้นสงครามแล้วประเทศโชซ็อนก็ตกอยู่ในสภาพที่เสื่อมโทรม ขาดแรงงานทาสเพราะเอกสารสัมมะโนถูกทำลาย บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะข้าวยากหมากแพง ทุกชนชั้นไม่ว่าจะเป็นยังบันหรือสามัญชนล้วนอดอยาก ทำให้ยังบันเริ่มที่จะขายตำแหน่งเอาเงิน ถอยร่นไปอยู่ไร่อยู่นาก็มี และสามัญชนก็กลับเริ่มที่จะมีโอกาสเป็นขุนนางและร่ำรวยมากขึ้น ระบอบสังคมที่เข้มงวดควบคุมโดยหลักขงจื๊อต้องสั่นสะเทือน ที่สำคัญงานศิลปะต่าง ๆ สมบัติล้ำค่าทั้งหลายล้วนถูกญี่ปุ่นยึดเอากลับไปหมด ศิลปินต่าง ๆ ช่างฝีมือก็สิ้นชีวิตในสงครามเสียหมด ยุคนี้จึงเป็นยุคเสื่อมของโชซ็อนทั้งการปกครอง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

ในพ.ศ. 2162 ราชวงศ์หมิงพ่ายแพ้เผ่าแมนจูภายใต้การนำของนูร์ฮาชีในการรบที่ซาร์ฮู โชซ็อนเองก็ได้ส่งกำลังเข้าร่วมรบกับฝ่ายราชวงศ์หมิง จึงเห็นว่าเผ่าแมนจูเริ่มจะมีกำลังขึ้นเรื่อย ๆ จึงควรจะดำเนินนโยบายเป็นกลาง แต่พ.ศ. 2166 ฝ่ายตะวันตกยึดบัลลังก์จากองค์ชายควางแฮและให้พระเจ้าอินโจครองราชย์ ฝ่ายตะวันตกมีนโยบายเข้าข้างราชวงศ์หมิง ในพ.ศ. 2167 อีควาล ได้ก่อกบฏแย่งบัลลังก์พระเจ้าอินโจแต่ไม่สำเร็จถูกประหารชีวิต แต่กบฏที่เหลือหนีไปแมนจูเรียพบหวงไท่จี๋ลูกของจักรพรรดินู่เอ๋อร์ฮาชื่อร้องขอให้บุกโชซ็อนเพื่อคืนอำนาจแก่ตน พ.ศ. 2170 หวงไท่จี๋นำทัพเข้าบุกโชซ็อนปล้มสะดมเมืองเปียงยาง พระเจ้าอินโจทรงหนีไปเกาะคังฮวา จนหวงไท่จี๋ยอมสงบศึก

พ.ศ. 2178 หวงไท่จี๋สถาปนาราชวงศ์ชิง ปีต่อมาพ.ศ. 2179 จึงส่งสารมาเรียกบรรณาการจากโชซ็อน บรรดาขุนนางฝ่ายตะวันตกซึ่งสนับสนุนราชวงศ์หมิงก็ปฏิเสธทันที หวงไท่จี๋จึงส่งทัพมาบุกถึงฮันซ็องอย่างรวดเร็วจนพระเจ้าอินโจทรงหลบหนีไม่ทัน และล้อมเมืองไว้ ทำให้ภายในเมืองผู้คนเริ่มอดอยากล้มตาย อีกทั้งพระโอรสและบรรดาสนมต่างถูกทัพแมนจูจับที่เกาะคังฮวา ทำให้พระเจ้าอินโจทรงยอมแพ้ หวงไท่จี๋นัดพระเจ้าอินโจมาที่ซัมจอนโด สั่งให้สร้างอนุสรณ์ยกย่องแมนจู และบังคับให้พระเจ้าอินโจคำนับตนเองถึงเก้าครั้ง รวมทั้งยังตั้งเงื่อนไขให้โชซ็อนพ้นจากราชวงศ์หมิงมาเป็นเมืองขึ้นของราชวงศ์ชิง และส่งองค์ชายโซฮย็อนและองค์ชายพงนิมรวมทั้งลูกชายของขุนนางชั้นสูงไปเป็นตัวประกันที่เสิ่นหยาง

