ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

ราชวงศ์เหวียน

ราชวงศ์เหงียน (เวียดนาม: Nh? Nguy?n, หญ่า-งเหวียน; จื๋อโนม: ??, Nguy?n tri?u, งเหวียนเจี่ยว) เป็นราชวงศ์สุดท้ายของเวียดนามที่ปกครองเวียดนามมา 143 ปี เริ่มจากในปี ค.ศ. 1802 เมื่อจักรพรรดิซา ล็อง ทรงปราบดาภิเษกหลังจากปราบปรามกบฏไตเซินแล้ว และสิ้นสุดในปี ค.ศ. 1945 เมื่อจักรพรรดิบ๋าว ดั่ยทรงสละราชสมบัติ และมอบอำนาจให้กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ในระหว่างรัชกาลของจักรพรรดิซา ล็อง เวียดนามมีชื่อว่า เวียดนาม (??) อยู่อย่างปัจจุบัน แต่ในรัชสมัยของจักรพรรดิมิญ หมั่ง พระองค์ได้เปลี่ยนชื่อเป็น ดั่ยนาม (??, แปลว่า "ชาติยิ่งใหญ่ทางตอนใต้") การปกครองของราชวงศ์เหงียนถูกจำกัดโดยอิทธิพลที่เพิ่มขึ้นของนักล่าอาณานิคมฝรั่งเศส ประเทศได้ถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ โคชินไชนาเป็นรัฐอาณานิคมโดยตรงขณะที่อันนามและตังเกี๋ยกลายเป็นรัฐอารักขาซึ่งมีอิสระเพียงในนาม

ตระกูลเหงียนเป็นหนึ่งในตระกูลหลักของประวัติศาสตร์เวียดนาม ที่มีอยู่แต่สมัยของจักรพรรดิเล ท้าย โต๋ ซึ่งในเวลาต่อมา ได้เกิดสงครามกลางเมืองและราชวงศ์เลเริ่มอ่อนแอลง ตระกูลเหงียนกับตระกูลจิ่ญ (อีกตระกูลหลัก) จึงได้ร่วมกันต่อต้านราชวงศ์หมัก เหงียน กีม ผู้นำของพันธมิตรเหงียน-จิ่ญถูกลอบสังหารในปี ค.ศ. 1545 โดยข้ารับใช้ของราชวงศ์หมัก บุตรเขยของกิม จิ่ญ เกี๋ยม ได้สืบทอดตำแหน่งแทน เพราะบุตรชายของกีมนั้นยังเยาว์เกินไป ในปี ค.ศ. 1558 เหงียน ฮหว่าง ลูกชายคนโตของเหงียน กีม ได้เป็นผู้ปกครองอยู่ทางใต้ซึ่งเวียดนามเพิ่งสามารถยึดได้ เขาได้ปกครองเมืองเว้ไปตลอดชีวิตที่เหลือของเขา และสถาปนาการปกครองของตระกูลเหงียนในทางใต้ของเวียดนาม ขณะที่ขุนเหงียนและขุนจิ่ญได้ถวายเครื่องบรรณาการให้กับจักรพรรดิราชวงศ์เล ซึ่งจริง ๆ แล้วพวกเขาเป็นพวกแค่ผู้ปกครองและไม่ได้เป็นกษัตริย์ เหงียน ฮหว่าง และผู้สืบทอด ยังได้ขยายอาณาเขตอย่างต่อเนื่องโดยยึดครอง กัมพูชา ให้เป็นรัฐอารักขา และได้รุกรานลาว, จามปา และบรรดาอาณาจักรเล็ก ๆ ใกล้เคียง ขุนเหงียนมีตำแหน่งยศว่า "ขุน" (Ch?a, จั่ว ในภาษาเวียดนาม)

เหงียน ฟุก เงวียน (Nguy?n Ph?c Nguy?n) (หรือขุนสาย, Lord S?i) บุตรชายของเหงียน ฮหว่าง เป็นผู้ตั้งชื่อตระกูลว่าเหงียน ฟุก ซึ่ง 200 ปีต่อมา เหงียน ฟุก คว้าต (Nguy?n Ph?c Kho?t) เป็นผู้นำคนแรกในตระกูลที่ได้ตั้งตำแหน่งยศว่า "อ๋อง" (V??ng, เหวือง ในภาษาเวียดนาม) ตามอย่างที่ตระกูลจิ่ญได้ทำในทางเหนือ

