ราชสกุล เป็นนามสกุลสำหรับผู้สืบเชื้อสายมาจากตระกูลวงศ์ในพระมหากษัตริย์ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2455 หลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้น โดยบัญญัติไว้ว่าผู้ที่สืบเชื้อสายทางบิดามาจากบรรพบุรุษคนเดียวกันให้ใช้ "นามสกุล" เดียวกัน ทำให้คนไทยทุกคนมีนามสกุลใช้และทำให้ทราบว่าใครเป็นพี่น้องหรือสืบเชื้อสายมาจากผู้ใด โดยผู้สืบเชื้อสายจากราชสกุล เรียกว่า ราชนิกุล และสกุลอันสืบเนื่องมาจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) และ กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข (วังหลัง) นั้น เรียกว่า บวรราชสกุล
ส่วน ราชินิกุล หมายถึง สกุลที่เป็นพระญาติของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน นับทางฝ่ายสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง (นับทางพระมารดา)
ราชตระกูล หมายถึง สกุลที่มิได้สืบเชื้อสายโดยตรงจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยมีการสืบสายจากสมเด็จพระเชษฐภคินี พระอนุชา และพระขนิษฐา ผู้เป็นพระโอรสและพระธิดาในสมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก สำหรับสายพระพี่พระน้องนี้ บางครั้งก็เรียกกันว่า ราชตระกูลสายพระปฐมวงศ์ หรือ พระปฐมบรมราชวงศ์ มีดังนี้
ราชสกุล หมายถึง สกุลของผู้ที่สืบเชื้อสายโดยตรงจากพระมหากษัตริย์แห่ง พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งราชวงศ์จักรีนั้นราชสกุล ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 จนถึงปัจจุบัน โดยมักจะเป็นพระนามของพระราชโอรส และยังมีราชสกุลในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชอีก 18 ราชสกุล
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรศักดิ์สุประภาต ทรงสมรสกับหม่อมมณี และเมื่อหม่อมมณีตั้งครรภ์ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯ ทรงพระกรุณาพระราชทานนาม ศักดิเดชน์ จากพระนามาภิไธย ประชาธิปกศักดิเดชน์ เพื่อใช้เป็นชื่อราชสกุล แต่ทางคณะผู้สำเร็จราชการแผ่นดินไม่ยินยอมให้ใช้ โดยอ้างเรื่องสิทธิ์ในการสืบสันตติวงศ์ จึงมาใช้ "ศักดิเดชน์ ภาณุพันธ์" แทน
พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 1 ซึ่งมักเรียกรวมๆ กันไปว่า ราชินิกุลบางช้าง เพราะนิเวศสถานเดิมอยู่ ตำบลอัมพวา แขวงอำเภอบางช้าง (ซึ่งต่อมาจึงยกเป็นเมืองสมุทรสงคราม และจังหวัดสมุทรสงครามตามลำดับ ราชินิกุลก๊กใหญ่ คือ สกุลบุนนาค
พระญาติวงศ์ ของสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระราชมารดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชินิกุล รัชกาลที่ 3 ที่มีผู้สืบสายสกุลเป็นที่รู้จักกันดี คือ สายพระยาพัทลุง (ทองขาว) สามีของท่านปล้อง น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาไลย และสายสกุล ศิริสัมพันธ์ สืบมาจาก ท่านสาด น้านางของสมเด็จพระศรีสุลาไลยเช่นกัน หากแต่คนละมารดากับพระชนนีเพ็ง ผู้เป็นชนนีของสมเด็จพระศรีสุลาไลย
พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ที่เป็นราชินิกูลคือผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากพระยาเพชรบุรี (เรือง) ซึ่งเป็นพระญาติของเจ้าขรัวเงิน แซ่ตันพระชนกของพระองค์ ทั้งสองท่านเป็นชาวจีนเหมือนกัน บุตรพระยาเพชรบุรี (เรือง) คือเจ้าพระยาสุรบดินทร์สุรินทรฦาไชย (บุญมี) เป็นต้นสกุลหลายสกุลด้วยกันจึงถือว่าสกุลเหล่านี้เป็นราชินิกุล
พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินีในรัชกาลที่ 4 พระบรมราชชนนีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชินิกุลรัชกาลที่ 5 ฝ่ายพระชนนีนั้น เป็นชาวสวนบางเขน และสกุลอำมาตย์รามัญสายพระยารัตนจักร (หงส์ทอง) ที่เกี่ยวดองกันกับสกุลรามัญสาย พระยาจักรีมอญ (กรุงธนบุรี) เชื้อสายราชินิกุล ที่มิใช่ขัตติยราชตระกูล เท่าที่ค้นได้จากหนังสือราชินิกุล รัชกาลที่ 5 คือ "สกุลสุรคุปต์"
พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7 ซึ่งทางฝ่ายพระชนนีนั้น คือสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) ท่านเป็นธิดาของท้าวสุจริตธำรง (นาค) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานนามสกุล แก่ผู้สืบสายจากท้าวสุจริตธำรง ผู้เป็นราชินิกุล ว่า "สุจริตกุล"
พระญาติวงศ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในรัชกาลที่ 8 และรัชกาลที่ 9 คือคุณถมยา พระอนุชาของพระองค์ ได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "ชูกระมล" เพื่อเป็นนามสกุลสำหรับผู้ที่สืบจาก พระชนกชู ชูกระมล และพระชนนีคำ ชูกระมล และทายาทในอนาคต แต่คุณถมยา ถึงแก่กรรมตั้งแต่วัยรุ่น สกุลนี้จึงสิ้นไป