ความพ่ายแพ้คราวนี้สร้างความคับแค้นแก่โชซ็อนอย่างมาก เพราะชาวโชซ็อนดูถูกพวกแมนจูมาช้านาน ว่าเป็นอนารยชนจากทางเหนือ ขุนนางโชซ็อนยังคงจงรักภักดีต่อราชวงศ์หมิงอยู่ จนราชวงศ์หมิงถูกทำลายลงในพ.ศ. 2187 ราชวงศ์ชิงของพวกแมนจูก็เข้าปกครองแทน โชซ็อนก็ยังต้องส่งบรรณาการให้กับจีนต่อไปอีกราชวงศ์หนึ่ง

ความแตกแยกของขุนนางออกเป็นหลายฝ่ายเริ่มขึ้นในสมัยพระเจ้าซอนโจ โดยแตกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายขุนนางที่อาศัยอยู่ทางซีกตะวันตกของเมืองฮันซ็อง เรียกว่า ฝ่ายตะวันตก (ซออิน) มีความคิดอนุรักษนิยมยึดมั่นในหลักขงจื๊อ และฝ่ายตะวันออก (ทงอิน) มีความคิดแนวปฏิรูปจากหลักการดั้งเดิม หลังสิ้นสุดสงครามอิมิจิน ฝ่ายตะวันออกก็มีอำนาจขึ้นมาเพราะกระแสปฏิรูปที่เกิดขึ้น แต่ฝ่ายตะวันออกก็แตกอีกเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายใต้ (นัมอิน) คือพวกหัวกลาง ๆ และฝ่ายเหนือ (พุกอิน) ที่หัวปฏิรูปแรงกล้า ครั้นพ.ศ. 2151 พระเจ้าซอนโจสิ้นพระชนม์ ฝ่ายตะวันออกก็พลักดันให้องค์ชายควางแฮขึ้นครองราชย์ แต่ก็ถูกฝ่ายตะวันตกยึดบัลลังก์ไปในพ.ศ. 2166 ให้พระเจ้าอินโจขึ้นครองราชย์แทน แต่ฝ่ายเหนือก็ก่อกบฏ จนนำไปสู่การรุกรานของแมนจูในที่สุด

การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของขุนนางได้สร้างความขัดแย้งและความวุ่นวายให้แก่อาณาจักรโชซ็อนไปอีก 100 กว่าปี ในพ.ศ. 2202 พระเจ้าฮโยจงสิ้นพระชนม์ ก็เกิดปัญหาว่าควรจะให้พระพันปีแจอึยซึ่งเป็นพระมารดาเลี้ยงของพระเจ้าฮโยจงสวมชุดไว้ทุกข์เป็นเวลานานเท่าไร เพราะตามหลักของจื้อไม่ได้บอกไว้ว่าเมื่อลูกเลี้ยงที่สืบทอดตระกูลเสียชีวิตจะให้แม่เลี้ยงทำอย่างไร ฝ่ายตะวันตกบอกว่าให้ใส่หนึ่งปี แต่ฝ่ายใต้บอกให้ใส่สามปี พระเจ้าฮย็อนจงทรงเลือกที่จะให้ใส่หนึ่งปี เท่ากับดันให้ฝ่ายตะวันตกมีอำนาจ แต่พระองค์ก็ทรงสนับสนุนฝ่ายใต้เพื่อคานอำนาจ พอพ.ศ. 2217 มเหสีอินซอนพระมารดาของพระเจ้าฮย็อนจงสิ้นพระชนม์ ก็เกิดปัญหาขัดแย้งระหว่างฝ่ายตะวันตกกับฝ่ายใต้อีกว่าจะให้พระพันปีแจอึยไว้ทุกข์นานเท่าไร แม้พระเจ้าฮย็อนจงจะสิ้นพระชนม์ในปีเดียวกัน ความขัดแย้งก็ไม่สิ้นสุด จนพระเจ้าซุกจงต้องทรงห้ามมิให้ทะเลาะกันอีก

ในพ.ศ. 2223 ฝ่ายใต้ล่มสลาย เหลือแต่ฝ่ายตะวันตกจึงแบ่งเป็นสองฝ่าย คือ ฝ่ายโนนน (พวกหัวเก่า) ประกอบด้วยขุนนางอาวุโส และฝ่ายโซนน (พวกหัวใหม่) มีขุนนางรุ่นใหม่ ในสมัยพระเจ้าซุกจง ฝ่ายโนนนและฝ่ายโซนนขัดแย้งกันเรื่องการแต่งตั้งรัชทายาท ฝ่ายโนนนสนับสนุนพระเจ้ายองโจ แต่ฝ่ายโซนนสนับสนุนพระเจ้าเคียงจง ในพ.ศ. 2233 พระเจ้าเคียงจงทรงได้เป็นรัชทายาท ทำให้ฝ่ายโนนนเสื่อมอำนาจลงไป

