ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา (เยอรมัน: Sachsen-Coburg und Gotha; อังกฤษ: Saxe-Coburg and Gotha) เป็นชื่อของดัชชีเยอรมันสองรัฐคือ ซัคเซิน-โคบูร์ก และ ซัคเซิน-โกทา ที่ตั้งอยู่ในประเทศเยอรมนี บริเวณรัฐบาวาเรียและรัฐเทือริงเงินปัจจุบัน ซึ่งเข้ามารวมเป็นรัฐเดียวกันในระหว่างปี พ.ศ. 2369 ถึงปี พ.ศ. 2461
ชื่อ ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา อาจหมายถึงตระกูลหรือราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา ซึ่งมีบทบาทสำคัญมากมายและหลากหลายทางด้านประวัติศาสตร์การเมืองและราชสำนักยุโรปสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19
ดัชชีซัคเซิน-โคบูร์ก และ ซัคเซิน-โกทา เป็นส่วนหนึ่งในดัชชีแซ็กซอนที่ปกครองโดยราชวงศ์เวตตินเชื้อสายของเจ้าชายเออร์เนส ดัชชีซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาเกิดจากการรวมตัวของทั้งสองรัฐนี้ภายใต้ผู้ปกครองคนเดียวกันเป็นรัฐร่วมประมุขในปี พ.ศ. 2369 หลังจากการสิ้นพระชนม์ของดยุกพระองค์สุดท้ายแห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทนบูร์ก (Duke of Saxe-Gotha-Altenburg) โดยปราศจากรัชทายาทชาย ญาติในราชวงศ์เวตตินจึงได้แบ่งแยกดินแดนกันอีกครั้ง และดยุกแอร์นส์ที่ 1 แห่งซัคเซิน-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ (Duke Ernst I of Saxe-Coburg-Saalfeld) (อดีตพระสวามีในเจ้าหญิงหลุยส์แห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทนบูร์ก พระนัดดาหญิงองค์เดียวของดยุกพระองค์สุดท้าย) ได้ปกครองเมืองโกทา จึงเปลี่ยนพระยศเป็น ดยุกแห่งซัคเซิน-โกทา-อัลเทนบูร์ก แม้ว่าในทางหลักการทั้งสองรัฐยังคงแยกกันอยู่
ดยุกแอร์นส์ที่ 1 สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2387 และแอร์นส์ที่ 2 (Ernst II) ซึ่งเป็นพระโอรสและผู้สืบทอดทรงปกครองดินแดนต่อมาจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2436 โดยไร้รัชทายาท ราชบัลลังก์ดัชชีจึงตกทอดไปสู่พระโอรสในพระอนุชาคือเจ้าชายอัลเบิร์ต พระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญของดัชชีทั้งสองไม่อนุญาตให้พระมหากษัตริย์และรัชทายาทแห่งสหราชอาณาจักรสืบทอดราชบัลลังก์ดัชชีได้ ถ้ายังมีรัชทายาทผู้ชายที่เหมาะสมองค์อื่นอยู่ ดังนั้น เจ้าชายอัลเบิร์ต เอ็ดเวิร์ด เจ้าชายแห่งเวลส์ จึงทรงสละสิทธิ์การสืบทอดให้แก่พระอนุชาองค์ต่อไปคือ เจ้าชายอัลเฟรด ดยุกแห่งเอดินเบอระ พระโอรสองค์เดียวในเจ้าชายอัลเฟรด ซึ่งมีพระนามเดียวกันคือ เจ้าชายอัลเฟรดแห่งเอดินบะระ ได้ทรงกระทำอัตตวินิบาตกรรมในปี พ.ศ. 2442 เมื่อดยุกอัลเฟรดสิ้นพระชนม์ลงในปี พ.ศ. 2443 ราชบัลลังก์จึงสืบทอดต่อมาโดยเจ้าชายชาลส์ เอ็ดเวิร์ด ดยุกแห่งออลบานี พระโอรสพระชนมายุสิบเจ็ดชันษาในเจ้าชายลีโอโพลด์ พระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (เจ้าชายอาร์เธอร์ ดยุกแห่งคอนน็อตและสตราเธิร์น และ[เจ้าชายอาร์เธอร์พระโอรสมิทรงต้องการปกครองดัชชีซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา จึงได้ทรงประกาศการสละสิทธิ์การสืบราชสมบัติ) หลังจากการสืบทอดราชบัลลังก์โดยมีพระนามว่า คาร์ล เอดูอาร์ด และอยู่ภายใต้ระบอบผู้สำเร็จราชการอันนำโดยเจ้าชายรัชทายาทแห่งโฮเอ็นโลเฮ-แล็งเก็นบูร์กจนกระทั่งทรงบรรลุนิติภาวะในปี พ.ศ. 2448 พระองค์ยังคงดำรงพระอิสริยยศเป็นดยุกแห่งออลบานี เมื่อพระองค์ทรงต่อสู้ร่วมกับฝ่ายเยอรมนีในสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงทรงถูกถอดถอนพระอิสริยยศของอังกฤษออกทั้งหมดในปี พ.ศ. 2462