เหงียน ฟุก อั๊ญ ได้รวบรวมเวียดนามเป็นครั้งที่สองเมื่อ 300 ปีก่อนและได้เริ่มก่อตั้งราชวงศ์และสถาปนาเป็นจักรพรรดิ (Ho?ng ??, ฮหว่างเด๊) หลังในยุครัชกาลของพระองค์แล้ว ผู้ปกครองในยุคต่อมากลับได้มีปัญหากับมิชชันนารีคาทอลิกและต่อมา ชาวยุโรปในอินโดจีนก็เข้าไปพัวพันในปัญหานั้นด้วย พระราชโอรสของพระองค์ จักรพรรดิมิญ หมั่ง ได้ทรงเผชิญหน้ากับการลุกฮือของเล วัน โคย (L? V?n Kh?i) เมื่อชาวคริสต์และนักบวชยุโรปพยายามจะโค่นล้มพระองค์และตั้งให้พระราชนัดดาของพระองค์ซึ่งได้เข้ารีตเป็นคริสต์โรมันคาทอลิกขึ้นแทนที่ อันเป็นเพียงจุดเริ่มต้นของการปฏิวัติหลา ยๆ ครั้งที่ถูกยั่วยุโดยมิชชันนารี ที่ต้องการพยายามให้ราชบัลลังก์กับอาณาจักรเป็นของคริสต์ ในทางตรงกันข้าม จักรพรรดิมิญ หมั่ง ยังทรงได้เล็งเห็นเพื่อการสร้างชาติในฐานะส่วนหนึ่งของการปฏิรูปของพระองค์ด้วย

ทั้งจักรพรรดิมิญ หมั่ง, จักรพรรดิเถี่ยว จิ และจักรพรรดิตึ ดึ๊ก ได้ทรงต่อต้านอิทธิพลของฝรั่งในอาณาจักรและพยายามจะลดการเติบโตของชุมชนคาทอลิกในเวียดนามในช่วงเวลานั้น การจำคุกเหล่ามิชชันนารีซึ่งเข้ามาในประเทศอย่างผิดกฎหมายกลายเป็นข้ออ้างของฝรั่งเศสที่จะรุกรานและยึดครองอินโดจีน เหมือนกับที่ได้กระทำกับราชวงศ์ชิงของจีนมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีหลายเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับประเทศยุโรปประเทศอื่นในช่วงศตวรรษที่ 19 อีกด้วย

จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายที่ได้ทรงครองบ้านเมืองอย่างอิสระคือ จักรพรรดิตึ ดึ๊ก หลังการเสด็จสวรรคตของพระองค์ เกิดวิกฤตเกี่ยวกับผู้สืบทอดราชสมบัติจากการที่ผู้สำเร็จราชการ โตน เทิ้ต เทวี้ยต ({{lang|vi|T?n Th?t Thuy?t,,) เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการลอบปลงพระชนม์จักรพรรดิถึง 3 พระองค์ในปีเดียว ซึ่งทำให้ฝรั่งเศสได้เข้ามาควบคุมอาณาจักรโดยตรงและเข้าถึงการครอบครองพระราชวงศ์ในที่สุด จักรพรรดิทุกพระองค์ตั้งแต่จักรพรรดิด่ง คั้ญ ถูกเลือกโดยฝรั่งเศสและกลายเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น

จักรพรรดินโปเลียนที่ 3 ทรงดำเนินขั้นแรกที่จะสร้างอิทธิพลอาณานิคมของฝรั่งเศสในอินโดจีน โดยทรงอนุญาตให้ปล่อยเรือเดินทางในปี ค.ศ. 1858 เพื่อลงโทษชาวเวียดนามที่ได้กระทำผิดต่อมิชชันนารีชาวฝรั่งเศส และบังคับให้ศาลยอมรับการดำรงอยู่ของชาวฝรั่งเศสในอาณาจักร ปัจจัยสำคัญของการตัดสินใจของพระองค์ครั้งนี้คือเชื่อว่าฝรั่งเศสจะกลายเป็นมหาอำนาจอันดับสองโดยไม่ต้องขยายอิทธิพลเพิ่มเติมลงไปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากนี้ ความคิดที่ว่าฝรั่งเศสมีภารกิจเสริมสร้างก็ได้ถูกแพร่กระจาย จนในที่สุดก็นำไปสู่การรุกรานเต็มรูปแบบออกมาใน ค.ศ. 1861

โดยในปี ค.ศ. 1862 สงครามได้จบลงและเวียดนามได้ยกสามจังหวัดในทางตอนใต้ ให้เรียกว่า โคชินไชนาของฝรั่งเศส เปิดท่าเรือสามท่าเรือเพื่อค้าขายกับฝรั่งเศส อนุญาตทางผ่านให้เรือรบฝรั่งเศสไปยังกัมพูชา (นำไปซึ่งการยึดครองกัมพูชาเป็นรัฐอารักขาในปี ค.ศ. 1863) อนุญาตให้มิชชันนารีเผยแพร่ศาสนาได้อย่างเต็มที่และชดใช้ค่าปฏิกรรมสงคราม และฝรั่งเศสก็ไม่ได้ยุ่งอะไรกับการก่อกบฏของกลุ่มชาวคริสต์เวียดนามในทางตอนเหนือของเวียดนาม แม้จะมีการแนะนำจากมิชชันนารี หรือการสังหารชาวคริสต์นับพันคนภายหลังการก่อกบฏแล้วก็ตาม ซึ่งฝรั่งเศสได้เห็นว่า แม้ว่าการประหัตประหารจะทำให้เป็นแรงกระตุ้นในการแทรกแซงเวียดนาม เหตุผลทางการเมืองและทหารคือแรงผลักดันที่ให้เกิดลัทธิจักรวรรดินิยมในเวียดนามในที่สุด