เมื่อพระเจ้ายองโจครองราชย์ใน พ.ศ. 2267 ทรงเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายของขุนนาง บ้านเมืองที่ทรุดโทรมและประชาชนกำลังลำบากแต่ราชสำนักกลับมัวแต่ทะเลาะกัน จึงทรงห้ามมิให้มีการแบ่งฝ่ายอีก การแบ่งฝักแบ่งฝ่ายจึงเสื่อมลงตั้งแต่สมัยพระเจ้ายองโจ และสิ้นสุดในสมัยแทวอนกุน

ใน พ.ศ. 2278 แฮ็นดริก ฮาเมิล พนักงานบัญชีของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอร์แลนด์ แล่นเรือมุ่งหน้าสู่ญี่ปุ่นแต่ถูกพายุซัดมาเรือล่มที่เกาะเชจูมีลูกเรือรอดอยู่ 30 กว่าคน แต่ทั้งหมดก็ถูกพระเจ้าฮโยจงจับขังไว้ที่ฮันยางนานถึง 13 ปี แล้วฮาเมิลจึงสามารถหลบหนีออกมาจากอาณาจักรฤๅษี (The Hermit Kingdom) นี้ได้ ฮาเมิลและพรรคพวกเป็นชาวตะวันตกกลุ่มแรกที่ได้เห็นผืนแผ่นดินโชซ็อน แม้โชซ็อนจะต้อนรับไม่ค่อยจะดีนักก็ตาม

แต่สำหรับชาวโชซ็อนแล้ว หลังจากผ่านสงครามกับต่างชาติที่หนักหน่วงมาสองครั้ง ได้เรียนรู้ว่าทุกสิ่งที่มาจากภายนอกเป็นภัยไปเสียหมด ทำให้โชซ็อนมีนโยบายปิดประเทศที่แข็งกร้าว มีเพียงสองทางแคบ ๆ ที่โชซ็อนติดต่อกับโลกภายนอกคือการค้ากับจีนและกับญี่ปุ่นผ่านเกาะซิชิมา เมื่อมีชาวยุโรปมาหาโดยไม่ตั้งตัวจึงเหมือนกับมีมนุษย์ต่างดาวบุกก็ไม่ปาน แต่วิทยาการตะวันตกก็แทรกซึมมาสู่อาณาจักรล้อมรั้วเหล็กนี้ได้ในที่สุด ผ่านทางการค้ากับจีน เมื่อพระเจ้าอินโจส่งพระโอรสสองพระองค์ไปเป็นตัวประกันที่จีน พระโอรสทั้งสองก็ได้สัมผัสกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของชาวตะวันตกในจีน รวมทั้งคณะมิชชันนารีที่กำลังแผยแผ่ศาสนาคริสต์ ในพ.ศ. 2288 องค์ชายโซฮย็อนเสด็จกลับโชซ็อน ได้นำสินค้าจีนและแนวความคิดแบบชาวตะวันตกเข้ามา ทำให้พระองค์ทรงขัดแย้งกับพระเจ้าอินโจ และทรงถูกปลงพระชนม์ในที่สุด

ในศตวรรษที่ 18 คณะมิชชันนารีก็ได้ย่างเท้าเข้ามาสู่อาณาจักรโชซ็อนในที่สุด และเริ่มได้รับผู้นับถือมากขึ้นเรื่อย ๆ บรรดาขุนนางและปราชญ์ขงจื๊อต่างเห็นพ้องต้องกันว่าศาสนาคริสต์เป็นความเชื่อที่คุกคามโครงสร้างทางสังคมของโชซ็อน แต่สำหรับสามัญชนแล้วศาสนาคริสต์คือผู้ปลดปล่อยพวกเขาจากสังคมที่เข้มงวดของโชซ็อนนั่นเอง จนในพ.ศ. 2301 พระเจ้ายองโจก็ทรงประกาศห้ามการเผยแผ่ศาสนาคริสต์ แต่พระเจ้ายองโจก็ทรงมีนโยบายที่ผ่อนปรน แต่หลังจากสมัยของพระองค์แล้วก็มีการสังหารหมู่ชาวคริสต์อยู่หลายครั้ง ชาวคริสต์จึงต้องหลบซ่อนอยู่ตามที่ต่าง ๆ และบ่อยครั้งที่ถูกตามจนพบและกวาดล้าง