ดยุกคาร์ล เอดูอาร์ดทรงปกครองอยู่จนกระทั่งถึงวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2461 เมื่อเหล่าสมัชชาแรงงานและทหารแห่งโกธาถอดถอนพระองค์ออกจากราชบัลลังก์ในช่วงการปฏิวัติเยอรมัน รัฐดยุกทั้งสองซึ่งสูญสลายโดยผู้ครองรัฐที่กลายเป็นสามัญชน ได้แยกออกจากกัน แต่หลังจากนั้นไม่นาน รัฐซัคเซิน-โคบูร์กก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาวาเรีย ส่วนรัฐซัคเซิน-โกทาก็ได้รวมเข้ากับรัฐเล็กอื่น ๆ เพื่อก่อตั้งเป็นรัฐใหม่คือรัฐเทือริงเงินในสาธารณรัฐไวมาร์ (Weimar Republic) เมื่อปี พ.ศ. 2463
เมืองหลวงของซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา คือ เมืองโคบูร์ก และ เมืองโกทา ในปี พ.ศ. 2457 พื้นที่และประชากรของรัฐดยุกทั้งสองมีรายละเอียดดังนี้
รัฐซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาเป็นประเทศเดียวในทวีปยุโรปที่ได้แต่งตั้งกงสุลประจำสมาพันธรัฐอเมริกา (Confederate States of America) ในช่วงระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกา กงสุลท่านนี้มีชื่อว่า แอร์นส์ ราเวน ซึ่งได้รับมอบหมายให้ประจำอยู่ที่มลรัฐเท็กซัส ราเวนขออนุมัติหนังสือรับรองกงสุลจากรัฐบาลของสมาพันธรัฐอเมริกาในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2404 และได้รับการตอบรับ
ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาเคยเป็นราชวงศ์ที่ครองราชบัลลังก์ในหลายประเทศของยุโรป และปัจจุบันมีสาขาสืบทอดที่ยังครองราชบัลลังก์เบลเยียม โดยผ่านทางเชื้อสายในสมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งเบลเยียม และสหราชอาณาจักร รวมถึงเครือจักรภพโดยผ่านทางเชื้อสายในเจ้าชายอัลเบิร์ต ในสหราชอาณาจักร สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ได้เปลี่ยนชื่อราชวงศ์จากเดิมเป็นราชวงศ์วินด์เซอร์ ในปี พ.ศ. 2460 ราชวงศ์ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทาเป็นสาขาหนึ่งของราชวงศ์แซ็กซอน เชื้อสายเวตติน
สมาชิกราชวงศ์พระองค์อื่น ๆ ทรงปกครองในหลายประเทศของทวีปยุโรป สมเด็จพระเจ้าเลโอโปลด์ที่ 1 แห่งเบลเยียม พระอนุชาในดยุกแอร์นส์ที่ 1 เสวยราชสมบัติเป็นกษัตริย์แห่งเบลเยียมในปี พ.ศ. 2374 และเชื้อสายของพระองค์ยังคงปกครองอยู่ในฐานะประมุขของประเทศ เจ้าหญิงชาร์ล็อตแห่งเบลเยียม พระราชธิดาเพียงองค์เดียวของพระองค์เป็นสมเด็จพระจักรพรรดินีคาร์โลตาแห่งเม็กซิโก พระมเหสีในสมเด็จพระจักรพรรดิแม็กซิมิเลียนที่ 1 แห่งเม็กซิโกในทศวรรษที่ 1860 ราชบัลลังก์ของประเทศเม็กซิโก มีรากฐานจากราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา นอกจากนี้แล้วเจ้าชายเฟอร์ดินานด์แห่งแซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา พระนัดดาของดยุกแอร์นส์ยังได้อภิเษกสมรสกับสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส และเชื้อสายของพระองค์ทรงปกครองประเทศโปรตุเกสจนกระทั่งการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นสาธารณรัฐในปี พ.ศ. 2453
