ราชวงศ์ญี่ปุ่น (ญี่ปุ่น: ?? โคชิสึ ?; อังกฤษ: Imperial House of Japan) บ้างเรียก ราชวงศ์ยะมะโตะ หรือ ราชวงศ์เบญจมาศ เป็นหนึ่งในราชวงศ์มีการสืบทอดสันตติวงศ์มาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การขึ้นครองราชย์ของจักรพรรดิจินมุ (11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 1203 ตามตำนาน) โดยเป็นราชวงศ์ที่ปกครองประเทศนานที่สุดในโลกถึง 1,348 ปี และเป็นราชวงศ์ที่มีการสืบสันติวงศ์มากที่สุดในโลก จนถึงปัจจุบันรวมได้ถึง 125 รัชกาลแล้ว แต่นักประวัติศาสตร์ส่วนมากอ้างว่าจักรพรรดิ 14 พระองค์แรกเป็นจักรพรรดิในตำนาน อนึ่งเนื่องจากประวัติศาสตร์ญี่ปุ่นนั้นเริ่มทีหลังจากการมีจักรพรรดิ 14 พระองค์แรก จึงเป็นเรื่องถกเถียงกันว่า หากยังไม่ได้มีการรวมชาติใด ๆ จะมีจักรพรรดิได้เช่นไร สัญลักษณ์ประจำราชวงศ์คือ คิกุ (?( Kiku )? เรียกเต็มว่า คิกกะมนโช (????( Kikkamonsh? )?) แปลว่า ลัญจกรดอกเบญจมาศ
ราชวงศ์ญี่ปุ่นเป็นราชวงศ์แห่งเดียวในโลกในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองที่ถึงแม้จะพ่ายแพ้ในสงคราม แต่พระราชวงศ์ก็มิได้ถูกล้มล้าง แม้สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะจะเป็นผู้ให้การต่อต้านการทำสงครามแต่ก็เป็นผู้คุมอำนาจสำคัญของการทำศึกต่อต้านฝ่ายสัมพันธมิตร ที่ยินยอมให้สหรัฐอเมริกาเข้าควบคุมญี่ปุ่นแทนการถูกนำตัวไปขึ้นศาลโลกในฐานะอาชญากรสงครามและล้มล้างพระราชวงศ์ญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นเรียก "จักรพรรดิ" ว่า เท็นโน (??( tenn? )?) หมายถึง เทพเจ้าที่มาจากสวรรค์ ซึ่งเป็นคำจำกัดความของ "กษัตริย์ญี่ปุ่น" ราชวงศ์ญี่ปุ่นเคยได้รับการเคารพในฐานะอวตารเทพ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1946 สมเด็จพระจักรพรรดิโชวะมีพระโองการว่า ทรงเป็นคนธรรมดา และประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งประเทศญี่ปุ่น
ตามกฎมนเทียรบาลของราชวงศ์ญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 1947 ในราชวงศ์จะมีการเรียงลำดับพระบรมวงศานุวงศ์จากสูงสูงไปต่ำสุด เช่น สมเด็จพระจักรพรรดิ (??( tenn? )?), สมเด็จพระจักรพรรดินี (??( k?g? )?), สมเด็จพระพันปีหลวง (???( k?taig? )?), สมเด็จพระหมื่นปีหลวง (????( tai-k?taig? )?), มกุฎราชกุมาร (???( k?taishi )?) และมกุฎราชกุมารี (????( k?taishihi )?) เป็นต้น