พ.ศ. 2406 พระเจ้าโคจงขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุได้ 11 ชันษา องค์ชายแทวอนกุนพระบิดาสำเร็จราชการแทน ในพ.ศ. 2408 รัสเซียนำทัพเรือมาบุกเกาหลีทางตะวันออกเพื่อเรียกร้องสิทธิพิเศษทางการค้าเหมือนกับที่ชาติตะวันตกอื่น ๆ ได้ทำกับจีน บรรดามิชชันนารีชาวฝรั่งเศสในโชซ็อนจึงเห็นเป็นโอกาสที่จะนำศาสนาคริสต์ได้รับการยอบรับจากทางราชการ จึงเสนอให้บิชอป แบร์โนซ์ เป็นตัวแทนเจรจากับฝรั่งเศสเพื่อขอความช่วยเหลือจากการรุกรานของรัสเซีย แทวอนกุนทรงยอมรับข้อเสนอ แต่เมื่อบิชอปแบร์โนซ์เดินทางถึงฮันยางกลับถูกจับและประหารชีวิต ตามมาด้วยการสังหารมิชชันนารีอีกหลายท่านและชาวคริสต์เกาหลีจำนวนมาก

มิชชันนารีที่รอดชีวิตก็ได้หลบหนีไปปักกิ่ง และเข้าพบปิแอร์-กุสตาฟ โรเซอ นายพลเรือฝรั่งเศส โรเชอจึงตัดสินใจบุกยึดโชซ็อนในทันที เพื่อกู้ศักดิ์ศรีของฝรั่งเศสและคริสต์ศาสนา ซึ่งโรเชอได้รับการสนับสนุนจากอองรี เดอ บัลโลเนต์ กงสุลฝรั่งเศสในปักกิ่ง โรเซอบุกยึดได้เกาะคังฮวา แต่กระแสน้ำแปรปรวนและแม่น้ำฮันตื้นเขินเกินกว่าจะล่องเรือไปได้ทำให้โรเซอไปไม่ถึงฮันยาง โรเซอพยายามจะขึ้นฝั่งอยู่หลายครั้งแต่ถูกชาวโชซ็อนต่อต้านอย่างรุนแรงจึงถอยกลับไปในที่สุด การบุกเกาหลีของฝรั่งเศสครั้งนี้เรียกว่า พยองอินยังโย (การรุกรานของชาวตะวันตกในปีพยองอิน)

ในปีพ.ศ. 2408 เช่นกัน บริษัทอังกฤษแห่งหนึ่งในจีน ต้องการที่จะทำสัญญาการค้ากับโชซ็อน จึงส่งเรือรบเจเนอรัล เชอร์แมน ของสหรัฐอเมริกาไปยังโชซ็อน แต่กลับถูกต่อต้านอย่างรุนแรงจากแทวอนกุนซึ่งส่งทัพมาโจมตีและเผาเรือเจเนอรัล เชอร์แมน ในพ.ศ. 2414 สหรัฐอเมริกาจึงส่งทัพมาโชซ็อน เพื่อเจรจาสันติภาพว่าสหรัฐอเมริกาจะขอสำรวจน่านน้ำของโชซ็อนและจะไม่ทำอันตราย แต่ด้วยการสื่อสารที่ไม่ได้ผลทำให้เมื่อทัพเรือสหรัฐอเมริกาเข้าสู่แม่น้ำฮัน ชาวโชซ็อนตกใจคิดว่าจะมาบุกยึดฮันยางจึงยิงปืนใส่ ทัพสหรัฐอเมริกาจึงบุกยึดเกาะคังฮวา และโจมตีเมืองต่าง ๆ ของโชซ็อน และได้จับชาวโชซ็อนเป็นเชลยไว้จำนวนมาก จึงคิดจะให้เป็นข้อแลกเปอี่ยนทำสัญญาทางการค้า แต่ทางราชการไม่สนใจชีวิตของตัวประกันและยังคงยืนยันจะปิดประเทศต่อไป เมื่อการเจรจาไม่ได้ผลทัพเรืออเมริกาจึงถอยทัพกลับ การบุกเกาหลีของสหรัฐอเมริกาครั้งนี้เรียกว่า ชินมียังโย (การรุกรานของชาวตะวันตกในปีชินมี)