เชื้อสายอีกพระองค์หนึ่งในราชวงศ์มีพระนามเดียวกันว่า เฟอร์ดินานด์ ทรงเป็นเจ้าชายครองรัฐและต่อมาทรงเป็นกษัตริย์แห่งบัลแกเรีย รัชทายาทของพระองค์ยังคงปกครองจนถึงปี พ.ศ. 2489 ประมุขแห่งราชวงศ์บัลแกเรียปัจจุบันคือ อดีตสมเด็จพระราชาธิบดีซิมอนที่ 2 แห่งบัลแกเรีย (Simeon II of Bulgaria) ทรงเปลี่ยนพระนามเป็น ซิมอน ซักซ์โคบูร์กก็อตสกี (Simeon Sakskoburggotski) และทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของบัลแกเรียเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่อดีตกษัตริย์ทรงกลับมามีอำนาจอีกครั้งโดยผ่านการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไตย
ในปี พ.ศ. 2369 เชื้อสายรองของราชวงศ์ได้สืบทอดทรัพย์สินของราชวงศ์โคฮารี (Kohary) ของประเทศฮังการี และเปลี่ยนมานับถือนิกายโรมันคาทอลิก เหล่าเจ้าชายแห่งโคฮารีทรงร่ำรวยและเป็นขุนนางแห่งฮังการี และเจ้าชายครองนครในจักรวรรดิออสเตรีย ทุกพระองค์สามารถจะอภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงแห่งบราซิล อาร์คดัชเชสแห่งออสเตรีย เจ้าหญิงแห่งฝรั่งเศส เบลเยียมและแซ็กโซนีได้ สมาชิกของราชวงศ์ประกอบด้วยเชื้อสายผ่านทางพระโอรสทุกองค์ในโยฮันน์ แอร์นส์ ดยุกแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ ที่กำเนิดอย่างถูกต้องตามกฎหมายจากการอภิเษกสมรสที่ฐานันดรศักดิ์เท่าเทียมกันทั้งชายและหญิง (จนกระทั่งอภิเษกสมรส) พระชายาจากการอภิเษกสมรสที่ฐานันดรศักดิ์เท่าเทียมกันหรือได้รับอนุญาต และพระชายาม่ายจนกระทั่งการอภิเษกสมรสใหม่อีกครั้ง
ในปี พ.ศ. 2463 สมเด็จพระราชาธิบดีอัลแบร์ที่ 1 ทรงตัดสินพระทัยที่จะไม่ใช้ชื่อว่า แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา เป็นชื่อทางการของราชวงศ์เบลเยียมต่อไป การตัดสินพระทัยของพระองค์เป็นแบบลับๆ และไม่ได้ประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกา ดังนั้นจึงทำให้เกิดความสับสนในบางประเทศและแม้แต่ประเทศเบลเยียมว่าราชวงศ์เบลเยียมยังคงใช้ชื่อ แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา ชื่อของพระราชวงศ์เปลี่ยนเป็น van Belgi?, de Belgique และ von Belgien (แห่งเบลเยียม) เนื่องจากว่าประเทศเบลเยียมมีภาษาราชการสามภาษา จึงต้องใช้สามภาษาเป็นชื่อทางการของพระราชวงศ์โดยไม่มีการเลือกใช้อันใดอันหนึ่ง ทำให้เป็นราชวงศ์เดียวในโลกที่มีชื่อราชวงศ์ต่างกันสามชื่อแต่มีผลใช้ได้เท่ากัน ชื่อราชวงศ์นี้ใช้ในบัตรประจำตัวสมาชิกในพระราชวงศ์และเอกสารทางราชการต่างๆ (เช่น ทะเบียนสมรส ฯลฯ)
การขึ้นครองราชย์ของสมาชิกคนใดคนหนึ่งในราชวงศ์เบลเยียม ราชสกุลของพระองค์จะเปลี่ยนเป็น der Belgen, des Belges และ der Belgier แปลว่า แห่งชาวเบลเยียม เพื่อบ่งบอกว่าประเทศเบลเยียมมีระบอบกษัตริย์อันเป็นที่นิยมทั่วประเทศ
อย่างไรก็ดี จากเว็บไซต์ทางการของราชสำนักแห่งสหราชอาณาจักรกล่าวว่า "กษัตริย์อังกฤษเพียงพระองค์เดียวแห่งราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธาคือ สมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 ซึ่งทรงอยู่ในราชสมบัติเป็นเวลาเก้าปี.......สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงเปลี่ยนชื่อราชวงศ์ที่ฟังดูเป็นเยอรมันมาเป็นราชวงศ์วินด์เซอร์ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่วนชื่อแซ็กซ์-โคบูร์กและโกธายังคงมีอยู่ในราชสำนักยุโรปหลายประเทศ รวมถึงโปรตุเกสและบัลแกเรีย และราชวงศ์เบลเยียมจนกระทั่งปี พ.ศ. 2463"
เจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา พระโอรสพระองค์เล็กในดยุกแอร์นส์ที่ 1 เป็นพระราชสวามีในสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ซึ่งเป็นพระภาติยะในดยุกแอร์นส์ โดยผ่านทางเจ้าหญิงวิคตอเรียแห่งแซ็กซ์-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ (Princess Victoria of Saxe-Coburg-Saalfeld) พระกนิษฐา ด้วยเหตุนี้ จากการอภิเษกสมรสระหว่างเจ้าชายอัลเบิร์ตและสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา จึงกลายมาเป็นชื่อราชวงศ์ของพระราชวงศ์อังกฤษ ตั้งแต่การเสวยราชสมบัติของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 7 เมื่อปี พ.ศ. 2444 จนกระทั่งเปลี่ยนเป็นราชวงศ์วินด์เซอร์ ในปี พ.ศ. 2460 โดยสมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 เนื่องจากการใช้ชื่อเยอรมันนับว่าเป็นการไม่รักชาติในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา ไม่ใช่ ราชสกุลส่วนพระองค์ ของทั้งเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และพระโอรสและธิดา แต่อันที่จริงแล้วทั้งสองพระองค์ไม่ทรงรู้จักราชสกุลจริง (ราชวงศ์ไม่จำเป็นและไม่เคยต้องมีตัวบ่งบอกความเป็นราชวงศ์ทั่วไปเช่นนั้น) จนกระทั่งปลายศตวรรษที่ 19 เมื่อพระองค์มีพระประสงค์จะทราบถึงราชสกุลที่แท้จริง หลังจากการค้นหาอันเหน็ดเหนื่อย สภาที่ปรึกษาได้สรุปว่าเจ้าฟ้าชายอัลเบิร์ต และสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (จากการอภิเษกสมรส) ทรงมีราชสกุลส่วนพระองค์ว่า เวตติน (Wettin)
สมเด็จพระเจ้าจอร์จที่ 5 ทรงเปลี่ยนราชสกุลจากทั้ง เวตติน และ แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา เป็น วินด์เซอร์ อย่างไรก็ดี พระบรมราชโองการโดยคำแนะนำขององคมนตรีในปี พ.ศ. 2503 ได้แยกชื่อราชวงศ์และราชสกุลส่วนพระองค์ของสมเด็จพระราชินีนาถและพระบรมวงศานุวงศ์ออกจากกัน จึงมีผลบังคับใช้ว่าขณะชื่อราชวงศ์ยังคงเป็น วินด์เซอร์ เชื้อสายในสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และ เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินเบอระ จะทรงใช้ราชสกุลว่า เมานท์แบ็ทเท็น-วินด์เซอร์ อย่างไรก็ดี เจ้าชายฟิลิปทรงอยู่ในราชวงศ์ชเลสวิก-โฮลชไตน์-ซอนเดอร์บูร์ก-กลึกซ์บูร์ก (Schleswig-Holstein-Sonderburg-Gl?cksburg) และโดยหลักการยังรวมไปถึงเชื้อสายในพระโอรสอีกด้วย
ซัคเซิน-ไวมาร์ (1572–1806) ? ซัคเซิน-โคบูร์ก-ไอเซนัค (1572–1596) ? ซัคเซิน-โคบูร์ก (1596–1633, 1681–1699) ? ซัคเซิน-ไอเซนัค (1596–1638, 1640–1644, 1672–1806) ? ซัคเซิน-อัลเทนบูร์ก (1603–1672, 1826–1918) ? ซัคเซิน-โกทา (1640–1680) ? ซัคเซิน-โกทา-อัลเทนบูร์ก (1681–1826) ? ซัคเซิน-มาร์คซูล (1662–1672) ? ซัคเซิน-เยนา (1672–1690) ? ซัคเซิน-ไอเซนแบร์ก (1680–1707) ? ซัคเซิน-ฮิลด์บูร์กเฮาเซิน (1680–1826) ? ซัคเซิน-เริมฮิลด์ (1680–1710) ? ซัคเซิน-ซาลเฟลด์ (1680–1735) ? ซัคเซิน-ไมนิงเงิน (1681–1918) ? ซัคเซิน-โคบูร์ก-ซาลเฟลด์ (1735–1826) ? ซัคเซิน-ไวมาร์-ไอเซนัค (1806–1918) ? ซัคเซิน-โคบูร์กและโกทา (1826–1918)
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/ราชวงศ์แซ็กซ์-โคบูร์กและโกธา