ฝรั่งเศสสามารถยึดครองเวียดนามได้อย่างสมบูรณ์ในปี ค.ศ. 1887 และได้ส่งเสริมการยึดครองต่อไป และได้พัฒนาเขตดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงโดยชาวเวียดนามขึ้น ราชวงศ์เหงียนยังคงสามารถปกครองเวียดนามต่อไปในฐานะรัฐในอารักขาอันนัม ฝรั่งเศสได้นำเอาส่วนผสมใหม่รวมเข้ากับวัฒนธรรมของเวียดนาม ฝรั่งเศสได้นำเอาศาสนาคริสต์โรมันคาทอลิกและระบบการเขียนภาษาเวียดนามโดยใช้อักษรละติน การสะกดคำที่ใช้ในการทับศัพท์ของเวียดนามเป็นที่น่าแปลกใจของโปรตุเกส เพราะฝรั่งเศสใช้หนังสือแปลที่รวบรวมไว้ก่อนหน้านี้โดยบาทหลวงโปรตุเกส

ขณะที่กำลังแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติของอินโดจีนและกำลังพลเพื่อนำใช้และสู้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้น ฝรั่งเศสกลับประสบปัญหาและต้องปราบปรามกลุ่มขบวนการรักชาติในเวียดนาม ในภูมิภาคอินโดจีนโดยเฉพาะเวียดนามนั้น ต้องนำเอากองกำลังให้ฝรั่งเศสกว่า 70,000 นาย และคนงาน 70,000 คน ซึ่งถูกบังคับให้เกณฑ์ทหารจากแต่ละหมู่บ้านเพื่อทำหน้าที่ในสมรภูมิในฝรั่งเศส เวียดนามยังยกเงินกว่า 184 ล้านปียัสทร์ในนามเงินกู้ และเสบียงอาหารกว่า 336,000 ตันให้ ซึ่งกลายเป็นภาระอย่างหนักของเกษตรกรซึ่งเคยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโรคระบาดพืชในปี ค.ศ. 1914 - ค.ศ. 1917

ขบวนการชาตินิยมเวียดนามที่มีอยู่ทั่วประเทศและขาดความเป็นหนึ่งเดียว แม้ว่าจะดูแข็งแรง แต่ยังล้มเหลวใช้ความยากลำบากของฝรั่งเศสซึ่งเป็นผลจากสงครามที่ได้มีผลลุกฮือใดๆก็ตาม ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1916 จักรพรรดิซวี เติน ทรงหลบหนีออกจากพระราชวังเพื่อเข้าร่วมการลุกฮือของกองกำลังทหารเวียดนาม ฝรั่งเศสได้รับแจ้งแผนการนี้และผู้นำการลุกฮือถูกจับกุมและประหารชีวิต พระองค์ถูกปลดออกจากพระราชบัลลังก์และถูกเนรเทศไปยังเกาะเรอูว์นียงในมหาสมุทรอินเดีย

กระแสชาตินิยมในเวียดนามรุนแรงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง แต่ทุกการลุกฮือและความพยายามอันไม่แน่นอนก็เป็นอันล้มเหลวที่จะได้รับสิทธิใดๆจากผู้ควบคุมชาวฝรั่งเศส การปฏิวัติรัสเซียที่เกิดขึ้นในขณะนี้มีผลกระทบอย่างมากสร้างศตวรรษที่ 20 ในประวัติศาสตร์เวียดนาม

การเกิดขึ้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 ซึ่งตรงกับวันครบรอบการยึดครอง ดานัง ในปี ค.ศ. 1858 ฝ่ายอักษะของญี่ปุ่นรุกรานเวียดนามในวันที่ 22 กันยายน ค.ศ. 1940 อันเป็นความพยายามที่จะสร้างฐานทหารเพื่อต่อสู้กับฝ่ายสัมพันธมิตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ในปี ค.ศ. 1941 – ค.ศ. 1945 กลุ่มขบวนการต่อต้านฝ่ายคอมมิวนิสต์ที่เรียกกันว่า เวียดมินห์ ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ จาก ค.ศ. 1944 ถึง ค.ศ. 1945 ทางภาคเหนือของเวียดนามเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงที่ประชากรกว่าหนึ่งล้านคนประสบปัญหาและอดอาหารจนตาย ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1945 ด้วยความตะหนักถึงชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตร ญี่ปุ่นจึงได้กวาดล้างกลุ่มเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสไปจำคุก และได้ให้การรับรองให้เวียดนามมี "เอกราช" ภายใต้ "การคุ้มครอง" ของญี่ปุ่นโดยมีจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงเป็นพระจักรพรรดิแห่งเวียดนาม