มเหสีของพระเจ้าโกจงคือมเหสีมิน ทรงเป็นสตรีที่เชี่ยวชาญด้านการเมือง พระนางมีความสนใจใฝ่รู้ในหลายด้าน และสนพระทัยในการต่างประเทศ บ่อยครั้งที่พระองค์จะออกมาจากที่กักกันของนางในในวังมาว่าราชการกับบรรดาขุนนางและนักปราชญ์ ซึ่งผิดหลักขงจื๊ออย่างร้ายแรง ซึ่งห้ามมิให้สตรียุ่งเกี่ยวกิจการบ้านเมือง และยังสร้างความไม่พอใจให้แก่แทวอนกุน ซึ่งต้องการจะรักษาอำนาจของตนไว้ จนในปี พ.ศ. 2425 พระเจ้าโกจงมีพระโอรสประสูติกับพระสนมองค์หนึ่ง ทำให้แทวอนกุนกล่าวโทษมเหสีมินว่าไม่ทรงทำหน้าที่ของภรรยาที่ดีแต่กลับว่าราชการ มเหสีมินจึงทรงตอบโต้ด้วยการให้ขุนนางฝ่ายพระองค์ลงความเห็นให้พระเจ้าโกจงทรงว่าราชการด้วยพระองค์เอง สิ้นสุดการว่าราชการแทนของแทวอนกุน และส่งแทวอนกุนไปประทับที่พระราชวังอึนฮย็อนเล็ก ๆ นอกเมืองฮันยาง

ญี่ปุ่นหลังจากที่มีการฟื้นฟูเมจินั้น ได้รับเอาวิทยาการตะวันตกเข้ามาอย่างมากและปรับปรุงประเทศจนทันสมัยมีพลังอำนาจแสนยานุภาพทัดเทียมชาติตะวันตก ในปี พ.ศ. 2418 เรือรบญี่ปุ่นชื่อ อุโย บุกเข้ามาโจมตีเมืองท่าต่าง ๆ ของโชซ็อนและหนีกลับ และญี่ปุ่นก็ส่งข้อเรียกร้องจนญี่ปุ่นและโชซ็อนได้ทำสนธิสัญญาคังฮวา ซึ่งเป็นสนธิสัญญาที่ไม่เท่าเทียม ทำให้โชซ็อนเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตให้แก่ญี่ปุ่น และต้องเปิดเมืองท่าให้กับญี่ปุ่นและชาวตะวันตก ได้แก่ ปูซาน อินชอน วอนซัน รวมถึงยินยอมให้คนญี่ปุน่สามารถเข้าไปจับจองที่ดินในโชซ็อนได้โดยไม่มีข้อกังขาใด ๆ

ในพ.ศ. 2420 โชซ็อนส่งทูตไปเยี่ยมชมการปรับปรุงประเทศตามแบบตะวันตกของญี่ปุ่น และทูตก็ได้พบว่าญี่ปุ่นนั้นเจริญก้าวหน้าเมืองต่าง ๆ กลายเป็นเมืองใหญ่ มเหสีมินจึงทรงตระหนักว่าประเทศของพระองค์นั้นล้าสมัยเพียงใดและต้องการการพัฒนาประเทศ แต่บรรดาขุนนางขงจื๊อของพระองค์ก็แตกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายหัวก้าวหน้า ที่เห็นชอบกับการรับวิทยาการตะวันตกเข้ามาอย่างเต็มที่ และตัดความสัมพันธ์กับจีน และฝ่ายซาแด คือ ฝ่ายที่เห็นตัวอย่างจากราชวงศ์ชิงแล้วว่า ชาวตะวันตกคือภัยคุกคาม ไม่ควรข้องแวะ แต่ภายใต้อำนาจของมเหสีมิน วิทยาการตะวันตกก็เข้าสู่โชซ็อนอย่างเต็มตัว