หลังการล้มล้างพระบรมวงศานุวงศ์ 11 สาขา เพื่อความอยู่รอดของราชวงศ์ในปี ค.ศ. 1947 ทำให้มีการสืบราชสมบัติในสายของสมเด็จพระจักรพรรดิไทโช เฉพาะฝ่ายหน้า (พระบรมวงศานุวงศ์ชาย) และลูกหลานที่เป็นชายเท่านั้น แต่ส่วนของฝ่ายใน (พระบรมวงศานุวงศ์หญิง) จะไม่มีสิทธิในการสืบราชสมบัติทั้งที่ไม่สมรสหรือสมรสแล้วรวมไปถึงลูกหลานที่เกิดจากฝ่ายในก็ไม่มีสิทธิในการสืบราชสมบัติเช่นเดียวกัน
ตามกฎมนเทียรบาลของญี่ปุ่น ปี ค.ศ. 1947 หากพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในระดับ ไนชินโน หรือ โจ พระองค์ใดมีพระประสงค์จะเสกสมรสกับสามัญชน จะต้องมีการสละฐานันดรศักดิ์ และออกจากการเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ของราชวงศ์เสียก่อน ปัจจุบันมีอดีตเจ้าหญิงที่ยังดำรงพระชนม์ชีพอยู่ ได้แก่
พระราชวงศ์ชั้นชินโน (ที่พระยศต่ำกว่าพระเจ้าลูกยาเธอ) ที่ไม่ได้อยู่ในสายการสืบราชสันนติวงศ์ บุตรที่เกิดกับภรรยาที่เป็นเจ้า จะได้ฐานันดรคงเป็น ชินโน หรือ ไนชินโน เสมือนบิดา หากเป็นบุตรที่เกิดกับภรรยาที่เป็นสามัญชน จะได้ฐานันดรเป็น โอ หรือ โจ อาทิ เจ้าชายทะกะฮิโตะ เจ้ามิกะซะ ทรงเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในจักรพรรดิไทโช ถึงจะสมรสกับสามัญชน พระบุตรจะยังคงได้เป็น ชินโน และ ไนชินโน แต่เมื่อมาถึง เจ้าชายโทะโมะฮิโตะแห่งมิกะซะ กับ เจ้าชายโนะริฮิโตะ เจ้าทะกะมะโดะ ทั้งสองพระองค์ทรงเป็นพระเจ้าหลานเธอในจักรพรรดิไทโช (นอกสายโลหิตของจักรพรรดิอะกิฮิโตะ จึงไม่ได้อยู่ในสายการสืบราชสันตติวงศ์) ทำการสมรสกับสามัญชน ดังนั้น พระธิดาของทั้งสองพระองค์จึงได้ฐานันดรเพียงแค่ โจ
การสืบราชสกุลของญี่ปุ่น หรือที่เรียกว่า ระบบมิยะ (เจ้าสืบตระกูล) ยึดหลักตามระบบ ขุนนางสืบตระกูล ในยุโรป คือโอรสผู้สืบสันดานจะได้สืบทอดบรรดาศักดิ์และสิทธิทั้งหมดของบิดา (มีเกียรติฐานะเทียบเท่าบิดา) สืบตระกูลไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุดโดยคงสถานะความเป็นเจ้าที่ฐานันดรชั้น โอ (ต่างจากของไทยที่มีการลดฐานันดรลงเรื่อยๆ จากหม่อมเจ้าหม่อมราชวงศ์หม่อมหลวง) จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สหรัฐอเมริกาได้ยกเลิกระบบราชนิกุลสืบตระกูลของญี่ปุ่น ทำให้ราชนิกุลทั้งหมดที่ไม่ได้อยู่ในสายการสืบราชสันตติวงศ์ ไม่สามารถใช้ฐานันดรชั้น โอ ได้อีกต่อไป (สูญเสียความเป็นเจ้า) อย่างไรก็ตาม อดีตเจ้าชายเหล่านี้ ก็ได้รับบรรดาศักดิ์อื่นแทน เช่น เคานต์ หรือ ไวเคานต์ โดยทายาทสามารถสืบแต่ได้นามสกุล
สามัญชนผู้เป็นประมุขของตระกูลที่มีเกียรติยศ อาจได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าสืบตระกูล (ญี่ปุ่น: มิยะ, อังกฤษ: Prince) อาทิ เจ้าโทะกุงะวะ อิเอะซะโตะ ซึ่งไม่จำเป็นว่าสามัญชนผู้นั้นมีความเกี่ยวข้องทางสายเลือดกับพระราชวงศ์