ญี่ปุ่นได้ยอมแพ้ในวันที่ 15 สิงหาคม และได้เกิดการลุกฮือโดยกลุ่มเวียดมินห์ หลังจากได้รับการร้องขอให้สละราชสมบัติ จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ได้ทรงสละราชสมบัติในวันที่ 30 สิงหาคม และได้มอบอำนาจให้กับเวียดมินห์ ทรงได้รับตำแหน่ง "ที่ปรึกษาสูงสุด" ให้กับรัฐบาลชุดใหม่ หลังจากนั้นทรงหนีออกไปจากเวียดนามไม่นานเพราะทรงไม่เห็นด้วยกับนโยบายของเวียดมินห์และได้ทรงลี้ภัยไปยังฮ่องกง ตามมาด้วยการกลับมาของฝรั่งเศสในเดือนตุลาคม สงครามอินโดจีนครั้งที่หนึ่ง (ค.ศ. 1946 – ค.ศ. 1954) จึงเป็นการปะทะกันระหว่างฝรั่งเศสและเวียดมินห์

ในปี ค.ศ. 1948 ฝรั่งเศสได้เชิญชวนจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ให้ทรงกลับมาในฐานะของ "ประมุขรัฐ" (Qu?c Tr??ng, โกว๊กเจื๋อง) ของรัฐเวียดนาม (Qu?c Gia Vi?t Nam, โกว๊กซาเหวียตนาม) ที่ตั้งขึ้นโดยฝรั่งเศสในบริเวณพื้นที่ควบคุมของฝรั่งเศส ขณะที่สงครามเลือดกับกลุ่มเวียดมินห์ภายใต้การนำของโฮจิมินห์ยังดำเนินต่อไป จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ใช้เวลาส่วนใหญ่ของพระองค์ในช่วงความขัดแย้งทรงเกษมสำราญกับการมีดำรงพระชนม์ชีพในพระตำหนักหรูหราที่ด่าหลัต (ในเขตสูงของเวียดนาม) หรือในปารีส จนกระทั่งฝรั่งเศสได้พ่ายแพ้ต่อเวียดมินห์ที่ เดียนเบียนฟู ในปี ค.ศ. 1954

ฝรั่งเศสได้เจรจาต่อรองกับสหรัฐอเมริกา เพื่อแบ่งเวียดนาม โดยได้มีการแบ่งเวียดนามเหนือให้กับกลุ่มเวียดมินห์ และเวียดนามใต้ ให้กับรัฐบาลใหม่ นายกรัฐมนตรีของรัฐเวียดนาม โง ดิ่ญ เสี่ยม ได้โค่นล้มจักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ในการลงประชามติในปี 1955 ซึ่งผู้มีสิทธิลงเลือกตั้งส่วนใหญ่กลับเพิ่มขึ้นมาอย่างโจ่งแจ้ง ไม่เพียงแต่มีผู้ลงมติให้เวียดนามใต้กลายเป็นสาธารณรัฐ ซึ่งมีอยู่ถึงร้อยละ 98 เท่านั้น แต่จำนวนผู้ลงมติให้เป็นสาธารณรัฐกลับมามากกว่าผู้มีสิทธิลงมติ เสี่ยมจึงได้เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐเวียดนาม (Vi?t Nam C?ng H?a, เหวียตนามก่งฮหว่า) ซึ่งทำให้จักรพรรดิบ๋าวดั่ยทรงสิ้นสุดเรื่องราวทางการเมืองอีกครั้งและเป็นการถาวร

จักรพรรดิบ๋าว ดั่ย ทรงลี้ภัยไปยังฝรั่งเศสและเสด็สวรรคตในปี ค.ศ. 1997 และได้ฝังพระบรมศพที่สุสานปาซี มกุฎราชกุมารบ๋าว ล็อง จึงได้สืบทอดตำแหน่งพระประมุขแห่งราชวงศ์เหงียนหลังการเสด็จสวรรคตของพระบิดาในวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1997 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2007 หลังจากนั้นเจ้าชายบ๋าว ทั้ง ได้ทรงสืบทอดตำแหน่งพระประมุขราชวงศ์เหงียนจนถึงปัจจุบัน


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301