ผลก็คือกบฏทหารเก่า ที่ถูกแทนที่ด้วยทหารที่มีเทคโนโลยีมากกว่า จึงถูกละเลยและไม่ได้รับค่าจ้าง และหันไปหาแทวอนกุน แทวอนกุนเห็นโอกาสจึงส่งทหารพวกนี้มาบุกพระราชวังเคียงบกสังหารผู้สนับสนุนมเหสีมินในพ.ศ. 2425 พระเจ้าโกจงและมเหสีมินทรงหลบหนีได้ทัน ฝ่ายจีนเกรงว่าตนจะเสียการควบคุมประเทศราช จึงส่งทัพมายึดอำนาจคืนให้มเหสีมินและจับตัวแทวอนกุนกลับไปจีน ฝ่ายญี่ปุ่นได้โอกาสจึงหาข้ออ้างให้โชซ็อนขดเชยค่าเสียหายจากกบฏและส่งทัพมาคุ้มครองสถานกงสุล มเหสีมินจึงทรงอนุญาตให้จีนส่งทัพมาประจำที่โชซ็อน เพื่อคานอำนาจกับญี่ปุ่น และทรงเชื่อคำแนะนำของจีน ที่ให้โชซ็อนทำสัญญาการค้ากับชาติตะวันตก เช่น อังกฤษ เยอรมนี รัสเซีย ซึ่งสัญญาเหล่านี้โชซ็อนเสียเปรียบทั้งสิ้น

แต่ฝ่ายหัวก้าวหน้าที่ต่อต้านจีนไม่พอใจ จึงยกกำลังบุกพระราชวังยึดอำนาจในพ.ศ. 2427 สังหารฝ่ายซาแดไปมาก เรียกว่า การยึดอำนาจปีคัปชิน แต่สองวันถัดมาก็ถูกกองทัพจีนของหยวนซื่อไข่ปราบปรามจนราบคาบ ในพ.ศ. 2428 จีนและญี่ปุ่นทำสนธิสัญญาเทียนจิน ตกลงจะถอนทัพออกจากโชซ็อน

ความวุ่นวายทางการเมืองทั้งหลายก็เป็นโอกาสให้ลัทธิทงฮัก (การเรียนรู้ตะวันออก) ถือกำเนิด ที่ชี้ให้เห็นความสำคัญในการพิ่งพาตนเองไม่ยุ่งเกี่ยวกับชาวตะวันตก แต่การกระทำของทางราชการที่ไปทำสัญญญากับชาวตะวันตกทำให้พวกทงฮักไม่พอใจ แม้ว่าผู้คิดค้นลัทธิ คือ แชร์เจอู จะถูกประหารชีวิตไปแล้วก็ตามในพ.ศ. 2407 แต่ลัทธิของเขาก็ยังอยู่ ปลุกระดมบรรดาชาวไร่ชาวนาชาวบ้านที่ยากจนให้เดินขบวนประท้วงที่เมืองฮันยางในพ.ศ. 2437 เมื่อทางราชการไม่ฟังจึงก่อจลาจล มเหสีมินทรงเรียนกองทัพจากจีนมากช่วยปราบกบฏ จีนจึงให้หยวนซื่อไข่ไปปราบกบฏทงฮัก ฝ่ายญี่ปุ่นเห็นดังนั้นจึงยกทัพเข้ามาบ้าง อ้างว่าจีนละเมิดสนธิสัญญาเทียนจิน ทำให้ชาวบ้านทงฮักผู้น่าสงสารถูกทั้งจีนและญี่ปุ่นสังหารเสียชีวิตไปมากมาย

แม้กบฏทงฮักจะถูกทำลายไปแล้ว แต่ทั้งจีนและญี่ปุ่นไม่ยอมถอนทัพกลับคืน และทำสงครามกันในโชซ็อน เรียกว่า สงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 จนกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดพระราชวังเคียงบก คุมตัวพระเจ้าโกจงและมเหสีมิน ทางโชซ็อนจึงต้องจำนนทำตามข้อเรียกร้องของญี่ปุ่น ให้ขับกองทัพจีนกลับไปให้หมด และตามสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ โชซ็อนหยุดส่งบรรณาการให้จีน เป็นประเทศเอกราช ทำลายยอนกึมมุน (ประตูใช้รับทูตราชวงศ์ชิง) และสร้างทงนิมมุน (ประตูเอกราช) ขึ้นแทน

เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นเห็นว่าพระมเหสีมิน จายองทรงเป็นอุปสรรคสำคัญในการครอบครองคาบสมุทรเกาหลี (มีผู้กล่าวว่า พระมเหสีมินจายองเปรียบเสมือนความเป็นชาติของโชซ็อน) มิอุระ โกโร่ ผู้นำกองทัพของจักรวรรดิญี่ปุ่นในโชซ็อนขณะนั้นจึงมีคำสั่งให้ ลอบสังหารพระมเหสีมินในพ.ศ. 2438 ซึ่งก็ไม่ทราบแน่ชัดว่ารัฐบาลกลางของจักรวรรดิญี่ปุ่นมีส่วนรู้เห็นหรือไม่ โดยกองทัพของจักรวรรดิญี่ปุ่นบุกเข้าไปใน พระราชวังเคียงบก และสังหารพระนางอย่างโหดเหี้ยมภายในพระตำหนัก จากนั้นจึงเผาพระศพของพระนางภายหลังจากที่แน่ใจแล้วว่าสิ้นพระชนม์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากไม่มีผู้เห็นเหตุการณ์ มีแต่ชาวรัสเซียชื่อ เซอเรอดิน-ซาบาติน ที่เห็นทหารของจักรวรรดิญี่ปุ่นบุกเข้าไปในฝ่ายในของวัง เรียกว่า เหตุการณ์ปีอึลมี

ขณะเดียวกัน พระเจ้าโกจง ก็ทรงลี้ภัยไปประทับที่สถานกงสุลรัสเซีย ฝ่ายจักรวรรดิญี่ปุ่นได้อำนาจก็ทำการปรับปรุงจักรวรรดิโชซ็อนให้ทันสมัย โดยยกเลิกประเพณีเก่า ๆ โดยเฉพาะสั่งให้ผู้ชายทุกคนตัดจุก (ลัทธิขงจื๊อห้ามตัดผม) สร้างความไม่พอใจแก่ชาวเกาหลีอย่างมาก ชาวโชซ็อนทุกชนชั้นจึงรวมตัวกันเป็น สมาคมเอกราช (ทงนิบ-ฮย็อบพี) ต่อมาในปี พ.ศ. 2440 พระเจ้าโกจงทรงทนการรบเร้าจากสมาคมเอกราชมิได้ จึงทรงกลับมาประทับที่พระราชวังทอกซู และมีพระบรมราชโองการเลื่อนฐานะของอาณาจักรโชซ็อน เป็นจักรวรรดิโชซ็อนพร้อมเปอี่ยนสถานะของพระองค์จากพระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรโชซ็อนเป็น สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโชซ็อน ภายหลังญี่ปุ่นได้สยบพระราชอำนาจของพระองค์ลงได้และสั่งให้นำตัวพระราชวงศ์ทั้งหมดไปอยู่ที่เกาะญี่ปุ่น ประวัติศาสตร์สมัยราชวงศ์โชซ็อนที่ยาวนานถึง 600 ปีจึงสิ้นสุดเพียงเท่านี้

หลังจากการสถาปนาเป็นจักรวรรดิโชซ็อนของสมเด็จพระจักรพรรดิควางมู (พระเจ้าโกจง) ราชวงศ์โชซ็อนเดิมได้ถูกเปอี่ยนเป็นราชวงศ์อี[ต้องการอ้างอิง] จนกระทั่งถูกญี่ปุ่นยึดครองเมื่อปี ค.ศ.1910 และพ้นจากการปกครองของญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1945 นำไปสู่การปกครองเกาหลีที่แยกออกเป็น 2 รัฐเนื่องจากสงครามโชซ็อน แต่ก็ยังคงมีการสืบราชบัลลังก์อยู่จนถึงปัจจุบันในประเทศเกาหลีใต้ซึ่งปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ

การกล่าวถึงพระเจ้าแผ่นดินในฐานะบุคคลที่สามสำหรับฝ่ายใน มักขานแทนพระนามว่า "กึมซาง" (?? ??) - ฝ่าบาท, ขานแทนด้วยรัชสมัยของพระเจ้าแผ่นดินว่า (?? ?? "จูซาง" หรือ ?? ?? "ซางกัม"), หรืออาจขานแทนด้วยพระตำหนักที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเป็นตำหนักใหญ่ของพระราชวังว่า "แดจอน" (?? ??-ตำหนักใหญ่)


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406